Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABCการไฟฟ้าแห่งอนาคต – The Electric Utility of the Future

        blog KU-ABC"การไฟฟ้าแห่งอนาคต – The Electric Utility of the Future"
                                                                  เสริมสกุล คล้ายแก้ว
                                                                  อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

วันนี้ขอนำงานเขียนของอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้แสดงความเห็นไว้เมื่อปี 2561

.......................................................................................................................
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 กันยายน 2503 จ
ากที่มีจานวนลูกค้าไม่กี่ราย จวนจนก้าวเข้าสู่ปีที่ 58 ของการสถาปนา กฟภ.
มีจานวนลูกค้ามากกว่า 19 ล้านราย มีสินทรัพย์มากกว่า 400,000 ล้านบาท
และมีจานวนพนักงานและลูกจ้างมากกว่า 36,000 คน
โดยมีเป้าหมายที่จะก้าวเป็นการไฟฟ้าแห่งอนาคต
หรือ PEA – The Electric Utility of the Future
.......................................................................................................................
เป็น การไฟฟ้าที่มีความทันสมัยทั้งด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ
สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในช่วงเกือบ 58 ปี
ของการดาเนินกิจการ กฟภ. ได้พัฒนาองค์กรมาโดยตลอด
และต่อเนื่องจวบจนถึงยุคปัจจุบัน
.......................................................................................................................
สามารถแบ่งยุคแห่งการพัฒนาองค์กรได้เป็น 4 ยุค คือ
ยุคที่ 1 เป็นยุคบุกเบิกก่อสร้างระบบจาหน่ายไฟฟ้า
ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทั่วประเทศ
จากเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503 ผ่านไป 30 ปี
กิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขยายตัวและเจริญก้าวหน้าอย่างมาก
โดยสามารถให้บริการไฟฟ้าในพื้นที่รับผิดชอบได้ครบทั้ง 70 จังหวัดในขณะนั้น
หรือคิดเป็นร้อยละ 89 ของหมู่บ้านชนบททั่วประเทศ
ซึ่ง World Bank ได้ยกย่องความสาเร็จของ กฟภ.
ในการดาเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้าที่รวดเร็ว
รวมถึงให้ กฟภ. เป็น Case Study เป็นตัวอย่าง
และสถานที่ดูงานใน การพัฒนาไฟฟ้าชนบทให้แก่ประเทศอื่นๆ อีกด้วย
..........................................................................................................................
ยุคที่ 2 เป็นยุคที่ประชาชนทั้งประเทศ 99%
มีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง ดังคำกล่าว
      “ไฟฟ้าสว่างทั่วทิศ สร้างเศรษฐกิจทั่วไทย”
จึงจาเป็นต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพมั่นคง
รองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ
และอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคของประเทศ
โดยได้มีการนาระบบแรงดัน 115 กิโลโวลต์
มาใช้ทั้งระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า
รวมถึงเริ่มมีการนาวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ
มาใช้งานเช่นการพัฒนาระบบควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
(Supervisory Control and Data Acquisition: SCADA)
...........................................................................................................................
ยุคที่ 3 เป็นยุคที่เริ่มนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งด้านระบบไฟฟ้า
รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย
มาใช้ในภารกิจหลักเพื่อพัฒนางานด้านระบบไฟฟ้า
และงานให้บริการประชาชนที่ทัดเทียมมาตรฐานสากล
ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automatic Meter Reading หรือ AMR
สาหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่,
มีการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟ 1129 PEA Call Center เป็นต้น
............................................................................................................................
และในยุคนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สามารถจ่ายไฟฟ้าให้บ้านเรือนในชนบทในระดับหมู่บ้านได้
ถึงร้อยละ 99.98 ของจานวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
............................................................................................................................
ยุคที่ 4 ในยุคปัจจุบัน
เราจะพบว่าเกือบทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากนวัตกรรม
และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด
หรือ Disruptive Technology บริษัทหรือองค์กรใดที่ไม่มีการพัฒนา
และยังคงติดอยู่กับรูปแบบการทางาน แนวคิด และการดาเนินธุรกิจแบบเดิม
ที่เคยใช้ ได้ดีในอดีต จะถูกกลืน (Disrupt) ด้วยเทคโนโลยีเหล่านั้น
และต้องทยอยปิดตัวไปในไม่ช้า ซึ่งในส่วนของธุรกิจไฟฟ้าเอง
ก็มีความท้ายทาย โดยนวัตกรรมที่ถือว่าเป็น Disruptive Innovation
ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น Electric Vehicle, Solar Rooftop,
Smart Meter, Digital Technology – IoT, Big Data เป็นต้น
..........................................................................................................................

ซึ่งทาให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต้องปรับตัวเข้าสู่ ยุคที่ 4
หรือ PEA 4.0 ที่มุ่งเน้น
“พัฒนาคนด้วยนวัตกรรม พัฒนางานด้วยเทคโนโลยี”
ส่งเสริมการนานวัตกรรม เทคโนโลยี Digital
และพลังงานทดแทนมาใช้ ตลอดจนการนานวัตกรรม
มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน
และสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆ พร้อมมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเป็นการไฟฟ้าแห่งอนาคต
(The Electric Utility of the Future)
...........................................................................................................................
การพัฒนาการดาเนินการหลัก 7 ด้านรองรับ PEA 4.0 มีดังนี้
1. Human Capital มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร
ให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมในยุคดิจิทัล
2. Service เป็นเลิศในงานบริการ
ด้วยการให้บริการที่เกินความคาดหวังของลูกค้า
3. Grid การพัฒนาปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย
(Grid Modernization) รองรับ Smart Grid
4. Asset Management การจัดการสินทรัพย์ทั้งองค์กร
ที่ครอบคลุมทั้งวัฏจักรของสินทรัพย์ที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาได้มา
การบารุงรักษา จวบจนเมื่อสิ้นอายุการใช้งานจึงนาออกจากระบบ
5. Innovation การพัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างนวัตกรรม
จนนาไปสู่การขยายผลสร้างเครื่องมือ
หรืออุปกรณ์ของ กฟภ. เชิงพาณิชย์ (PEA Brand)
6. ICT นาระบบ ICT มารองรับการพัฒนาระบบ Smart Grid
และการจัดการภายในองค์กรที่รองรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
(Internet of things : IoT) ระบบ Cloud
และการจัดการ Big Data โดยนาระบบ ICT มาใช้รองรับงานในอนาคตทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ
7. Business Investment สร้างธุรกิจใหม่
รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
...........................................................................................................................
ด้วยการดาเนินการของ กฟภ. มีปริมาณมากและหลากหลาย
ในบทความนี้จึงจะกล่าวถึงตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ที่ กฟภ. ได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ Life Style ของคนรุ่นใหม่
เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการที่เกินความคาดหวังของลูกค้า
(Service Excellence: Beyond Customer Expectation)
ด้วย “PEA Smart Plus Application”
เพื่อให้ลูกค้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีกว่า 19 ล้านรายทั่วประเทศ
เข้าถึงบริการ Online ครบวงจรของ กฟภ. ในรูปแบบ One Touch Service
“จัดให้ง่าย ได้ทุกเรื่อง” ทุกที่ ทุกเวลา สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ผ่าน Smart Phone หรือ Tablet ด้วยตนเอง
ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
เพื่ออานวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
มีฟังก์ชั่น การให้บริการที่หลากหลาย
อาทิ การชาระค่าไฟฟ้า คานวณและแจ้งเตือนค่าไฟฟ้า
เมื่อใกล้ถึงกาหนดชาระ ขอใช้ไฟฟ้าใหม่ แจ้งเหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
ขอติดกลับมิเตอร์ และข่าวสารประชาสัมพันธ์
........................................................................................................................
สาหรับ Application – PEA Smart Plus
ประชาชนทั่วไปและลูกค้าของ กฟภ.
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ฟรี
ในอนาคต กฟภ. มีแผนจัดส่งใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า
ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bill)
และเสริมงานบริการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
.........................................................................................................................

พร้อมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพ Server
เพื่ออานวยความสะดวกในการดาวน์โหลด
และรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 5 ล้านราย ภายในปี 2564
...........................................................................................................................
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ กฟภ. ประสบความสาเร็จในการบริหารจัดการ
และให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ในการจ่ายไฟฟ้า พัฒนาชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สาคัญของ กฟภ.
ควบคู่ไปกับการส่งเสริมงานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรม
ที่เชื่อมโยงกับชุมชน โดยเฉพาะการนาพลังงานทดแทนภายในประเทศ
มาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นอย่าง
.................................................................................................................
เช่น โครงการ Smart Micro Grid
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการจ่ายไฟในพื้นที่ห่างไกล
และส่งเสริมการเป็นชุมชนต้นแบบที่ใช้พลังงาน
จากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน 100%
ถือเป็นพื้นที่นาร่องด้าน Microgrid แห่งแรกของประเทศไทย
............................................................................................................................
และถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สาคัญของการวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า
ให้มีความมั่นคงในยุคดิจิทัล ในอนาคต
เพื่อให้สามารถนาระบบ Smart Micro Grid
สามารถนาไปขยายผลใช้ได้กับทุกแห่งที่มีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า
และระบบควบคุมที่เหมาะสมในพื้นที่อื่นๆ อีกต่อไป
.........................................................................................................................
Smart Micro Grid ที่บ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ถือเป็นระบบ Smart Micro Grid แห่งแรกของประเทศไทย
ซึ่งควบคุมการจ่ายไฟจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้า
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบสารองไฟด้วยแบตเตอรี่
ทาให้พื้นที่บ้านขุนแปะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเพียงพอสาหรับใช้ในพื้นที่ โดยลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากภายนอก
สามารถสร้างความสมดุลในการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้พอดี
กับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในชุมชน
สอดคล้องกับเป้าหมายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ที่ต้องการเพิ่มเสถียรภาพและยกระดับคุณภาพระบบไฟฟ้าให้แก่ประชาชน
เพื่อให้ชุมชนมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงจากแหล่งพลังงานภายในชุมชนของตนเอง
...........................................................................................................................
และที่สาคัญเป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ที่สะอาดทั้งหมดทั้งจากแหล่งน้าและแสงอาทิตย์
ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการน้าให้เหมาะสม
กับการทาการเกษตร ส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชน
ซึ่งจะทาให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
จึงถือได้ว่าเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง
ระบบ Smart Micro Grid ไม่เพียงช่วยบริหารจัดการระบบไฟฟ้า
ในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น แต่ยังสามารถนามาใช้งานกับพื้นที่ชุมชนหนาแน่น
ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ Smart Micro Grid ในพื้นที่อื่นๆ
เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า
......................................................................................................................

กล่าวคือ เมื่อมีแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่อเชื่อมเข้ามา
ระบบ Smart Micro Grid จะช่วยบริหารจัดการ
ในเรื่องความไม่แน่นอนของกาลังผลิตจากพลังงานทดแทน
รวมถึงทาให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถจ่ายไฟได้
ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าหลักเกิดปัญหาขัดข้อง
............................................................................................................................
จากที่นาเสนอข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนงาน/โครงการ
ที่ กฟภ. ได้มุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานบริการและระบบไฟฟ้าในทุกพื้นที่
ในความรับผิดชอบของ กฟภ. ให้สนองตอบความต้องการของลูกค้
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราจะยังไม่หยุดการพัฒนาและการนาเทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามาปรับปรุงและพัฒนางานของเรา เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการ
และเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนทุกคน
เพื่อก้าวไปสู่การเป็นการไฟฟ้าแห่งอนาคต
หรือ The Utility of the Future ได้อย่างภาคภูมิ
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:17:05 น.
Counter : 716 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.