Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABCเมื่อครั้งวงดุริยางค์เครื่องลม มก.คว้ารางวัลเกียรติยศแข่งขันดนตรีโลก

            blog KU-ABC "วงดุริยางค์เครื่องลม มก.
                         คว้ารางวัลเกียรติยศเวทีแข่งขันดนตรีระดับโลกอีกครั้ง"
                                                                 เตือนใจ เจริญพงษ์



      ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร
รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ
เป็นสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

........................................................................................................................

พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ผ้บู ริหาร คณาจารย์ นิสิต
และนิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าเฝ้าฯ
เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล
...........................................................................................................................

จากนั้นพระองค์ได้พระราชทานเหรียญรางวัลนั้นกลับมาในคราวเดียวกัน
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ณ วังศุโขทัย เวลา 11.45 น.
ปัจจุบันเหรียญรางวัลดังกล่าว ได้ตั้งไว้ที่คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
............................................................................................................................
ในวโรกาสดังกล่าว พระองค์ท่านได้ตรัสถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าร่วม
ประกวดดนตรีโลก และได้ทรงมีพระบรมราโชวาท จับใจความได้ว่า

     “  ขอชื่นชมยินดีกับมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ที่ได้ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ
การดนตรีนั้นเป็นประโยชน์ ทั้งทางด้านสมอง ร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิต
ขอชื่นชมยินดี และขอให้รักษาความดีนี้ไว้  ”
............................................................................................................................
พระราชกิจครั้งนี้ นำความปลาบปลื้มแก่บรรดาผู้เข้าเฝ้าฯยิ่งนัก
ต่างชื่นชมพระบารมีของ สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร
ที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่าง หาที่สุดมิได้
............................................................................................................................
   สืบเนื่องจากใน ปี 2013 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ส่งวง Kasetsart University Wind Symphony & Nontri Orchestra Wind
ซึ่งประกอบด้วยนักดนตรีจากคณาจารย์ นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน
เข้าการประกวดดนตรีโลกระดับ Division 1 ที่เมือง Kerkrade
ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจัดต่อเนื่องมาทุก 4 ปี
ผลการประกวดได้คะแนน 93.67 คะแนน จัดอยู่ในระดับเหรียญทองเกียรตินิยม
(Gold with Distinction) จัดลำดับได้เป็นที่ 6 ของโลก
และเป็นที่ 1 ของเอเชีย




วงดนตรีเข้าแข่งขันล้วนมีคุณภาพทั้งการบรรเลงและการแสดงยอดเยี่ยมมาก
เปรียบได้กับเป็นโอลิมปิคของดนตรีก็ว่าได้จากการสำรวจมีผู้ชมในกิจกรรมนี้
ราว 350,000 คน และมีนักดนตรีเข้าร่วมราว 18,000 คนต่อครั้ง
จำนวนวงที่ร่วมแข่งขันในครั้งนั้น มี 69 วงจากทั่วโลก
............................................................................................................................
ในวันแข่งขันครั้งนั้นคณะกรรมการอนุญาตให้แต่ละวงสามารถบรรเลงเพลง
เพื่อwarm up วง  KU Wind และ NOW ได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เพื่อเป็นการปลุกขวัญกำลังใจของนักดนตรี
............................................................................................................................
การบรรเลงของวง KUWind และ NOW
ได้รับคัดเลือกให้ลงอยู่ใน DVD Highlight fromWMC 2013
ช่วงเวลาสำคัญยิ่งได้เวียนมา คือ ระหว่าง วันที่ 17-26 กรกฎาคม 2560
ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้นำทีมวงดุริยางค์เครื่องลมไปร่วมแข่งขันดนตรีระดับโลก
ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และแล้ว “ธงชาติไทย” ได้โบกสบัด
ในเวทีแข่งขันดนตรีระดับโลกอีกครั้ง
............................................................................................................................

ภายหลังวง Kasetsart University Wind Symphony & Nontri Orchestra Wind
ได้บรรเลงเพลงจบลงทุกเวที ถือเป็นความสำเร็จ และนำชื่อเสียงให้ปรากฏ
กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศชาติ และนานาประทศ
............................................................................................................................

รายละเอียดของการแสดงและรางวัล มีดังนี้
17-0811-001.indd 15 9/13/60 BE 10:49 AM
............................................................................................................................
1. การประกวดดนตรีโลก
1.1 วงดุริยางค์เครื่องลมได้รับรางวัลเหรียญทอง
เกียรตินิยม (Gold with distinction) ด้วยคะแนน 91.00 คะแนน
............................................................................................................................
จากการประกวดในประเภท Concert 1st Divisionณ Rodahal
เมือง Kerkrade ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
โดย อ.จิณณวัตร มั่นทรัพย์อำนวยเพลงThe Unknown Journey
ประพันธ์โดย Philip Sparke คีตกวีชาวอังกฤษ ซึ่งใช้เป็นบทเพลงบังคับ
ที่ทางคณะกรรมกำหนดส่วน อ.สุรพล ธัญญวิบูลย์ อำนวยเพลง
เพลง Symphony No.4 ประพันธ์โดย David Maslanka
คีตกวีชาวอเมริกันซึ่งเป็นบทเพลงที่วงคัดเลือก
............................................................................................................................
1.2 วงเครื่องกระทบ (Percussions Ensemble)
ได้รับรางวัลเหรียญทองด้วยคะแนน 89.4 คะแนน จากการประกวดใน
ประเภท World Division ณ ParkstadLimburd Theater เมือง Kekrade
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยเพลงที่ใช้บรรเลงประกวดประกอบไปด้วย
เพลงจากผู้ประพันธ์ชาวตะวันตก ชาวญี่ปุ่น รวมถึงผลงานการประพันธ์
ของ อ.จิณณวัตร มั่นทรัพย์ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีตะวันตก ภาควิชาดนตรี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
............................................................................................................................
2. การแสดงเผยแพร่วัฒนธรรม และน้อมรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณ และแสดงถึงพระอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
............................................................................................................................
2.1 วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 20.00 น.
แสดงคอนเสิร์ตและการแสดงร่วมกับวงดุริยางค์เยาวชนภาคพื้นยุโรป
European Union Youth Wind Orchestra ณ Rodahal เมืองKerkrade
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
............................................................................................................................
2.2 วันที่20 กรกฎาคม 2560 เวลา 20.00 น.
แสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวง Sint-MartinusOpgrimbie ณ เมือง Opgrimbie
ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม
............................................................................................................................
2.3 วันที่ 23 กรกฏาคม 2560 เวลา 15.00 น. แสดงคอนเสิร์ต
ณ โรงละครกลางแจ้ง OpenluchttheaterValkenburg ราชอาณจักรเนเธอร์แลนด์
............................................................................................................................
17-0811-001.indd 16 9/13/60 BE 10:49 AM
ในการแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
อาทิ เตือนใจ แสงเดือน แผ่นดินของเราพร้อมทั้งได้นำ
บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระองค์ ได้แก่
พระราชาในนิทานฉบับเนื้อร้องภาษาอังกฤษ รวมถึงบทเพลงไทย อาทิ
ลาวสมเด็จเต้ยโขง ระบำลพบุรี ไปเผยแพร่ร่วมกับบทเพลงแบบตะวันตกอีกมากมาย
โดยมี อ.จิณณวัตร มั่นทรัพย์ ดร.นิพัต กาญนะหุต และ อ.สุรพล ธัญญวิบูลย์
เป็นผู้อำนวยเพลงการแสดงได้รับความชื่นชมจนผู้ชมลุกขึ้นยืนปรบมือ
(Standing Ovation) ในทุกรายการ
โดยเฉพาะ ในการบรรเลงประกวดวง Kasetsart University Wind Symphony
& Nontri Orchestra Wind เป็นวงเดียว
ที่ผู้ชมร่วมStanding Ovation อย่างยาวนาน
............................................................................................................................
เมื่อวงดุริยางค์เครื่องลม เดินทางกลับถึงประเทศไทย
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้แสดงความยินดีกับ คณาจารย์ และน้องๆ ทุกคน
ทีไ่ด้สร้างชื่อเสียงเกียรตยิศ ให้ มก. และประเทศไทยในเวทีโลกอีกครั้ง
............................................................................................................................
และกล่าวว่าถือเป็นความสำเร็จของภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มก.
ในการจัดการเรียนการสอนที่เห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
ว่านิสิตภาควิชาดนตรีของเราเปี่ยมด้วยคุณภาพ
คือ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านดนตรีอย่างแท้จริง
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมสนับสนุนและให้ความสำคัญ

ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างมืออาชีพ
............................................................................................................................
อนึ่ง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ดร.สุรพล ธัญญวิบูลย์
Music Director ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยาสตร์ มก. ได้จัดงาน
ระดมทุนพี่น้อง KU และภาคเอกชนผู้ใจดี เพื่อสบทบเป็นค่าใช้จ่าย
ในการเดินทางไปแข่งขันดนตรีเวทีระดับโลก ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนหนึ่งแล้ว สำหรับยอดเงินที่ได้จากการระดม
ทุนครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,448,000 บาท (สองล้านสี่แสนสี่
หมื่นแปดพันบาทถ้วน) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการเดินทางไป
แข่งขันครั้งนี้ งานดังกล่าว มีผู้อุปการะคุณมาร่วมมากมาย
อาทิ ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 ,
ทีมงาน ส.มก., คุณไกร ตั้งสง่า ,คุณศิริ ชมชาญ ศิษย์เก่า
รุ่นพี่-เพื่อน-รุ่นน้องของ มก. จึงขอขอบพระคุณทุกท่าน มา ณ
ที่นี้เป็นอย่างสูง

............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:39:50 น.
Counter : 736 Pageviews.  

blog KU-ABC "วงดนตรีรวมดาวกระจุยในยุคแรกเริ่ม"

            blog KU-ABC"วงดนตรีรวมดาวกระจุยในยุคแรกเริ่ม"
                                                                                                                                                                                                                            รุ่งแสง
                วงดนตรี "รวมดาวกระจุย" เป็นวงดนตรีน้องใหม่
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2512
หลังจากที่มีวงดนตรี เค.ยู.แบนด์ และวงดนตรีไทยมาก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2496
และ พ.ศ 2502 ตามลำดับ



วงดนตรีรวมดาวกระจุยเป็นวงดนตรีลูกทุ่ง
ที่เกิดจากความคิดริเริ่มของ นายชวลิต พงษ์ศิริ (บอย) นิสิต มก. รุ่น 28
ซึ่งเป็นนิสิตค่ายอาสาพัฒนากำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 2 คณะเกษตร
ด้วยความเป็นผู้ที่มีอุปนิสัย สนุกสนาน ร่าเริง
และมีความเป็นศิลปินเต็มตัว
..........................................................................................................................

จึงเป็นผู้สร้างบรรยากาศความครึกครื้นสนุกสนานแก่หมู่นิสิตด้วยกันเป็นปรจำ
นายชวลิต ฯ ได้นำเอาอุปกรณ์เครื่องครัวของชมรมค่ายอาสาพัฒนา
ได้แก่ หม้อ ฝาหม้อ ไม้ขัดหม้อ ตะหลิว ฯลฯ
มาเป็นเครื่องดนตรีเคาะตีจังหวะประกอบการร้องรำทำเพลง
นับเป็นความคิดสร้างสรรค์อันบรรเจิดที่นำมาสู่จุดเริ่มต้น
ของการก่อตั้งวงดนตรีรวมดาวกระจุย

  
ในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นปีแห่งการก่อตั้งวงดนตรีรวมดาวกระจุย
สมาชิกของวงส่วนใหญ่ล้วนเป็นนิสิตค่ายอาสาพัฒนา
ประกอบด้วย นิสิตรุ่น 27 ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 3 นิสิตรุ่น 28
ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 2 และนิสิตรุ่น 29 ซึ่งกำลังเรียนในชั้นปีที่ 1
............................................................................................................................
   โอกาสแจ้งเกิดของวงดนตรีรวมดาวกระจุยมาถึง
ในวันหนึ่งเมื่อได้ไปแสดงกิจกรรมในงานออกร้านกาชาด
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่สวนอัมพร
โดยนำเอาอุปกรณ์เครื่องครัวของชมรมนิสิตค่าย ฯ
ไปเคาะตีจังหวะประกอบกับการร้องรำทำเพลง
สร้างบรรยากาศรื่นเริงสนุกสนานและความพึงพอใจเป็นอย่างมาก
แก่ผู้ที่มาเที่ยวชมงาน
............................................................................................................................

ในวันนั้น พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายจอมพลถนอม กิตติขจร
ได้ประสบพบเห็นเข้าจึงเกิดความประทับใจ
และได้หมายตาที่จะนำนิสิตกลุ่มนี้
ไปแสดงในงานฉลองวันเกิดของจอมพล ถนอม กิตติขจร
............................................................................................................................
พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ได้ติดต่อกับ ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น
เพื่อขอให้นิสิตกลุ่มนี้ไปแสดงดนตรีในงานฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี
ของจอมพลถนอม กิตติขจร
............................................................................................................................
ม.จ. จักรพันธ์ฯ ได้ให้เงินจำนวน 500 บาทแก่นิสิตกลุ่มนี้
เพื่อไปจัดหาเช่าเครื่องดนตรีงานดังกล่าว
นิสิตกลุ่มนี้ได้สร้างชื่นชอบแก่ผู้ที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก
ทั้งๆที่เป็นวงดนตรีวงเดียวที่แสดงโดยนิสิต ส่วนวงดนตรีอีก 2 วงนั้น
เป็นวงดนตรีไทยสากลและวงสตริงคอมโบซึ่งเป็นวงดนตรีชั้นนำระดับอาชีพ
............................................................................................................................
 เมื่อการแสดงดนตรีของนิสิตกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันทั่วไป
ก็ได้รับเชิญให้ไปแสดงดนตรีในโอกาสต่างๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้ไปแสดงดนตรี
ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ทุ่งมหาเมฆ
ก็ได้สร้างความชื่นชอบให้นักศึกษาเป็นอย่างมาก
........................................................................................................................

นายชวลิตฯจึงได้ชวนสมาชิกในกลุ่มมาปรึกษาหารือกัน
เพื่อก่อตั้งวงดนตรีอย่างเป็นทางการเพราะมีเสียงตอบรับดีมาก
จากการแสดงในแต่ละครั้ง  เมื่อสมาชิกในกลุ่มต่างเห็นพ้องต้องกันแล้ว
นายชวลิตฯ จึงได้ดำเนินการขอมหาวิทยาลัย ฯ
ตั้งวงดนตรีเพื่อเป็นกิจกรรมของนิสิต
เมื่อมหาวิทยาลัยฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว
วงดนตรีรวมดาวกระจุยจึงอุบัติขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยมีการเล่นดนตรีในรูปแบบสตริงคอมโบ
ประกอบด้วยเเครื่องดนตรี 4 ชิ้น
ได้แก่ กีตาร์ เบส กีตาร์คอร์ด กีตาร์ลีด และกลองชุด
............................................................................................................................

ในครั้งหนึ่งวงดนตรีรวมดาวกระจุยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ให้ไปแสดงดนตรีที่สวนอัมพร
หลังจากที่ในหลวง ร.9 และพระราชินีเสด็จ ฯ ทอดพระเนตรชม
การแสดงโขนธรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์
ในช่วงพักการแสดงโขนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง
ในหลวง ร.9 และพระราชินีเสด็จฯไปเสวยพระสุธารสชา
ที่บริเวณสนามหญ้าสวนอัมพร
เพื่อทอดพระเนตรชมการแสดงของวงดนตรีรวมดาวกระจุย
ได้สร้างความปลื้มปิติแก่วงดนตรีรวมดาวกระจุยอย่างหาที่สุดมิได้
และในเวลาต่อมาวงดนตรีรวมดาวกระจุยได้รับพระราชทานเลี้ยง
ร่วมกับโขนธรรมศาสตร์ที่พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน
............................................................................................................................
คุณหญิงวิลาวัลย์ วีรานุวัตต์ (ท่านผู้หญิง วิลาวัลย์ วีรานุวัตต์
ในปัจจุบันเลขาธิการคณะกรรมการร้านจิตรลดา
ในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
เป็นผู้หนึ่งที่มีความชื่นชอบกับการแสดงของวงดนตรีรวมดาวกระจุยเป็นอย่างยิ่ง
วงดนตรีรวมดาวกระจุยจึงมักได้รับเชิญให้ไปร่วมงานสังสรรค์
ที่บ้านของคุณหญิงวิลาวัลย์ฯอยู่เป็นประจำ
............................................................................................................................

วงดนตรีรวมดาวกระจุยมีบทบาทสำคัญในการหารายได้
ให้แก่ชมรมนิสิตค่ายฯ เพื่อนำเงินและสิ่งของต่างๆ
นำไปสร้างโรงเรียนในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีโรงเรียนในทุกภูมิภาค
ไม่ว่าจะเป็นการออกอากาศทางโทรทัศน์
ซึ่งเป็นรายการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การแสดงดนตรีตามโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นเวลาก่อนภาพยนตร์
............................................................................................................................
ด้วยความมีชื่อเสียงอันโด่งดังวงดนตรีรวมดาวกระจุย
จึงได้ออกอากาศทางโทรทัศน์เพื่อระดมทุน
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมการออกรายการโทรทัศน์
ในครั้งหนึ่งมีนายเสน่ห์ โกมาลาชุน มาร่วมเป็นพิธีกรด้วย
รวมถึง ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์
ผู้ซึ่งชื่นชมและชื่นชอบวงดนตรีรวมดาวกระจุยเป็นอย่างยิ่ง
ก็มาร่วมทำหน้าที่เป็นพิธีกรกับวงอยู่หลายครั้งหลายครา
............................................................................................................................
วงดนตรีรวมดาวกระจุยมีงานแสดงต่างๆมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา อาทิ
-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-รร. มาแตร์เดอี รร.สตรีวิทยา
-รร.สายปัญญา ฯลฯ
รวมถึงการแสดงดนตรีในโรงภาพยนตร์ต่างๆ อาทิ
-สกาลา
-เอเธนส์
-คิงส์
-ควีนส์ ฯลฯ
ตลอดจนไปแสดงดนตรีในงานวัดต่างๆ
............................................................................................................................

ความมีชื่อเสียงที่โด่งดังของวงดนตรีรวมดาวกระจุยไปได้ไกล
ถึงได้ร่วมแสดงดนตรีในเวทีเดียวกันกับวงดนตรีสตริงคอมโบชั้นนำของประเทศ
ในขณะนั้น คือ วงซิลเวอร์แซนด์ และวงดิอิมพอสสิเบิล ฯลฯ
............................................................................................................................
 อาจารย์ที่ให้คำปรึกษาและให้การอนุเคราะห์
แก่วงดนตรีรวมดาวกระจุยเป็นอย่างมาก
คือ ศ.ระพี สาคริก ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่นิสิตชาวค่าย ฯ
ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งเปรียบเสมือนจิตวิญญาณของชมรมนิสิตค่ายอาสาพัฒนา
นิสิตชาวค่ายฯ เรียกท่านว่า “คุณพ่อ”
นอกจากนี้แล้วยังมีอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ
ที่คอยให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ
............................................................................................................................
ความเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นศิลปินที่หาตัวจับได้ยาก
ของนายชวลิต ฯ วงดนตรีรวมดาวกระจุย
จึงได้รับการขับเคลื่อนให้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
นายชวลิต ฯ ได้ใช้ศักยภาพอันล้นเหลือของตนอย่างเต็มที่
เริ่มตั้งแต่การนำเอาอุปกรณ์เครื่องครัวมาประยุกต์ใช้
เป็นเครื่องดนตรีเคาะตีจังหวะประกอบการร้องรำทำเพลง
............................................................................................................................
การสร้างสรรค์ให้มีเพลงประจำวงชื่อเพลง "รวมดาวกระจุย "
ซึ่งเนเพลงแปลงแต่งเนื้อร้อง โดยนายชวลิต
โดยนำทำนองจาก เพลง “China Boy”
ซึ่งเป็นเพลงแจ๊ซในแบบฉบับสวิงสำหรับการเต้นรำที่สนุกสนาน
ในยุค ค.ศ.1930-1940
............................................................................................................................
ตลอดจนการต่อเพลงให้นักร้องคิดมุขคำพูด
และลีลาท่าทางให้แก่โฆษกหน้าเวที
แม้แต่ชื่อของนักร้องและโฆษกก็ยังเป็นผู้ตั้งชื่อให้
อาทิ“น้ำผึ้ง ศรีเมืองนนท์”, “ยุทธ ยืดยาว” , “ก๊กหย่วน” , “นพ เนรคุณ” ฯลฯ
............................................................................................................................
ชื่อเสียงอันเกรียงไกรและเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่
ของวงดนตรีรวมดาวกระจุยที่รุ่นพี่เป็นผู้สร้างให้
ซึ่งเป็นวงดนตรีลูกทุ่งสมัครเล่นที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของประเทศไทย
ในยุคหนึ่งและมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น 
เป็นสิ่งที่นิสิตปัจจุบันวงดนตรีรวมดาวกระจุย
จะต้องรักษาเอกลักษณ์และชื่อเสียงของวง
ให้มีความยั่งยืนต่อไปตราบนานเท่านาน
............................................................................................................................
 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:40:48 น.
Counter : 3124 Pageviews.  

blog KU-ABC"ย้อนอดีต... เค.ยู. แบนด์ในยุค 2 ทศวรรษแรก"

         blog KU-ABC" ย้อนอดีต...เค.ยู. แบนด์ในยุค 2 ทศวรรษแรก"
                                                    รุ่งแสง

      เค.ยู.แบนด์ เป็นวงดนตรีสากลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งเป็นวงดนตรีสากลของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
วงแรกของประเทศไทย
............................................................................................................................

เกิดขึ้นจากแรงผลักดันด้วยใจรักของ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น
เค.ยู.แบนด์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2494
............................................................................................................................
ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ ได้เป็นผู้จัดหาเครื่องดนตรีให้กับเค.ยู.แบนด์
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
พระราชทานให้ยืมเครื่องดนตรีแก่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ อาทิ
โซปราโนแซ็กโซโฟน, อัลโตแซ็กโซโฟน,
เทเนอร์แซกโซโฟน บาริโทนแซ็กโซโฟน ฯลฯ
............................................................................................................................
สำหรับการซ้อมดนตรี
เค.ยู.แบนด์ ได้ใช้ห้องว่างของเรือนเขียวซึ่งเป็นที่ทำงาน
ของส ำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่หน้าตึกสัตวบาล
ใกล้ประตู 1 ริมถนนงามวงศ์วาน
ต่อมาในภายหลัง เมื่อ เค.ยู.แบนด์
มีพัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ
จนสามารถจัดหาเครื่องดนตรีได้เพิ่มขึ้น
............................................................................................................................
จนสามารถจัดหาเครื่องดนตรีได้เพิ่มขึ้น
ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ จึงได้ถวายคืนเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้ยืม
เพื่อนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีเก่าส่วนพระองค์
ที่สวนหลวง ร.9 ตามพระราชดำริ
............................................................................................................................
ส่วนเครื่องดนตรีแซ็กโซโฟน
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9
พระราชทานให้ ยืมมานั้น ซึ่ง  เค.ย.ู แบนด ์
ได้อัญเชิญขึ้นเป็น “เครื่องครู” ในพิธีไหว้ครูของ เค.ยู.แบนด์
............................................................................................................................
แต่เมื่อ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ ได้ถวายคืนไปแล้ว
พระองค์จึงพระราชทานภาพแซ็กโซโฟนขนาดใหญ่
สำหรับวง เค.ยู.แแบนด์ ใช้ประกอบพิธีไว้แทน
............................................................................................................................
ในปี 2496 ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ
ได้นำนักดนตรีวง เค.ยู.แบนด์ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อถวายตัว
และเล่นดนตรีถวายพระองค์โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
เป็นประจำทุกวันศุกร์ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
............................................................................................................................
เค.ยู.แบนด์ได้ออกงานเล่นดนตรีเป็นครั้งแรก
ในงานวันไก่ ซึ่งเป็นการประกวดไก่ไข่ดก
มีการมอบรางวัลแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ที่ชนะการประกวด
ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้เลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย
นักดนตรี วงเค.ยู.แบนด์ที่เล่นดนตรีในวันนั้น
ประกอบด้วย ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯทรงบราริโทนแซ็กโซโฟน
และนิสิตชายอีก 9 คน
............................................................................................................................
ปิฏฐะเป่าเทเนอร์เซ็กโซโฟน,
ตระกูล เป่าโซปรานิโนแซ็กโซโฟน,
อวบ เหมะ รัชตะ เป่าทรัมเป็ต,
ระพี สาคริก เล่นไวโอลิน,
พลทิพ โกมารกุล ณ นคร เล่นกีตาร์ฮาวาย,
ประเทือง เล่นกีตาร์ สแปนิช,
สุรพล สงวนศรี เล่นกีตาร์สแปนิช,
ชูชีพ เล่นเกีตาร์เบส
และทวีชัย ตีกลอง
............................................................................................................................
ส่วนนิสิตชายและหญิง ซึ่งเป็นนักร้อง มี 8 คน
ได้แก่ เสริมลาภ, ศรีพักตร์, พยันต์, วิเชียร, อวยชัย, วารุณี,
มณฑา และพิมล นอกจากนี้ยังมี ร.อ. คนึง เกรียงศักดิ์พิชิตเล่น
แอคคอร์เดียน ซึ่งเป็นแฟนของนักร้องหญิงคนหนึ่ง และโฉมฉายซึ่ง
เป็นน้องสาวของ พลทิพ โกมารกุล ณ นคร มาร่วมร้องเพลงอีกมาร่วมร้องด้วย
............................................................................................................................
เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในงานวันไก่นั้น
นอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับพระราชทานให้ยืมแล้ว
ยังต้องไปเช่าเพิ่มเติมจากร้านขายเครื่องดนตรีที่เวิ้งนาครเขษม
การเล่นดนตรีในวันนั้น เริ่มเล่น ตั้งแต่เวลา
16.00 - 18.00 น. โดยเล่นเพลงพระราชนิพนธ์
“ใกล้รุ่ง” เป็นเพลงแรก หลังจากการเล่นดนตรีในงานวันไก่แล้
.........................................................................................................................
เค.ยู.แบนด์ ได้มีโอกาสไปเล่นดนตรีในงานนอกสถานที่เป็นครั้งแรก
ซึ่งเป็นวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งานที่สองไปเล่นดนตรีในงานแต่งงานของนิสิตเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรี
............................................................................................................................
ในปี 2495 เค.ยู.แบนด์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
จัดซื้อเครื่องดนตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประกอบด้วย กลอง 1 ชุด ทรัมเป็ต และเบสอย่างละ 1 ชิ้น
นอกจากนั้นยังได้รับวามอนุเคราะห์จากบุคคลภายนอก
สนับสนุนกิจการของวง เค.ยู.แบนด์
โดยมี จอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บริจาคเงินให้หลายครั้งและมอบเปียโนหนึ่งหลัง
พล.ต.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ให้คนสนิทนำเงินมามอบให้ วงเค.ยู.แบนด์หลายครั้ง ๆ ละหลายพันบาท
............................................................................................................................
ในระหว่างปี 2495-2496
เค.ยู.แบนด์ได้เล่นในงานวันพระราชทานปริญญาบัตร
งานต้อนรับน้องใหม่และยังได้เล่นงานนอกสถานที่หลายแห่ง
อาทิ งานวันเกิด งานวันแต่งงาน ฯลฯ
............................................................................................................................
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิหาที่สุดมิได้
ในปี 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เสด็จพระราขดำเนินไปทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น
บริเวณริมสระน้ำ หน้าหอประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2506
หลังจากทรงปลูกต้นนนทรี
ได้เสด็จพระราชดำเนิน เข้าหอประชุมใหญ่
เพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วง เค.ยู.แบนด์
9 ปี ตั้งแต่ ปี 2506- 2515
............................................................................................................................
เรื่องราวในอดีตที่ เค.ยู.แบนด์ มีความเกี่ยวข้องกับบุคคล
สำคัญท ซึ่งป็นนายกรัฐมนตรี มี 3 คน
คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐในขณะนั้น
อยากทดสอบความสามารถของวง เค.ยู.แบนด์
โดยขอให้เล่นเพลงไทยเดิม
ดูเหมือนว่าจะเป็นเพลงตับเพลงเถา
เนื่องจากวงเค.ยู.แบนด์เป็นวงดนตรีสากลไม่สามารถเล่นเพลงไทยเดิมได้
จึงแก้ไขสถานการณ์โดยให้ทัศนีย์ (ดร.พรพรหม)
ร้องเพลง “นกขมิ้น”  ซึ่งมี อ.ระพี สาคริกเล่นไวโอลิน
............................................................................................................................
และในครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้สอบวง เค.ยู.แบนด์
ได้ร่วมเล่นดนตรีกับวงลายคราม ที่สถานีวิทยุ อส.
ม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช ได้ให้กำลังใจ
กับนักดนตรีวง เค.ยู.แบนด์
โดยแต่งเพลงสักวาอวยพรให้ทุกคนสอบได้คะแนนดี
............................................................................................................................

และเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2499
เค.ยู.แบนด์ ได้ไปเล่นดนตรี ในงานสมรส
ของนายอานันท์ ปัณยารชุนกับ ม.ร.ว. สดศรี
เค.ยู.แบนด์ได้เล่นเพลง “สดศรี-อานันท์”
ซึ่งเป็นเพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ เป็นผู้แต่ง
เพื่ออวยพรแก่คู่บ่าวสาวทั้งสอง
...........................................................................................................................
ในปี 2495 วงเค.ยู.แบนด์ ได้เดินทางไปเล่นดนตรี
ที่ภาคเหนือ เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
............................................................................................................................
และในวันที่ 1 ตุลาคม 2496 เค.ยู.แบนด์
ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
และเล่นดนตรีถวายที่วังสุโขทัย
............................................................................................................................
ในปี 2496 และ ปี 2497 เค.ยู.แบนด์ไปเล่นดนตรี
ที่ร้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งเป็นงานฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี
งานนี้เลิกดึกในช่วงเวลา ตี 2 -ตี 3
แต่นักดนตรีต้องตื่นเช้าไปเรียนหนังสือทุกวันตามปกติ
............................................................................................................................
วันที่ 16 ธันวาคม 2497 สถานีวิทยุ อ.ส.
และสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ได้จัดให้มีการประกวดดนตรีสากลประเภทมหาวิทยาลัย
และโรงเรียนเป็นครั้งแรก
สถาบันการศึกษาที่ส่งวงดนตรีเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้มี 8 แห่ง
ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
โรงเรียนนายร้อย จปร.,โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนวชิราวุธ,
และโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
ผลการประกวดวงดนตรีในครั้งนั้น
วงเค.ยู.แบนด์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
............................................................................................................................
ในปี 2498 วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปเล่นดนตรีเป็นประจำ
ที่สโมสรจัสแม็ก ซึ่งเป็นหน่วยทหารของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
............................................................................................................................
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2498 วงเค.ยู.แบนด์ได้เล่นดนตรีอัดแผ่นเสียง
เป็นครั้งแรกที่บริษัทดี คูเปอร์ ถนนราชดำเนินกลาง
โดยอัดเพลงทั้งหมดรวม 6 เพลง
............................................................................................................................
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2498 วงเค.ยู.แบนด์
ได้เล่นดนตรีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ในงานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท
............................................................................................................................
ระหว่างวันที่ 4-17 ตุลาคม 2498
วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปตระเวนเล่นดนตรีภาคเหนือเป็นครั้งที่ 2
หลังจากที่เคยตระเวนภาคเหนือเป็นครั้งแรก
............................................................................................................................
เมื่อปี 2496 ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ และหม่อมวิภา
ได้เดินทางร่วมกับวงเคยู.แบนด์ หลังจากตระเวนเล่นดนตรีภาคเหนือ
กลับมาแล้ว วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปเล่นดนตรีสลับกับรีวิวญี่ปุ่น
ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตติดต่อกันหลายวัน วันๆละหลายรอบ
รวมถึงไปเล่นดนตรีในงานต่างๆ อีกมากมาย
ทั้งงานแต่งงาน งานวันเกิด งานลีลาศและงานการกุศลต่าง ๆ
............................................................................................................................
การเล่นดนตรีของวงเค.ยู.แบนด์ ในระยะแรก
เพลงที่เล่นเป็นหลัก ได้แก่ เพลงพระราชนิพนธ์
และเพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนอง
นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นครเป็นผู้แต่ง
............................................................................................................................
ต่อมาภายหลังเมื่อนักดนตรี วง เค.ยู.แบนด์อ่านโน๊ตได้คล่องแคล้วขึ้น
และมีการพัฒนาทักษะการเล่นดนตรี ดีขึ้น
จึงเริ่มเล่นเพลงเซ็ทของวงดนตรีชั้นนำโลก อาทิ
วง Glenn Miller, วง Benny Googman, เพลง Duke Ellington,
เพลง Count Basey เป็นต้น
............................................................................................................................
เพลงดังของวง เค.ยู.แบนด์ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง
ได้แก่ เพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ แต่งคำร้องและทำนอง
อาทิ หลงคอย, ดาวดล, จวบฟ้าดิน ฯลฯ
รวมถึงเพลงรำวง อาทิ รำวงเกษตร, รำวงชาวทะเล
เพลงรำวงที่เป็นเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ได้แก่
Bangkok Swing (มาละเหวย มามละวา)
Bangkok Blue (รำวงพวงมาลัย) ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงที่ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แต่ง อาทิ
พร่ำรัก, ฝากรัก ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงที่ ศ. ระพี สาคริก เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนอง
คือ ทะเลงาม ส่วนเพลงบรรเลงที่วงเค.ยู.แบนด์ เล่น
ได้แก่ เพลงของ Glenn miller อาทิ เพลง In the Mood, Moonlight
Serenade ฯลฯ วง Duke Ellington อาทิ In a Mellotone,
Satin Doll, Mood Indigo ฯลฯ วง Count Basey อาทิ Perdido,
Skylark, Take the “A” Train, Blue Moon ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงสากลที่ มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ ร้องมีหลายเพลง อาทิ
My Blue Heaven,Dinah, St.Louis Blue, St.James Infirmary Blue etc.
............................................................................................................................
นับตั้งแต่ปี 2494 -ปัจจุบัน
เค.ยู.แบนด์ วงดนตรีสากลแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 67 เกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่และเกียรติประวัติอันเกรียงไกรของ เค.ยู.แบนด์
ในอดีต ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีมาตรฐานการเล่นดนตรีเฉก
เช่นในอดีต มีการพัฒนาศักยถาพให้สู่ขึ้น
เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นดนตรีของ เค.ยู.แบนด์ไปสู่ Big Band
ระดับสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมดนตรีสากล เค.ยู.แบนด์
และนิสติ เก่า เค.ยู.แบนด์ ทุกคนจะต้องหลอมรวมพลัง
เพื่อช่วยกันขับเคลื่อน " เค.ยู.แบนด์ " ให้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่สืบไป
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:41:48 น.
Counter : 911 Pageviews.  

blog KU-ABCตำนานชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

             blog KU-ABC" ตำนานชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ "
                                                                                                                                                      รุ่งแสง
             
ประวัติความเป็นมาของชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในอดีต ในช่วงเริ่มแรกนั้นมีผู้เล่นดนตรีไทยอยู่เพียงไม่กี่ค
นมีการเล่นดนตรีกันเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัย
ไม่มีผู้ที่มีใจรักในการเล่นดนตรีไทยอย่างแท้จริง
ในระหว่างที่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นนิสิตกำลังเรียนอยู่ที่คณะสหกรณ์


.......................................................................................................................
ทุกยามเย็นหลังเลิกเรียนก็มักเล่นดนตรีกับเพื่อนบางคน
ที่มีใจรักดนตรีไทยอยู่เป็นประจำ ด้วยความมีปณิธานอย่างแรงกล้า
ในการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่
ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ จึงมักคอยครุ่นคิดถึง
การหาวิธีการก่อตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาให้ได้  
ปัญหาของการก่อตั้งวงดนตรีไทย
คือ ต้องใช้เงินจำนวนมาก
อีกทั้งไม่มีครูสอนดนตรีไทยเป็นเรื่องเป็นราว
.......................................................................................................................
     เมื่อปี พ.ศ. 2501 หลังจากที่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศแล้ว
ได้กลับมาเป็นอาจารย์มาสอนหนังสือที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์
มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ความมุ่งมั่นและปณิธาน
ที่มีอยู่เดิมกับการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่ยังอยู่ในความคิดตลอดเวลา
.........................................................................................................................
จึงได้นำความคิดดังกล่าวไปปรึกษากับหลวงอิงค์ฯ (ศ.อินทรี จันทรสถิตย์)
ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น หลวงอิงค์ฯ ได้ให้ความเห็นชอบ
จึงนำไปปรึกษาหารือของบประมาณจาก ยูซอม (USOM)
ในวงเงิน 40,000 บาท ในตอนแรกยูซอมก็ได้ให้ความเห็นชอบ
............................................................................................................................
แต่ต่อมากลับเปลี่ยนท่าทีไม่ให้ความเห็นชอบ
โดยอ้างว่าการของบประมาณมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนิสิต
ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่
ขึ้นมานั้นเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรแก่นิสิต
และยังเป็นการอนุรักษ์ดนตรีไทย
ซี่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย
.........................................................................................................................
    อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ก็หาได้ละความพยายามไม่
ในที่สุดก็ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยโดยตรง
จนสามารถก่อตั้งวงดนตรีไทยเป็นผลสำเร็จ
............................................................................................................................
จึงได้ลงมือก่อตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาทันที
โดยได้ขอให้ ครูศร ศิลปบรรเลงช่วยติดต่อหาช่างฝีมือดี
มาจัดทำเครื่องดนตรีไทยในแต่ละชนิด
เพราะต้องการเครื่องดนตรีไทยที่มีคุณภาพและมีความประณีต
โดยได้ใช้เวลานานถึง 8 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ
จนมีมโหรีเครื่องใหญ่ครบชุดประกอบด้วย
จะเข้ ซองา เครื่องไม้ประกอบงาและอื่น ๆ
........................................................................................................................

นอกจากมีเครื่องมโหรีแล้ว ยังมีเครื่องสายผสมขิม
แคนวงและอังกะลุงอีกอย่างละ 1 ชุด
รวมมีเครื่องดนตรีมากถึง70 ชิ้น
...........................................................................................................................
      ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้ขอให้มหาวิทยาลัย
สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างครูสอนดนตรีไทย
โดยมีคุณประสิทธิ์ ถาวร เป็นครูสอนดนตรีไทยเป็นคนแรก
ซึ่งก็ได้สอนนิสิตให้เป็นนักดนตรีไทยของมหาวิทยาลัย
หลังจากมีชมรมดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยแล้ว
ก็ได้ออกไปเผยแพร่และแนะนำดนตรีไทยตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
...........................................................................................................................
อาทิ ไปที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ครั้ง
รวมถึงไปสอนที่วิทยาลัย โรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ
............................................................................................................................

ในปี พ.ศ. 2501 ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ได้เริ่มใช้สถานีโทรทัศน์ช่อง 7
และ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม
เป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ดนตรีไทยแก่สาธารณชน
............................................................................................................................
หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีวงดนตรีไทยเกิดขึ้นตามมหาวิทยาลัย
และวิทยาลัยต่าง ๆ เมื่อมีการเล่นดนตรีไทยกันมากขึ้น
แต่ละวงก็มีการพัฒนาฝีไม้ลายมือกันเป็นขนานใหญ่
เพื่อสร้างชื่อเสียงให้วงของตนเป็นที่ยอมรับ
ในหมู่วงดนตรีไทยด้วยกัน ส่วนใหญ่มีการเล่นดนตรีไทยมาตรฐานเป็นหลัก
แต่วงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยังคงเล่นเพลงเนื้อเต็มและเพลงที่คนสมัยนั้น
ชื่นชอบเพราะด้วยเหตุผลที่ว่ามีวัตถุประสงค์
ในการเผยแพร่วงดนตรีไทยในวงกว้าง
และส่งเสริมกิจกรรมดนตรีไทยให้แพร่หลาย
............................................................................................................................

ประการสำคัญเพื่อให้คนในสังคมรู้จักดนตรีไทย
และฟังดนตรีไทยเป็น ที่ไหนยังไม่มีวงดนตรีไทย
ก็ไปแนะนำให้มีการตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมา
.........................................................................................................................
          เมื่อมีวงดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น
แต่ละวงก็พยายามสร้างชื่อเสียงให้กับวงของตน
ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ จึงได้ริเริ่มนัดหมายให้วงดนตรีไทยทุกแห่ง
มาร่วมสังสรรค์กันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ในการร่วมกันอนุรักษ์และรักษาดนตรีไทย
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป
.....................................................................................................................
        ในปี พ.ศ. 2504 ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ได้ริเริ่มจัดให้มีพิธีไหว้ครูดนตรีไทยครั้งใหญ่ขึ้น
โดยได้เชิญวงดนตรีไทยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ
มาร่วมเล่นดนตรีไทยกันอย่างคึกครื้น
โดย เป็นผู้อ่านโองการในพิธีไหว้ครู
............................................................................................................................
ในปี พ.ศ. 2509 วงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นเจ้าภาพจัดให้มีงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
เป็นครั้งแรก ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร
...........................................................................................................................
โดยมีอาจารย์ นิคม กลิ่นเกษตร
ซึ่งเป็นอาจารย์ ผู้ช่วยควบคุมวงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในขณะนั้นเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการดำเนินงานทั้งหมด
เนื่องจากในเวลานั้น ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ไปทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญของUNDP ในตำแหน่ง
ที่ปรึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประเทศมาเลเซีย
............................................................................................................................

อย่างไรก็ตาม ศ..ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ก็ได้คอยสั่งงานและคำแนะนำแก่อาจารย์นิคมอยุ่เป็นระยะ ๆ
การจัดงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
ก็ประสบความสำเร็จโดยผ่านพ้นไปด้วยความราบรื่น
............................................................................................................................
  ตั้งแต่การจัดงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ริเริ่ม
และเป็นเจ้าภาพในครั้งแรก ต่อมาแต่ละมหาวิทยาลัย
ก็ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา และภายหลังมีวงดนตรีไทย
จากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ มาร่วมงานด้วย
..........................................................................................................................
อาทิ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือและวิทยาลัยต่าง ๆ
แม้แต่ในภูมิภาควงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็มาร่วมงานด้วย
...........................................................................................................................
ในระยะหลัง ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ มีภารกิจต่างๆ รัดตัวมากมาย
อาทิ งานการเป็นผู้บริหาร งานสอนหนังสือ
การได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาและบรรยายในโอหกาสต่างๆ
ตลอดจนได้รับเชิญให้เป็นประธานในงานสังคม
มีอยู่ปีหนึ่งไม่ได้แวะไปเยี่ยมเยียนชมรมดนตรีไทยเลย
ถึงแม้กระนั้นก็ตามนักดนตรีไทยก็มีระเบียบวินัย
ในการฝึกซ้อมด้วยใจรักดนตรีไทย
และมีความสามัคสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี
............................................................................................................................
 เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องในคุณูปการ ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ 
ที่มีต่อชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และวงดนตรีไทยในระดับชาติ 
โดยเป็นผู้ผลักดันและสนับสนุนให้มีการก่อตั้งวงดนตรีไทย
ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
............................................................................................................................
จึงขอนำประวิติโดยย่อของ ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
มาให้ได้ทราบกันพอเป็นสังเขปดังนี้
ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นชาวอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ในวัยเด็กเมื่ออายุ 7 ขวบ ได้เรียนดนตรีไทยกับบิดา
ต่อมาเรียนซอสามสายกับพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)
และเป็นศิษย์ของ หลวงประดิษฐ์ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ซึ่งหลวงประดิษฐ์ได้ทำพิธีมอบให้เป็นครูอ่านโองการได้ เมื่อราว ปีพ.ศ. 2497
...........................................................................................................................
     ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาสาขาวิชาสหกรณ์ คณะสหกรณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
และปริญญาโทที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
..........................................................................................................................
หลังจากนั้นเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ
ที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระหว่างที่เป็นอาจารย์อยู่นั้นได้รับทุนจากรัฐบาลให้ไปศึกษาต่อ
ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา
แล้วได้กลับมาสอนหนังสือที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2500 - 2523
..........................................................................................................................

ปัจจุบันชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนักดนตรีอยู่ราว 35 คนประกอบด้วยเครื่องมโหรีและเครื่องสาย
มีการฝึกซ้อมเล่นดนตรีไทยทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
ที่ชมรมดนตรีไทย ซึ่งอยู่ติดกับสำนักพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร
นักดนตรีไทยเก่ารุ่นพี่และผู้ที่มีความสนใจดนตรีไทยสามารถแวะไปเยี่ยมเยียน
ชมการฝึกซ้อมและให้กำลังใจแก่น้องๆนิสิตนักดนตรีไทยได้ตามอัธยาศัย.
............................................................................................................................
 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:42:51 น.
Counter : 924 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.