Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC"ย้อนอดีต... เค.ยู. แบนด์ในยุค 2 ทศวรรษแรก"

         blog KU-ABC" ย้อนอดีต...เค.ยู. แบนด์ในยุค 2 ทศวรรษแรก"
                                                    รุ่งแสง

      เค.ยู.แบนด์ เป็นวงดนตรีสากลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งเป็นวงดนตรีสากลของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
วงแรกของประเทศไทย
............................................................................................................................

เกิดขึ้นจากแรงผลักดันด้วยใจรักของ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น
เค.ยู.แบนด์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2494
............................................................................................................................
ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ ได้เป็นผู้จัดหาเครื่องดนตรีให้กับเค.ยู.แบนด์
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
พระราชทานให้ยืมเครื่องดนตรีแก่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ อาทิ
โซปราโนแซ็กโซโฟน, อัลโตแซ็กโซโฟน,
เทเนอร์แซกโซโฟน บาริโทนแซ็กโซโฟน ฯลฯ
............................................................................................................................
สำหรับการซ้อมดนตรี
เค.ยู.แบนด์ ได้ใช้ห้องว่างของเรือนเขียวซึ่งเป็นที่ทำงาน
ของส ำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่หน้าตึกสัตวบาล
ใกล้ประตู 1 ริมถนนงามวงศ์วาน
ต่อมาในภายหลัง เมื่อ เค.ยู.แบนด์
มีพัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ
จนสามารถจัดหาเครื่องดนตรีได้เพิ่มขึ้น
............................................................................................................................
จนสามารถจัดหาเครื่องดนตรีได้เพิ่มขึ้น
ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ จึงได้ถวายคืนเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้ยืม
เพื่อนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีเก่าส่วนพระองค์
ที่สวนหลวง ร.9 ตามพระราชดำริ
............................................................................................................................
ส่วนเครื่องดนตรีแซ็กโซโฟน
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9
พระราชทานให้ ยืมมานั้น ซึ่ง  เค.ย.ู แบนด ์
ได้อัญเชิญขึ้นเป็น “เครื่องครู” ในพิธีไหว้ครูของ เค.ยู.แบนด์
............................................................................................................................
แต่เมื่อ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ ได้ถวายคืนไปแล้ว
พระองค์จึงพระราชทานภาพแซ็กโซโฟนขนาดใหญ่
สำหรับวง เค.ยู.แแบนด์ ใช้ประกอบพิธีไว้แทน
............................................................................................................................
ในปี 2496 ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ
ได้นำนักดนตรีวง เค.ยู.แบนด์ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อถวายตัว
และเล่นดนตรีถวายพระองค์โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
เป็นประจำทุกวันศุกร์ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
............................................................................................................................
เค.ยู.แบนด์ได้ออกงานเล่นดนตรีเป็นครั้งแรก
ในงานวันไก่ ซึ่งเป็นการประกวดไก่ไข่ดก
มีการมอบรางวัลแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ที่ชนะการประกวด
ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้เลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย
นักดนตรี วงเค.ยู.แบนด์ที่เล่นดนตรีในวันนั้น
ประกอบด้วย ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯทรงบราริโทนแซ็กโซโฟน
และนิสิตชายอีก 9 คน
............................................................................................................................
ปิฏฐะเป่าเทเนอร์เซ็กโซโฟน,
ตระกูล เป่าโซปรานิโนแซ็กโซโฟน,
อวบ เหมะ รัชตะ เป่าทรัมเป็ต,
ระพี สาคริก เล่นไวโอลิน,
พลทิพ โกมารกุล ณ นคร เล่นกีตาร์ฮาวาย,
ประเทือง เล่นกีตาร์ สแปนิช,
สุรพล สงวนศรี เล่นกีตาร์สแปนิช,
ชูชีพ เล่นเกีตาร์เบส
และทวีชัย ตีกลอง
............................................................................................................................
ส่วนนิสิตชายและหญิง ซึ่งเป็นนักร้อง มี 8 คน
ได้แก่ เสริมลาภ, ศรีพักตร์, พยันต์, วิเชียร, อวยชัย, วารุณี,
มณฑา และพิมล นอกจากนี้ยังมี ร.อ. คนึง เกรียงศักดิ์พิชิตเล่น
แอคคอร์เดียน ซึ่งเป็นแฟนของนักร้องหญิงคนหนึ่ง และโฉมฉายซึ่ง
เป็นน้องสาวของ พลทิพ โกมารกุล ณ นคร มาร่วมร้องเพลงอีกมาร่วมร้องด้วย
............................................................................................................................
เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในงานวันไก่นั้น
นอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับพระราชทานให้ยืมแล้ว
ยังต้องไปเช่าเพิ่มเติมจากร้านขายเครื่องดนตรีที่เวิ้งนาครเขษม
การเล่นดนตรีในวันนั้น เริ่มเล่น ตั้งแต่เวลา
16.00 - 18.00 น. โดยเล่นเพลงพระราชนิพนธ์
“ใกล้รุ่ง” เป็นเพลงแรก หลังจากการเล่นดนตรีในงานวันไก่แล้
.........................................................................................................................
เค.ยู.แบนด์ ได้มีโอกาสไปเล่นดนตรีในงานนอกสถานที่เป็นครั้งแรก
ซึ่งเป็นวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งานที่สองไปเล่นดนตรีในงานแต่งงานของนิสิตเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรี
............................................................................................................................
ในปี 2495 เค.ยู.แบนด์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
จัดซื้อเครื่องดนตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประกอบด้วย กลอง 1 ชุด ทรัมเป็ต และเบสอย่างละ 1 ชิ้น
นอกจากนั้นยังได้รับวามอนุเคราะห์จากบุคคลภายนอก
สนับสนุนกิจการของวง เค.ยู.แบนด์
โดยมี จอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บริจาคเงินให้หลายครั้งและมอบเปียโนหนึ่งหลัง
พล.ต.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ให้คนสนิทนำเงินมามอบให้ วงเค.ยู.แบนด์หลายครั้ง ๆ ละหลายพันบาท
............................................................................................................................
ในระหว่างปี 2495-2496
เค.ยู.แบนด์ได้เล่นในงานวันพระราชทานปริญญาบัตร
งานต้อนรับน้องใหม่และยังได้เล่นงานนอกสถานที่หลายแห่ง
อาทิ งานวันเกิด งานวันแต่งงาน ฯลฯ
............................................................................................................................
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิหาที่สุดมิได้
ในปี 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เสด็จพระราขดำเนินไปทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น
บริเวณริมสระน้ำ หน้าหอประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2506
หลังจากทรงปลูกต้นนนทรี
ได้เสด็จพระราชดำเนิน เข้าหอประชุมใหญ่
เพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วง เค.ยู.แบนด์
9 ปี ตั้งแต่ ปี 2506- 2515
............................................................................................................................
เรื่องราวในอดีตที่ เค.ยู.แบนด์ มีความเกี่ยวข้องกับบุคคล
สำคัญท ซึ่งป็นนายกรัฐมนตรี มี 3 คน
คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐในขณะนั้น
อยากทดสอบความสามารถของวง เค.ยู.แบนด์
โดยขอให้เล่นเพลงไทยเดิม
ดูเหมือนว่าจะเป็นเพลงตับเพลงเถา
เนื่องจากวงเค.ยู.แบนด์เป็นวงดนตรีสากลไม่สามารถเล่นเพลงไทยเดิมได้
จึงแก้ไขสถานการณ์โดยให้ทัศนีย์ (ดร.พรพรหม)
ร้องเพลง “นกขมิ้น”  ซึ่งมี อ.ระพี สาคริกเล่นไวโอลิน
............................................................................................................................
และในครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้สอบวง เค.ยู.แบนด์
ได้ร่วมเล่นดนตรีกับวงลายคราม ที่สถานีวิทยุ อส.
ม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช ได้ให้กำลังใจ
กับนักดนตรีวง เค.ยู.แบนด์
โดยแต่งเพลงสักวาอวยพรให้ทุกคนสอบได้คะแนนดี
............................................................................................................................

และเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2499
เค.ยู.แบนด์ ได้ไปเล่นดนตรี ในงานสมรส
ของนายอานันท์ ปัณยารชุนกับ ม.ร.ว. สดศรี
เค.ยู.แบนด์ได้เล่นเพลง “สดศรี-อานันท์”
ซึ่งเป็นเพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ เป็นผู้แต่ง
เพื่ออวยพรแก่คู่บ่าวสาวทั้งสอง
...........................................................................................................................
ในปี 2495 วงเค.ยู.แบนด์ ได้เดินทางไปเล่นดนตรี
ที่ภาคเหนือ เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
............................................................................................................................
และในวันที่ 1 ตุลาคม 2496 เค.ยู.แบนด์
ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
และเล่นดนตรีถวายที่วังสุโขทัย
............................................................................................................................
ในปี 2496 และ ปี 2497 เค.ยู.แบนด์ไปเล่นดนตรี
ที่ร้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งเป็นงานฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี
งานนี้เลิกดึกในช่วงเวลา ตี 2 -ตี 3
แต่นักดนตรีต้องตื่นเช้าไปเรียนหนังสือทุกวันตามปกติ
............................................................................................................................
วันที่ 16 ธันวาคม 2497 สถานีวิทยุ อ.ส.
และสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ได้จัดให้มีการประกวดดนตรีสากลประเภทมหาวิทยาลัย
และโรงเรียนเป็นครั้งแรก
สถาบันการศึกษาที่ส่งวงดนตรีเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้มี 8 แห่ง
ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
โรงเรียนนายร้อย จปร.,โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนวชิราวุธ,
และโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
ผลการประกวดวงดนตรีในครั้งนั้น
วงเค.ยู.แบนด์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
............................................................................................................................
ในปี 2498 วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปเล่นดนตรีเป็นประจำ
ที่สโมสรจัสแม็ก ซึ่งเป็นหน่วยทหารของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
............................................................................................................................
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2498 วงเค.ยู.แบนด์ได้เล่นดนตรีอัดแผ่นเสียง
เป็นครั้งแรกที่บริษัทดี คูเปอร์ ถนนราชดำเนินกลาง
โดยอัดเพลงทั้งหมดรวม 6 เพลง
............................................................................................................................
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2498 วงเค.ยู.แบนด์
ได้เล่นดนตรีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ในงานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท
............................................................................................................................
ระหว่างวันที่ 4-17 ตุลาคม 2498
วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปตระเวนเล่นดนตรีภาคเหนือเป็นครั้งที่ 2
หลังจากที่เคยตระเวนภาคเหนือเป็นครั้งแรก
............................................................................................................................
เมื่อปี 2496 ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ และหม่อมวิภา
ได้เดินทางร่วมกับวงเคยู.แบนด์ หลังจากตระเวนเล่นดนตรีภาคเหนือ
กลับมาแล้ว วงเค.ยู.แบนด์ได้ไปเล่นดนตรีสลับกับรีวิวญี่ปุ่น
ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตติดต่อกันหลายวัน วันๆละหลายรอบ
รวมถึงไปเล่นดนตรีในงานต่างๆ อีกมากมาย
ทั้งงานแต่งงาน งานวันเกิด งานลีลาศและงานการกุศลต่าง ๆ
............................................................................................................................
การเล่นดนตรีของวงเค.ยู.แบนด์ ในระยะแรก
เพลงที่เล่นเป็นหลัก ได้แก่ เพลงพระราชนิพนธ์
และเพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนอง
นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นครเป็นผู้แต่ง
............................................................................................................................
ต่อมาภายหลังเมื่อนักดนตรี วง เค.ยู.แบนด์อ่านโน๊ตได้คล่องแคล้วขึ้น
และมีการพัฒนาทักษะการเล่นดนตรี ดีขึ้น
จึงเริ่มเล่นเพลงเซ็ทของวงดนตรีชั้นนำโลก อาทิ
วง Glenn Miller, วง Benny Googman, เพลง Duke Ellington,
เพลง Count Basey เป็นต้น
............................................................................................................................
เพลงดังของวง เค.ยู.แบนด์ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง
ได้แก่ เพลงที่ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ แต่งคำร้องและทำนอง
อาทิ หลงคอย, ดาวดล, จวบฟ้าดิน ฯลฯ
รวมถึงเพลงรำวง อาทิ รำวงเกษตร, รำวงชาวทะเล
เพลงรำวงที่เป็นเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ได้แก่
Bangkok Swing (มาละเหวย มามละวา)
Bangkok Blue (รำวงพวงมาลัย) ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงที่ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แต่ง อาทิ
พร่ำรัก, ฝากรัก ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงที่ ศ. ระพี สาคริก เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนอง
คือ ทะเลงาม ส่วนเพลงบรรเลงที่วงเค.ยู.แบนด์ เล่น
ได้แก่ เพลงของ Glenn miller อาทิ เพลง In the Mood, Moonlight
Serenade ฯลฯ วง Duke Ellington อาทิ In a Mellotone,
Satin Doll, Mood Indigo ฯลฯ วง Count Basey อาทิ Perdido,
Skylark, Take the “A” Train, Blue Moon ฯลฯ
............................................................................................................................
เพลงสากลที่ มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ ร้องมีหลายเพลง อาทิ
My Blue Heaven,Dinah, St.Louis Blue, St.James Infirmary Blue etc.
............................................................................................................................
นับตั้งแต่ปี 2494 -ปัจจุบัน
เค.ยู.แบนด์ วงดนตรีสากลแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 67 เกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่และเกียรติประวัติอันเกรียงไกรของ เค.ยู.แบนด์
ในอดีต ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีมาตรฐานการเล่นดนตรีเฉก
เช่นในอดีต มีการพัฒนาศักยถาพให้สู่ขึ้น
เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นดนตรีของ เค.ยู.แบนด์ไปสู่ Big Band
ระดับสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมดนตรีสากล เค.ยู.แบนด์
และนิสติ เก่า เค.ยู.แบนด์ ทุกคนจะต้องหลอมรวมพลัง
เพื่อช่วยกันขับเคลื่อน " เค.ยู.แบนด์ " ให้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่สืบไป
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 


Create Date : 28 ตุลาคม 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:41:48 น. 0 comments
Counter : 917 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.