Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABCตำนานชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

             blog KU-ABC" ตำนานชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ "
                                                                                                                                                      รุ่งแสง
             
ประวัติความเป็นมาของชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในอดีต ในช่วงเริ่มแรกนั้นมีผู้เล่นดนตรีไทยอยู่เพียงไม่กี่ค
นมีการเล่นดนตรีกันเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัย
ไม่มีผู้ที่มีใจรักในการเล่นดนตรีไทยอย่างแท้จริง
ในระหว่างที่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นนิสิตกำลังเรียนอยู่ที่คณะสหกรณ์


.......................................................................................................................
ทุกยามเย็นหลังเลิกเรียนก็มักเล่นดนตรีกับเพื่อนบางคน
ที่มีใจรักดนตรีไทยอยู่เป็นประจำ ด้วยความมีปณิธานอย่างแรงกล้า
ในการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่
ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ จึงมักคอยครุ่นคิดถึง
การหาวิธีการก่อตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาให้ได้  
ปัญหาของการก่อตั้งวงดนตรีไทย
คือ ต้องใช้เงินจำนวนมาก
อีกทั้งไม่มีครูสอนดนตรีไทยเป็นเรื่องเป็นราว
.......................................................................................................................
     เมื่อปี พ.ศ. 2501 หลังจากที่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศแล้ว
ได้กลับมาเป็นอาจารย์มาสอนหนังสือที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์
มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ความมุ่งมั่นและปณิธาน
ที่มีอยู่เดิมกับการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่ยังอยู่ในความคิดตลอดเวลา
.........................................................................................................................
จึงได้นำความคิดดังกล่าวไปปรึกษากับหลวงอิงค์ฯ (ศ.อินทรี จันทรสถิตย์)
ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น หลวงอิงค์ฯ ได้ให้ความเห็นชอบ
จึงนำไปปรึกษาหารือของบประมาณจาก ยูซอม (USOM)
ในวงเงิน 40,000 บาท ในตอนแรกยูซอมก็ได้ให้ความเห็นชอบ
............................................................................................................................
แต่ต่อมากลับเปลี่ยนท่าทีไม่ให้ความเห็นชอบ
โดยอ้างว่าการของบประมาณมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนิสิต
ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วการก่อตั้งวงดนตรีไทยขนาดใหญ่
ขึ้นมานั้นเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรแก่นิสิต
และยังเป็นการอนุรักษ์ดนตรีไทย
ซี่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย
.........................................................................................................................
    อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ก็หาได้ละความพยายามไม่
ในที่สุดก็ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยโดยตรง
จนสามารถก่อตั้งวงดนตรีไทยเป็นผลสำเร็จ
............................................................................................................................
จึงได้ลงมือก่อตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาทันที
โดยได้ขอให้ ครูศร ศิลปบรรเลงช่วยติดต่อหาช่างฝีมือดี
มาจัดทำเครื่องดนตรีไทยในแต่ละชนิด
เพราะต้องการเครื่องดนตรีไทยที่มีคุณภาพและมีความประณีต
โดยได้ใช้เวลานานถึง 8 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ
จนมีมโหรีเครื่องใหญ่ครบชุดประกอบด้วย
จะเข้ ซองา เครื่องไม้ประกอบงาและอื่น ๆ
........................................................................................................................

นอกจากมีเครื่องมโหรีแล้ว ยังมีเครื่องสายผสมขิม
แคนวงและอังกะลุงอีกอย่างละ 1 ชุด
รวมมีเครื่องดนตรีมากถึง70 ชิ้น
...........................................................................................................................
      ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้ขอให้มหาวิทยาลัย
สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างครูสอนดนตรีไทย
โดยมีคุณประสิทธิ์ ถาวร เป็นครูสอนดนตรีไทยเป็นคนแรก
ซึ่งก็ได้สอนนิสิตให้เป็นนักดนตรีไทยของมหาวิทยาลัย
หลังจากมีชมรมดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยแล้ว
ก็ได้ออกไปเผยแพร่และแนะนำดนตรีไทยตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
...........................................................................................................................
อาทิ ไปที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ครั้ง
รวมถึงไปสอนที่วิทยาลัย โรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ
............................................................................................................................

ในปี พ.ศ. 2501 ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ได้เริ่มใช้สถานีโทรทัศน์ช่อง 7
และ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม
เป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ดนตรีไทยแก่สาธารณชน
............................................................................................................................
หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีวงดนตรีไทยเกิดขึ้นตามมหาวิทยาลัย
และวิทยาลัยต่าง ๆ เมื่อมีการเล่นดนตรีไทยกันมากขึ้น
แต่ละวงก็มีการพัฒนาฝีไม้ลายมือกันเป็นขนานใหญ่
เพื่อสร้างชื่อเสียงให้วงของตนเป็นที่ยอมรับ
ในหมู่วงดนตรีไทยด้วยกัน ส่วนใหญ่มีการเล่นดนตรีไทยมาตรฐานเป็นหลัก
แต่วงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยังคงเล่นเพลงเนื้อเต็มและเพลงที่คนสมัยนั้น
ชื่นชอบเพราะด้วยเหตุผลที่ว่ามีวัตถุประสงค์
ในการเผยแพร่วงดนตรีไทยในวงกว้าง
และส่งเสริมกิจกรรมดนตรีไทยให้แพร่หลาย
............................................................................................................................

ประการสำคัญเพื่อให้คนในสังคมรู้จักดนตรีไทย
และฟังดนตรีไทยเป็น ที่ไหนยังไม่มีวงดนตรีไทย
ก็ไปแนะนำให้มีการตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมา
.........................................................................................................................
          เมื่อมีวงดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น
แต่ละวงก็พยายามสร้างชื่อเสียงให้กับวงของตน
ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ จึงได้ริเริ่มนัดหมายให้วงดนตรีไทยทุกแห่ง
มาร่วมสังสรรค์กันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ในการร่วมกันอนุรักษ์และรักษาดนตรีไทย
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป
.....................................................................................................................
        ในปี พ.ศ. 2504 ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ได้ริเริ่มจัดให้มีพิธีไหว้ครูดนตรีไทยครั้งใหญ่ขึ้น
โดยได้เชิญวงดนตรีไทยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ
มาร่วมเล่นดนตรีไทยกันอย่างคึกครื้น
โดย เป็นผู้อ่านโองการในพิธีไหว้ครู
............................................................................................................................
ในปี พ.ศ. 2509 วงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นเจ้าภาพจัดให้มีงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
เป็นครั้งแรก ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร
...........................................................................................................................
โดยมีอาจารย์ นิคม กลิ่นเกษตร
ซึ่งเป็นอาจารย์ ผู้ช่วยควบคุมวงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในขณะนั้นเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการดำเนินงานทั้งหมด
เนื่องจากในเวลานั้น ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ไปทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญของUNDP ในตำแหน่ง
ที่ปรึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประเทศมาเลเซีย
............................................................................................................................

อย่างไรก็ตาม ศ..ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
ก็ได้คอยสั่งงานและคำแนะนำแก่อาจารย์นิคมอยุ่เป็นระยะ ๆ
การจัดงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
ก็ประสบความสำเร็จโดยผ่านพ้นไปด้วยความราบรื่น
............................................................................................................................
  ตั้งแต่การจัดงานสังสรรค์ดนตรีไทย 5 มหาวิทยาลัย
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ริเริ่ม
และเป็นเจ้าภาพในครั้งแรก ต่อมาแต่ละมหาวิทยาลัย
ก็ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา และภายหลังมีวงดนตรีไทย
จากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ มาร่วมงานด้วย
..........................................................................................................................
อาทิ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือและวิทยาลัยต่าง ๆ
แม้แต่ในภูมิภาควงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็มาร่วมงานด้วย
...........................................................................................................................
ในระยะหลัง ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ มีภารกิจต่างๆ รัดตัวมากมาย
อาทิ งานการเป็นผู้บริหาร งานสอนหนังสือ
การได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาและบรรยายในโอหกาสต่างๆ
ตลอดจนได้รับเชิญให้เป็นประธานในงานสังคม
มีอยู่ปีหนึ่งไม่ได้แวะไปเยี่ยมเยียนชมรมดนตรีไทยเลย
ถึงแม้กระนั้นก็ตามนักดนตรีไทยก็มีระเบียบวินัย
ในการฝึกซ้อมด้วยใจรักดนตรีไทย
และมีความสามัคสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี
............................................................................................................................
 เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องในคุณูปการ ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ 
ที่มีต่อชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และวงดนตรีไทยในระดับชาติ 
โดยเป็นผู้ผลักดันและสนับสนุนให้มีการก่อตั้งวงดนตรีไทย
ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
............................................................................................................................
จึงขอนำประวิติโดยย่อของ ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
มาให้ได้ทราบกันพอเป็นสังเขปดังนี้
ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นชาวอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ในวัยเด็กเมื่ออายุ 7 ขวบ ได้เรียนดนตรีไทยกับบิดา
ต่อมาเรียนซอสามสายกับพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)
และเป็นศิษย์ของ หลวงประดิษฐ์ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ซึ่งหลวงประดิษฐ์ได้ทำพิธีมอบให้เป็นครูอ่านโองการได้ เมื่อราว ปีพ.ศ. 2497
...........................................................................................................................
     ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์
สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาสาขาวิชาสหกรณ์ คณะสหกรณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
และปริญญาโทที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
..........................................................................................................................
หลังจากนั้นเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ
ที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระหว่างที่เป็นอาจารย์อยู่นั้นได้รับทุนจากรัฐบาลให้ไปศึกษาต่อ
ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา
แล้วได้กลับมาสอนหนังสือที่คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2500 - 2523
..........................................................................................................................

ปัจจุบันชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีนักดนตรีอยู่ราว 35 คนประกอบด้วยเครื่องมโหรีและเครื่องสาย
มีการฝึกซ้อมเล่นดนตรีไทยทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
ที่ชมรมดนตรีไทย ซึ่งอยู่ติดกับสำนักพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร
นักดนตรีไทยเก่ารุ่นพี่และผู้ที่มีความสนใจดนตรีไทยสามารถแวะไปเยี่ยมเยียน
ชมการฝึกซ้อมและให้กำลังใจแก่น้องๆนิสิตนักดนตรีไทยได้ตามอัธยาศัย.
............................................................................................................................
 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 


Create Date : 28 ตุลาคม 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:42:51 น. 0 comments
Counter : 930 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.