Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABCจีนแสดงจุดยืนในการร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในการประชุมผู้นำจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๒๒

               blog KU-ABC "จีนแสดงจุดยืนร่วมมือระจีน-อาเซียน
                     /เวทีประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ ๒๒"
                                                      พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


             ขอนำเสนอข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว
ของนายกรัฐมนตรีจีนที่เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
(ระหว่างวันที่ ๒ – ๕ พ.ย.๖๒)
และเข้าร่วมการประชุมผู้นำจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๒๒
............................................................................................................................

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อเช้าวันที่ ๓ พ.ย.๖๒ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน
เข้าร่วมการประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ ๒๒ ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ
โดยร่วมกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย
ในฐานะตัวแทนประเทศประธานหมุนเวียนของอาเซียน
เป็นประธานอำนวยการประชุมฯ ซึ่งที่ประชุมลงมติว่าจะกำหนด
“แผนปฏิบัติการเพื่อเดินหน้าตามแถลงการณ์ร่วม
ว่าด้วยความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่มุ่งหน้าสู่สันติภาพ
และความเจริญรุ่งเรือง (ปี ๒๐๒๑ – ๒๐๒๕)” และออกแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” “เมืองอัจฉริยะ”
“การแลกเปลี่ยนกับความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชน”
และที่ประชุมประกาศว่า ปี ๒๐๒๐ เป็นปีแห่งความร่วมมือ
ด้านเศรษฐกิจดิจิตอลจีน-อาเซียน
นอกจากนี้ ผู้นำที่ร่วมประชุมยังร่วมชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับ
China ASEAN Young Leaders Scholarship
............................................................................................................................

๒. ข้อคิดเห็นของ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน
ต่อการประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ ๒๒
๒.๑ ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ
ทั้งประชาคมอาเซียน โดยจีนสนับสนุนอาเซียนในฐานะศูนย์กลาง
อันเป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือเอเชียตะวันออกมาโดยตลอด
ซึ่งสอดคล้องกับที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
............................................................................................................................

เคยกล่าวไว้ว่า ต้องร่วมมือกันสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน
โดยปีที่ผ่านมา ชาวจีนและชาวอาเซียนได้เดินทางไปมาระหว่างกันมากถึง ๕๗ ล้านครั้ง
............................................................................................................................

๒.๒ แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ได้สร้างความความท้าทายใหม่ๆ ให้กับนานาประเทศ
ดังนั้น จีนและกลุ่มประเทศในอาเซียนจึงควรร่วมกันปกป้องระบบพหุภาคี
และการค้าเสรี ทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับความเสี่ยง
โดยยึดมั่นในหลักการของการได้ประโยชน์ร่วม
และยกระดับการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP)
ในการวางรากฐานให้กับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก
บรรลุพิธีสารเพื่อเแก้ไขความตกลงภายใต้กรอบความตกลงเขต
การค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) รวมทั้งส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า
และการลงทุน ตลอดจนเสริมสร้างความไว้วางใจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกัน
และรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค
............................................................................................................................

๒.๓ สำหรับหลักการ “แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (COC)
คือการยกระดับ “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้”
(DOC) ซึ่งมีกรอบระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี โดยจีนหวังว่าแต่ละฝ่ายจะเคารพหลักการ
แต่ละประการของปฏิญญาฯ ขจัดอุปสรรคกีดขวางและก้าวไปข้างหน้า
ผลักดันการหารือตามกำหนดเวลา เพื่อบรรลุการทบทวนรอบที่ ๒ ในปี ๒๐๒๐
............................................................................................................................

๒.๔ นอกจากการส่งเสริมมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมแล้ว
ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การศึกษา และการท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งที่จีนให้ความสำคัญ
โดยใน ๓ ปีข้างหน้า จีนยินดีฝึกอบรมผู้ดูแลด้านสุขภาพและช่างเทคนิคมืออาชีพ
ของอาเซียนจำนวน ๑,๐๐๐ คน และสนับสนุนทุนการศึกษาจีน-อาเซียน
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในหมู่ประชาชน
...........................................................................................................................

๒.๕ จีนยึดมั่นในเส้นทางแห่งการพัฒนาอย่างสันติ และยุทธศาสตร์การเปิดกว้าง
เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และยินดีที่จะเชื่อมโยงความคิดริเริ่ม
“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งประชาคมอาเซียนโดยรวม
และยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเดินหน้าสร้างเส้นทางการขนส่ง
ตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน
รวมทั้งผลักดันการเจริญเติบโตในเอเชียตะวันออก และส่งเสริมความร่วมมือ
ด้านนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่
และความปลอดภัยของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การปกป้องระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมทางทะเล พลังงานสะอาด
พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีการอนุรักษ์น้ำ เป็นต้น
............................................................................................................................
บทสรุป บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศอาเซียนต่างแสดงความเชื่อมั่นว่า
จีนจะสนับสนุนบทบาทของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค
ตลอดจนยินดีที่จะร่วมรังสรรค์แผนริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กับจีน
โดยขยายความเชื่อมโยงและการลงทุนระหว่างกัน ส่งเสริมการร่วมมือทางนวัตกรรม
อีคอมเมิร์ซ เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน
เพื่อบรรลุเป้าหมายยอดการค้า ๑ ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
รวมทั้งได้ประกาศให้ปี ๒๐๒๐ เป็นปีแห่งการร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน
อีกด้วย ในขณะที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง
............................................................................................................................

ได้กล่าวว่า จีนและไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านฉันมิตร
ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รักษาแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นปกติและมั่นคง
และการเยือนไทยครั้งนี้จะเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างจีนและไทยให้มากขึ้น
ทำให้ความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์แก่กันระหว่างสองประเทศอยู่ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
พร้อมทั้งขับเคลื่อนให้ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างสองประเทศ
ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “


 




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:29:23 น.
Counter : 390 Pageviews.  

blog KU-ABCการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางการทหารระหว่างจีนกับไทย(บางส่วน)

     blog KU-ABC"การแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางการทหารระหว่างจีนกับไทย"
                                                                พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล   

                   วันนี้ขอนำ ข้อเขียน (ส่วนหนึ่ง)
ของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางการทหาร
ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศไทย 
(ตอนที่ ๗ ว่าด้วยจุดยืนและบทบาทที่เหมาะสมของไทย
จากข้อค้นพบในดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง
“ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
:ศึกษาเฉพาะกรณีความร่วมมือทางการทหาร”) 
เพื่อเป็นฐานข้อมูลในโอกาสที่ผู้เขียนได้รับหมาย
ให้เป็นหัวหน้าคณะนายทหารไทย จำนวน ๕ นาย ที่ได้รับเชิญจาก
สำนักงานกิจการความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศ (OIMC)
คณะกรรมาธิการกลางการทหาร กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
.....................................................................................................................
ให้เดินทางไปพัฒนาความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความร่วมมือ
ณ เขตทหารยุทธบริเวณภาคใต้ของจีน (นครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้น)
และ ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่าง  ๒๐ – ๒๗ ต.ค.๖๒
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
...................................................................................................................
๑. ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายต่อจุดยืน
และบทบาทที่เหมาะสมของไทย
๑.๑ ควรมีการนำผลการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับแนวโน้มของสถานการณ์ความมั่นคงทั้งในระดับโลก
และระดับภูมิภาครวมทั้งผลกระทบต่อระบบความมั่นคง
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไปใช้ในการประเมินจุดยืน
ทางยุทธศาสตร์และบทบาททางการทหาร
ซึ่งมีผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคง
และผลประโยชน์ของประทศ
............................................................................................................................
โดยเฉพาะในการประชุมเตรียมการ
ในระดับนโยบายของกระทรวงกลาโหม
เพื่อกำหนดประเด็นข้อเสนอของฝ่ายไทยในการประชุมร่วมประจำปี
ตามแผนงานความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกระทรวงกลาโหมไทย
กับกระทรวงกลาโหมจีนที่ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
รวมทั้งในวาระการพบปะหารือในกรอบความร่วมมือต่างๆ
..........................................................................................................................
เช่น
กรอบความร่วมมือในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
กับประเทศคู่เจรจา หรือ ADMM Plus เป็นต้น
............................................................................................................................
๑.๒ ควรมีการเร่งรัดการจัดทำกรอบนโยบายทางยุทธศาสตร์
ของกระทรวงกลาโหม
โดยเน้นถึงการบูรณาการกระบวนการคิดในเชิงยุทธศาสตร์
กับแผนงานความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกระทรวงกลาโหมไทย
กับกระทรวงกลาโหมของจีนเพื่อให้การวางแผนทั้งในระยะสั้น
(๑ – ๒ ปี) ระยะปานกลาง (๓ – ๑๐ ปี)
และระยะยาว (๑๑ – ๒๐ ปี)
............................................................................................................................
มีความสอดคล้องกับแนวโน้มของสถานการณ์
ความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจน
กระทรวงกลาโหมควรเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมร่วมกับ
ส่วนราชการของกระทรวงอื่น ๆ
รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม
เพื่อระดมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในการป้องกันประเทศ
และการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน
........................................................................................................................
๒. ข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติต่อจุดยืนและบทบาทที่เหมาะสมของไทย
๒.๑ ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ
การดำเนินนโยบายความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับจีน
............................................................................................................................
ควรใช้ความระมัดระวังในการแสดงความเห็น
และท่าทีต่อปัญหาในเรื่องไต้หวัน ทิเบต องค์ดาไลลามะ ลัทธิฝ่าหลุนกง
และสิทธิมนุษยชนในจีน
...........................................................................................................................
ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องที่จีนเห็นว่าเป็นกิจการภายในของจีน
และเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว
โดยเฉพาะต่อจุดยืนทางยุทธศาสตร์อันจะส่งผลกระทบ
ต่อความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่สำคัญของประเทศไทยได้
.........................................................................................................................
๒.๒ ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการ
และคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
เพื่อสนองต่อนโยบายความร่วมมือด้านความมั่นคง
ระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับกระทรวงกลาโหมจีน
ให้มีความเป็นเอกภาพและบูรณาการแผนงานกับองค์กรอื่น ๆ
ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมระหว่างรัฐบาลไทย
กับรัฐบาลจีนที่ได้ลงนามกัน ๓ ฉบับ
(ปีพ.ศ.๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ รวมทั้งปี พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
และปี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
บนพื้นฐานการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศไทย
...........................................................................................................................
บทสรุป
สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
จากการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน
ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทุกประเทศ
โดยเฉพาะภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
............................................................................................................................
เช่น
การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ
และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
............................................................................................................................
จนไม่มีประเทศใดสามารถแก้ไขปัญหาภัยคุกคามดังกล่าว
ได้เพียงลำพัง จึงจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ
............................................................................................................................
การคำนึงถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ
และการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกัน
รวมทั้งการแสดงจุดยืนในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญในการนำไปสู่ความร่วมมือกันระหว่างประเทศ
แต่ความร่วมมือกันนั้นจะมีมากหรือน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน
............................................................................................................................
ซึ่งเป็นตัวแปรแทรกซ้อนต่อการนำไปสู่ความร่วมมือกันดังกล่าว
ทั้งนี้ความร่วมมือด้านการทหารระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทย
กับกระทรวงกลาโหมของจีน
............................................................................................................................
จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน
และก่อให้เกิดการดำเนินกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยเฉพาะกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
ตามบันทึกความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่าง
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
กับ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
.........................................................................................................................
จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ
ระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศ
และสามารถขยายผลไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ
อันจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันในที่สุด
.........................................................................................................................
ที่มาข้อมูล:จ(๑) ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                         ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เรื่อง “ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน : ศึกษาเฉพาะกรณีความร่วมมือทางการทหาร” โดย ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล, พันเอก (ยศในขณะนั้น) 
                   (๒) หนังสือเรื่อง“ความร่วมมือด้านการทหารระหว่างไทยกับจีน”
โดยสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๕๗ 
                   (๓) บันทึกของผู้เขียนในฐานะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกับมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ
ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๗
..........................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:30:22 น.
Counter : 284 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.