Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC อ่านสิทธิของท่านว่า"ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว"

blog KU-ABC อ่านสิทธิของท่านว่า"ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว"

                                                  เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้ขอนำ สาระ ความรู้ เรื่อง " ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว "
ของ...ท่านสราวุธ เบญจกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรม
ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรม
มาฝาก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิของตนในวงกว้างมากขึ้น
และขอให้ช่วยเผยแพร่ต่อกันเยอะด้วย
..................................................................................................

จากกรณีที่ ศาลจังหวัดพระโขนง....
มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขังและปล่อยตัว
...นายสมใจ แซ่ลิ้ม
ที่ถูกตำรวจจับกุมในข้อหาคดียาเสพติด
และ...ถูกนำตัวไปคุมขังยังทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางไปทันที
...................................................................................................

เนื่องจากรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ...
นายสมใจ แซ่ลิ้ม ....ที่ถูกจับกุมและคุมขัง
....ไม่ใช่ผู้ต้องหาที่กระทำความผิด
เพียงแต่..เป็นบุคคลที่มีชื่อและนามสกุล
เหมือนกับ...ผู้ต้องหาอีกคนเท่านั้น
...................................................................................................

จะเห็นได้ว่าศาลยุติธรรมให้ความสำคัญ
กับการดำเนินกระบวนการทางศาล
เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลของประชาชน
ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
...................................................................................................

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 32
ได้บัญญัติรับรองหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกายไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของการจับ
และการคุมขังบุคคลที่จะกระทำมิได้
...................................................................................................

เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล
หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
...................................................................................................

อย่างไรก็ดี
หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าได้มีการจับกุม
และคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
อันเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกาย
...................................................................................................

รัฐธรรมนูญกำหนดให้.....
“ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์
ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาล
เพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น
รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควร
หรือ การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้”
...................................................................................................

นอกจากนี้ ...
เพื่อให้หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกายสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
...................................................................................................

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ได้กำหนดขั้นตอนและเงื่อนไข ตั้งแต่
....การออกหมาย
....การจับกุมผู้กระทำความผิด
ไปจนถึง...การนำตัวผู้กระทำความผิดไปคุมขังไว้อย่างละเอียด
รวมถึง...วิธีแก้ไขในกรณีที่มีการอ้างว่า
มีการคุมขังบุคคลใดบุคคลหนึ่งในคดีอาญา
หรือ.... ในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
...................................................................................................

โดย มาตรา 90
กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ ....
มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบุคคลที่ถูกคุมขัง
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญานั้น
ได้แก่
...................................................................................................

(1) ผู้ถูกคุมขังเอง
(2) พนักงานอัยการ
(3) พนักงานสอบสวน
(4) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี
(5) สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือ
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง
...................................................................................................

ทั้งนี้ เมื่อศาลได้รับคำร้อง...
ขอให้ปล่อย จะต้องดำเนินการ...ไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน
และหากศาลเห็นว่า... คำร้องนั้นมีมูล
...................................................................................................

ศาลมีอำนาจ....
สั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน
และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจ
แก่ศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที
...................................................................................................

ซึ่งในกรณีของ...
นายสมใจ แซ่ลิ้ม...
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554
...................................................................................................

นายธงชัย ฉัตรเพิ่มพร
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง
...................................................................................................

ได้รับจดหมายจากนางสุรินทร์ พิกุลขาว
ขอให้ปล่อยตัวนายสมใจ แซ่ลิ้ม
สามีซึ่งมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงหมู ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง
จังหวัดเพชรบุรี
...................................................................................................

จากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากนายสมใจสามีตนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดฐาน
มียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และน่าจะเป็นการจับผิดตัว
...................................................................................................

ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง
ขอให้ปล่อยตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยด่วน
...................................................................................................

และเมื่อนางสุรินทร์ได้เดินทางมาศาล
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554
ศาลได้ทำการไต่สวนพยานผู้ร้องรวม 5 ปาก
รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม..
นายอนันต์ มีกุลหรือมีสกุล
และนายสุรเชษฐ์ กลั่นคำ
สองผู้ต้องหาที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจล่อซื้อและจับกุมได้
พร้อมเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2,000 เม็ด
ที่ให้การว่าได้ร่วมกับนายสมใจ แซ่ลิ้ม อาชีพรับจ้างขับรถทัวร์
ร่วมกันค้ายาเสพติดให้โทษ
ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เคยเห็นหน้าคนร้าย
และยืนยันได้ว่านายสมใจ แซ่ลิ้ม ผู้ต้องหาที่จับกุมมา
ไม่ใช่นายสมใจ หรือ ใจ แซ่ลิ้ม
คนร้ายที่ร่วมกระทำความผิด
...................................................................................................

ข้อเท็จจริงดังกล่าว
จึงรับฟังได้ว่า.....
เป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขัง
และให้ออกหมายปล่อยตัวนายสมใจ แซ่ลิ้ม ไปทันทีในวันเดียวกัน
...................................................................................................

อย่างไรก็ดี
สิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยตามมาตรา 90
จะมีอยู่เพียงระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
...................................................................................................

ดังนั้น หากในระหว่างที่มีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อย
หรือการไต่สวนคำร้องขอให้ปล่อยนั้นยังไม่ถึงที่สุด
และผู้ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัวไปแล้วในระหว่างนั้น
ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีนั้น
และสิทธิของบุคคลที่ร้องขอให้ปล่อยย่อมระงับไป
...................................................................................................

ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 4827/2550 (ประชุมใหญ่)
ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า.......
สิทธิของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว
จากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 90 นั้น
มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุม
หรือ ขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว
พนักงานสอบสวนได้ปล่อยผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว
โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ จึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องอีกต่อไป
...................................................................................................

ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้
แต่ในส่วนของการจับหากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง
ด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเอง
ตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป
...................................................................................................

ดังนั้นการคุมขังบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
จะต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ดังเช่น...
ในกรณีของ..นายสมใจ แซ่ลิ้ม
...................................................................................................

ที่ถือได้ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกลิดรอนสิทธิ
และเสรีภาพในร่างกายตามที่บัญญัติรับรองไว้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.................................................................................................
กฎหมายจึงต้อง...
มีมาตรการที่จะคุ้มครองเมื่อมีการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เช่นว่า นั้นเกิดขึ้นโดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจ
ที่จะต้องทำการไต่สวนหาความจริงว่ามีการควบคุม
กักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจริงหรือไม่
หากเป็นจริงศาลต้องมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังนั้นไปทันที
ทั้งนี้ศาลจะพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานเป็นรายกรณีไป
...................................................................................................

ทุกวันนี้ เรื่องทำนองนี้ ยังพบเห็นอยู่ในการบวนการยุติธรรม
คงต้องมีการทบทวน หรือ เพิ่มสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกัน
เพื่อจะไม่จับผิดตัว
.................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 6 มกราคม 2563
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 

 




 

Create Date : 06 มกราคม 2563    
Last Update : 7 มกราคม 2563 19:34:26 น.
Counter : 605 Pageviews.  

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐกรณีว่างงาน

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐกรณีว่างงาน

                                                                             เตือนใจ เจริญพงษ์
เรื่องนี้ หากท่านใดรู้แล้ว...ก็ช่วยบอกต่อๆกันด้วย
เพราะข้อมูลดังกล่าว ยังไม่เข้าถึงผู้ใช้แรงงาน
หรือ บรรดาพนักงาน ห้างร้านและบริษัทเท่าใดนัก
...........................................................................................................................

คือควรทำความเข้าใจเรื่อง
  “การคุ้มครองสิทธิของตนว่านายจ้างต้องขึ้นทะเบียนตนให้ลูกจ้าง “ เสียก่อน
แล้วจึงพิจารณาสิทธิของท่าน ก็จะมีความเข้าใจ
" สิทธิคุ้มครองตนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐกรณีว่างงาน " มากขึ้น
............................................................................................................................

สำนักงานประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองกรณีว่างงาน
โดยผู้ประกันตนที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง
จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
...........................................................................................................................

นอกจากนี้ผู้ประกันตนที่ว่างงานจะได้รับความคุ้มครอง
จากกองทุนประกันสังคมต่ออีก 6 เดือน
นับจากวันที่ออกจากงานใน 4 กรณี ได้แก่
..........................................................................................................................

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย
โดยผู้ประกันตนสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน
ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐทุกแห่งที่สะดวกภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่พ้นจาการเป็นลูกจ้าง กรณีที่ถูกเลิกจ้าง
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
ที่นำส่งเงินสมทบปีละไม่เกิน 180 วัน

...........................................................................................................................

กรณีลาออกโดยสมัครใจหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจะได้รับเงินทดแทน
ระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 % ของค่าจ้าง
ที่นำส่งสมทบปีละไม่เกิน 90 วัน
...........................................................................................................................

หากผู้ประกันตนไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานล่าช้าเกินกว่า 30 วัน
เงินทดแทนที่จะได้รับจะลดลงตามวันเวลาที่มายื่นขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน
และเพื่อให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วน
............................................................................................................................

สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ได้แก่
...........................................................................................................................

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาหนังสือแจ้งการสิ้นสุด
ความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้อกจากงาน(ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก
ซึ่งมีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน
.........................................................................................................................

หากผู้ประกันตนไม่ยื่นคำขอรับเงินคืนภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเกินเงินจำนวนดังกล่าว
จะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม
...........................................................................................................................
.
หากท่านสงสัย...สอบถามเพิ่มเติมที่
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โทร 1506
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 26 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2562    
Last Update : 26 ธันวาคม 2562 15:42:57 น.
Counter : 641 Pageviews.  

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่านายจ้างต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่านายจ้างต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง

                                                                   เตือนใจ เจริญพงษ์

หากท่านเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการ หรือร้านค้า
ควรรู้สิทธิของตนว่านายจ้างต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง
............................................................................................................................

เรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคม (โทร 1506)
............................................................................................................................

และหากท่านเป็นนายจ้างก็ต้องรู้หน้าที่ คือ...
นายจ้างผู้ประกอบการร้านค้าที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้างและขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน
โดยไม่มีข้อยกเว้นว่า การจ้างงานนั้นจะเป็นช่วงทดลองงาน
โดยนายจ้างต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
และแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน(สปส.1-03)
............................................................................................................................

สำหรับผู้ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้ว......
เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน
กรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
............................................................................................................................

.....กองทุนประกันสังคม 7 กรณี ได้แก่
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ
ตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้ง
คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
...........................................................................................................................

ในส่วนของกองทุนประกันสังคม นายจ้างมีหน้าที่หักเงินสมทบของลูกจ้าง
ในอัตรา 5 % ของค่าจ้าง
.........................................................................................................................

และนายจ้างสมทบอีก 5 % โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ
ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท
และสูดสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท คิดเป็นเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 83 บาท
และไม่เกินเดือนละ 750 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งนี้นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบให้สำนักงานประกันสังคมทุกเดือน
ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
.........................................................................................................................

หากนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนหรือไม่นำส่งเงินสมทบ
ขอให้ลูกจ้างแจ้งเบาะแสข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ
และจำนวนลูกจ้าง ได้ที...  สำนักงานประกันสังคม กองตรวจสอบ

...........................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 26 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2562    
Last Update : 26 ธันวาคม 2562 15:41:56 น.
Counter : 420 Pageviews.  

blog KU-ABC สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

           blog KU-ABC สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                                                            เตือนใจ เจริญพงษ์

เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง
นับวันจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ
เพราะถือเป็นกิจกรรมหลักในการขับเคลื่อนของระบอบประชาธิปไตย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับจะบัญญัติให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ตามวิถีของประชาธิปไตย
และได้เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับประชาชน

……………………………………………………………………................................

.....ว่ากันตามตำราที่เขียนว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง
เป็นกิจกรรม หรือ กิจการที่ประชาชนกระทำ หรือดำเนินการทางการเมือง
โดยความสมัครใจหรือได้รับการจูงใจ โน้มน้าวจากภายนอก
เช่น บุคคลอื่น พรรคการเมือง หรือสถานการณ์
เพื่อต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
การตัดสินใจในกิจการต่างๆ ของรัฐบาล
...................................................................................................

โดยประชาชนได้กระทำการต่างๆ
ทั้งที่เป็นทางตรงและทางอ้อม
อาจจะเกิดขึ้นเป็น ครั้งคราว หรือต่อเนื่อง
และใช้วิธีที่ถูกต้องโดยได้รับการยอมรับตามกฎหมาย หรือไม่ก็ตาม
การกระทำนั้น มุ่งประสงค์ที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายสาธารณะ
การบริหารงานนโยบายสาธารณะ และ การเลือกผู้นำทางการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือ ระดับท้องถิ่น
โดยเน้นว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ
.................................................................................................

ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 3 ระดับ คือ
..................................................................................................

1.ระดับต่ำ หรือกลุ่มผู้ดู (onlookers)
คือการให้ความสนใจต่อข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
การถกเถียงปัญหาการเมือง การไปใช้สิทธิออกเสียง
การเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ และ การร่วมชุมนุมทางการเมือง

................................................................................................

2.ระดับกลางหรือระดับผู้มีส่วนร่วม (participants)
ได้แก่ การมีส่วนร่วมในโครงการของชุมชน
การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีส่วนในกิจกรรมของพรรคการเมือง
และการช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
..................................................................................................

3.ระดับสูงหรือระดับนักกิจกรรม (activists) ได้แก่
การเป็นผู้นำกลุ่มผลประโยชน์ การมีตำแหน่ง
และทำงานเต็มเวลาให้แก่พรรคการเมือง และได้รับตำแหน่งทางการเมือง

...................................................................................................

ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างไร
1.การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
2.การรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง
3.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
4.การถอดถอนผูดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง
5.การออกเสียงประชามติ
6.การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการทางนิติบัญญัติ
7.การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่น

.................................................................................................

กระแสและบรรยากาศที่ผู้คนในสังคมจะแสดงออกทางการเมือง
มักเกิดจากหลายปัจจัย ทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม
รวมถึง กระบวนการยุติธรรม อาทิ
- รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศให้ประชาชน..อยู่ดี.. กินดีได้
- ประชาชนขาดศรัทธา และความน่าเชื่อถือต่อผู้นำประเทศ
- ประชาชนเกิดความคลางแคลงใจในการบริหารประเทศ
  ของคณะบุคคลในรัฐบาล
- ประชาชนรู้สึกถึงการเลือกปฎิบัติในระบบนิติรัฐ
   และการบังคับใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐาน
   ของหน่วยงานต่างๆในกระบวนการยุติธรรม
- ประชาชนขาดความศรัทธาและความน่าเชื่อถือในองค๋กรอิสระ
- ภาพสัญญลักษณ์การคอร์รัปชั่นของบุคคลในรัฐบาลเด่นชัด
...................................................................................................

เมื่อเกิดคลื่นใต้น้ำในข้อเท็จจริงข้างต้น จนคลื่นนั้นรุนแรง
และแล้วประชาชนในประเทศจะรู้สึกเป็นห่วง เป็นใย
และมีคำถาม?? ว่า แล้วสังคม ประเทศเราจะเป็นอย่างไร
ซึ่งแน่นอนข้อเท็จจริงและบรรยากาศที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง
จะบั่นทอนการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ให้ถูกทิศ ถูกทาง
อีกทั้งมีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและการท่องเที่ยวโดยรวม
...................................................................................................

ซึ่ง 2 -3 เรื่องหลักข้างต้นเคยเป็นปัจจัยทำเงินตราทางเศรษฐกิจ
ให้ประเทศมาโดยตลอด คนไทยเรารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
มาโดยตลอด
..................................................................................................

ครั้นจะเอ่ยอ้างถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ก็ค่อนข้างขยาด เพราะบางฉบับแม้เพิ่งยกร่าง
และประกาศใช้ ยังเสมือนถอยหลังไปอีก 40-50 ปี
ซึ่งบางฉบับเคยวางหลักไว้ว่า
   " บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ
และปราศจากอาวุธ หากจะจำกัดเสรีภาพ
ก็ต้องอาศัยหลักกฎหมายเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชน
ที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะสงคราม
หรือในระหว่างเวลาที่มีสถาณการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
................................................................................................

ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
จึงถือเป็นหลักสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ
แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของกติกาว่าด้วยความสงบ มีวินัย....
ไม่ละเมิดกฎหมาย.... ไม่ทำให้เกิดผลเสียหายกับสังคมโดยรวม
...................................................................................................

คนเราไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน ....คิดต่างกันได้.....
ก็ต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน....เพื่อความสงบสุขของสังคม
และประเทศชาติสืบไป
...................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 25 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2562    
Last Update : 26 ธันวาคม 2562 15:48:29 น.
Counter : 662 Pageviews.  

blog KU-ABC รู้เรื่องกรมการขนส่งทางบกออกกฎคุมแต่งรถบิ๊กไบค์กัน

     blog KU-ABC รู้เรื่องกรมการขนส่งทางบกออกกฎคุมแต่งรถบิ๊กไบค์กัน
                                                                      เตือนใจ เจริญพงษ์

ขอนำ เรื่อง " กรมการขนส่งทางบกออกกฎคุมแต่งรถบิ๊กไบค์กัน"
มาฝาก กรมการขนส่งทางบกได้ออกกฎระเบียบ.....
ควบคุมรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือรถบิ๊กไบค์ 
ที่มีระดับเสียงดังผิดปกติ จนสร้างความเดือดร้อน
ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนรวม โดยมีมาตรการเข้าไปตรวจสอบ
รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ต้นแบบ ก่อนให้การรับรองการผลิต
และจัดจำหน่ายภายในประเทศ 
ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กำหนดของกฎหมาย 
............................................................................................................................

####โดยเฉพาะระดับเสียงของของรถจักรยานยนต์
ต้องไม่เกิน 95 เดซิเบล
............................................................................................................................

นอกจากนี้ได้มีมาตรการตรวจสอบ
...ระบบควบคุมการผลิต 
....การตรวจสอบโรงงานผู้ผลิต 
และการสุ่มตรวจรถ อะไหล่ หรือท่อไอเสีย
..........................................................................................................................

ซึ่งมีผลทำให้ระดับเสียงของรถดังผิดปกติ
ที่วางขายในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ
 ## ดำเนินการแก้ไข แต่หากผู้ผลิตไม่สามารถจัดการแก้ไขให้ถูกต้องได้ 
จะพิจารณาเพิกถอนหนังสือรับรองแบบตามแต่กรณีต่อไป
..........................................................................................................................

ที่สำคัญผู้ผลิตและผู้นำเข้ารถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ 
ต้องกำกับดูแลผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 
##ไม่ให้จำหน่ายหรือติดตั้งระบบไอเสีย
ที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดแก่ประชาชน
...........................................................................................................................

 หากตรวจสอบพบผู้แทนจำหน่ายรายใดกระทำการฝ่าฝืน 
บริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องในทันที 
ถ้ายังพบการเพิกเฉยจะมีมาตรการระงับจนถึงขั้นเพิกถอนหนังสือรับรองแบบรถ
..........................................................................................................................

สืบเนื่องจากการที่กรมการขนส่งทางบก
ได้หารือร่วมกับบริษัทผู้ผลิตและนำเข้ารถจักรยานยนต์ 
ถึงกรณีปัญหารถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ 
มีระดับเสียงดังผิดปกติสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนรวม
และมีเพื่อให้กำกับดูแลรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
และหลังจากนี้ จะหารือเพิ่มเติมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
 อาทิ 
.....กรมศุลกากร 
.....สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) 
.....เจ้าหน้าที่ตำรวจ
............................................................................................................................
 
.... เพื่อหามาตรการป้องกันและปราบปรามท่อไอเสียผิดกฎหมาย
ที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สมอ. 
หรือท่อไอเสียที่มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย
............................................................................................................................

ขณะเดียวกัน กรมฯ ได้กำหนดเงื่อนไข....ให้รถบิ๊กไบค์ทุกคัน  
####ต้องผ่านการตรวจสภาพรถ
เป็นประจำทุกปีก่อนชำระภาษีรถประจำปี 
............................................................................................................................

ดังนั้นรถบิ๊กไบค์ที่สามารถนำมาใช้งานบนท้องถนนได้นั้น 
จะต้องเป็นรถที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง 
ติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขทะเบียนรถ 
และผู้ขับขี่รถต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด 
รวมถึงใช้ความเร็วที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด
...........................................................................................................................
 
รู้แล้วก็ต้องพึงระวังกันไว้ด้วยทั้ง
#นักบิดทั้งหลาย
#ผู้ประกอบการ
#เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 20 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC

 
 




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2562    
Last Update : 20 ธันวาคม 2562 23:21:07 น.
Counter : 340 Pageviews.  

1  2  3  4  

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.