Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABCรู้สิทธิช่วยเหลือเยียวยาเงินจากรัฐเมื่อตกเป็นเหยื่อ

                blog KU-ABCสิทธิช่วยเหลือเยียวยาเงินจากรัฐเมื่อตกเป็นเหยื่อ
                          ...กรณีเป็นผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

                                                                       เตือนใจ เจริญพงษ์

ขอนำ "พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเยียงยาเหยื่อ" มาฝากกัน
หลายท่านอาจยังเข้าไม่ถึงสิทธิของตนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ
เมื่อตนเองตกเป็นเหยื่อ ท่านสามารถยื่นใช้สิทธิ์ได้ที่...
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ต่างจังหวัด ได้ที่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ

............................................................................................................................

พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
............................................................................................................................


มีรายละเอียดดังนี้ คือได้กำหนดสิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหาย

กรณีทั่วไป

- ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท

- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
   อัตราวันละไม่เกิน 200 บาท ระยะไม่เกิน 1 ปี

- ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท

............................................................................................................................

กรณีเสียชีวิต

- ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตั้งแต่ 30,000 บาท
   แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

- ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท

- ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

- สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจำเลย

............................................................................................................................

กรณีทั่วไป

- ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท
   ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี

- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท
   ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี

- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตราวันลำไม่เกิน 200 บาท
   นับตั้งแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ

............................................................................................................................

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
- ค่าทนายความเท่าที่จ่ายจริงในอัตราไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด
- ค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
............................................................................................................................


กรณีเสียชีวิต

- ค่าทดแทน จำนวน 100,000 บาท

- ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท

- ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท
............................................................................................................................

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของหน่วยงานผู้รับเรื่องและพิจารณา
งบเงินให้ความเช่วยเหลือ  คือ.....

สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
กระทรวงยุติธรรม
............................................................................................................................


มาตรา ๑๕ ให้จัดตั้งสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) รับคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอ
      ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
(๓) ประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นหรือบุคคลใด ๆ เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง
      หรือความเห็นเกี่ยวกับการขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
 (๔) เก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
 (๕) กระทำกิจการตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
............................................................................................................................

 มาตรา ๑๖ ในกรณีที่สำนักงานเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัตินี้ กระทรวงยุติธรรมอาจแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์เพื่อให้มีอำนาจดำเนินคดี
หรือดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่กระทรวงยุติธรรมมอบหมายก็ได้
และให้แจ้งศาลทราบ การดำเนินคดีตามมาตรานี้ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
............................................................................................................................

หมวด ๔ การจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
มาตรา ๑๗ ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายอันอาจขอรับค่าตอบแทนได้
ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๘ ค่าตอบแทนตามมาตรา ๑๗ ได้แก่
(๑) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
(๒) ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
 (๔) ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
............................................................................................................................

 คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้
โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำความผิด
และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาสที่ผู้เสียหาย
จะได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย

............................................................................................................................

มาตรา ๑๙ หากปรากฏในภายหลังว่าการกระทำที่ผู้เสียหาย
อาศัยเป็นเหตุในการขอรับค่าตอบแทนนั้นไม่เป็นความผิดอาญา
หรือไม่มีการกระทำเช่นว่านั้น ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้ง
ให้ผู้เสียหายคืนค่าตอบแทนที่ได้รับไปแก่กระทรวงยุติธรรมภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
..........................................................................................................................
                                                                                  
หมวด ๕
การจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
มาตรา ๒๐ จำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง
(๑) เป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ
(๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี และ
(๓) ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
และมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฏตามคำพิพากษา
อันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดในคดีที่มีจำเลยหลายคน
จำเลยคนใดถึงแก่ความตายก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด
และคณะกรรมการเห็นสมควรจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยอื่น
ที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี จำเลยที่ถึงแก่ความตายนั้น
มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ได้ด้วย
............................................................................................................................

มาตรา ๒๑ การกำหนดค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๒๐
ให้กำหนดตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ค่าทดแทนการถูกคุมขัง ให้คำนวณจากจำนวนวันที่ถูกคุมขังในอัตราที่กำหนดไว้
    สำหรับการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
    และจิตใจ หากความเจ็บป่วยของจำเลยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
(๓) ค่าทดแทนในกรณีที่จำเลยถึงแก่ความตาย และความตายนั้น
    เป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี จำนวนไม่เกินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
 (๔) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดี
 (๕) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี
  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว
ในกรณีที่มีคำขอให้ได้รับสิทธิที่เสียไปอันเป็นผลโดยตรงจากคำพิพากษานั้นคืน
การสั่งให้ได้รับสิทธิคืนตามคำขอดังกล่าว ถ้าไม่สามารถคืนสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เช่นว่านั้นได้ ให้คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนเพื่อสิทธินั้นให้ตามที่เห็นสมควร
คณะกรรมการอาจกำหนดให้จำเลยได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายเพียงใดหรือไม่ก็ได้
โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดี ความเดือดร้อนที่จำเลยได้รับ และโอกาสที่จำเลย
จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากทางอื่นด้วย
............................................................................................................................


หมวด ๖  การยื่นคำขอ การพิจารณาคำขอ และการอุทธรณ์
มาตรา ๒๒ ให้ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
ที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทนค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้
ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ณ สำนักงาน ตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในหนึ่งปี
นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต
ให้ถอนฟ้องเพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ
ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้แทนโดยชอบธรรม
หรือผู้อนุบาล ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายแทนได้ ทั้งนี้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์ วิธีการยื่นคำขอ และวิธีพิจารณาคำขอ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะ กรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
 มาตรา ๒๕ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ผู้อุทธรณ์จะยื่นต่อสำนักงานหรือศาลจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต
เพื่อส่งให้แก่ศาลอุทธรณ์ก็ได้ และให้ถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไต่สวนหลักฐานเพิ่มเติมโดยสืบพยานเอง
หรืออาจแต่งตั้งให้ศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควรทำแทนก็ได้
............................................................................................................................

หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) สอบปากคำผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามคำขอ
(๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นที่จำเป็นมาเพื่อประกอบการพิจารณา
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 16 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC



Create Date : 16 ธันวาคม 2562
Last Update : 17 ธันวาคม 2562 20:26:41 น. 0 comments
Counter : 404 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.