Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC อ่านสิทธิของท่านว่า"ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว"

blog KU-ABC อ่านสิทธิของท่านว่า"ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว"

                                                  เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้ขอนำ สาระ ความรู้ เรื่อง " ทำอย่างไรเมื่อถูกจับผิดตัว "
ของ...ท่านสราวุธ เบญจกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรม
ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรม
มาฝาก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิของตนในวงกว้างมากขึ้น
และขอให้ช่วยเผยแพร่ต่อกันเยอะด้วย
..................................................................................................

จากกรณีที่ ศาลจังหวัดพระโขนง....
มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขังและปล่อยตัว
...นายสมใจ แซ่ลิ้ม
ที่ถูกตำรวจจับกุมในข้อหาคดียาเสพติด
และ...ถูกนำตัวไปคุมขังยังทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางไปทันที
...................................................................................................

เนื่องจากรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ...
นายสมใจ แซ่ลิ้ม ....ที่ถูกจับกุมและคุมขัง
....ไม่ใช่ผู้ต้องหาที่กระทำความผิด
เพียงแต่..เป็นบุคคลที่มีชื่อและนามสกุล
เหมือนกับ...ผู้ต้องหาอีกคนเท่านั้น
...................................................................................................

จะเห็นได้ว่าศาลยุติธรรมให้ความสำคัญ
กับการดำเนินกระบวนการทางศาล
เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลของประชาชน
ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
...................................................................................................

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 32
ได้บัญญัติรับรองหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกายไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของการจับ
และการคุมขังบุคคลที่จะกระทำมิได้
...................................................................................................

เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล
หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
...................................................................................................

อย่างไรก็ดี
หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าได้มีการจับกุม
และคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
อันเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกาย
...................................................................................................

รัฐธรรมนูญกำหนดให้.....
“ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์
ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาล
เพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น
รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควร
หรือ การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้”
...................................................................................................

นอกจากนี้ ...
เพื่อให้หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกายสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
...................................................................................................

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ได้กำหนดขั้นตอนและเงื่อนไข ตั้งแต่
....การออกหมาย
....การจับกุมผู้กระทำความผิด
ไปจนถึง...การนำตัวผู้กระทำความผิดไปคุมขังไว้อย่างละเอียด
รวมถึง...วิธีแก้ไขในกรณีที่มีการอ้างว่า
มีการคุมขังบุคคลใดบุคคลหนึ่งในคดีอาญา
หรือ.... ในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
...................................................................................................

โดย มาตรา 90
กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ ....
มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบุคคลที่ถูกคุมขัง
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญานั้น
ได้แก่
...................................................................................................

(1) ผู้ถูกคุมขังเอง
(2) พนักงานอัยการ
(3) พนักงานสอบสวน
(4) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี
(5) สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือ
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง
...................................................................................................

ทั้งนี้ เมื่อศาลได้รับคำร้อง...
ขอให้ปล่อย จะต้องดำเนินการ...ไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน
และหากศาลเห็นว่า... คำร้องนั้นมีมูล
...................................................................................................

ศาลมีอำนาจ....
สั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน
และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจ
แก่ศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที
...................................................................................................

ซึ่งในกรณีของ...
นายสมใจ แซ่ลิ้ม...
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554
...................................................................................................

นายธงชัย ฉัตรเพิ่มพร
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง
...................................................................................................

ได้รับจดหมายจากนางสุรินทร์ พิกุลขาว
ขอให้ปล่อยตัวนายสมใจ แซ่ลิ้ม
สามีซึ่งมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงหมู ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง
จังหวัดเพชรบุรี
...................................................................................................

จากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากนายสมใจสามีตนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดฐาน
มียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และน่าจะเป็นการจับผิดตัว
...................................................................................................

ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง
ขอให้ปล่อยตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยด่วน
...................................................................................................

และเมื่อนางสุรินทร์ได้เดินทางมาศาล
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554
ศาลได้ทำการไต่สวนพยานผู้ร้องรวม 5 ปาก
รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม..
นายอนันต์ มีกุลหรือมีสกุล
และนายสุรเชษฐ์ กลั่นคำ
สองผู้ต้องหาที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจล่อซื้อและจับกุมได้
พร้อมเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2,000 เม็ด
ที่ให้การว่าได้ร่วมกับนายสมใจ แซ่ลิ้ม อาชีพรับจ้างขับรถทัวร์
ร่วมกันค้ายาเสพติดให้โทษ
ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เคยเห็นหน้าคนร้าย
และยืนยันได้ว่านายสมใจ แซ่ลิ้ม ผู้ต้องหาที่จับกุมมา
ไม่ใช่นายสมใจ หรือ ใจ แซ่ลิ้ม
คนร้ายที่ร่วมกระทำความผิด
...................................................................................................

ข้อเท็จจริงดังกล่าว
จึงรับฟังได้ว่า.....
เป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขัง
และให้ออกหมายปล่อยตัวนายสมใจ แซ่ลิ้ม ไปทันทีในวันเดียวกัน
...................................................................................................

อย่างไรก็ดี
สิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยตามมาตรา 90
จะมีอยู่เพียงระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
...................................................................................................

ดังนั้น หากในระหว่างที่มีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อย
หรือการไต่สวนคำร้องขอให้ปล่อยนั้นยังไม่ถึงที่สุด
และผู้ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัวไปแล้วในระหว่างนั้น
ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีนั้น
และสิทธิของบุคคลที่ร้องขอให้ปล่อยย่อมระงับไป
...................................................................................................

ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 4827/2550 (ประชุมใหญ่)
ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า.......
สิทธิของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว
จากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 90 นั้น
มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุม
หรือ ขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว
พนักงานสอบสวนได้ปล่อยผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว
โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ จึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องอีกต่อไป
...................................................................................................

ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้
แต่ในส่วนของการจับหากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง
ด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเอง
ตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป
...................................................................................................

ดังนั้นการคุมขังบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
จะต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ดังเช่น...
ในกรณีของ..นายสมใจ แซ่ลิ้ม
...................................................................................................

ที่ถือได้ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกลิดรอนสิทธิ
และเสรีภาพในร่างกายตามที่บัญญัติรับรองไว้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.................................................................................................
กฎหมายจึงต้อง...
มีมาตรการที่จะคุ้มครองเมื่อมีการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เช่นว่า นั้นเกิดขึ้นโดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจ
ที่จะต้องทำการไต่สวนหาความจริงว่ามีการควบคุม
กักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจริงหรือไม่
หากเป็นจริงศาลต้องมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังนั้นไปทันที
ทั้งนี้ศาลจะพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานเป็นรายกรณีไป
...................................................................................................

ทุกวันนี้ เรื่องทำนองนี้ ยังพบเห็นอยู่ในการบวนการยุติธรรม
คงต้องมีการทบทวน หรือ เพิ่มสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกัน
เพื่อจะไม่จับผิดตัว
.................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 6 มกราคม 2563
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 
 



Create Date : 06 มกราคม 2563
Last Update : 7 มกราคม 2563 19:34:26 น. 0 comments
Counter : 610 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.