Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABCรู้สิทธิช่วยเหลือเยียวยาเงินจากรัฐเมื่อตกเป็นเหยื่อ

                blog KU-ABCสิทธิช่วยเหลือเยียวยาเงินจากรัฐเมื่อตกเป็นเหยื่อ
                          ...กรณีเป็นผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

                                                                       เตือนใจ เจริญพงษ์

ขอนำ "พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเยียงยาเหยื่อ" มาฝากกัน
หลายท่านอาจยังเข้าไม่ถึงสิทธิของตนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ
เมื่อตนเองตกเป็นเหยื่อ ท่านสามารถยื่นใช้สิทธิ์ได้ที่...
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ต่างจังหวัด ได้ที่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ

............................................................................................................................

พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
............................................................................................................................


มีรายละเอียดดังนี้ คือได้กำหนดสิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหาย

กรณีทั่วไป

- ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท

- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
   อัตราวันละไม่เกิน 200 บาท ระยะไม่เกิน 1 ปี

- ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท

............................................................................................................................

กรณีเสียชีวิต

- ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตั้งแต่ 30,000 บาท
   แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

- ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท

- ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

- สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจำเลย

............................................................................................................................

กรณีทั่วไป

- ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท
   ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี

- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท
   ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี

- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตราวันลำไม่เกิน 200 บาท
   นับตั้งแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ

............................................................................................................................

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
- ค่าทนายความเท่าที่จ่ายจริงในอัตราไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด
- ค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
............................................................................................................................


กรณีเสียชีวิต

- ค่าทดแทน จำนวน 100,000 บาท

- ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท

- ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท

- ค่าความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท
............................................................................................................................

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของหน่วยงานผู้รับเรื่องและพิจารณา
งบเงินให้ความเช่วยเหลือ  คือ.....

สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
กระทรวงยุติธรรม
............................................................................................................................


มาตรา ๑๕ ให้จัดตั้งสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) รับคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอ
      ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
(๓) ประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นหรือบุคคลใด ๆ เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง
      หรือความเห็นเกี่ยวกับการขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
 (๔) เก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
 (๕) กระทำกิจการตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
............................................................................................................................

 มาตรา ๑๖ ในกรณีที่สำนักงานเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัตินี้ กระทรวงยุติธรรมอาจแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์เพื่อให้มีอำนาจดำเนินคดี
หรือดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่กระทรวงยุติธรรมมอบหมายก็ได้
และให้แจ้งศาลทราบ การดำเนินคดีตามมาตรานี้ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
............................................................................................................................

หมวด ๔ การจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
มาตรา ๑๗ ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายอันอาจขอรับค่าตอบแทนได้
ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๘ ค่าตอบแทนตามมาตรา ๑๗ ได้แก่
(๑) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
(๒) ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
 (๔) ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
............................................................................................................................

 คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้
โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำความผิด
และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาสที่ผู้เสียหาย
จะได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย

............................................................................................................................

มาตรา ๑๙ หากปรากฏในภายหลังว่าการกระทำที่ผู้เสียหาย
อาศัยเป็นเหตุในการขอรับค่าตอบแทนนั้นไม่เป็นความผิดอาญา
หรือไม่มีการกระทำเช่นว่านั้น ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้ง
ให้ผู้เสียหายคืนค่าตอบแทนที่ได้รับไปแก่กระทรวงยุติธรรมภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
..........................................................................................................................
                                                                                  
หมวด ๕
การจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
มาตรา ๒๐ จำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง
(๑) เป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ
(๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี และ
(๓) ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
และมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฏตามคำพิพากษา
อันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดในคดีที่มีจำเลยหลายคน
จำเลยคนใดถึงแก่ความตายก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด
และคณะกรรมการเห็นสมควรจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยอื่น
ที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี จำเลยที่ถึงแก่ความตายนั้น
มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ได้ด้วย
............................................................................................................................

มาตรา ๒๑ การกำหนดค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๒๐
ให้กำหนดตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ค่าทดแทนการถูกคุมขัง ให้คำนวณจากจำนวนวันที่ถูกคุมขังในอัตราที่กำหนดไว้
    สำหรับการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
    และจิตใจ หากความเจ็บป่วยของจำเลยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
(๓) ค่าทดแทนในกรณีที่จำเลยถึงแก่ความตาย และความตายนั้น
    เป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี จำนวนไม่เกินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
 (๔) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดี
 (๕) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี
  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว
ในกรณีที่มีคำขอให้ได้รับสิทธิที่เสียไปอันเป็นผลโดยตรงจากคำพิพากษานั้นคืน
การสั่งให้ได้รับสิทธิคืนตามคำขอดังกล่าว ถ้าไม่สามารถคืนสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เช่นว่านั้นได้ ให้คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนเพื่อสิทธินั้นให้ตามที่เห็นสมควร
คณะกรรมการอาจกำหนดให้จำเลยได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายเพียงใดหรือไม่ก็ได้
โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดี ความเดือดร้อนที่จำเลยได้รับ และโอกาสที่จำเลย
จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากทางอื่นด้วย
............................................................................................................................


หมวด ๖  การยื่นคำขอ การพิจารณาคำขอ และการอุทธรณ์
มาตรา ๒๒ ให้ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
ที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทนค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้
ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ ณ สำนักงาน ตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในหนึ่งปี
นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต
ให้ถอนฟ้องเพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด
หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ
ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้แทนโดยชอบธรรม
หรือผู้อนุบาล ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย
แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายแทนได้ ทั้งนี้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์ วิธีการยื่นคำขอ และวิธีพิจารณาคำขอ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะ กรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
 มาตรา ๒๕ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ผู้อุทธรณ์จะยื่นต่อสำนักงานหรือศาลจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต
เพื่อส่งให้แก่ศาลอุทธรณ์ก็ได้ และให้ถือว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไต่สวนหลักฐานเพิ่มเติมโดยสืบพยานเอง
หรืออาจแต่งตั้งให้ศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควรทำแทนก็ได้
............................................................................................................................

หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) สอบปากคำผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามคำขอ
(๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นที่จำเป็นมาเพื่อประกอบการพิจารณา
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 16 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2562    
Last Update : 17 ธันวาคม 2562 20:26:41 น.
Counter : 403 Pageviews.  

blog KU-ABC เด็กและเยาวชนทำผิดแล้วจะมีโทษเป็นอย่างไร

                   blog KU-ABC เด็กและเยาวชนทำผิดแล้วจะมีโทษเป็นอย่างไร                                                                                                                                                                                                              เตือนใจ  เจริญพงษ์
              
สังคมบ้านเราขณะนี้
พบว่าสถานการณ์การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
มีอัตราสูงมาก หากไล่เรียงอายุของเด็กและเยาวชนที่ได้กระทำความผิด
เริ่มตั้งแต่เรียนในระดับประถมต้น ประถมปลาย มัธยมขึ้นไปจนถึงมหาวิทยาลัย
โดยมีอายุต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป  ซึ่งมีทั้งที่เรียนในระบบและนอกระบบ
ยังไม่นับรวมกลุ่มเด็กเร่ร่อน
...........................................................................................................................

สำหรับฐานความผิดที่เพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง
คือ ผู้ใหญ่ใช้เด็กๆ เป็นเครื่องมือในกระบวนการค้า และเสพยาเสพติด
ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย  
ร่วมกันทำร้ายร่างกาย  กลุ่มเด็กแว้น  อีกส่วนหนึ่งมากลุ่มติดเกมส์ เป็นต้น
............................................................................................................................

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ เห็นทีนักกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมจะนิ่งเฉย
หรือ พิจารณาตามเนื้อผ้าของกฎหมายอย่างเดียวคงไม่เพียงพอเสียแล้ว
เพราะรูปแบบการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
มีการพัฒนากันไปตามกระแสสังคม กลุ่มมิจฉาชีพเองได้ใช้เด็กและเยาวชน
เป็นเครื่องมือและปรับกระบวนเล่ห์กลและหมกเม็ดต่างๆนานาล้ำยุคไปมากมาย
............................................................................................................................

ขอนำ lสาระสำคัญบางตอนของ 
“ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553  “
มาฝาก เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มาก ดังนี้
............................................................................................................................
กฎหมายที่ว่านี้.......ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2553
และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2554
............................................................................................................................

สถิติของศาลยุติธรรมบอกว่า
.....คดีเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน มีตัวเลขอยู่ที่  ปีละมากกว่า 5 หมื่นคดีแล้ว 
นั่นก็ชัดแล้วว่า มีเด็กและเยาวชนมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นตลอดเวลา
และเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าวิตก
............................................................................................................................

กฎหมายใหม่นี้ มุ่งเน้นประเด็นการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ 
และ วิธิปฏิบัติต่อ..เด็ก..เยาวชน.. สตรี และบุคคลในครอบครัว
ให้เป็นไปตาม....รัฐธรรมนูญ .....อนุสัญญาเด็ก
และ อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
..........................................................................................................................

หลายปีที่ผ่านมา มีปัญหาจากการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นมากมาย
หลากหลายรูปแบบ ประเด็นปัญหาที่ตามมา
คือ .....เมื่อเด็กและเยาวชนได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติ
.....ไว้ว่าเป็นความผิด เด็กและเยาวชนจะต้องรับโทษ ตามกฎหมาย หรือไม่
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเด็กและเยาวชน มีวุฒิภาวะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่
ทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และพฤติกรรม  ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
มีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิด 

...........................................................................................................................

ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดาทั่วไปเพื่อสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชน
............................................................................................................................

เมื่อปี 2553 ได้มีการจัดตั้ง.....
ศาลเยาวชนและครอบครัวครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
..........................................................................................................................

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ดังกล่าว
มีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่งในคดี
ซึ่งเด็กและเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา
ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
หรือ ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่นๆ
............................................................................................................................

คดีอาญาที่โอนมาจากศาลธรรมดา
ในกรณีที่จำเลยอายุยังไม่เกิน 20 ปี บริบรูณ์
เนื่องจากศาล ที่พิจารณาคดีนั้นได้พิจารณา
โดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ
ภาวะแห่งจิต และนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้น
ยังมีสภาพเช่นเดียวกันเด็กและเยาวชน
คดีครอบครัว คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ และคดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติ
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัวคดีอาญา.....
ที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น
............................................................................................................................

โดย “เด็ก” หมายความว่า..............
บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม
ที่กำหนดให้ “เด็ก” หมายความว่า....บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์
แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์
............................................................................................................................

และ “เยาวชน” หมายความว่า... บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์
แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จากแต่เดิม
ที่กำหนดให้ “เยาวชน” หมายความว่า......... บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์
แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ การแก้ไขเรื่องอายุเด็กและเยาวชนเป็นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา
............................................................................................................................

การออกหมายจับเด็กและเยาวชน
ให้ศาลคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะในเรื่องอายุ เพศ และอนาคตของเด็กหรือเยาวชน
ที่พึงได้รับการพัฒนาและปกป้องคุ้มครอง
หากการออกหมายจับจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กหรือเยาวชน
อย่างรุนแรงโดยไม่จำเป็น ให้พยายามเลี่ยงการออกหมายจับ
โดยใช้วิธีติดตามตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยวิธีอื่น
ก่อนการจับกุมและควบคุมเด็กและเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อม
............................................................................................................................

โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
นอกจากนั้น ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชน
หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพ
หรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด
เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
การสอบสวนต้องกระทำในสถานที่ที่เหมาะสม
โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น
หรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้น
อันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน
...........................................................................................................................

กฎหมายใหม่ได้เพิ่มมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเข้ามา
เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนการดำเนินคดีตามช่องทางปกติ
เปิดโอกาสให้ผู้เสียหาย หรือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก
ในกรณีที่..เด็กหรือเยาวชน...สำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี เมื่อคำนึงถึงอายุ
ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต
อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำความผิด
............................................................................................................................

แล้วหากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่า
....เด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง
ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ
ทั้งนี้ เพื่อแก้ไปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน
บรรเทา ทดแทน หรือชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
หรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคม
แล้วเสนอความเห็นประกอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู
...........................................................................................................................

ต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา
ทั้งนี้ การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ต้องได้รับความยินยอม
จากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วยหากพนักงานอัยการเห็นว่า
แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนแล้ว
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้พนักงานอัยการเห็นชอบกับแผนดังกล่าว
............................................................................................................................

และให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูดังกล่าวได้ทันที
พร้อมทั้งให้รายงานให้ศาลทราบ
ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่า
....กระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรในศาลที่มีอำนาจ
พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้กระทำเป็นการลับ
และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้น
มีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ ทั้งมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
แทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยการเปลี่ยนโทษจำคุก
หรือกักกัน เป็นการส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปควบคุม
เพื่อฝึกอบรมในสถานที่ที่กำหนดไว้ หรือสถานที่อื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
และศาลเห็นสมควร ตามเวลาที่ศาลกำหนด
..........................................................................................................................

แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์
หรือการเปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติการที่เด็กกระทำความผิด
.....อาจเกิดจากบิดามารดาปล่อยปะละเลย หรือบุคคลอื่นชักจูงหรือส่งเสริม
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3)
กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็ก
(บุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) ประพฤติตนไม่สมควร
หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด
ผู้ฝ่าฝ่าฝืนต้องรับผิดทางอาญาจำคุกไม่เกิน 3 เดือน
หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
..........................................................................................................................

ดังนั้น...บิดามารดาหรือบุคคลอื่นใด
อาจต้องรับโทษทางอาญา หากฝ่าฝืนกฎหมาย
โดยยินยอมให้เด็กกระทำความผิด
............................................................................................................................

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากร
ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
หากเด็กและเยาวชนได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
ได้รับการส่งเสริมให้มีความประพฤติดี มีคุณธรรม
และปลูกฝังให้มีจิตสำนึกที่ดี ย่อมเป็นผลดีแก่สังคมและประเทศชาติ
...........................................................................................................................

การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม
ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนนั้น เป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหา
เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี
และป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติกระทำความผิดซ้ำอีก
............................................................................................................................

หวังอย่างยิ่งว่า เมื่อมีกฎหมายใหม่
ที่ว่านี้ออกมาใช้กันแล้ว อาจยังไม่เพียงพอ
พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง สถาบันการศึกษา ชุมชน  นักธุรกิจ
สถานประกอบการ  และสังคมโดยรวม
............................................................................................................................

*** ต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน
ในอันที่จะช่วยกันอบรมบ่มนิสัยให้ลูกหลาน เยาวชนไทย
ได้เป็น.. เด็กดี…ผู้ใหญ่ที่ดี และคนดีของสังคม
เพื่อการอยู่ร่วมอย่าง..มีความสุข …
และนำพาชาติไปในทิศทางที่ดีและเจริญอย่างยั่งยืนต่อไป
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 15 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC

 




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2562    
Last Update : 15 ธันวาคม 2562 20:42:49 น.
Counter : 347 Pageviews.  

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าด้วยความผิดในข้อหาแข่งรถซิ่ง

      blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าด้วยความผิดในข้อหาแข่งรถซิ่ง
                                                                                                                                                                                                    เตือนใจ เจริญพงษ์

พฤติกรรมอย่างหนึ่งของเด็กวัยรุ่นในบ้านเราขณะนี้
ซึ่งเป็นภาพที่เห็นเป็นประจำโดยเฉพาะในยามวิกาล
คือเหตุการณ์ที่วัยรุ่นนำรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์
มาขับขี่แข่งขันกันบนถนนสาธารณะทั้งในเมืองและนอกเมือง
............................................................................................................................

เป็นเหตุให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมถนนมีความทุกข์ 
จากเสียงดังของเครื่องยนต์จนไม่สามารถใช้ชีวิตให้มีความสุขได้ 
นอกจากนี้การแข่งขันซึ่งต้องขับรถด้วยความเร็วสูงนี้เอง
ประชาชนต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้เกิดการเฉี่ยวชน
และอุบัติเหตุชนกันหรือชนคนเดินถนน ซึ่งอาจบาดเจ็บหรือพิการ
หรือถึงแก่ความตายเป็นจำนวนมาก เหตูเพราะความสนุก
และขาดความรับผิดชอบของวัยรุ่น
เรื่องนี้ยังถือว่าเป็นการท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐอย่างซึ่งๆหน้า

............................................................................................................................

จาก เรื่องราวข้างต้น จึงขอนำผลของคดี
ซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดมาฝาก
เพราะไม่ใช่แค่ความสนุก.. ชาวบ้านเดือดร้อน..เสียทรัพย์ ..ผู้คนล้มตายเท่านั้น
............................................................................................................................

 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งตำรวจ อัยการและศาล
ได้มีแนวทางดำเนินการขานรับการลงโทษจนได้รับการแซ่ซ้องทั่วประเทศ

............................................................................................................................

ขอยกตัวอย่างของจริง..เล่าสู่กันดังนี้
.เมื่อตำรวจจับกุมแก๊งวัยรุ่นแข่งรถ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี
ควบคุมการทำคดีนี้ด้วยตนเอง จะไม่อนุญาตให้ประกันตัว
จากนั้นนำผู้ต้องหาส่งอัยการในวันรุ่งขึ้น.....
อัยการก็จะส่งฟ้องและแจ้งให้ศาลทราบ
ถึงสภาพความร้ายแรงของการกระทำความผิด
เพื่อใช้ประกอบดุลยพินิจการลงโทษของศาลต่อไป
............................................................................................................................

คดีหมายเลขดำที่ ว.1323/2545 อัยการบรรยายว่า
............................................................................................................................


อนึ่ง.. โดยเหตุที่การกระทำความผิดในข้อหาแข่งรถในทางเดินรถดังกล่าว
ก่อให้เกิดเสียงดัง ทำลายสุขภาพจิตของประชาชน
ผู้กำลังพักพ่อนหลับนอนอยู๋ในบริเวณบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
กับที่เกิตเหตุ อันเป็นการสร้างความเดือนร้อน
............................................................................................................................

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนผู้สัญจiไปตามเส้นทางนั้น
ได้โดยง่ายอีกด้วย ประกอบกับความผิดในข้อหาดังกล่าว
มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นอีกเรื่อยๆทั้งในกรุงเกทพมหานคร
และจังหวัดใกล้เคียง สมควรอย่างยิ่งที่จะลงโทษผู้กระทำผิดสถานหนัก
และริบของกลางต่อไปด้วย ขับขี่ของจำเลยด้วยและเพิกถอนใบอนุญาต
............................................................................................................................

ศาลแขวงนนทบุรี...
ได้ให้ความเห็นว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะรุนแรง
จึงพิพากษาจำคุกจำเลยรวม 2 เดือน ปรับ 2000 บาท
โดยไม่รอลงอาญา รับสารภาพลดกึ่ง คงจำคุก 1 เดือน ปรับ1000บาท
เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ริบรถของกลาง
และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์มีกำหนด 6 เดือน
............................................................................................................................

เรื่องทำนองนี้...ผู้ปกครอง....วัยรุ่นมีหน้าที่ต้องรู้ไว้
เพราะไม่ใช่แค่ความสนุก..แค่การแข่งขันรถที่ดูแล้วไม่น่ามีอะไร
แต่ผลของการกระทำจากการแข่งรถได้ส่งผลให้วัยรุ่น
และเพื่อนวัยวุ่นที่ตามกันไปดูอาจถูกเหมาว่าทำผิดไปด้วย
ซึ่งก็จะได้รับการลง โทษอย่างเป็นระบบที่เป็นรูปธรรมแล้ว
.....เพื่อให้ความมั่นคงปลอดภัยแก่สังคมอย่างปรกติสุข
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 14 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2562    
Last Update : 14 ธันวาคม 2562 23:41:29 น.
Counter : 302 Pageviews.  

blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าด้วยการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

           blog KU-ABC สิทธิคุ้มครองตนว่าด้วยการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
                                                            เตือนใจ เจริญพงษ์

 สถิติ..ภัยทางเพศ..ว่าด้วยเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ..
มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับ.การระวังภัย
ในเรื่องนี้ยังมีไม่มากนัก จำนวนคดีที่เกี่ยวกับการข่มขืน มีอัตราสูงขึ้น
เกือบ 40 %แล้ว ซึ่งยังไม่นับรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศในกรณีต่างๆ
............................................................................................................................

ยุคนี้จำเป็นต้องเร่งให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจ
ให้สังคมได้ตระหนักถึงภัยดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้หญิง
และ เด็กตกอยู่ในความทุกข์และความเจ็บปวด
............................................................................................................................

การล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นในเรื่องเพศ
ไม่ว่าจะเป็นคำพูด สายตา และ การใช้ท่าที รวมไปจนถึงการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์
............................................................................................................................

นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของผู้หญิงเป็นหลักการ
กระทำใดๆก็ตามที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกอับอาย เป็นการล่วงเกินความเป็นส่วนตัว
และผู้หญิงไม่ยินยอมพร้อมใจให้ทำ ถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น
การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นการกระทำที่กว้างขวางกว่าที่เราคิด
จึงขอนำ...ความรู้มาฝาก ว่าด้วย
...........................................................................................................................

ข้อ 1. การล่วงละเมิดทางเพศทางคำพูด ได้แก่
              -การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ที่ส่อในทางลามก
              -การเล่าเรื่องตลกลามก เรื่องสองแง่สองง่าม
              -การตามจีบ ตามตื้อ เกี้ยวพาราสี ทั้งๆที่รู้ว่าอีกฝ่ายไม่ชอบ
              -การพูดจาแทะโลม
              -การใช้คำพูดเพื่อกระตุ้นอารมณ์เพศ เป็นต้น
............................................................................................................................

    ข้อ 2. การล่วงละเมิดทางเพศทางการกระทำที่ไม่ถูกเนื้อต้องตัว ได้แก่
             -การจ้องมองของสงวน
             -การโชว์ภาพโป๊ หรือ ภาพที่ส่อไปในทางเพศ
             -การแอบดูตามห้องน้ำ (ถ้ำมอง)
             -การแอบถ่ายภาพ (ตามห้องลองเสื้อ ห้องน้ำ)
             -การโชว์อวัยวะเพศ
             -การเผยแพร่ภาพถ่ายทางอินเตอร์เนต
             -สื่อลามก
             -คลิปวิดีโอ เป็นต้น
............................................................................................................................

    ข้อ 3. การล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นการกระทำชัดแจ้ง ได้แก่
             -การแตะต้องเนื้อตัวที่ไม่พึงประสงค์
             -การกระทำอนาจาร (การกระทำต่อเนื้อตัว
หรือต่อร่างกายของบุคคลอื่น เช่น กอด จูบ ลูบ คลำร่างกายของหญิง
เป็นการแสดงความใคร่ทางเพศ)
             -การขอมีเพศสัมพันธ์ การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์
             -การข่มขืน เป็นต้น
............................................................................................................................

ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ
เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจเป็นการใช้อำนาจ
ที่อยู่เหนือกว่ากระทำกับผู้มีอำนาจน้อยกว่า
............................................................................................................................

เช่น ผู้ชายทำกับผู้หญิง ผู้ใหญ่ทำกับเด็ก หัวหน้าทำกับลูกน้อง เป็นต้น
ผลที่ตามมา...ทำให้ผู้ถูกละเมิด.... อับอายไม่กล้าบอก ...ไม่กล้าแจ้งความ....
กลัวไม่ปลอดภัย... กลัวอิทธิพล.... กลัวเสียชื่อเสียง กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม
............................................................................................................................

ข้อแนะนำ กรณีผู้ใกล้ชิดของท่านถูกล่วงละเมิดทางเพศ
           1.รับฟังข้อมูลอย่างมีสติ ควบคุมอารมณ์
           2.ให้การปลอบโยนให้กำลังใจ
           3.เก็บรวบรวมหลักฐาน เช่น เสื้อผ้า และร่องรอยต่างๆ
           4.แจ้งตำรวจ ถ้าต้องดำเนินคดีอาญา ควรมีความรู้ว่าวิธีการสอบสวน
............................................................................................................................

เรื่องนี้... ถ้าผู้ถูกล่วงละเมิดเป็นเด็ก .
ท่านจะได้สิทธิ

            -ต้องมีผู้ปกครอง เข้าร่วมฟังการสอบสวน
            -ต้องมีอัยการ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ เข้าร่วมฟัง
            -ตำรวจต้องส่งผู้เสียหายไปตรวจหาร่องรอย
            -ถ้าเป็นไปได้ให้ขอตำรวจหญิงทำการสอบสวน
............................................................................................................................

            -หลังการสอบสวน ถ้าร้อยเวรนำบันทึกสอบปากคำให้ผู้เสียหายลงชื่อ
ผู้ปกครองต้องอ่านให้ละเอียดก่อนว่าถูกต้องหรือไม่
ถ้าไม่ถูกต้องอย่าลงชื่อเด็ดขาด
            -ประสานงานกับอัยการหรือทนายโจกท์เพื่อยื่นคำร้องต่อศาล
ให้มีการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย (กรณีจำเลยเป็นบุคคลใกล้ชิด)
............................................................................................................................

            ### หากมีปัญหา ติดต่อ...สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชม.
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 14 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2562    
Last Update : 14 ธันวาคม 2562 23:09:46 น.
Counter : 386 Pageviews.  

blog KU-ABC "รู้ว่าใครเป็นใครในคดีอาญา"

             blog KU-ABC "รู้ว่าใครเป็นใครในคดีอาญา"
                                            
                                              
เตือนใจ เจริญพงษ์

 
      ประชาชนควรรู้...ถึงสิทธิเสรีภาพ ที่ตนเองพึงได้รับจากรัฐ
ซึ่งต้องช่วยกันส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่
ในกระบวนการยุติธรรม
...................................................................................................

วันนี้คิดว่าเรื่องเกี่ยวกับใครเป็นใครในคดีอาญาก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่ง
สำหรับท่านที่ยังไม่รู้  จะได้ทำความเข้าใจในเบื้องต้น ดังนี้
...................................................................................................

    “ ใครเป็นใครในคดีอาญา ” คดีอาญา
หมายถึง การกระทำผิดที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศลีธรรมอันดี
ของประชาชน เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

...................................................................................................

โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมี 5 สถาน คือ
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน

...................................................................................................

ดังนั้น เมื่อเกิดคดีอาญาขึ้น
คู่ความจะประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย คือ

“ ผู้เสียหาย ” และ “ ผู้ต้องหา "
...................................................................................................
 
“ ผู้เสียหาย ” 
หมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
รวมถึงบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดแทนได้
...................................................................................................

“ ผู้ต้องหา ”
หมายถึง ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอาญา
แต่ยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล
...................................................................................................

“ จำเลย ” หมายถึง
บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาล ว่าได้กระทำความผิดทางอาญา
...................................................................................................

“ ผู้ต้องขัง ” หมายถึง
รวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาดคนต้องขัง และคนฝาก
...................................................................................................

“ นักโทษเด็ดขาด
หมายถึง บุคคลซึ่งถูกขังไว้ ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ลงโทษด้วย
...................................................................................................

“ พนักงานสอบสวน ” หมายถึง
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และมีหน้าที่ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน
เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
...................................................................................................

“ พนักงานอัยการ”
หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
เมื่อเกิดกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น
...................................................................................................

ขั้นตอนต่อไป
คือการนำการกระทำผิดดังกล่าว
หรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ซึ่งประกอบด้วย
- ชั้นตำรวจ
- ชั้นอัยการ
- ชั้นศาล
และ ชั้นราชทัณฑ์
ซึ่งเป็นกระบวนการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
และเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย
...................................................................................................


.เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2562 5:13:31 น.
Counter : 376 Pageviews.  

1  2  3  4  

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.