Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC "พระสันตะปาปาเสด็จเยือนสยามประเทศ"

         blog KU-ABC " พระสันตะปาปาเสด็จเยือนสยามประเทศ"
                                               ดร.ประมุข เพ็ญสุต


ในเวลานี้ กทม.จะมีธงทิวประดับเป็นธงสีเหลือง
และมีกุญแจไขว้กันตรงกลางมีมงกุฏ
นั้นคือธงชาติของวาติกัน




วาติกันนครรัฐที่เล็กที่สุดในโลก อยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี
มีพื้นที่เพียง 275 ไร่  (สนามหลวงมีพื้นที่ 75 ไร่)
ประมุขแห่งรัฐวาติกัน คือพระสันตะปาปาคริสตจักรโรมันคาทอลิก
พระสันตปาปาองค์ปัจจุบัน คือ Pope Francis
เป็นสงฆ์ และคณะสงฆ์ระดับสูงตำแหน่ง คาร์ดินัล จากทั้งโลกเลือกพระองค์ขึ้นมา
โดยได้รับเลือกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556
ให้ขึ้นครองราชย์ (coronation) เป็น พระสันตปาปา
ตำแหน่งของพระสันตปาปาอย่างเป็นทางการมีถึง 8 ชื่อ




แต่จะขอยกตัวอย่างเพียงชื่อเดียวก่อน คือ
Supreme Pontiff of the Universal Church
Pontiff มาจากภาษาละติน pontifex แปลว่า ผู้สร้างสะพาน
............................................................................................................................
 
โป๊ปจะเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ 
ระหว่างวันที่ 20 - 23 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562
ตามคำเชิญของรัฐบาลไทยและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
............................................................................................................................

โป๊ปเสด็จมาไทย ทำไม ?
พระองค์มาปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์
ตามตำแหน่งที่ทรงเป็น “ผู้สร้างสะพาน”
เป็นการจาริกเพื่อสร้างสะพานแห่งสันติภาพ
และเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา
เปิดมิติในการทำงานร่วมกันระหว่างศาสนาต่างๆ
หลังจากนั้นจะเสด็จไปเยือนประเทศญี่ปุ่นต่อไป
............................................................................................................................
 
โป๊ปทรงมีอารมณ์ขันเสมอ และจะนำเรื่องในไบเบิ้ลมาเล่าล้อเล่น
เช่น เมื่อท่านเสด็จไปที่ใด ฝูงชนจะร้องต้อนรับท่าน
ว่า Hosanna แปลว่า ช่วยเราให้รอดเถิด
แปลแบบไทย ก็คือ พระมาโปรดแล้ว
............................................................................................................................

ท่านบอกว่า เมื่อท่านได้ยินคำนี้
ท่านนึกถึงชาวยิวที่ตะโกนคำนี้ต้อนรับพระเยซูในกรุงเยรูซาเล็มเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว
แต่หลังจากนั้น ไม่นาน ชาวยิวกลุ่มเดียวกันนี้ก็จะร้องว่า
Crucified him …เอามันไปตรึงกางเขน
............................................................................................................................
 
ท่านเสด็จไปไหน ไม่ต้องการรถหุ้มเกราะ
การป้องกันพระองค์จากผู้ที่มาต้อนรับพระองค์
ทำให้ ศรภ.หนักใจที่สุด
เพราะพระองค์ต้องการเลียนแบบพระเยซูให้มากที่สุด
แม้ความตาย ขอพระคุ้มครองท่านในการเสด็จเยือนประเทศไทย
VIVA PAPA
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:34:29 น.
Counter : 724 Pageviews.  

blog KU-ABC "สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้เพื่อละความเห็นผิด"

         blog KU-ABC "สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้เพื่อละความเห็นผิด"
                                                           ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล


ประเทศไทยมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา
คิดเป็นร้อยละ 95 ของประชากรทั้งประเทศหรือราว 63 ล้านคน
ส่วนใหญ่มีการนับถือพระพุทธศาสนาตามบรรพบุรุษและบิดามารดา
โดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
จึงเป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ในลักษณะต่างๆ นานา
เป็นการขัดต่อพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดา
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
............................................................................................................................

ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาของชาติ
มีการจัดสอนวิชาพระพุทธศาสนาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา
แต่ก็เป็นเพียงการเรียนเฉพาะตัวหนังสือเท่านั้นผู้เรียนไม่มีความเข้าใจแต่อย่างใด
โดยส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความรู้ทางพระพุทธศาสนาในระดับการศึกษา
ที่สูงขึ้น จะเห็นได้จากความเป็นคนเชื่อง่าย ตื่นมงคลในสิ่งที่เชื่อว่า
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และงมงายในเรื่องไสยศาสตร์
............................................................................................................................

นับเป็นจุดอ่อนของชาวพุทธที่ยังแก้กันไม่ตกมาทุกยุคทุกสมัย
ทั้งๆที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชาวพุทธเป็นผู้มีสติและปัญญา
เป็นผู้มีเหตุผลการบูชาทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธส่วนใหญ่
............................................................................................................................

มุ่งเน้นแต่การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (อามิสบูชา) เท่านั้น
แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธองค์
(ปฏิบัติบูชา) โดยการฟังธรรมหรืออ่านหนังสือธรรมะ
ซึ่งมีเนื้อหาสาระตรงตามพระไตรปิฎก เพื่อจะได้น้อมนำพระธรรมคำสอน
ของพระพุทธองค์ไปประพฤติปฏิบัติด้วยการรักษาศีลให้กายและวาจาสุจริต
ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนำพาให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข
ตามอัตภาพของแต่ละบุคคล หากชาวพุทธมีการนับถือพระพุทธศาสนา
เพียงแต่ในนามโดยขาดความร้คู วามเข้าใจในพระพุทธศาสนา
อย่างถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง
............................................................................................................................

สำหรับการเกิดมาเป็นชาวพุทธในชาตินี้
เพราะไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลยจากพระพุทธศาสนา
ชาวพุทธซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยปัญญา
ย่อมมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งพระรัตนตรัย คือ ดวงแก้ว 3 ประการ
..........................................................................................................................
ประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คุณ ของพระรัตนตรัย
มี 3 ประการ คือ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พุทธคุณ
............................................................................................................................
คือ คุณของพระพุทธเจ้ามี 9 ประการ ได้แก่
ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเกสและละเว้นการทำความชั่ว
ทรงเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 โดยรู้แจ้งทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และวิธีให้ถึงความดับทุกข์ด้วยพระองค์เอง
ทรงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี
ทรงสั่งสอนในสิ่งที่รู้ให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม
............................................................................................................................

ทรงเสด็จไปสู่อริยมรรค ซึ่งเป็นทางอันประเสริฐไปสู่นิพพาน
ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลกในความจริงถึงสังขารขันธ์ทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุคคลที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและตำ         
ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่หลง ไม่งมงาย มีสติที่ผ่องใส
ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรมอธิบายธรรมได้อย่างเหมาะสม
แก่อุปนิสัยของผู้ที่พึงจะได้รับผลสำเร็จตามสมควร
............................................................................................................................

ธรรมคุณ คือ คุณของพระธรรมมี 6 ประการ
ได้แก่ พระธรรมอันมีคำ สอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นความจริงแท้ เป็นหลักของชีวิตอันประเสริฐ
พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น พระธรรมนี้ไม่เนื่องด้วยกาลเวลาไม่ขึ้นอยู่กับเวลา
ผู้ปฏิบัติตนตามพระธรรมได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น
เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย
............................................................................................................................

พระธรรมนี้ควรเรียนให้มากเพราะเป็นคำสอนที่ควรรู้และพิสูจน์
เนื่องจากเป็นสิ่งที่จริงแท้ตลอดเวลาพระธรรมนี้
ควรน้อมนำ เข้ามาไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต
จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้นพระธรรมนี้วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตนด้วยการศึกษา
และน้อมนำไปปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรม
............................................................................................................................

สังฆคุณ คือ คุณของพระสงฆ์มี 9 ประการ ได้แก่
เป็นผู้ปฏิบัติดีตามพระธรรมเป็นผู้ปฏิบัติตรงตามพระธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติถูกทางเพื่อรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง
เป็นผู้ปฏิบัติสมควรและเป็นแบบอย่างที่ดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรควรแก่การเคารพ
เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่การทำบุญ
เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก
............................................................................................................................

พระพุทธองค์ทรงสอนไม่ให้ชาวพุทธเป็นคนเชื่อง่าย
ดังที่ปรากฏอยู่ใพระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ในกาลามสูตร
ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริง
ถึงคุณและโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อโดยให้พิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุและผลเสียก่อน
.........................................................................................................................

ทรงสอนให้อย่าเชื่อง่ายใน 10 ประการ ได้แก่
1. อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. อย่าเชื่อโดยเห็นทำตามกันมา
3. อย่าเชื่อโดยเล่าลือตามกันมา
4. อย่าเชื่อโดยอ้างในตำรา
5. อย่าเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. อย่าเชื่อโดยคิดตามอาการเป็นไป
7. อย่าเชื่อโดยชอบใจว่าถูกต้องตามหลักของตน
8. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าเป็นมงคล
9. อย่าเชื่อโดยคาดเดาเอาเอง
10. อย่าเชื่อโดยถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา
............................................................................................................................

การทำบุญของชาวพุทธส่วนใหญ่มักทำกันไม่ถูกต้อง
และไม่ถูกวิธีแท้ที่จริงแล้วการทำบุญทางพระพุทธศาสนา
มี 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10”
คือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางทำความดี ในทางพระพุทธศาสนา
............................................................................................................................

ได้แก่
1. ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (ทานมัย)
2. ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี (สีลมัย)
3. ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ (ภาวนามัย)
4. ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม (อปจายนมัย)
5. ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ (เวยยาวัจจมัย)
6. ทำบุำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย)
8. ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ (ธัมมัสสวนมัย)
9. ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ (ธัมมเทสนามัย)
10. ทำบุญด้วยการท􀄞ำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:35:27 น.
Counter : 212 Pageviews.  

blog KU-ABC "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา"

             blog KU-ABC"พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา"
                                                                       นายทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล


พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นโดยการตรัสรู้ของพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช นับเป็นระยะเวลา 2606 ปีล่วงมาแล้ว
............................................................................................................................

พระพุทธองค์ตรัสรู้ถึงอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
- ทุกข์ (ความทุกข์กายและทุกข์ใจ) การเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม
ที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้)
- สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์ซึ่งเกิดจากความทะยานอยากที่อยากได้ อยากมี
และอยากเป็น )
- นิโรธ (ความไม่เกิดดับ หมายถึง นิพพาน)
- มรรค (หนทางแห่งการดับทุกข์ 
............................................................................................................................

ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นที่ถูกต้องสัมมาสังกัปปะ - ความคิดที่ถูกต้อง
สัมมาวาจา - วาจาที่ถูกต้อง สัมมากัมมันตะ - การปฏิบัติที่ถูกต้อง
สัมมาอาชีวะ - การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง
สัมมาวายามะ - ความเพียรที่ถูกต้อง
สัมมาสติ - การมีสติที่ถูกต้อง
สัมมาสมาธิ - การมีสมาธิที่ถูกต้อง
............................................................................................................................

ซึ่งพระพุทธองค์ทรงผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นเวลา 4 อสงไขย
แสนกัปทศชาติหรือ 10 ชาติสุดท้ายของพระพุทธองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์
บำเพ็ญบารมี 10 ทัศ คือ
- ชาติที่ 1 ทรงเป็นพระเตมี บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
(การออกจากกาม)
- ชาติที่ 2 ทรงเป็นพระมหาชนก บำเพ็ญวิริยบารมี
(ความเพียร)
- ชาติที่ 3 ทรงเป็นพระสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตาบารมี
(ความปรารถนาดี มีไมตรี และการคิดเกื้อกูล)
- ชาติที่ 4 ทรงเป็นพระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
( ความตั้งใจมั่น)
ชาติที่ 5 ทรงเป็นพระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี
(ความหยั่งรู้ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลาย ตามความ
เป็นจริง)
- ชาติที่ 6 ทรงเป็นพระภูริทัต บำเพ็ญศีลบารมี
(ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย )
- ชาติที่ 7 ทรงเป็นพระจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี
(ความอดทน)
- ชาติที่ 8 ทรงเป็นพระนารถ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (ความวางใจเป็นกลาง)
- ชาติที่ 9 ทรงเป็นพระวิทูร บำเพ็ญสัจจบารมี (ความจริง)
- ชาติที่ 10 ทรงเป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี (การให้ การเสียสละ)
............................................................................................................................

ในครั้งที่ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงได้ออกผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม จนบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ด้วยการดำเนินมัชฌิมปฏิปทา (ปฏิบัติทางสายกลาง) จนค้นพบปรมัตถธรรม
(ความจริงแท้) คือ จิต (สิ่งที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้) เจตสิก
(สิ่งที่รู้ประกอบกับจิต เกิดและดับพร้อมกับจิต) รูป (สิ่งที่ถูกรู้)
นิพพาน (ความไม่เกิดดับ) ซึ่งจำแนกธรรมได้เป็นสองประเภท
ประเภทแรก คือ สังขตธรรม (สภาวธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ซึ่งยังแบ่งออกเป็น นามธรรม หรือนามธาตุหรือนามขันธ์
ได้แก่ จิต เจตสิก และรูปธรรม หรือ รูปธาตุหรือรูปขันธ์ ได้แก่
รูป ประเภทที่สอง คือ อสังขตธรรม สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ใให้เกิดขึ้น
ได้แก่ นิพพาน พระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธองค์มีความละเอียดลึกซึ้งยิ่ง
เพราะเป็นความจริงแท้ที่เกิดจากพระปัญญาคุณและพระบริสุทธิคุณ
ของพระพุทธองค์ที่ตรัสรู้จากการบำเพ็ญเพียรมายาวนาน
............................................................................................................................

ชาวพุทธจึงอย่าได้ประมาทในการดำเนินชีวิตโดยไม่ศึกษาพระธรรม
เพราะจะไม่มีทางอื่นใดที่จะรู้ความจริงแท้ โดยมิได้ศึกษาพระธรรม
ชาวพุทธในปัจจุบันมีอยู่ สองประเภท
ประเภทแรก คือ ชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยปัญญา
เพราะได้ศึกษาพระธรรมจนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
โดยการฟังธรรมตามกาลมีการพิจารณาไตร่ตรองจนเกิดปัญญาเป็นของตนเอง
จึงนำไปสู่การเป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ(มีความเห็นถูก)
............................................................................................................................

ประเภทที่สอง คือ ชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
เพราะไม่ได้ศึกษาพระธรรมเป็นผู้ไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
จึงเป็นผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
............................................................................................................................

การศึกษาพระธรรมที่จะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น คือ ขั้นปริยัติ
(ศึกษาและทำความเข้าใจ)
ขั้นปฏิบัติ (ประพฤติปฏิบัติตนรักษากาย วาจา ใจให้สุจริต)
ขั้นปฏิเวธ (การเข้าถึงแก่นแท้ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์โดยประจักษ์
แจ้งในสภาวธรรมที่มีการเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งมีการเกิดดับทีละขณะ)
............................................................................................................................

การที่ได้เกิดมาเป็นคนในชาตินี้โดยมีสุคติภูมิ (ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย)
เป็นแดนเกิดโดยไม่ได้เกิดมาในอบายภูมิ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ)
ได้แก่
นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ กำเนิดดิรัจฉาน การที่ได้เกิดมาและอาศัยอยู่ในประเทศ
ที่สมควรซึ่งมีภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อนจนเกินไปและไม่หนาวเย็นจนเกินไป
มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่มีความอดอยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้พบพาน
กับพระพุทธศาสนาในชาตินี้และยังได้นับถือพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะมีกุศลกรรมหรือกระทำความดี มาแต่ในอดีตชาติเป็นเหตุ
............................................................................................................................

เมื่อได้เกิดมาเป็นคนในชาตินี้แล้วจึงอย่าได้ประมาทกับการดำเนินชีวิต
โดยไม่ศึกษาพระธรรม เพราะการมีพระพุทธศาสานาเป็นที่พึ่งจะนำพาชีวิต
ไปสู่ความเป็นปรกติสุขในชีวิตประจำวันตามอัตภาพของแต่ละบุคคลและยังจะเป็นประโยชน์
ต่อการสะสมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปในภพหน้าอีกด้วย
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก. ผู้ post เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:36:34 น.
Counter : 211 Pageviews.  

blog KU-ABC"ศึกษาพระธรรมเพื่อดับความไม่รู้ (อวิชชา)"

              blog KU-ABC "ศึกษาพระธรรมเพื่อดับความไม่รู้ (อวิชชา)"

                                                               ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล


      เมื่อพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระพุทธองค์ทรงไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นศาสดาสืบแทน พระรัตนตรัย
ซึ่งเป็นดวงแก้วอันประเสริฐ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จึงเหลือเพียงดวงแก้ว 2 ประการ คือ พระธรรม พระสงฆ์
............................................................................................................................
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญามีความละเอียดลึกซึ้งยิ่ง
ชาวพุทธจึงต้องศึกษาพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธองค์
เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
โดยการฟังธรรมเทศนาและธรรมบรรยายที่ตรงตามพระไตรปิฎก
เพื่อจะได้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันให้มีความเป็นปรกติสุข
ตามอัตภาพของแต่ละบุคคล
พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์หรือตำราที่จารึกหลักธรรมคำสอน
ของพระพุทธองค์มี 84,000 พระธรรมขันธ์
..........................................................................................................................
จำแนกเป็นพระวินัยปิฎกว่าด้วยวินัยหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติ
ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินการต่างๆ
ของภิกษุสงฆ์มี 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก
(พระสูตร) ว่าด้วยการเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ
ในเวลาและสถานที่ต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง
เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง
ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกองค์สำคัญมี 21,000 พระธรรมขันธ์
พระอภิธรรมปิฎกว่าด้วยหลักธรรมต่างๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วนๆ
ไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยา
และอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนามี 42,000 พระธรรมขันธ์
............................................................................................................................
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา
เพราะคำว่า “ชาวพุทธ” หมายถึงผู้มีปัญญา
ชาวพุทธที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
จึงต้องเป็นผู้มีปัญญาด้วยการศึกษาพระธรรม
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณถึงสภาวธรรมที่จริงแท้
(ปรมัตถธรรม) คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาพระธรรม
ชองชาวพุทธมี 3 ระดับ
............................................................................................................................

คือ สุตมยปัญญาเป็นปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม
โดยมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
(การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลข้อที่26 ในมงคล 38 ประการ)
จินตมยปัญญาเป็นปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรอง
จากการฟังธรรมจนเกิดปัญญาเฉพาะตนขึ้นมา ภาวนามยปัญญา
เป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติและเจริญปัญญา (สติปัฏฐาน)
............................................................................................................................
จนประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมซึ่งเป็นรูปธรรมหรือรูปธาตุ
และนามธรรมหรือนามธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล รูปธรรมหรือรูปธาตุ
คือ สิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย แต่เป็นสิ่งที่ถูกรู้โดยนามธรรมหรือนามธาตุ
ส่วนนามธรรมหรือนามธาตุ คือ สิ่งที่รู้รูปธรรมหรือรูปธาตุโดยจิต
และเจตสิก
............................................................................................................................
ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้ทรงต้องเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ)
เป็นเวลาถึง 4 อสงไขยแสนกัปล์ ซึ่งทศชาติสุดท้ายของพระพุทธองค์
ที่ทรงบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ก่อนที่จะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือ
............................................................................................................................
- ชาติที่ 1   เป็นพระเตมีย์บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
- ชาติที่ 2   เป็นพระมหาชนกบำเพ็ญวิริยบารมี  
- ชาติที่ 3   เป็นพระสุวรรณสามบำเพ็ญเมตตาบารมี
- ชาติที่ 4   เป็นพระเนมิราชบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
- ชาติที่ 5   เป็นพระมโหสถบำเพ็ญปัญญาบารมี
- ชาติที่ 6   เป็นพระภูริทัตบำเพ็ญศีลบารมี
- ชาติที่ 7   เป็นพระจันทกุมารบำเพ็ญขันติบารมี
- ชาติที่ 8   เป็นพระนารทบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
- ชาติที่ 9   เป็นพระวิธูรบำเพ็ญสัจจบารมี
- ชาติที่ 10   เป็นพระเวสสันดรบำเพ็ญทานบารมี
............................................................................................................................
การศึกษาพระธรรมมีความสำคัญที่จะทำให้ชาวพุทธให้เป็นคนมีปัญญา
เป็นคนมีเหตุผลไม่เป็นคนเชื่อง่าย ไม่เป็นคนตื่นมงคล ไม่เป็นคนงมงาย
แต่จุดอ่อนของชาวพุทธ คือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมอย่างถูกต้อง
เนื่องจากนับถือพระพุทธศาสนาตามๆ กันมาตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่าตายายและบรรพบุรุษ
โดยไม่ได้สนใจศึกษาพระธรรมเพราะไม่รู้คุณค่าและคุณประโยชน์
จึงไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่ให้ความสำคัญกับการศึกษาทางโลกเพียงถ่ายเดียว
จึงเป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติอย่างผิดๆ
โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการนับถือพระพุทธศาสนาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ความเห็นผิดนอกจากจะเป็นโทษแก่ชาวพุทธแล้ว
ยังเป็นเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอีกด้วย
............................................................................................................................
 จะขอยกตัวอย่างความเห็นผิดในการทำบุญของชาวพุทธ
กรณีที่ชาวพุทธมีการประพฤติปฏิบัติอย่างผิดๆ
โดยการให้เงินทองแก่ภิกษุ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุมีโทษอาบัตินิสคิยปาจิตตีย์
หากภิกษุผู้รับเงินทองไปแล้วไม่ปลงอาบัติโดยสละเงินทองและแสดงโทษแล้ว
ก็จะกลายเป็นภิกษุธุศีล
เมื่อมรณภาพจะไปเกิดในอบายภูมิ คือ กำเนิดดิรัจฉาน เปรต สัตว์นรก
อสุรกายในภูมิใดภูมิหนึ่ง
............................................................................................................................
ส่วนผู้ที่ทำบุญโดยการให้เงินทองแก่ภิกษุไม่สามารถ
ที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไม่สามารถอนุโมทนาได้
เนื่องจากเป็นการทำบุญกับภิกษุธุศีลที่ไม่มีความบริสุทธิ์
กรณีการทำบุญหากเงินที่นำมาทำบุญไม่ใช่เงินที่ได้มาโดยสุจริต
หรือไปเบียดเบียนผู้อื่นมา
............................................................................................................................
การทำบุญนั้นย่อมไม่เกิดอานิสงส์ใดๆ
อีกประการผู้ที่มีเงินทองมากทำบุญด้วยเงินทองมาก
ก็ใช่ว่าจะได้บุญมาก
ส่วนผู้ที่มีเงินทองน้อยทำบุญด้วยเงินจำนวนน้อย ก็ใช่ว่าจะได้บุญน้อย
การได้รับอานิสงส์จากการทำบุญจะต้องเป็นการทำบุญ
โดยปราศจากกิเลสก่อนทำบุญมีจิตใจตั้งมั่นและมีเจตนาบริสุทธิ์
ระหว่างทำบุญมีจิตที่เป็นกุศลไม่มีความโลภเจือปน
หลังการทำบุญมีความปีติจากบุญที่ได้กระทำ
............................................................................................................................
สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้เกี่ยวกับการทำบุญ แท้ที่จริงแล้วการทำบุญโดยการให้
หรือการสละเป็นเพียง 1 ประการใน 10 ประการ
ของที่ตั้งแห่งการทำความดีที่มีกำลังจนทำให้มีการกระทำออก
มาทาง กายวาจาหรือทางใจ (บุญกิริยาวัตถุ 10) ซึ่งมี 10 ประการ
ได้แก่
............................................................................................................................
1. ทานมัย   บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น
2. ศีลมัย  บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริตทางกาย  วาจา
3. ภาวนามัย  บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส (สมถภาวนา)
และการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลส ทั้งปวง(วิปัสสนาภาวนา)
4. อปจายนมัย  บุญสำเร็จจากการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
5. เวยยาวัจจมัย  บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
6. ปัตติทานมัย  บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
7. ปัตตานุโมทนามัย  บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว
8. ธัมมัสสวนมัย   บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม
9. ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม
10. ทิฏฐุชุกรรม  บุญสำเร็จจากการกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ (อวิชชา) จะถูกดับลงได้ก็เพราะด้วยปัญญา
ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการศึกษาพระธรรม
จนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
มีความมั่นคงในพระธรรมด้วยความไม่มีตัวตน (อนัตตา)
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:37:35 น.
Counter : 245 Pageviews.  

blog KU-ABC "พุทธบริษัทกับพระพุทธศาสนา"

                 blog KU-ABC " พุทธบริษัทกับพระพุทธศาสนา"
                                                               ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล

              
      
พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นโดยการตรัสรู้อริยสัจธรรมของพระบรมศาสดา
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ
พระมหากรุณาคุณพุทธบริษัทเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาคือ ภิกษุ, ภิกษุณี,อุบาสกอุบาสิกา
ซึ่งเรียกว่าพุทธบริษัท 4 ปัจจุบันพุทธบริษัท 4เหลือเพียงพุทธ
บริษัท 3เนื่องจากพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงอนุญาตให้มีการบวช
ภิกษุณีเหมือนในครั้งพุทธกาลผู้ที่บวชเป็นภิกษุซึ่งอยู่ในเพศบรรพชิต
มีหน้าที่ศึกษาพระธรรม (คันถธุระ) และอบรมเจริญปัญญา (วิปัสสนาธุระ)
............................................................................................................................
ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบท (ศีล 227 ข้อ)
ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เผยแผ่ความรู้ทางพระพุทธศาสนา
ตามพระธรรมวินัยแก ่อุบาสก อุบาสิกา กิจอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้
ล้วนไม ่ใช ่กิจของสงฆ์ทั้งสิ้น อุบาสก อุบาสิกาซึ่งอยู่ในเพศคฤหัสถ์(ผู้ครองเรือน)
มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยมีภิกษุเป็นเนื้อนาบุญ
ฟังธรรมตามกาลซึ่งเป็นบุญประเภทหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10
และเป็นมงคลประเภทหนึ่งในมงคล 38 เป็นหนทางในการ
นำไปสู่การเป็นมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
และเป็นผู้มีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้
มีโอกาสพบพานกับพระพุทธศาสนาและเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
.........................................................................................................................

นับว่าเป็นความโชคดียิ่ง ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
ย่อมเป็นผู้มีปัญญา และมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง สามารถดำเนิน
ชีวิตประจำวันได้อย ่างเป็นปรกติสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล
ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ชาวพุทธทีมีปัญญา จะมีส่วนสำคัญในการสืบทอด
และดำรงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญมั่นคงและมีเจริญรุ่งเรืองสืบไป
............................................................................................................................
    เพื่อให้อุบาสก อุบาสิกาเป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ซึ่งประกอบด้วยปัญญาจึงได้ประมวลผู้ข้อความสำคัญจากพระสุตตันตปิฏ
(พระสูตร) มาให้ได้ศึกษาและพิจารณาดังต่อไปนี้
           “ธรรมก็ดีวินัยก็ดีอันใด อันเราได้แสดงแล้ว
ได้บัญญัติไว้แล้วแก ่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น
จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา”
(จากข้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระธรรมวินัยเป็นศาสดา)
............................................................................................................................
การฟังธรรมจะได้รับอานิสงส์5 ประการ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการ
ฟังธรรม 5 ประการนี้5 ประการเป็นไฉน คือ ผู้ฟังย่อมได้ฟัง
สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง1ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว1ย่อมบรรเทา
ความสงสัยเสียได้1 ย่อมทำความเห็นให้ตรง 1 จิตของผู้ฟัง
ย่อมเลื่อมใส 1ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม
5 ประการนี้แล”
(จากข้อความในธัมมัสสวนสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต)
............................................................................................................................
คำว่า ศรัทธา นั้น มี4 คือ อาคมนียศรัทธา อธิคมศรัทธา ปสาทศรัทธา
โอกัปปนศรัทธา บรรดาศรัทธาทั้ง4 นั้น อาคมนียศรัทธาย ่อมมีแก ่
พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูอธิคม
ศรัทธาย่อมมีแก่พระอริยบุคคลทั้งหลายส่วนเมื่อเขาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ก็เลื่อมใสชื่อว่า ปสาทศรัทธาส่วนความปักใจเชื่อ ชื่อว ่า โอกัปปนศรัทธา
(จากข้อความในสุมังคลวิลาสินีอรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร)
............................................................................................................................
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีดังนี้ก็สัทธาสัมปทาเป็นอย ่างไร
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกฝึกผู้ที่ควรฝึก
ไม ่มีผู้อื่นยิ่งกว ่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
(จากข้อความในพระสุตตันตปิฎกอังคุตรนิกาย จตุกนิบาต ปัตตกัมมสูตร)
............................................................................................................................
พระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบารมีตลอดระยะเวลา 4 อสงไขยแสนกัป
เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงห ่างไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
และยากอย่างยิ่งที่ใครจะมีความประพฤติเหมือนอย่างพระองค์
ได้เมื่อพระองค์ยังไม่ได้ปัญญาที่จะสามารถดับตัณหา
ซึ่งเป็นกิเลสที่สร้างภพชาติได้ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด นับชาติไม่ถ้วน
ยังเต็มไปด้วยกองแห่งทุกข์นานัปการ
............................................................................................................................

แต่เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับตัณหา
ซึ่งเป็นตัวสร้างภพชาติพร้อมทั้งอวิชชา และกิเลสทั้งหลายได้ทั้งหมดแล้ว
กิเลสเหล ่านี้ไม ่สามารถเกิดขึ้นอีกไม่สามารถสร้างภพชาติอีกต่อไป
ชาตินี้จึงเป็นชาติสุดท้ายสำหรับพระองค์ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
และพระบารมีทั้งหมดที่พระองค์ได้ทรงสะสมอบรมมา
ก็เพื่อที่จะได้ทรงตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรมเกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ให้มีความรู้ถูก ความเข้าใจถูกและมีความเห็นถูกตามพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต
ทรงกำจัดมารและพลแห่งมารแล้ว ในปฐมยามทรงทำลายความมืด
ที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
ในปัจฉิมยามทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ทรงหยั่งพระญาณ
ลงในปัจจยาการแล้วทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลม
และปฏิโลม ในเวลาอรุณขึ้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อม
ด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง
(จากข้อความในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องปฐมโพธิกาล)
............................................................................................................................
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก ่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
ส่วนสุด 2 ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค
(การประกอบตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ในความสุขในกาม)และ
อัตตกิลิมิถานุโยค (การประกอบตนให้ได้รับความลำบาก)
เป็นทางที่บรรพชิตไม ่ควรเสพ แล้วพระองค์ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง
(มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งเป็นหนทางที่ควรดำเนินไป ได้แก่ อริยมรรคมีองค์8
มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นซึ่งเป็นไปเพื่อตรัสรู้ธรรมตรงตามความเป็นจริง
เพื่อนิพพาน
(จากข้อความในพระสุตตันตปิฎกสังยุตตนิกาย มหาวารวรรคปฐมตถาคตสูตร)
..........................................................................................................................
ปฏิจจสมุปบาท เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นด้วยดีคือเป็นไปตามลำดับโดยอาศัยปัจจัย
หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลที่ทําให้เกิดสังสารวัฏฏ์ปฏิจจสมุปบาทมีองค์12
คือ  1.อวิชชา 2.สังขาร 3. วิญญาณ 4. นามรูป 5.สฬายตนะ 6. ผัสสะ 7. เวทนา
8. ตัณหา 9. อุปาทาน 10. ภพ 11. ชาติ 12. ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
...........................................................................................................................
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติเพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
(จากข้อความในพระสุต
.........................................................................................................................

ตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน ปฐมโพธิสูตร)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระปัจฉิมวาจา
ว่า“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ ว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาท
ให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต”
(จากข้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกาย มหาวรรค)
............................................................................................................................
ในห้วงเวลารอบปี2561 ที่ผ่านมา ชมรมนิสิตเก่า
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผู้สนใจศึกษาพระธรรมวินัยได้ร่วม
 ส.ม.ก. และคณะต่างๆได้แก่คณะสัตวแพทยศาสตร์คณะ
มนุษยศาสตร์คณะสังคมศาสตร์คณะประมงคณะเกษตรและ
คณะวนศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการสนธนาธรรมและตอบปัญหา
ทางพระพุทธศาสนา โดยมีอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขต
ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร ่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็น
ผู้ศึกษามีพระไตรปิฎกมาเป็นเวลากว่า60 ปีและเป็นผู้แตกฉาน
ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้นำการสนทนาธรรมฯ
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 31 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “


 




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:38:41 น.
Counter : 350 Pageviews.  

1  2  

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.