Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABCแนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจ และมาตรการการเกษตรเชิงอนุรักษ์

  blog KU-ABCแนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจและมาตรการการเกษตรเชิงอนุรักษ์
                                                                          ดร.ชพิกา สังขพิทักษ์



บทความนี้นาเสนอแนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
(multifunctional agriculture) ซึ่งกาลังได้รับความสนใจ
จากการกาหนดนโยบายเกษตรของประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะ
ในกลุ่ม OECD (Organization for Economic Cooperation and Development)
โดยเห็นว่าภาคการเกษตรนอกเหนือจากทาหน้าที่หลักในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร
และเส้นใยรวมถึงการสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในอาหารแล้ว
ยังทาหน้าที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สาคัญ คือทรัพยากรดินและน้า
การคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร
และยังมีภารกิจเชื่อมโยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชนบทเกษตร
อาทิเช่น โอกาสการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจากการเพิ่มคุณค่า
ต่อภูมิทัศน์เกษตร การรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น เป็นต้น
............................................................................................................................

ซึ่งแนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
คือกลุ่มที่มีมุมมองจากด้านอุปสงค์หรือเป็นการพิจารณาจากภารกิจหรือหน้าที่
(function) function) function) function) และกลุ่มที่มีมุมมองจากด้านอุปทาน
ที่พิจารณาจากผลได้ (output) output) output) output)
ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายถึงแนวคิดทั้งสองแนวคิดดังกล่าว
รวมถึงการนาเสนอมาตรการเชิงอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
ในมุมมองจากด้านอุปสงค์ การเกษตรเชิงพหุภารกิจจะมุ่งเน้นที่ภาระกิจ
หรือหน้าที่ของภาคการเกษตรในการให้บริการแก่สังคม ซึ่งประกอบไปด้วย
หน้าที่ทางการผลิต หน้าที่ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน้าที่ต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยหน้าที่เหล่านี้จะต้องได้รับการระบุที่ชัดเจน
เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานในการประเมินคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่สังคม
ได้รับจากการเกษตรเชิงพหุภารกิจ (Van Huylenbroeck et al.,  2007 )
............................................................................................................................

ภารกิจหรือหน้าที่ (function)
1. ภารกิจด้านการผลิต
ภารกิจหลักที่สาคัญของภาคการเกษตรในด้านการผลิต
ได้แก่การเป็นแหล่งผลิตอาหารและเส้นใยเพื่อตอบสนอ
งต่อความต้องการของผู้บริโภค ในปัจจุบันระบบการผลิตการเกษตร
เป็นการผลิตแบบเข้มข้น โดยผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีภายใต้
การปฏิวัติเขียวทั้งในรูปของพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง การใช้เครื่องจักรกล
การใช้สารเคมีทางการเกษตร และระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของผลผลิต
และคุณภาพของผลผลิตในแง่รูปลักษณ์ที่สวยงาม ปลอดจากการรบกวนของโรค
และแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีบทบาทสาคัญต่อความมั่นคงของอุปทานด้านอาหารโดยรวม
รวมถึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการจัดหาอาหารและการลดราคาอาหาร
ผ่านทางกลไกของตลาดภายในประเทศและระหว่างประเทศได้
............................................................................................................................

แต่ข้อปัญหาในประเด็นด้านความไม่มั่นคงของอาหาร
โดยเฉพาะประเด็นด้านความสามารถในการเข้าถึงอาหารยังถูกพบเห็นในทุกระดับ
ทั้งในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นหรือในระดับประเทศบางพื้นที่โลก
และในขณะเดียวกันในประเด็นด้านความไม่ปลอดภัยจากอาหาร
ที่นามาบริโภคก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ เพราะผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบ
โดยตรงต่อสุขภาพจากการบริโภคผลผลิตที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตร
ตลอดจนความเสี่ยงในเชิงสุขภาพจากการบริโภคผลผลิตที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรม
............................................................................................................................

ดังนั้นในบริบทของการเกษตรเชิงพหุภารกิจจึงเป็นภาระกิจที่สนับสนุน
และส่งเสริมทางเลือกของรูปแบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาทิเช่น การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรแบบผสมผสาน
การใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการจัดการศัตรูพืช
ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่น
และก่อให้เกิดผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของเกษตรกรอีกด้วย
............................................................................................................................

2. ภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม
การผลิตทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
โดยกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งทางบวกและทางลบ ในทางกลับกันสภาพแวดล้อม
ซึ่งนับเป็นปัจจัยการผลิตที่สาคัญ เช่น ทรัพยากรดิน
และน้าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคการเกษตร
ความเสื่อมโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จะส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
............................................................................................................................

ดังกรณีตัวอย่างของรูปแบบการผลิตที่มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น
และพึ่งพาสารเคมีจานวนมากจะนาไปสู่ความเสื่อมสภาพในทรัพยากรดิน
และน้าจากการปนเปื้อนของสารเคมี เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในดินและในน้า
ส่งผลต่อระบบการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนในระยะยาว
อีกทั้งยังเป็นที่อภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า
กิจกรรมการเกษตรเป็นแหล่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
อาทิเช่น การทานาข้าวแบบเข้มข้นและการปศุสัตว์
เป็นแหล่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทน (Methane: CH )
อีกทั้งการปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ป่ามาใช้เพื่อการเกษตร
ก็ได้ส่งผลต่อการปลดปล่อยคาร์บอนเข้าสู่บรรยากาศ
ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปสู่การเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิโลก
หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าโลกร้อน เมื่อเทียบกับการผลิตทางการเกษตร
ที่เข้มข้นและพึ่งพาสารเคมี การสนับสนุนระบบเกษตรอินทรีย์
ซึ่งเป็นรูปแบบการเกษตรภายใต้แนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
จะช่วยเก็บกักคาร์บอนในดินและลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระบบนิเวศเกษตรและการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
นับเป็นวิธีปฏิบัติการเกษตรแบบยั่งยืน ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมทั้งหมด
............................................................................................................................

3. ภารกิจด้านเศรษฐกิจและสังคม
คุณค่าจากภูมิทัศน์เกษตรการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
และการพัฒนาชนบท นับว่าเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้จากการเกษตรเชิงพหุภารกิจ องค์ประกอบของภูมิทัศน์เกษตรครอบคลุม
ทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิเช่น
การทาการเกษตรแบบขั้นบันได การทาแนวกาแพงหิน
เพื่อแบ่งเขตคลองและลาเหมืองชลประทาน เป็นกิจกรรมร่วมระหว่างมนุษย์
และธรรมชาติก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของภูมิทัศน์เกษตรที่สวยงาม
ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นแหล่งเสริมสร้างเศรษฐกิจชนบทจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
(Groenfeldt , 2009 )
............................................................................................................................

อย่างไรก็ตามบางรูปแบบของกิจกรรมการบริหารจัดการของมนุษย์
อาจส่งผลกระทบในทางลบ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากการทาเกษตรแบบขั้นบันได
เพื่อทาการเพาะปลูกพืชที่มีคุณค่าสูงภายใต้เรือนกระจกอาจส่งผล
ต่อการเพิ่มขึ้นในรายได้ทางเศรษฐกิจที่เกษตรกรได้รับ
ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบในทางลบจากการสูญเสียคุณค่าจากภูมิทัศน์
เกษตรและมรดกทางวัฒนธรรมของภาคการเกษตร ผลได้ (output)
ของการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
............................................................................................................................

มุมมองด้านอุปทานของแนวคิดการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
มุ่งเน้นที่ผลได้ (output)  ที่สังคมได้รับจาการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ผลได้หรือสินค้าและบริการที่ผ่านระบบตลาดและที่ไม่ผ่านระบบตลาด
โดยสินค้าและบริการที่ผ่านระบบตลาดหมายถึง
ผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืชอาหารและเส้นใยที่ผ่านระบบตลาด
และราคาหรือเรียกว่า เป็นสินค้าเอกชน (private goods oods)
............................................................................................................................

ในขณะที่ความมั่นคงและความปลอดภัยในอาหาร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คุณค่าจากภูมิทัศน์เกษตรและการคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมการเกษตร
นับเป็นสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านระบบตลาดหรือเรียกได้ว่าเป็น
สินค้าสาธารณะ (public goods)  ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าสินค้า
และบริการทั้งที่ผ่านระบบตลาดและไม่ผ่านระบบตลาด
มีการร่วมกันในการผลิต  โดยส่งผลต่อประเด็นเกี่ยวเนื่องที่สาคัญคือ
ผลกระทบภายนอก  สิทธิในการถือครอง  และต้นทุนธุรกรรม 
ซึ่งเป็นพื้นฐานสาหรับการกาหนดมาตรการเชิงนโยบาย
เพื่อสนับสนุนการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
............................................................................................................................

1. สินค้าเอกชน สินค้าสาธารณะ และการร่วมกันของการผลิต
จากแนวคิดของ Ostrom et al. (1994 ) ความสามารถในกาการกีดกัน 
และการแข่งขัน (rivalry)  ในการบริโภค เป็นประเด็นหลักที่แสดงให้เห็นถึง
ความแตกต่างระหว่างสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะ
สินค้าเอกชนมีลักษณะที่สามารถกีดกัน (excludability) )
ในการบริโภค หมายถึงการบริโภคของบุคคลหนึ่ง ทาให้บุคคลอื่นๆ
ไม่สามารถบริโภคสินค้าและบริการนั้นได้ ในทางตรงข้ามสินค้าสาธารณะ
จะมีคุณลักษณะที่ไม่สามารถกีดกันการบริโภค
โดยการบริโภคของบุคคลหนึ่งไม่สามารถกีดกันการบริโภคสินค้า
และบริการนั้นๆ ของบุคคลอื่นได้ นอกจากนี้สินค้าสาธารณะ
ยังมีลักษณะที่ไม่มีการแข่งขันในการบริโภค
เนื่องจากการบริโภคของบุคคลหนึ่งไม่มีผลต่อการลดลงในสินค้า
และบริการสาหรับบุคคลอื่นๆ (Vatn Vatn ,2002 )
ในบริบทของการเกษตรเชิงพหุภารกิจ นอกเหนือจากสินค้าเอกชนแล้ว
สินค้าและบริการที่สังคมได้รับจาการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
จัดว่าเป็นสินค้าสาธารณะที่มีลักษณะทั้งไม่สามารถกีดกันการบริโภค
และที่ไม่มีการแข่งขันในการบริโภค ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวของระบบตลาด
ในการดาเนินการจัดสรรทรัพยากรและการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
การร่วมกันของการผลิตในการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
สามารถอธิบายในเชิงเทคนิคได้ว่า เป็นรูปแบบการเกษตร
ที่ก่อให้เกิดผลผลิตที่หลากหลาย อาทิเช่น
การเกษตรแบบปลูกพืชหมุนเวียนส่งผล
ต่อการปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรดิน ซึ่งนับเป็นสินค้าและบริการ
ที่ไม่ผ่านระบบตลาด การร่วมกันทางการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์
หมายถึงความหลากหลายในสินค้าและบริการที่ได้จากการใช้ปัจจัยการผลิต
โดยสินค้าและบริการนั้นๆ อาจมีรูปแบบของการแข่งขันหรือส่งเสริมกัน
ในกรณีของการเกษตรเชิงพหุภารกิจที่มีการร่วมกันทางการผลิตที่ส่งเสริมกัน
อาทิเช่น การเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้จากการใช้ทรัพยากรที่ดิน
...........................................................................................................................

นอกจากจะอยู่ในรูปของผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่จัดว่าเป็นสินค้าเอกชนแล้ว
ยังได้มาซึ่งสินค้าสาธารณะ ในรูปของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้า
ตลอดจนภูมิทัศน์เกษตรที่สวยงาม เป็นต้น
............................................................................................................................

2. ผลกระทบภายนอก สิทธิในการถือครอง และต้นทุนธุรกรรม
ในการเจราต่อรองผลกระทบภายนอก (externality) )
หมายรวมทั้งผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อบุคลหรือสังคมโดยรวม
ที่มิได้เกี่ยวข้องโดยตรง
กับการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
และผลกระทบดังกล่าวมิได้รับการให้มูลค่า
............................................................................................................................

สืบเนื่องจากความล้มเหลวของระบบตลาด
ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก
เชิงลบเกินกว่าที่ควร เนื่องจากต้นทุนหรือมูลค่าเชิงลบของผลกระทบภายนอกดังกล่าว
มิได้ถูกนาเข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
ในทางกลับกันมูลค่าของผลกระทบภายนอกเชิงบวก
ก็มิได้ถูกนาเข้ามาพิจารณา ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าและบริการน้อยกว่าที่ควร
โดยการเกษตรเชิงพหุภารกิจที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการในรูปของผลกระทบภายนอก
เชิงบวกที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมควรได้รับการสนับสนุนให้มีการผลิต
ถึงระดับที่สังคมต้องการตามแนวคิดของ  Coase(1960 )
ความล้มเหลวของตลาดในกรณีของผลกระทบภายนอกทั้งเชิงบวกและลบ
สามารถแก้ไขได้หากมีการกาหนดสิทธิถือครองในทรัพย์สิน
(property rights)  อย่างสมบูรณ์และชัดเจนภายใต้เงื่อนไขของต้นทุนธุรกรรม
ในการเจรจาต่อรอง (transaction cost) ที่ต่าหรือเป็นศูนย์
ตัวอย่างเช่นการปนเปื้อนของทรัพยากรน้าและการลดลงในความหลากหลายทางชีวภาพ
จากการใช้สารเคมีการเกษตรอย่างเข้มข้นในระบบการทาฟาร์ม
นับเป็นผลกระทบภายนอกเชิงลบต่อสังคม
............................................................................................................................

หากมีการกาหนดที่ชัดเจนต่อสิทธิ์ในสินค้าสาธารณะ
ในกรณีนี้คือ ทรัพยากรน้าและความหลากหลายทางชีวภาพ
เป็นสินทรัพย์ของสังคม ดังนั้นผู้ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต้องรับผิดชอบ
และชดเชยให้แก่สังคมซึ่งนับเป็นต้นทุนหนึ่งในการผลิต
ส่งผลต่อการลดลงของการผลิตสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบ
ภายนอกเชิงลบและอาจนามาซึ่งการปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในทางกลับกัน สินค้าและบริการสาธารณะเชิงบวกที่สังคม
ได้รับจากการผลิตทางการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
ต้องได้รับการให้มูลค่าที่เหมาะสมและจูงใจให้เกิดการผลิตทางการเกษตรเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
............................................................................................................................

มาตรการการเกษตรเชิงอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมการเกษตรเชิงพหุภารกิจ
มาตรการการเกษตรเชิงอนุรักษ์ เป็นมาตรการที่นามาใช้
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตทางการเกษตร
จากการเกษตรแบบเข้มข้นที่พึ่งพาสารเคมีไปสู่การเกษตรเชิงพหุภารกิจ
โดยมาตรการการเกษตรเชิงอนุรักษ์มีหลากหลายรูปแบบ
ประกอบด้วยมาตรการการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์
............................................................................................................................

มาตรการการกากับและควบคุม มาตรการให้การสนับสนุน
ภายใต้ข้อกาหนด มาตรการเชิงชุมชนและมาตรการเสริม
ในทางปฏิบัติการผสมผสานของมาตรการเชิงนโยบายเหล่านี้
โดยพิจารณาปัจจัยทั้งทางด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคม
ของแต่ละพื้นที่แต่ละประเทศ จะนาไปสู่การปรับเปลี่ยน
ไปสู่การเกษตรเชิงพหุภารกิจที่ยั่งยืน ส่งผลต่อการผลิตสินค้า
และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบภายนอกเชิงบวกต่อสังคม
............................................................................................................................

1. มาตรการการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์
มาตรการการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตสินค้า
และบริการสาธารณะที่ส่งผลเชิงบวกต่อสังคม
โดยการสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบต่างๆ
ในขณะเดียวกันมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม
ได้นามาใช้สร้างแรงจูงใจในการลดและจัดการการผลิต
ที่ก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบต่อสังคม
............................................................................................................................

1.1  การให้การสนับสนุนทางการเงิน
การให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นการจูงใจให้เกษตรกร
หันมาผลิตในรูปแบบการเกษตรเชิงอนุรักษ์
ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
โดยประเภทของการให้การสนับสนุนทางการเงิน
ประกอบด้วย มาตรการให้เงินสนับสนุนตามแนวทางปฏิบัติในการทาฟาร์ม
............................................................................................................................

มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยน
จากการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมีไปสู่วิธีปฏิบัติการดาเนินกิจกรรม
การทาฟาร์มเชิงอนุรักษ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
การปฏิบัติทางการเกษตรอินทรีย์ การดาเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ดินและน้า
ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร
การเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นรูปแบบการให้เงินสนับสนุนโดยตรง
แก่เกษตรกรที่ได้มีการนาไปใช้ในหลายประเทศกลุ่มสมาชิกโออีซีดี

ที่มาข้อมูล:สมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม  2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “



Create Date : 12 ธันวาคม 2562
Last Update : 15 ธันวาคม 2562 19:19:09 น. 0 comments
Counter : 631 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.