Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC"การรับรู้ ทัศนคติและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกร

              blog KU-ABC "การรับรู้ ทัศนคติ
                           และการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกร
                           Perception, Attitudes and Use
                           of Digital Technology in Farmers"
                                             สุวรรณา สายรวมญาติ และวินัย นาดี


ความพยายามผลักดันไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ
ทำให้สังคมไทยตื่นตัว หน่วยงานรัฐทั้งหลายพยายามกำหนดแนวทางการ
ดำเนินงานเพื่อให้เข้าธง 4.0 แอพลิเคชันมากมายถูกพัฒนาขึ้น
โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)
เพื่อใช้ในวิเคราะห์และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
หากแต่การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลของสังคมเกษตรมีข้อจำกัดหลายประการ
ที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนนโยบาย 4.0 เป็นไปอย่างล่าช้า




สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ เกษตรกรไทยส่วนมากมีอายุมากกว่า 50 ปี
(อ้างอิงจากผลสำรวจในงานวิจัยชิ้นนี้) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยากต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
จากเดิมเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล จากการยกเลิกการให้บริการเครือข่ายในระบบ 2G ในปี 2560
ทำให้ระบบเครือข่ายมือถือในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4G อย่างสมบูรณ์แบบ
จากในเมืองหลวงและเริ่มขยับขยายไปยังพื้นที่ในส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
............................................................................................................................

ประกอบกับสภาวะการแข่งขันทางการตลาด ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม
ซึ่งเป็นปัจจัย สภาพแวดล้อมที่สำคัญที่ผลักดันให้เกษตรกรไทย
เปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์แบบเดิม มาเป็นสมาร์ทโฟนได้เร็วขึ้น
ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของเกษตรกรไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และเกษตรกรจะมีการใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนมากน้อยเพียงใด




เมื่อพิจารณาพฤติกรรมผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วไปในประเทศไทย
มีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์
อันเนื่องมาจากการที่เทคโนโลยีนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย
............................................................................................................................

เช่น ความเร็วของเครือข่ายสื่อสาร ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องรอนานเหมือนในอดีต
ส่งผลให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยดูสิ่งบันเทิงผ่าน YouTube
แทนรายการโทรทัศน์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น
ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเทคโนโลยี พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์
สำหรับติดตามข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเลือกรับข้อมูลที่สนใจ
และผู้บริโภคก็สามารถปฏิเสธข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลาหากเนื้อหาที่นำเสนอยาว
หรือไม่น่าสนใจ
จึงมีเพียงเนื้อหาส่วนน้อยที่ผู้บริโภคเลือกรับรู้ข้อมูลตั้งแต่ ต้นจนจบ (พรเลิศ อิฐฐ์, 2561)
............................................................................................................................

พฤติกรรมเหล่านี้ จึงเป็นความท้าทายของผู้ผลิตเนื้อหา
เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับตัวผู้บริโภคเอง
ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก
...........................................................................................................................

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศน์ หรือ แพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟน
นอกเหนือจากตัวผู้ใช้ หรือตัวสมาร์ทโฟนแล้ว
คือ แอพพลิเคชั่น (Application) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า“แอพ (App)”
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีการติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการในแต่ละบุคคล โดยจะมีแอพพลิเคชั่น ที่นิยม
เช่น Line, Facebook, Instagram ฯลฯ
............................................................................................................................

การที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจติดตั้งและใช้บริการแอพพลิเคชั่นแต่ละตัวนั้น
อาจจะขึ้นอยู่กับความเป็นที่นิยม ซึ่งในเพลย์สโตร์ (PlayStore) ของกูเกิ้ล
หรือ ในแอพสโตร์ (AppStore) ของแอปเปิ้ล
ก็มีการจัดอันดับแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมในแต่ละประเทศ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นประเภทเกมส์ สื่อสังคมออนไลน์
และความบันเทิง (Apple Inc, 2018; Google Inc, 2018)
............................................................................................................................

ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาภาควิชาเศรษฐศาสตร์
เ ก ษ ต ร แ ล ะ ท รัพ ย า ก ร ค ณ ะ เ ศ ร ษ ฐ ศ า ส ต ร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สำรวจทักษะความเข้าใจ
และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ของครัวเรือนเกษตรจำนวน 727 ครัวเรือน
ในจังหวัดอ่างทอง ซึ่งตัวแทนครัวเรือนเกษตรที่ให้สัมภาษณ์มีอายุช่วงในช่วง 51-70 ปี
คิดเป็นร้อยละ 64.8 ของกลุ่ม
............................................................................................................................

ตัวอย่าง พบว่า เกษตรกรใช้สมาร์ทโฟนร้อยละ 64.4
แต่ประมาณร้อยละ 50.0 ไม่รู้จัก Line และ Facebook
มีเกษตรกรที่รู้จัก และมีการใช้ Social media น้อยกว่าร้อยละ 30.0
โดยตัวแทนครัวเรือนเกษตรที่ให้สัมภาษณ์นั้น
รู้จักและใช้ Line มากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 26.3
รองลงมาคือ Facebook ร้อยละ 23.8 ตามลำดับ
............................................................................................................................

หากเปรียบเทียบกับตัวเลขของผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งได้เผยข้อมูล Thailand Internet User Profile 2018 พบว่า การใช้ Social Media
ของประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ช่วงอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป
ที่มีสัดส่วนการใช้ Line สูงถึงร้อยละ 97.3
............................................................................................................................

และสัดส่วนการใช้ Facebookร้อยละ 92.2 ซึ่งสัดส่วนนี้ใกล้เคียง
กับประชากรกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า (ETDA Thailand, 2561)
จะเห็นได้ว่า สัดส่วนการใช้งาน Social media ของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง
มีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
...........................................................................................................................

อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประชากรไทย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
มองเห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่ได้จัดทำแอพลิเคชันต่าง ๆ อาทิเช่น กดดูรู้ดิน FCS: คำนวณปุ๋ยสั่งตัด
และ AgriMap Mobile ฯลฯ เพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูล
และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อช่วยการผลิตของเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึน้
............................................................................................................................

AgriMap Mobile Application (AMMA) คือตัวอย่างของแอพพลิเคชัน
ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ในการจัดทำแผนที่การเกษตรเพื่อการบริหารจัดการ
และการตัดสินใจในการผลิตพืชโดยบูรณาการ
............................................................................................................................

ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร เชื่อมข้อมูลสภาพดิน
อากาศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีการปรับข้อมูลสภาพภูมิอากาศให้เป็นปัจจุบัน
และพัฒนาเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เพื่อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลโดยง่าย
และสามารถติดตามข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
...........................................................................................................................

หากแต่ว่า AMMA นั้นยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับเกษตรกร
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากในปัจจุบันนั้น มีแอพพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่
ออกสู่ตลาดในทุกวัน ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
หากแต่ทางเลือกที่มากจนเกินไป ก็ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกได้
ว่าแอพพลิเคชันใด คือตัวเลือกที่เหมาะสมและตอบโจทย์ของตนเอง
............................................................................................................................

จึงเป็นความท้าทายของหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่จะทำให้แอพพลิเคชัน เป็นที่รู้จักและยอมรับจากเกษตรกร
ซึ่งต้องการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เกษตรกรยอมเปลี่ยนพฤติกรรม
เนื่องจากการเพิ่มผู้ใช้ (Acquisition) ถือเป็นด่านแรก
การสำหรับวัดผลความสำเร็จของแอพพลิเคชัน
ภายใต้แ น ว คิด แ บ บ จำ ล อ ง Acquisition Activation Retention
Revenue and Referral หรือ AARRR ได้รับการพัฒนาโดย Dave McClure
(StartItUp, 2018) ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประชาสัมพันธ์
เพื่อเพิ่มยอดดาวน์โหลดและจำนวนผู้ใช้งาน ในหลายช่องทาง
เช่น การจัดทำเว็บไซต์ Agri-Map Online
คลิปการใช้งาน AMMA
............................................................................................................................

แต่จากผลการสำรวจ ข้อมูล โดยภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
พบว่า ...
มีเกษตรกรรู้จัก AMMA 76 รายและใช้งานเพียง 9 ราย
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 10.5 ของกลุ่มตัวอย่าง
ซึ่งถือว่าความสำเร็จของแอพพลิเคชันด้านจำนวนผู้ใช้ (Acquisition)
อยู่ในระดับต่ำ คงต้องวางแนวทางเพื่อทำให้แอพพลิเคชันเป็นที่รู้จัก
และเกิดการใช้ก่อนจึงจะวัดผลในประเด็นอื่นได้
............................................................................................................................

นอกจากนี้ ทางภาควิชาฯ ได้สำรวจการรับรู้แอพพลิเคชัน
เพื่อการผลิตทางการเกษตรเพิ่มเติมอีก 10 แอพพลิเคชัน
ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐ อันได้แก่
1. Protect plants
2. Digital farmer
3. กดดูรู้ดิน
4. Farmer info
5. ชาวนาไทย
6. FCS คำนวณปุ๋ย สั่งตัด
7. OAE Ag-Info
8. Rice production technology
9. WMSC และ
10. ก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตร
...........................................................................................................................

ผลการสำรวจ พบว่า การรับรู้ของแอพพลิเคชันทางการเกษตรของกลุ่มตัวอย่างน้อยมาก
ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการรับรู้ AMMA
ทั้งนี้ แอพพลิเคชันที่กลุ่มตัวอย่างรู้จัก 3 อันดับแรก
คือ 1.ชาวนาไทย (ร้อยละ 5.7)
      2.WMSC (ร้อยละ 4.4)
      3.ก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตร (ร้อยละ 3.2)
............................................................................................................................

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการรับรู้แอพพลิเคชันเพื่อการเกษตรน้อยกว่า AMMA
อาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์น้อยกว่า
เพื่อศึกษาทัศนคติและการยอมรับการใช้ AMMA
ทีมวิจัยของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
ได้เปิดคลิปวีดีโอคู่มือการใช้งาน Agri-Map Mobile’ แล้ว
สาธิตการใช้แอพพลิเคชัน แก่กลุ่มตัวอย่าง
............................................................................................................................

หลังจากนั้น จึงสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
ที่มีต่อ AMMA ผลการสอบถามพบว่า
กลุ่มตัวอย่างรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ในระดับปานกลาง
และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ในระดับมาก
............................................................................................................................

เมื่อสอบถามเกี่ยวถึงความตั้งใจในใช้ AMMA
พบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินความตั้งใจใช้ในระดับน้อยที่สุดจำนวน 224 ราย
ซึ่งเมื่อรวมกับระดับน้อยอีก 216 ราย คิดเป็นสัดส่วนปฏิเสธการใช้ร้อยละ 58.7
มีเพียง 46 รายที่มีความตั้งใจใช้แอพพลิเคชั่นในระดับมาก
ซึ่งเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างปฏิเสธการใช้งานคือ แอพพลิเคชันใช้งานยาก
............................................................................................................................

แม้จะตัวเกษตรกรจะเห็นประโยชน์จากการใช้งานเนื่องจากแอพพลิเคชันก็ตาม
(ภาพที่ 1)
ความยากของการใช้งานจึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเพิ่มจำนวนผู้ใช้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้คือเกษตรกร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมพัฒนา
ต้องมีการพัฒนาแอพพลิเคชันให้เป็นมิตรกับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น
(Venkatesh และ Davis,2000)
............................................................................................................................

อีกสาเหตุสำคัญที่เกษตรกรปฏิเสธการใช้ AMMA
หรือ แอพพลิเคชันต่างๆ เนื่องจากเกษตรกรไม่มีโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนหรือแท็บแลต
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมลำ้ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital Divide) (Rogers, 2003)
..........................................................................................................................

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยตัง้ ข้อสังเกตว่า ความเหลื่อมลำ้
นีอ้ าจไม่ได้เกิดจากฐานะทางการเงินของตัวเกษตรกร
ในการที่จะหาซือ้ สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต
แต่เป็นที่วิถีชีวิตแบบดัง้ เดิมที่เกษตรกรเป็นอยู่นัน้
ไม่ได้มองเห็นความจำเป็น ที่จะต้องมีสมาร์ทโฟนหรือแท๊บเลต
............................................................................................................................

จากผลการศึกษาการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกร
ในจังหวัดอ่างทองของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมการใช้งานทัศนคติ
และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกรไทย
มีความย้อนแย้งกัน
............................................................................................................................

เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันนั้นเป็นการผสมผสานของคนในหลายรุ่น
ที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่าง เป็นช่องว่างของการพัฒนาและผลักดันเกษตรกรไทย
ไปสู่เกษตรกร 4.0 ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของสังคมเกษตรกรที่รัฐมุ่งหวัง
............................................................................................................................

ภาครัฐต้องมีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัล
อันจะนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาตัวเกษตรกร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและการจัดการฟาร์มในอนาคต
............................................................................................................................

ภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคม
ของข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ และลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงข้อมูล
ในส่วนของแอพพลิเคชันต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาก็ควรจะมีความชัดเจน ตัวอักษรใหญ่
ง่ายต่อการใช้งาน
............................................................................................................................

ควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการออกแบบแอพพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมา
เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร โดยคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเดิม
เพื่อออกแบบพฤติกรรมและแนวทางใหม่ (Eyal,2014)
ให้กับเกษตรกรนอกจากนี้ยังควรมีการสนับสนุนให้พัฒนาผู้นำทางความคิดในชุมชน
(Influencer) (Hennessy, 2018)
............................................................................................................................

เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนในการผลักดันให้เทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
ที่มาข้อมูล: สมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “


 


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:56:48 น. 0 comments
Counter : 382 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.