นาน นาน ที บล๊อก - ยินดีที่ผ่านมาพบนะ ปล.ช่วงนี้ หนี้เยอะ งดเที่ยว พักหนังสือ มารับจ้างทำงานก่อนนนนน
space
space
space
space

คู่มือมนุษย์เรื่องอำนาจของความยึดติด(อุปาทาน)

กิเลสซึ่งเป็นความยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น ในพุทธศาสนาเรียก “อุปาทาน” ความยึดติด จำแนกเป็น ๔ ประการด้วยกัน


อันความจริง : "ตัวกู" มิได้มี
แต่พอเผล มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายเผล "ตัวกู" ก็หายไป
หมด "ตัวกู" เสียได้เป็นเรื่องดี:
สหายเอ๋ย จงถอน ซึ่ง "ตัวกู"
และถอนทั้ง
“ตัวสู”
อย่างเต็มที่
มีกันแต่ ปัญญา และปรานี
หน้าที่ใคร ทำให้ดี เท่านี้เอยฯ


๑.กามุปาทาน  ยึดมั่นโดยความเป็นกามหรือของรักใคร่ทั่วไป (๑๐๙)
ความติดพันในสิ่งที่น่ารักที่น่าพอใจ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ...เอร็ดอร่อยในกามคุณ ๕
ตามหลักพุทธศาสนาขยายออกเป็น ๖ คือมี
“ธรรมารมณ์” หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นในใจ
จะเป็นอดีตปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้...ทำให้เกิดความเอร็ดอร่อยเพลิดเพลินทางจิตใจขณะที่รู้สึก
แม้แต่เรื่องทำบุญ อธิษฐานได้ให้ไปสวรรค์ ก็มีมูลมาจากความหวังในทางกามารมณ์ทั้งนั้น (๑๑๑)
ถ้าว่ากันทางคดีโลกแล้ว การติดกามกลับจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวง เพราะจะทำให้รักครอบครัว ทั้งยังทำให้ขยันขันแข็ง...
แต่ถ้ามองในแง่ทางธรรมะ จะรู้สึกว่า เป็นทางมาแห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับ (๑๑๓)
เราควรพิจารณาว่าเรามีความติดในกามอย่างไร เหนียวแน่นเพียงไร จะเหลือวิสัยที่เราจะละได้จริง ๆ หรือไม่ (๑๑๒)


๒.ทิฏฐปาทาน ยึดติดในทิฏฐิหรือความคิดเห็นที่ตนมีอยู่เดิม ๆ
พอเราเกิดมาในโลก เราก็ได้รับการศึกษาอบรมให้เกิดมีความคิดเห็น ชนิดที่มีไว้สำหรับยึดมั่น ไม่ยอมใครง่าย ๆ นี้ เรียกว่า ทิฏฐิ
มีมูลมาจากหลายทาง...
มักจะเกิดกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่
ทิฏฐิดื้อรั้นที่เป็นของส่วนตัวเองล้วน ๆ นั้นยังไม่เท่าไหร่ไม่มากมายเหมือนที่มาจาก
ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่คนเคยถือกันมา ที่ค่อย ๆ อบรมสะสมกันมากขึ้น ๆ



๓.สีลัพพตุปาทาน ยึดติดในวัตรปฏิบัติที่มุ่งหมายผิดทาง
หมายถึงยึดมั่นถือมั่นในการประพฤติกระทำที่ปรัมปรา สืบกันมาอย่างงมงายไร้เหตุผล หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า “ขลัง ศักดิ์สิทธิ์”
คิดกันว่าเป็นที่สิ่งที่เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ และไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
...จะต้องมีเคล็ดมีพิธี เชื่อผีสางเทวดาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์....ไม่เคยคำนึงถึงเหตุผล คงมีแต่ความยึดมั่นถือมันตามตำราบ้าง
เคยทำมาแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลงบ้าง...
แม้ที่อ้างตนว่าเป็นพุทธบริษัท อุบาสกอุบาสิกา ก็ยังยึดมั่นถือมั่นกันคนละอย่างสองอย่าง...
แม้วิปัสสนากรรมฐาน.....ถ้าทำไปด้วยความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย ไม่รู้ความหมายอันแท้จริง...
แม้ที่สุดจะรักษาศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ...จะมีอำนาจฤทธิ์เดชอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลายเป็นกิจวัตรที่มุ่งผิดทาง
การประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องให้ถูกไปตั้งแต่เริ่มมีความคิด
ความเห็นความพอใจ ในผลของการทำลายกิเลสไปตั้งแต่ต้นทีเดียว



๔.อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นโดยความเป็นตัวเป็นตน
ความยึดมั่น ว่าตัว ว่าตนนี้ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดย่อมจะรู้สึกว่า มันเป็นตัวตนของมันอยู่ดังนี้เสมอไปอย่างช่วยไม่ได้ เป็นสัญชาตญาณขั้นต้นที่สุดของสิ่งมีชีวิต เช่น สัญชาตญาณหาอาหารกิน ต่อสู้อันตราย หลบหนีอันตราย สืบพันธุ์และอื่นๆ ซึ่งมีประจำอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว มันจะมีชีวิตรอดมาไม่ได้
แต่อันนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ ในการแสวงหาอาหารในการต่อสู้ ในการสืบพันธุ์ หรือในการทำอะไร ๆ ทุก อย่าง ฉะนั้นมันเป็นรากฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวง
อุปาทานข้อนี้เป็นต้นกำเนิดของชีวิต และเป็นต้นกำเนิดของความทุกข์ต่าง ๆคำที่ว่า
“ชีวิตคือความทุกข์-ความทุกข์คือชีวิต” (๑๒๙)
ถ้ายังเป็นคนธรรมดา คือเป็นปุถุชนอยู่แล้ว  ย่อมไม่มีทางที่เอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้เลย มีแต่พระอริยเจ้าอันดับสุดท้าย คือพระอรหันต์เท่านั้นที่จะเอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้ เราต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเลย เพราะเป็นปัญหาสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไปทั้งสิ้น


                ...(๑๓๔) เมื่อมันมาในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นการยากที่เราจะรู้สึกตัวหรือควบคุมมันได้ จึงต้องอาศัยสติปัญญา ความรู้ของพระพุทธ และจะต้องศึกษาปฏิบัติ ควบคุมความยึดมั่นที่ผิด ๆ เหล่านี้ให้อยู่ในอำนาจของปัญญา เราก็สามารถดำรงชีวิตนี้ไม่ให้มีความทุกข์ทรมาน หรือทุกข์แต่น้อยที่สุดจนสามารถปฏิบัติหน้าที่การงาน หรือมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ในลักษณะที่เยือกเย็น  มีความสะอาด สว่างสงบเย็นอยู่ได้


                “จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน” .......เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะผูกพันคล้องจิตนั้น ให้ตกเป็นทาสของโลกหรือเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป...การหลุดพ้นจากความยึดมั่นที่ผิด ๆ จึงเป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา


หมายเหตุ : ติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือ “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาส ภิกขุ
ข้อมูลจาก หนังสืองานอนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญเติม จันทร์บรรเจิด


ขอขอบคุณ ไว้ ณ ที่นี้






Free TextEditor


Create Date : 15 สิงหาคม 2554
Last Update : 27 ธันวาคม 2554 11:44:28 น. 0 comments
Counter : 1010 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

normalization
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




"ขอทุกท่านจง ปกติสุข ในทุกวัน"
วันแรกสร้าง : 25 กุมภา.54

เป็นเพียงการบอกกล่าว เล่าเรื่อง ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ
หากว่ามีประโยชน์บ้างแม้เพียงเล็กน้อย ข้าพเจ้าก็ยินดียิ่ง
หากว่าส่วนใดผิดพลาด ฝากข้อความไว้ได้เสมอ
@comeback 18/1/18

free counters สำหรับธงขอขอบคุณ blog paradijs
space
space
space
space
[Add normalization's blog to your web]
space
space
space
space
space