A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 

Strawberry Night ขบวนการนักสืบแห่งรัตติกาล




นับตั้งแต่ต้นปีของปีนี้ มีซีรีย์ญี่ปุ่นแนวสืบสวนดีๆที่น่าสนใจอยู่สองเรือ่ง
โดยที่ทั้งสองเรื่องอันกำลังจะกล่าวถึง ล้วนแล้วแต่เป็นงานสร้างของฝั่งค่ายฟูจิทีวีทั้งคู่
เรื่องแรกเลย คือ Lucky Seven แนวนักสืบเอกชนคอเมดี้ที่ได้นักแสดงเลยรุ่น
อย่าง มัตซึโมโตะ จุน,เอตะซัง,นากะ ริสะ,คาโดโนะ ทาคุโซและมัตสุชิมา นานาโกะ
แต่ทนดูได้เพียงสองตอน ก็ต้องบอกศาลาเลิกเพราะเนื้อเรื่องมันดูเละเทะสะเปะสะปะ
ไม่เห็นจะสนุกไปกับการตามสืบ อีกทั้งตัวละครที่ดูแสนจะน่ารำค๊านรำคาญ
ความหวังสุดท้ายของผู้เขียนจึงต้องฝากให้กับอีกซีรีย์อีกเรือ่ง อย่างStrawberry Night
ที่แม้เวลาออกฉายจะเริ่มต้นสตาร์กไปพร้อมกัน ทว่ามันก็เป็นการฉายกันคนละวัน
จุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ ดูเหมือนในตอนแรกของLucky Sevenดูจะมีความน่าสนใจกว่า
เพราะถูกเลือกฉายในตอนสามทุ่มคืนวันจันทร์(Getsuku) อันเป็นเวลาทองของช่องทีวีที่โน้น
อีกทั้งเรื่องลำดับเวลาของซีรีย์Strawberry Night มันก็ดูแปลกๆ เพราะเดิมต่อยอดมาจาก
ฉบับสเปเชียลมูฟวี่(Tanpatsu)ตอนเดียวจบ ที่เคยฉายเมื่อกลางพฤศจิกา เมื่อปี๒๐๑๐โน้น
สงสัยว่า ถ้าอยากจะดูให้รู้เรื่องเห็นทีคงต้องไล่วิ่งคว้านหาเวอร์ชั่นเมื่อสองปีก่อนหน้า
มาทำการปูพื้นเสียก่อนกระมัง จากนั้นจึงค่อยปรับทัศนะรับชมในภาคปกติกันต่อไป
เพียงแค่คิด มันก็ทำให้รูปแบบประสบการณ์รับชมแบบเดิมๆต้องเปลี่ยนแปลงไป
ถึงขึ้นอาจจำเป็นต้องปฏิวัติวัฒนธรรมการชมกันเสียใหม่ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็มีแต่
ฉายในสว่นของภาคปกติก่อน จนปีหนึ่งผ่านไปจึงค่อยทิ้งช่วงมาลงทำภาคสเปเชียลให้หายคิดถึงกัน







เมื่อผู้เขียนสุดวิสัยที่จะตามหาเวอร์ชั่น Strawberry Nightภาคสเปเขียลที่ว่านั้น
อีกทั้งLucky Seven ก็ไม่อาจจะเป็นงานบันเทิงให้รื่นเริงได้อย่างส่าแก่ใจ
(แม้จะได้หญิงตัวเก๋า อย่างป้านานาโกะกับอีสาวคนใหม่อย่างริกะมาเฮโลแล้วก็ตาม)
จึงเป็นอันว่า ผู้เขียนเลยต้องจับเสี่ยงในงานที่มีการจัดวางกันแบบแปลกๆของ
Strawberry Night ภาคปกติต่อยอดจากภาคสเปเชียลปี๒๐๑๒
เพราะถึงจะมั่วมากอย่างไร มันก็ยังได้อานิสงส์จากนางเอก ทาเคอุชิ ยูโกะ
ที่การันตีได้ว่างานออกมาทุกชิ้น ไม่เคยทำให้เป็นที่ต้องผิดหวัง เพียงได้แสยะยิ้มเป็นต้องคุ้ม
แต่เอาเข้าจริงหาได้เป็นเช่นนั้นเลย เกิดskepticหวาดกลัวข้างต้นขึ้นมากมาย
เพราะเรื่องนี้ นอกจากจับนับกระหยิมยิ้มจากเธอได้ยากแล้ว
ยังถือเป็นการฉีกบทที่แล้วมาแบบกระจุย อย่างที่ไม่เคยได้เห็นในตัวของทาเคอุชิ ยูโกะ
(และขอบอกว่า โปสเตอร์ของStrawberry Nightก็สยองไม่แพ้โปสเตอร์ของSadaka 3D
ที่กำลังเข้าฉายในญี่ปุ่น ด้วยเป็นรูปพื้นผิวสตรอเบอร์รี่ที่เต็มไปด้วยดวงตามากมายส่งสาย
กระพริบตาระยิบระยับ)








ครั้งนี้ทาเคอุชิ ยูโกะต้องรับบทเป็น "ฮิเมคาวะ เรโกะ" หัวหน้าตำรวจนักสืบในเขตท้องที่หน่วย๑
แห่งกองตำรวจสอบสวนนครบาลกรุงโตเกียว (for squad 1 of the Tokyo Metropolitan)
ที่จะต้องรับผิดชอบหน่วยสนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน่วยอื่น โดยมุ่งเน้นแต่คดีที่เกี่ยวกับการฆาตกรรม
(merciless murder) ซึ่งก็มักจะมีความเชื่อมโยงไปถึงปมความแค้น การทารุณกรรมต่อเด็ก
ยาเสพย์ติด องค์กรยากุซา ผู้มีอิทธิพลและนักการเมืองขาใหญ่
หัวหน้านักสืบเรโกะ จึงต้องฝ่าฟันในการที่จะต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งในเรื่อง
เงื่อนงำทางคดีที่เป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
การขออนุมัติเพื่อมีอำนาจตรวจค้น และอคติของระหว่างเพศ ทั้งหมดล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพ
ในการคลี่คลายทางคดีแทบทั้งสิ้น เพราะโดยส่วนใหญ่ ซีรีย์แนวสืบสวนจะไม่ค่อยให้รายละเอียด
ในแง่การประสานงานระหว่างหน่วยเท่าไรนัก มักจะปล่อยให้เป็นความสัมพันธ์อำนาจโดยตรง
ของบังคับบัญชาระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องเป็นหลัก หรือไม่เช่นนั้นก็กล่าวถึงแบบไม่ลงลึก
เอาไว้ขัดแข้งขัดขาดูถูกดูแคลนพอเป็นพิธี เพื่อสร้างเป็นพลังผลักดันให้ตัวเอกของเรือ่งพิสูจน์
ขีดสามารถของตนเองเพื่อลบกับคำสบประมาท ซึ่งจะผิดกับเรื่องนี้ ที่เราจะเห็นพัฒนาการ
แบบคนมีวุฒิภาวะปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัด เห็นถึงด้านบวกและด้านลบกันทั้งสองฝ่าย
ลงไปในรายละเอียดเชิงลึกถึงความจำเป็นที่ต้องมีความเห็นที่แตกต่าง เพราะเรโกะมักจะเชื่อ
ไปตามสัญชาติญาณและความน่าจะเป็น ซึ่งสมมติฐานนี้ไม่อาจเป็นหลักฐานเพียงพอสำหรับการอนุมัติ
ซึ่งจะเข้าข่ายมองได้ว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามพลการและไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนที่จะมอบอำนาจสั่งการแทน
ถึงจุดเชื่อมโยงใด ที่จะสามารถออกคำสั่งที่อาจจะกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหา ที่ยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์
ดังนั้น คำสั่งจากเบื้องบนที่จะอนุมัติได้ ทีมงานจึงต้องเร่งมืออย่างหนักในการลงพื้นที่เพื่อหาหลักฐาน
ตัวผู้เห็นเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของคดี สิ่งบอกเหตุและนิติวิทยาศาสตร์ อย่างรัดกุมและรอบคอบ
จึงเกิดการแข่งขันกันขึ้นระหว่างหน่วยงาน เพื่อสร้างผลงานให้เข้าตาผู้ใหญ่ อีกทั้งจะเป็นการ
คานอำนาจในการนำเสนอเชิงข้อมูลหลักฐานของอีกฝ่าย หากเกิดความเห็นแย้งไม่ตรงกัน
ก็เท่ากับ ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งจำเป็นต้องลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาคานกัน
ให้ได้การกลั่นกรองในสมมติฐานนั้นอย่างชัดเจนที่สุด สิ้นข้อสงสัย ก่อนที่จะอนุมัติการจับกุมตัว






Just like that.all kind of resentment and hatred is being released
everyday and infecting many people scary times maybe ahead of us.

(เช่นเดียวกันในทุกความขุ่นเคืองและเกลียดชังนั้น ที่ถูกปลดปล่อยแทบทุกวัน
และผู้คนต่างก็ติดเชื้อความหวาดกลัวนั้นตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่เบื้องหน้าของเราเอง)

But a certain person taught me that.l had to live on.
That l had to fight in order to go on living that l had to fight to overcome
the criminal and myself.

(แต่เคยมีใครบางคนสอนฉันว่า ตัวฉันนั้นจำเป็นต้องดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป
ต้องต่อสู้เพื่อการที่จะมีชีวิตอยู่ ซึ่งฉันจะต้องต่อสู้เพื่อสยบต่อพวกอาชญากรรมและเพื่อตัวฉันเอง)




สิ่งหนึ่งที่ทำให้แผนกสืบกองหนึ่งของเรโกะมักจะคลี่คลายคดีสำคัญๆได้
ส่วนสำคัญ คือ การร่วมใจทำงานกันเป็นทีมเวิร์ค แม้จะมีหัวหน้าเป็นผู้หญิงสองศอกก็ตาม
ทีมนี้ประกอบด้วย
"คิคุตะ คาซุโอะ"(แสดงโดยนิชิจิมา ฮิเดโตชิจากBoku to Star 99 NichiและUnfair)
เป็นบัดดี้คู่หูของหัวหน้าเรโกะ ที่มีความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและดูจะเข้าอกเข้าใจ
ตัวหัวหน้าเป็นอย่างดี ในบทดูจะมีสิทธิ์พัฒนาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเกินกว่าหัวหน้ากับลูกน้องด้วย
"ฮายามะ โนริยุกิ" (แสดงโดยโคอิเดะ เคสุเกะ จากjin และRookies) เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ที่เพิ่งประจำใหม่ และเคยเรียนที่เดียวกันกับหัวหน้าเรโกะ มีปมอดีตที่เคยเห็นผู้หญิงถูกแทง
แต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปช่วยอะไร เลยกลายเป็นคนขลาดกลัวในการที่ต้องตัดสินใจ
ในสถานการณ์อันหน้าสิ่วหน้าขวาน
"อิโอกะ ฮิโรมิสุ" (แสดงโดยนามาเสะ คัตสุฮิสะจาก4Shimai Tantei DanและGokuzen)
แม้จะไม่ได้สังกัดอยู่หน่วยกองหนึ่ง แต่มักจะด้อมๆมองๆและพยายามตามจีบหัวหน้าเรโกะ
เป็นคนที่เรโกะเห็นแต่ไกลเป็นต้องผวาไว้ก่อน






ความที่ยังไม่เคยได้ชมภาคปฐมเหตุของเรื่อง เรื่องจึงดำเนินไปแบบลงหลักปักฐานเรียบร้อย
ที่เหลือจึงว่ากันด้วยเรื่องของคดีเพียงอย่างเดียว ในขณะที่รูปแบบทีมเวิร์คก็ไม่ต้องเรียกร้องอะไรกันมาก
แง่ปฏิบัติงาน หัวหน้าเรโกะเองแทบไม่จำเป็นต้องออกคำสั่ง แต่จะได้รับการอาสาของลูกทีมโดยฉับพลัน
การสังสรรค์กันในวงเหล้าก็ยังสะท้อนการเป็นทีมเวิร์คนอกเวลาราชการ ก็อดที่จะไม่คุยเรือ่งงานเสียไม่ได้
ที่ทำให้คดีกลายเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด และสามารถพูดเปิดอกได้ในแบบที่ไม่อาจจะพูดกันได้
ในเวลาปกติทำงาน เคยได้ยินมาว่า การสังสันทน์ทำนองนี้ไม่ใช่แค่การช่วยผ่อนคลายเท่านั้น
ยังเป็นการสมานกลุ่มให้แน่นเหนียว และโดยธรรมเนียมญี่ปุ่นก็นิยมที่จะเจรจาธุรกิจในร้านอาหาร
ไม่ใช่อะไรอื่นมาก เพราะมันง่ายดีไม่ต้องเพาเวอร์พอร์ยอะไรมากมาย






สิ่งที่จะเป็นลางบอกเหตุถือการรับประกันในเรื่องคุณภาพ ตั้งแต่มีแผนจะเริ่มสร้าง
คือ ซีรีย์ได้พลังจากนักแสดงรุ่นเดอะมากความสามารถ ที่เห็นชื่อแล้วรู้เลยว่าเรือ่งนี้ไม่ธรรมดา
แต่เอาที่เป็นเมนหลัก (แบบไม่คัดเอาตัวประกอบ ซึ่งก็มีเป็นรุ่นใหญ่ร่วมแจมหลายเช่นกัน)
"หัวหน้าผู้กำกับฮาชิซุเมะ" (แสดงโดยวาตานาเบะ อิคเคะ จากTokujo Kabachi!!และOsen)
ดำรงอำนาจใหญ่สุดของนครบาล ชอบระบายอารมณ์และยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่
ไม่เคยลงรอยสักความเห็นกับสิ่งที่ลูกน้องนำเสนอ
"รองผู้กำกับอิมะอิซุมิ"(แสดงโดยทากาชิมา มาซาฮิโระจากBloody MondayและFutatsu no Spica)
เป็นสายประนีประนอม พยายามช่วยไกล่เกลี่ยและมีอำนาจตัดสินใจรองลงมาจากผู้กำกับอีกชั้น
ในกรณีที่ผู้กำกับและผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดมีความคิดที่ไม่ลงรอยกัน ซึ่งจะเข้าใจลูกน้องได้ดีกว่า






นอกจากถ้านับตัวเป้งๆ ที่เหลือจากนี้ก็จะเป็นในสว่นของหัวหน้าต่างกองที่จะเป็น
ไม้เบื่อไม้เมากันตลอดทั้งคู่อย่าง
"หัวหน้าคุซาคุ มาโมรุ"แสดงโดยเอนโด้ เคอิชิ จากIryu 3 และShiroi Haru)
ที่เชือ่เรื่องของหลักฐานยืนยันมากกว่าเป็นไปตามสัญชาติญาณ ถนัดการทำงานเชิงเดี่ยว
"หัวหน้าคัตซึมาตะ เคนซาคุ" (แสดงโดยทาเคดะ ทัตซึยจากByakuyako และJin)
ผู้ไม่สนว่าจะใช้วิธีการสกปรกประเภทไหน ขอให้ได้เข้าถึงข้อมูลหลักฐานเป็นสำคัญ
นักแสดงอาวุโสพวกนี้คงไม่ต้องอะไรกันมาก แค่ปล่อยพื้นที่ให้เขาเล่นตามประสบการณ์แสนโชก
ก็น่าจะเพียงพอ และถือเป็นตัวละครที่่ส่งผลในแง่ของบทคอ่นข้างมาก โดยเฉพาะ
จุดที่เป็นความขัดแย้งซึ่งนางเอกและคณะหน่วยหนึ่งทุกคนต้องก้าวผ่าน นอกเหนือไปจาก
การสร่างในรูปคดี ดีหน่อยว่าในความเป็นคดี เรื่องนี้ดูจะไม่เปรี้ยงหงายเหงิบสักเท่าไรนัก
แต่จะไปได้ในส่วนของความเป็นดราม่าเสียค่อนข้างเยอะ เพราะถึงจะเห็นจัดเต็ม๑๑ตอนเช่นนี้
แต่ถ้านับเอาประเภท ที่เป็นเรื่องราวเป็นราวจริงๆก็มีเพียงแค่๖ตอน และมีประเภทจบในตอน
เพียงแค่๒ตอนเท่านั้น ที่เหลือล้วนเป็นภาระที่ท่านผู้ชมควรจะต้องติดตามตอนต่อไปในสัปดาห์หน้า
ซึ่งผู้เขียนเองก็ค่อนข้างเห็นด้วย ซีรีย์ประเภทตอนเดียวจบหลายต่อหลายเรื่องความจริงพล็อกก็ดี
แต่เมื่อต้องรีบไปขมวดให้จบภายในตอนเดียว แล้วรู้สึกเสียของ ตลอดจนเสียดายทรัพยากร
ในการที่ต้องบีบอัดกระชับพื้นที่แล้วดูผิดแปร่งอย่างไรชอบกล แต่กลยุทธนี้มีได้ก็ต้องมีเสีย
โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งมาเปิดทีวีแล้วไม่ได้ตามจากตอนเดิมที่แล้ว ต่อให้มีการเท้าความจากตอนเดิม
อย่างน้อยก็กันคนพวกขาจรได้ส่วนหนึ่ง ในแง่ของแรงจูงใจที่อยากดูอะไรที่สมบูรณ์ครบถ้วน
และน่าจะจริง โดยดูจากตอนที่เป็นTo be Continue เรตติ้งมักจะลดเมื่อเทียบกับตอนแรก
ในแทบทุกตอน ถึงแม้ลดไม่มากแต่ในแง่การตลาดถึงว่าไม่สัมฤทธิ์ในผลเป็นบวก
อาจแสดงว่า คนดูส่วนหนึ่งไม่สนใจต่อคำเฉลยหรือไม่ก็ฝากให้เป็นภาระของเพื่อนบ้าน
แล้วค่อยไปเมาท์ก่อนจ่ายตลาด หรือหาอ่านตามเว็บบอร์ดคาเฟ่แบบไม่ต้องพึ่งโฆษณา





สำหรับความที่ผู้เขียนไม่ได้ชมภาคสเปเชียล ที่ถือเป็นภาคกำเนิด
จะถือว่ามีปัญหาอยู่บ้างไหม? ก็คิดว่ามันต้องมีแน่.....มันทำให้ผู้เขียนคล้ายกับตัวละคร
"ฮายามะ โนริยุกิ" (ที่คุณตี๋ไคสุเกะเล่น) คือ อยู่ๆก็มาเป็นหน้าใหม่ในสังกัดของท้องที่กองหนึ่ง
ไม่รู้เหวอะไรทั้งน่านต่อเรื่องที่่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก็เลยอาจจะดูบื้อๆ ค่อยสังเกตจับจุดนั้นจุดนี้
ตัวละครตัวนั้นตัวนี้ เพราะซีรีย์โผล่มาก็เดินเรือ่งไม่ได้เล่าอะไรย้อนของภาคก่อนเท่าไรนัก
ไม่มีการอธิบายนิสัยตัวละคร เดินหน้าปฏิบัติงานตามหน่วยแทบจะทันทีทันใด ถ้าเป็นซีรีย์อื่นๆ
คงมีการแนะนำตัวกันพอเป็นพิธี แต่ที่นี้ดูไม่ชอบอะไรที่เป็นพิธีรีตอง แถมการเล่าเรื่อง
ก็ไปอย่างรวดเร็วไม่มีประเภทเดินเนิบ รอคอยให้คนดูคิดตามทัน หน่วยงานเดียวไม่เท่าไร
แต่ถ้าประเภทคนละหน่วยแข่งกันลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลจนใกล้พบความจริง
อันนี้ต้องขมวดรวมปมกันนิดนึง ส่วนถ้าไม่อินมากตอนท้ายนางเอกหัวหน้านักสืบเรโกะ
เธอก็จะมาอธิบายภาพรวมให้อีกที ให้เป็นที่เข้าใจกัน ซึ่งการหวังน้ำบ่อท้ายอย่างงี้
มันจะไปสนุกกันทีไหนละครับท่านผู้ชม







ความจริงแค่การได้รู้ว่า จะได้ดูยูโกะ ทาเคอุชิ
แค่นี้ก็การันตีในงานคุณภาพได้ระดับหนึ่งเป็นการถาวรอยู่แล้ว จะว่าไปสิบปีไล่หลัง
ยูโกะจังแทบจะเป็นขาประจำให้กับค่ายทีวีฟูจิอย่างเต็มจตัว ตลอดชีวิตการแสดงที่ผ่านมา
ก็ได้ปะฉะดะกับพระเอกตัวเป้งแห่งวงการไม่ซ้ำหน้า เรียกว่าเกือบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น
คิมูระ ทาคุยะ ในPride ,คาโตริ ชินโง ในBara no nai Hanaya,เอกูชิ โยสุเกะและซึมาบุกิ ซาโตชิ
ในLunch no Joou,นากาเสะ โทโมยะ ในMy Husband โดโมโตะ ทซึโยชิในGakkou no Sensei
หรือแม้กระทั่งข้ามรุ่นกินเด็ก อย่างมัตซึโมโตะ จุนในSummer Romance Shines in Rainbow Color
เธอก็ทำมาแล้ว โกอินเตอร์ค่ายทีวีอเมริกากับค่าย ABC อันนี้ก็เคย (แต่ไม่เคยดู)
มีรางวัลการันตีจากคนในวงการบันเทิงมากมายจนขี้เกียจเอย (เพราะเอยไปแล้่ว) แต่ที่น่าแปลกใจ
คือ ในStrawberry Night แม้เหมือนตำแหน่งพระเอกจะตกเป็นของนักแสดงที่ผู้เขียนไม่คุ้นหน้า
"นิชิจิมา ฮิเดโยชิ" ถึงแม้จะเคยได้ดูซีรีย์ที่เขาเล่นอยู่บ้าง ทว่าก็นานโคตรเอาการ อย่าง
Asunaro Hakusho(๑๙๙๓) เรื่องของโศกฎกรรมของเพื่อนรักห้าคนที่หนึ่งในนั้นมีนายทาคุยะ
วัยละอ่อนสวมแว่นหนาเตอะ และทำท่าว่าหลังจากเล่นเรื่องนี้เสร็จพี่แกจะทิ้งวงการทีวี
โดยหันไปเอาดีในสายภาพยนตร์ จนอีกสิบปีให้หลังจึงค่อยดำเนินเดินตามเส้นทางทีวีอีกครั้ง
แต่ประทานโทษตัวพี่เล่นเป็นตัวไหนในเรื่องนั้น ผู้เขียนก็จำไมได้เลย และเหมือนว่า
ในช่วงปีสองปีนี้ น่าจะมีขบวนการพยายามกลับมาปั้นพี่ให้ดังผ่านทางหน้าจอทีวีอีกครั้ง
ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนค่ายฟูจิทีวีนี้แหละภูมิใจนำเสนอ เพราะเห็นเส้นทางการแสดงของคุณพี่
ดูชุกขึ้นผิดสังเกต อย่างน้อ่ยๆที่เห็นเป็นหลักแล้วก็มี Boku to Star no 99 Nichi
เรื่องของบอร์ดดี้การ์ดเซเลปเกาหลีที่ท่านPrysangเพิ่งพรรณนา แม้บัดนี้วัยพี่ท่าน
วัยก็สี่สิบปีกำลังเริ่มน่าจะมีงานประกบดาราวัยสามสิบคานอีกหลายนางต่อไปในอนาคต
เข้าใจว่าตลาดซีรีย์ที่เจาะสาวกลุ่มนี้น่าจะได้เห็นหน้าหมอนี้กันจนเพลินนะเชียว





การแสดงของยูโกะ ทาเคอุชิ ก็ต้องถือว่าเธอได้ก้าวข้ามการแสดงที่ฉีกจากแนวเดิม
ที่หนีไม่พ้นสวยหวานหยาด หรือไม่ก็แก่นกระโหลก อย่างที่เคยเห็นทั่วไป
ขึ้นชื่อว่าเป็นหัวหน้านักสืบตำรวจ ย่อมต้องมีความบู๊ ดุดันและแฝงเร้นไปด้วยอำนาจบารมี
ซึ่งต้องพิสูจน์มากกว่าชายอกสามศอกเป็นเรื่องธรรมดา ในอันที่จะทำให้ลูกน้องและบริวารยอมรับ
นอกเหนือจากอำนาจบังคับบัญชาที่มีอยู่เดิม พร้อมกับเอกลักษณ์การเสยผมที่บ่งถึงการ
เอาจริงเอาจังในการคลี่คลายคดีผ่านกระบวนการทักษะพิเศษบางอย่างที่ไม่ได้มาด้วยโชคช่วย
ขณะเดียวกันเสน่ห์ในแบบฉบับความเป็นผู้หญิงก็ต้องไม่เสียไปด้วย (ในซีรีย์Bossก็ย้ำจุดนี้เช่นกัน)
ยอ่มไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเมื่ออำนาจคำสั่งจากเบื้องบน ไม่ตรงกับสัญชาติญาณภายในใจที่ปักธงไว้
เพราะวัฒนธรรมการสั่งงานแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า"เนมาวาชิ" เป็นการมอบนโยบายผ่านสายงาน
เป็นลำดับขั้นไปสู่ผู้บริหารระดับสูง ถ้ามองในแง่ดี อาจถือได้ว่าให้โอกาสพนักงานผู้น้อย
ได้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย แต่เอาเข้าจริงกลับเป็นการที่หัวหน้างานแต่ละหน่วย
จะต้องพยายามโน้มน้าวใจให้เห็นด้วยสอดคล้องกันนโยบายในสังกัด
ซึ่งเอาเข้าจริง ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเดิมจากนโยบายที่ผู้ใหญ่ได้จัดวางเอาไว้
ในStrawberry Night จึงมีการปะทะทางความคิดนี้อย่างมาก และทุกครั้งนางเอกก็พิสูจน์
ตามความเชื่อในสัญชาติญาณที่มี ซึ่งหมายถึงเธอและทีมงานจำต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
(แทนที่จะตีกินสบายๆ แบบราชการเกียร์ว่างของบางสำนัก)







When l observed , Disregarding the fact that she's a woman
like you said.And l've come to acknowledge a lot of things about her.

(หลังจากที่ผมได้เฝ้าติดตามมา ลองได้ปล่อยวางกับข้อเท็จจริงที่ว่าหัวหน้าเองเป็นผู้หญิงแบบที่นาย
เพิ่งจะพูดสักครู่ และผมคิดว่าตัวผมเองกลับได้รับความรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากตัวเธอ)

That being said l still don't think a woman should be out in the field like this.

(ซึ่งผมอยากจะพูดว่าผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าผู้หญิงสมควรที่จะออกลงสู่พื้นที่ภาคสนามเช่นนี้ได้)




และความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างในตัวละคร หัวหน้านักสืบเรโกะ
นอกจากการพิสูจน์อคติทางเพศที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (ชนิดใหญ่คับสน.เพราะเป็นหญิงเพียงคนเดียว)
ขณะเดียวกัน เธอต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อข้ามพ้นปมแห่งอดีต ซึ่งเธอเคยตกเป็นเหยื่อการถูกข่มขืน
และยังถูกทำร้ายด้วยมีดในสมัยมัธยม  แน่นอนว่าเรื่องนี้รู้กันในเฉพาะวงครอบครัวของเธอเท่านั้น
เลยเป็นเหตุให้ ความปรารถนาสูงสุดในชีวิตของเรโกะ คือ การสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่กรมตำรวจ
และมุ่งมั่นกับอาชีพนี้จนได้รับการเลื่อนชั้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ต้องแลกกับการมีชีวิตครอบครัว
การเปิดใจรับเพือ่นที่รู้ใจ และปัญหาระหองระแหงกับแม่ที่ไม่อยากให้เธอทำงานในกรมตำรวจ
และได้มีชีวิตครอบครัวที่สุขสมหวัง จนลืมฝันร้ายที่ผ่านพ้นมา เป็นตัวละครที่ใครเห็นแล้วก็
อยากจะเอาใจช่วย ที่นอกเหนือจากความเก่ง ความสวยและผมสลวยยังกะนางแบบซันซิล
ผู้เขียนว่า เรโกะเป็นตัวละครที่ยังมีอะไรให้น่าค้นหาและจะน่าเสียดายที่หากจะมาจบภาค
ด้วยการฉายในโรงภาพยนตร์เวลาเพียงชั่วโมงครึ่ง แทนที่จะต่อภาคสองตามหน้าจอทีวีทั่วไป





Strawberry Night จะว่าไปมีส่วนคล้ายคลึงกับซีรีย์เรื่องBossอยู่บ้าง
ในแง่ที่ได้สร้างตัวละครหญิง ให้มีภาวะผู้นำในองค์กรที่ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ในส่วนของคดีฆาตกรรม ซึ่งไม่คิดว่าสตรีเพศจะทำได้ ถ้าให้มองในแง่ "ความเก๋า"
ซีรีย์Boss ดูจะตอบโจทย์และโชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำ ซี่งป้าอายูมิ ยูกิในบทของ
หัวหน้าโอซาวะ เอริโกะ ซึ่งจะทำได้ดีกว่าและเป็นกระดูกเบอร์หนาที่ดารารุ่นน้องยากจะเทียบ
ป้าอายูมิจะได้เเปรียบกว่า เพราะในBossปล่อยบทให้เธอได้พื้นที่เล่นไม่ต้องเบียดแย่งกับเพื่อนรุ่นหลาน
(ถ้าเอาเธอมาปล่อยใน Strawberry Night ก็เชื่อว่าป้าอายูมิคงเอาอยู่แม้จะเข้าวงการทีวีหลังยูโกะ
แต่ประกายความเป็นปูชนียบุคคลผู้เขียนยกให้ป้าแบบไม่ถนอมน้ำใจกัน)
แต่ถ้าในแง่เนื้อหาสาระอื่นๆแล้ว อันนี้ไปกับคนละทาง Strawberry Nightจะเน้นในส่วนของ
ความเข้มข้น จริงจังและบรรยากาศที่อืมครึมเกือบทั้งเรื่อง ขณะที่Bossมีส่วนผสม
ของความทีเล่นทีจริง ยิ่งในภาคสองก็ผันตัวเองออกไปโทนตลกไร้สาระเยอะขึ้นกว่าเก่า
ผิดกับStrawberry Nightที่ดำเนินเส้นทางตั้งแต่ตอนแรกอย่างไร ก็ยังปูในเส้นทางใน
บรรยากาศตามเดิมอย่างนั้น เสียดายนิดอยู่ว่าการพัฒนาของเนื้อหาคดีและการลุ้นระทึกจนปวดตับ
ค่อนข้างจะทรงตัวระนาบเดียวกันเกือบทุกตอน ไม่ค่อยมีตอนใดที่เด่นเป็นพิเศษ แต่ซีรีย์
ก็ไม่พยายามลากตัวเองให้กลายเป็นดราม่าทริลเลอร์หนักๆ ยังพอมียิงมุกเพื่อปรับบรรยากาศ
ผ่านตัวละครบางตัวหรือดึงมุกให้ก้ำกึ่งเป็นคดีเด็ดให้พอขำขำ แล้วที่น่าแปลกใจอยู่อย่างหนึ่ง
คือ การกำกับของยูอิจิ ซาโต้ ปกติงานที่แกกำกับมักจะไม่ค่อยสมูทและไหลลื่นสักเท่าไร
โดยวัดจากที่เคยได้ดูผ่านมา อย่าง Attention Please,Shibatora และKyumei Byoto 24 Ji 4
มันจะต้องมีลูกขาดๆเกินๆโผล่มาบ้าง แต่กับเรื่องนี้ทำได้ในระนาบที่รู้สึกได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกัน
ถ้าถือว่าจังหวะการรนำเสนอเขาดี ไม่ค่อยมีจังหวะให้ได้แช่กล้องสักเท่าไร ซีรีย์จึงเดินเรือ่งไปได้เร็ว
จนบางทีรู้สึกเอาเองว่า ซีรีย์เนื้อหาค่อนข้างเยอะทั้งๆที่ไม่ได้มีการขยายเวลามากกว่าเรื่องอื่นๆแต่อย่างใด







No matter what kind of  mistake you make.
You can start over.l believe people've the strength to do so.

(ไม่ว่าเธอเองจะเคยผิดพลาดมาอย่างไรก็ตาม
เธอสามารถที่จะเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง ฉันเชื่อว่ามันจะทำให้คนแกร่งยิ่งกว่าเก่า)





เห็นว่าจริงๆแล้ว ซีรีย์เรื่องนี้ในตอนที่ยังเป็นภาคสเปเชียลเมื่อสองปีก่อน
มาจากงานในแนวปริศนาฆาตกรรมขายดีของนักเขียนฮอนดะ เท็ตซึยะ
(ที่ขายได้กว่า๑.๕ล้านเล่ม) ที่ชื่อ Strawberry Night
ซึ่งเป็นฉายาที่นางเอกเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมในภาคสเปเชียลนั่นเอง
ส่วนในภาคที่ฉายทีวีอย่างที่กำลังอยู่ในขณะนี้ มาจากในส่วนของภาคต่อที่ชื่อ
Symmetry (และมีการพัฒนาบทให้เหมาะสมกับทีวี) ส่วนวิธีการที่ทำให้ซีรีย์
มีสว่นขยายจากภาคสเปเชียลที่เดิมฉายเพียง๒ชั่วโมง มาเป็น๑๑ตอนในภาคทีวีซีรีย์ปกติ
เข้าไปแหล่งข้อมูลก็ดูงงๆ เพราะทางtokyohiveบอกเพียงว่าเป็นซีรีย์ที่ถูกปรับแต่งขยายเพิ่ม
(full-fledged drama adaption) แต่ในIMDB บอกได้ละเอียดกว่านั้นว่า
ถ้าไม่นับเฉพาะตอนที่สองกับสามที่ฉายออกไป ตอนที่เหลือล้วนแล้วแต่อิงมาจากนิยายแทบทั้งสิ้น
(based on the novel) เอาไงดีละ?ไม่เคยอ่านฉบับนิยายด้วยสิ (ไม่รู้มาจากมังงะหรือเป็นนิยาย)
เข้าใจว่ายังไม่เคยมีสนพ.กำลิขสิทธิ์เรือ่งนี้เอาไว้ด้วย และบ้านเราชื่อนักเขียนนี้ดูจะยังไม่ป็อปสักเท่าไร
แต่อ้างอิงจากIMDBแล้ว ผลงานของหมอนี้กำลังค่อยๆทยอยถูกนำไปสร้างในหนังและทีวี
อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี ๒๐๑๐ ปีเดียวกันกับที่ Strawberry Night สเปเชียลถูกฉาย
Bushido Sixteen ก็ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ผ่านการกำกับของโทโมยูกิ ฟุรุมายา
เป็นเรื่องของสองสาวเคนโดะมัธยมที่ชิงความเป็นหนึ่งกัน ได้โดยนักแสดงวัยรุ่น
นารุมิ ริโกะมาปะทะกับคิตาโนะ ไคอิ มาฟาดกบาลกัน พอปีต่อมา
Jiu - Special Investigation Team ก็เป็นซีรีย์เก้าตอนฉายทางช่องอาซาฮีทีวี
ก็ไม่พ้นเรื่องถนัดในแนวตำรวจสอบสวนแห่งสังกัดหน่วยS.I.T.  ที่สองสาวจากสองหน่วย
ต้องมาทำงานประสานกัน ซึ่งก็ได้คุโรกิ เมสะกับคิทาโกะ ทาเบะ มาเรียกเรตติ้ง
ซึ่งก็เห็นว่าเรตติ้งดีใช้ได้เลย  พอเข้าปีนี้ก็เลยถูกทางฟูจิทีวีหยั่งถึงกระแส เลยจัดหนัก
ขยายลิขสิทธิ์เดิมที่เคยทำเป็นมูฟวีทีวีในปี๒๐๑๐ Strawberry Night ระดมเรียกนักแสดงชุดเดิม
มาผสมกับนักแสดงหน้าใหม่บางคนเต็มอัตรา ชนิดยูโกะให้สัมภาษณ์ชียังแสดงอาการเครื่องร้อน
ส่วนจบจากนี้ ความชัดเจนในข่าวในส่วนของภาคต่อหรือจะเป็นภาคจบยังไม่ชัดเจน
ทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนของ pre-production ไม่อยากเชื่อข่าวลือมาก เพราะเข็ดจากตอนที่ถูกหลอก
ในJinภาคต่อ จนปล่อยให้ผู้เขียนไปหมั่นอัพเดทโปรแกรมหนังใหม่ โผล่มาอีกทีก็ไปเจอะ
เป็นเวอร์ชั่นจบในช่องทีวีต่อสักงั้น สู้รอให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างอาจจะช้าหน่อย
แต่ก็มีกว่าเดินหลงผิดซอยให้เสียเวลา สู้เสียช้าแต่มาแน่.....จะได้ไม่หลงประเด็น........









Update เพิ่มเติมเพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า Strawberry Night
ได้ฤกษ์ลงจอแล้วจริงๆด้วยตามอ่านข่าวความคืบหน้า ได้จากหมวดข่าว


Strawberry Nightได้ฤกษ์ปล่อยตัวอย่างฉบับเต็มเพื่อเตรียมขึ้นสู่จอเงิน







อ้างอิงข้อมูลจาก

Dramawiki,Dramacrazy.Wikipedia,Tokyohive







 

Create Date : 27 เมษายน 2555    
Last Update : 14 ธันวาคม 2555 22:52:31 น.
Counter : 11682 Pageviews.  

Q.E.D เรื่องอย่างงี้ต้องพิสูจน์





าย้อนพิจารณาการรีวิวตลอดสามสี่ปีที่ผ่านมา
ดูเหมือนว่า ตัวผู้เขียนเองแทบจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับซีรีย์ของค่ายNHKเท่าไรนัก
ปล่อยให้หลายค่ายไม่ว่าจะเป็นฟูจิทีวี ทีบีเอส เอ็นทีวี อาซาฮีทีวี มีพื้นที่ในการนำเสนอเสียส่วนใหญ่
ค่ายNHKก็จะมีเพียงสองเรื่อง คือ Nanase Futatari กับFutatsu no Spica
ซึ่งเรื่องแรกนั้น ออกไปในทางพลังอำนาจวิเศษ ส่วนเรื่องหลังเป็นการตามฝันเป็นนักอวกาศ
ต่างก็เป็นซีรีย์พ้นระยะความโบ สู่การร่วมสมัยปัจจุบันเป็นที่สุด แต่สุดท้ายก็ไม่วาย
ที่จะทิ้่งแผลเจ็บๆคันๆตามมา คงพอเป็นที่ทราบว่า วัฒนธรรมของบันเทิงผ่านช่องNHKที่รับรู้กัน
มักจะได้รับความนิยมจากทำซีรีย์เทือกๆ jidaigekiหรือไม่ก็พวกTaiga drama
ที่ไม่พ้นโบราณนานโคตรเป็นของโปรดของคนรุ่นดึก ซึ่งส่วนของงานย้อนยุคถ้าเป็นพวกนั้น
การันตีได้เลยว่าช่องนี้เขาแม่นยำ-กรำศึกมานาน ดำรงกันมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
กันเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่มีปัญหาสำหรับเรื่องของการดู แต่จะติดในปัญหาของการอยากเล่า
ด้วยจำนวนตอนที่ต้องนั่งเฝ้าทนดูมันไม่ใช่สิบเอ็ด-สิบสองตอนตามแบบแผนทั่วไปนี้สิ
แต่ต้องอาศัยคำว่า"มาราธอน"ทางสายตากันเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นแนวที่นอกเหนือจากที่กล่าว
อันนี้ก็เจ็บระนาวตัวกันมาไม่น้อย ไม่ใช่แค่ไม่กล้าวิจารณ์ แต่ถึงขั้นไม่อยากหยิบมาวิจารณ์
เพราะไม่ใช่หนทางในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ที่ดี ด้วยการบีบเล่าเรื่องให้เหลือหนึ่งหน้าบล็อก
มันทำได้ยากจริงๆ





Q.E.D ก็เป็นหนึ่งในซีรีย์ของค่ายเอ็นเอชเค ที่ฉายตั้งแต่ต้นปี ๒๐๐๙
ซึ่งความจริง ผู้เขียนก็ผ่านสายตารับรู้ตั้งแต่ปีที่ออกฉาย ทว่า.....ถ้าหากเป็นดาราที่รู้จักมักคุ้น
หรือลองได้เป็นของค่ายอื่นที่ไม่ใช่เอ็นเอชเค หรือมาเห็นเรตติ้งอันดับเลขเจ็ดอัพสักหน่อย
ซีรีย์แนวนักสืบตรรกวิทยาเรื่องนี้ ก็ไม่น่าจะถูกปล่อยลอยเท้งเต้ง เพราะเป็นแนวนิยมที่ผู้เขียน
โปรดปรานเป็นการส่วนตัว เพราะภาพลักษณ์จะดูดี-มีการศึกษา-พาลับสมอง-สยองกับศพเป็นระยะๆ
ประกอบกับการเข้าหน้าเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านเขาต่างครื้นเครงสาดน้ำลุยโฟมสนุกสนาน
แต่ตัวเองดันต้องมาจับเข่าคุดคู้แบบหนูไม่อยากเปียก เฉียดออกนอกประตูบ้านเมื่อไรได้เปียกตายเมื่อนั้น
จึงเป็นการดีที่จะทรมานตนเองด้วยการหยิบซีรีย์เรื่องนี้ขึ้นมาลองดี ถ้ามันสุดๆตามแบบที่ซีรีย์รุ่นพี่ของค่ายนี้
ที่เคยทำมา ก็นึกเสียว่าเป็นการสร้างภูมิต้านทานบูชาครูก็แล้วกัน






Q.E.D อย่างนี้ต้องพิสูจน์ เป็นซีรีย์วัยรุ่นสืบสวนแบบจบในตอน
โดยมีนักเรียนชายจอมอัจฉริยะวัยสิบห้า ที่มีดีกรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก MIT
"โทมะ โซ" (แสดงโดยนากามูระ อาโออิจาก Propose KyodaiและHanazakari no Kimitachi e 2011)
ปรารถนาที่อยากจะใช้ชีวิตในแบบวัยรุ่นมัธยมธรรมดา แต่ตัวเองมักจะจับพลัดจับผลูเข้าไปข้องเกี่ยว
กับปริศนาปัญหาหรือไม่ก็เหตุการณ์ฆาตกรรมต่างๆ ส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้โซต้องข้องแวะ
คือ การได้รู้จักกับเพื่อนสาวร่วมห้อง "มิตซูฮารา คานะ"(แสดงโดยทากาฮาชิ ไอ จากTenka Souran
และHitmaker Aku Yu Monogatari)ประธานชมรมเคนโด้และเป็นบุตรสาวของหัวหน้าสอบสวน
"มิตซูฮารา โคทาโระ" (แสดงโดยอิชิกุโระ เคน จากRESCUE และFire Boys)
ดังนั้น ไม่ว่าปริศนาจะมีความซับซ้อนเพียงไหน หรือคดีฆาตกรรมอำพรางจะแยบยลเพียงใด
การได้สติปัญญาของเด็กมัธยมดีกรีจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากรัฐ Massachusetts
ก็มักจะทำให้เรื่องยากๆ พลิกกลับมาเป็นง่าย โดยอาศัยจากหลักฐานแวดล้อมเท่าที่มี
มาผนวกเข้ากับวิธีการอธิบายในทางตรรกวิทยา (โดยมีวิทยาศาสตร์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น)
 ซึ่งหากเป็นผลสำเร็จเมื่อไร จะต้องมาพร้อมกับประโยคที่ช่วยยืนหยัดตามการพิสูจน์นั้นๆตามชื่อเรื่องขึ้นว่า ..........





with this .............Q.E.D

(เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์)

The proof is complete.

(หลักฐานได้เป็นที่กระจ่างแล้ว)






(เสริม-(ละติน: Q.E.D.) เป็นอักษรย่อที่มักใช้ตัดบทสรุปในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์
หรือเป็นการโต้เถียงทางปรัชญาวิธี เลยมาเข้ากับชื่อแบบไทยๆว่า "ซึ่งต้องพิสูจน์"
(ละติน: quod erat demonstrandum) (อังกฤษ: which was to be demonstrated)



ผู้เขียนต้องสารภาพหลังรายการที่ว่า แม้จะมีเสียงวิจารณ์ในเชิงไม่ดีขึ้นมากมาย
รวมถึงค่าเฉลี่ยโดยรวมสิบตอน เพียงร้อยละห้า แต่โดยภาพรวมแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับ
ซีรีย์แนวDetective&mystery ของเจ้าอื่นๆแล้ว  Q.E.Dดูจะฉีกรูปแบบความจำเจทั่วไป
ไปสู่ความหลากหลายที่ไม่ค่อยจะลงตัวสักเท่าไรนัก (แต่ก็ช่วยความเลียนในทางเดียวได้เยอะ)
ดำเนินเรื่องบลิ้วอารมณ์อย่างเรื่อยๆเฉื่อยๆไม่วืดหวา-ท่ามาก แบบโปรดักชั่นค่ายเอกชนเขาทำกัน
ซีรีย์จึงก้ำกึ่ง ไปทางหนึ่งทางใดไม่ชี้ชัดความเป็นตัวตนของตัวเองที่ชัดเจน (คล้ายๆความคลุมเครือ
ของสถานีNHKอยู่เหมือนกัน ที่ครั้งหนึ่งอเมริกาเองก็ไม่แน่ใจว่าจะจัดฐานะของNHKว่าเป็น
วิสาหกิจของรัฐ หรือเป็นวิสาหกิจของเอกชนกันแน่ แม้จะส่งแบบสอบถามเทียบเชิญถึงสามครั้ง
ก็หาได้คำตอบ ด้วยสถานะที่ประหลาดจึงอาจเป็นสาเหตุไม่ถูกทลายองค์กรในฐานะศูนย์กระจายข่าว)
และในเกือบทุกตอน วิธีการนำเสนอกลับให้น้ำหนักกับโครงเรื่องในแง่ของ "มูลทางคดี" มากกว่า
"ความสัมพันธ์ของตัวละคร" ดังนั้นในแง่ของเนื้อหาสาระที่ให้ต้องขบคิดและตีความ
เรือ่งนี้จะต้องใช้เอนเนอร์จีพาวเวอร์สูง เพื่อที่จะได้คิดตามไปกับจุดเชื่อมโยงค่อนข้างมาก
ให้เวลาพอสมควรกับการอธิบายไล่เรียงเหตุการณ์ ตลอดจนการใช้เวลาเพื่อคำเฉลย
เมื่อเทียบกับละครซีรีย์สืบสวนอื่นๆทั่วไป ถือว่าเป็นซีรีย์ที่มีตัวแปรเชื่อมโยงค่อนข้างมาก
(บอกตามตรง บางตอนขนาดซีรีย์ได้เฉลยไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนก็ยังไม่เก็กเอาสักเลย)







อีกทั้งรูปแบบของปริศนาที่เป็นโจทย์ของเรื่อง ออกไปเชิงวาไรตี้ดาวกระจาย
ไม่มุ่งเน้นในสายฆาตกรรมใดเป็นหลัก หรือแสวงหาขุมทรัพย์หาความรวยเป็นสำคัญ
มันจึงมีทั้งเรื่องเคสต์กรณีใหญ่ๆ อย่าง ฆาตกรรมอำพราง ปริศนาขุมทรัพย์เจ้าคุณพ่อ
โจรกรรมซ้อนแผน สตอล์กเกอร์ดารา ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ อย่างคลี่คลายตัวป่วนในชมรม
ไขความลับแคปซูลกาลเวลา การจำลองไต่สวนฝ่ายอัยการ ไปจนเคสต์เเฟนตาซีหลุดโลก
อย่าง การย้อนเวลาสู่ยุคเอโดะ หรือการโจรกรรมตู้เซฟบนตึกระฟ้า ซึ่งอันนี้มันก็มองได้สองทาง
ถ้าหากไม่ได้มองโลกในแง่ดีก็ต้องบอกว่า เรื่องมันเละเทะเตลิดไปเรื่อยสุดแท้แต่จะบรรเจิดผ่านไป
แต่ถ้าไม่คิดอะไรมากก็มองได้ว่าเป็นการแก้เลียนจากความซ้ำซากที่ปรากฎมีทั่วไป
เอาใจต่อตลาดของคนทุกกลุ่ม มีความสร้างสรรค์ในการคิดนอกกรอบ ยากแก้การคาดเดา
ถ้าเป็นค่ายอื่นๆ เขาเปลี่ยนแค่สถานอาชีพของตัวละครกับเป้าประสงค์เพื่อดำเนินทิศทางของตัวเรื่อง
อย่าง Puzzleก็เป็นเรื่องครูจอมงกกับนักเรียนหัวไบร์ท  ในKiina ก็เป็นเรื่องของ
นักสืบตำรวจกึ่งออติสติกกับตำรวจรุ้กกี้ ในGalileoก็เป็นเรือ่งของอาจารย์ฟิสิกส์
กับตำรวจสาวไฟแรง หรือในControlอันนี้เป็นเรื่องของอาจารย์จิตวิทยากับ
ตำรวจสาวจอมมุ่งมั่น ซีรีย์พวกนี้ทิศทางเรื่องเขาชัดเจน โครงเรื่องถูกปูให้มีความข้องเกี่ยว
กับความชำนาญเฉพาะทางที่จะช่วยไขปริศนาทางคดี ผิดกับQ.E.D ที่ดูจะมีความสามารถในการ
ไขปริศนาได้ครอบจักรวาล ไม่มีข้อจำกัดทางวิชาชีพ โจทย์ของตัวละครก็ไม่ผูกมัดไปทางใดทางหนึ่ง  
 และที่สำคัญ คือ ไม่ได้มีคลื่นออร่าเชงเม้งโทสโค้ป ที่ไปข้องเกี่ยวกับใครเป็นต้องตายทุกราย ถึงแม้ว่า
โผล่มาตอนแรกฆาตกรรมปริศนาบนเครื่องบิน ก็ทำอีท่าว่าจะมาไม่พ้นแนวบังเอิญอยู่ในเหตุการณ์
(และทำได้เสมือนจะกระโหลกกะลาตามวิถีประสงค์ที่ผู้เขียนคาดหมาย)  แต่พอถึงตอนต่อไปที่เหลือ
รูปแบบปริศนาก็ค่อยๆกระจายไปแบบเกินคาดเดา ไปแตะเรื่องโน้นมั้ง เรื่องนี้มั้ง
ซึ่งถ้าเอาในแง่ภาพรวมของปริศนา ทั้งแง่การตั้งโจทย์และการอธิบายก็ถือว่าเข้าท่าดี 
มีความซับซ้อน ลุ่มลึก และไม่ตายน้ำตื้น เหมือนกับบางเรื่อง
เพียงแต่.........................ข้อที่น่าแก้ไขสำหรับเรื่องนี้ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน เท่าที่นึกได้ตอนนี้
ก็มีถึงหลายข้อด้วยกัน (ซึ่งถ้าให้คิดอีกสักชั่วโมงคงได้สักสิบ แต่ก็รักษาน้ำใจกันเพียงเท่านี้ไว้ก่อน
เพราะความดี เขาก็มีให้พอประมาณอยู่เหมือนกัน)





อย่างแรกที่อยากพูดเลย คือ เคมีของตัวละครเอกระหว่างโซกับคานะ
ช่างทำปฏิกิริยากันยากเสียจริงๆ อันนี้น่าจะเป็นเรื่องแรกที่กล้ารีวิวเลยมั้ง ถึงสูตรทางเคมีที่ไม่ลงตัว
ความที่Q.E.D สร้างมาจากต้นฉบับการ์ตูนของอ.โมโตฮิโร่ คาโต้ (มีแปลไทยโดย
สนพ.วิบูลย์กิจ ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เคยได้อ่านสักหน้าหรอก) ถ้าถามว่าคุณพี่อาโออิกับน้องไอ
เล่นใช้ได้ไหม? ถ้าถือเอาตามความเป็นนักแสดงหน้าใหม่ ก็ถือว่าใช้ได้อยู่ แต่อย่างที่ทราบ
เคมีทางการแสดง มันหาได้ใช้ดัชนีใดเป็นเครือ่งชี้ชัดถึงเป็นรูปธรรมได้ยาก นอกเสียจาก
การแสดงให้ดูอะคลิกๆกันแบบคู่ดูโอเดเทกชั่นเจ้าอื่น ยิ่งมาเป็นแนวคู่หูนักสืบด้วยแล้ว
รู้สึกถึงความห่างเหินของสองตัวละคร ซึ่งโดยปกติตัวละครหนึ่งที่มองโลกอย่างสดใส
อีกตัวละครหนึ่งที่มองโลกอย่างเป็นไป สูตรนี้น่าจะส่งผลเกื้อกันได้เสมอ แต่คราวนี้่ไม่แหะ
เหมือนต่างคนต่างเล่นตามบทที่ได้รับ แต่จุดเชื่อมโยงมันไม่ได้ประสาน มีเพียงจุดบังคับ
ไม่กี่ฉากที่พยายามทำให้มันเป็นเรื่องของมิตรภาพ ความรัก และความห่วงใย
ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจาก ซีรีย์ให้ความสำคัญของแบบแผนและวิธีการเฉลย
มากกว่าการพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวละคร ความเป็นเรือ่งราวจุดนี้เลยน้อยถนัด
เมื่อเทียบตามสัดส่วนทั้งหมดของเรื่อง (ยังดีว่าเป็นเรื่องที่จบในตอน)
แม้บทพยายาม ที่จะช่วยอธิบายตัวตนของตัวละครผ่านเหตุการณ์ปริศนา
ที่ไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ของตัวละคร แต่หลักใหญ่ก็ยังให้น้ำหนักกับสิ่งปริศนา
โดยมีเพียงตัวละครตั้งไว้เป็นโจทย์เท่านั้น ดราม่าเลยไม่ค่อยเกิด พลังของตัวประกอบเกือบทั้งหมด
ที่ค่อยเป็นตัวส่งลูกหยอดลูกยอก็ไม่ทำงาน ล้วนเป็นกลุ่มนักแสดงหน้าใหม่ที่ไม่ค่อยผ่านกระแทกตา
 (ยกเว้นพ่อนางเอกที่แสดงโดยลุงอิชิกุโรเพียงคนเดียว ที่จัดเป็นผู้เล่นทีมีชีวิตชีวาที่สุด)
ความเป็นธรรมชาติในการแสดงก็เลยดูขาดๆเกินๆ และส่วนมากยิ่งเป็นนักแสดงวัยรุ่นด้วยแล้ว
พรรษาเลยดูอ่อนเมื่อต้องไปเผชิญกับความรัดกุมในแง่ปริศนาที่ผู้สร้างเขาวางไว้เป็นโจทย์ใหญ่
วัยรุ่นพวกนี้ เลยตกกลายสภาพเป็นดาราหน่อมแหน้ม แถมดันไปอวยบทให้เยอะอีกต่างหาก
กลายเป็นต้องมาพึ่งประสบการณ์ของบรรดาGuests ที่จัดมาเป็นคันรถยังกับรับหัวคิวกันมา
เรื่องถึงจะเดินต่อไปได้ ส่วนใหญ่ก็เดินสายไปเป็นแขกรับเชิญตามช่องต่างๆอยู่ก่อนแล้ว
การดีไซด์ท่าทางที่ดูผิดธรรมชาติ ก็เป็นที่น่ารำคาณ เล่นมุกก็เป้ก ถ้าตัดบทตัวประกอบพวกนี้ออกไป
อาการของการทำลายน้ำใจทางอ้อมที่ไม่จำเป็น ก็คงทุเลาเบาบางไปได้ไม่น้อยเลย คิดว่านะ







ส่วนการลำดับตอน โดยการกำหนดวางเรียง อันนี้ก็ถือว่าเป็นปัญหา
ผู้เขียนไม่รู้หรอกว่า อันนี้เป็นเรื่องของทางผู้กำกับหรือคนเขียนบทกันแน่
(โดยเฉพาะ ตอนต้นและตอนปลายที่ผู้เขียนรู้สึกมีปัญหาเป็นการส่วนตัว ไม่น่าเชื่อว่า
จะเกิดขึ้นภายใต้มือเขียนบทที่เคยเขียนให้Hana Yori DangoและGalcir อย่างฟูจิโมโต้ ยูกิ)
ต้องถือว่า นับตั้งแต่ฝ่าฟันดูซีรีย์ญี่ปุ่นกันมา เรือ่งนี้บริหารการวางตอนได้แย่มากเรือ่งหนึ่ง
เท่าที่ประสบการณ์ชีวิตเคยโชน อยากที่บอก เปิดตัวตอนแรกแม้จะเน้นความอลังการ
เล่นเหาะมาจากเครื่องบิน อาจจะได้ความตื่นตาในแง่ลูกโชว์เสียว เหมาะกับการทำทีเซอร์เรียกแขก
แต่ในแง่โชว์อัจฉริยะทางคดี อันนี้มันไม่เท่าไรเมื่อเทียบกับการโชว์ความเหนือทางสติปัญญา
ของตอนต่อๆไป แต่ถ้าถือเป็นการอุ่นเครื่องวอร์มอัพ  อันนี้ก็อาจจะมองได้
แต่ที่น่าเคืองแบบบ่นเสียดาย คือ ตอนเฉลยสาเหตุที่โทมะ โซ ต้องบินลัดหนีกลับมายังญี่ปุ่น
แทนที่จะปักหลักต่อที่MIT ผู้เขียนว่าอันนี้เป็นตอนไฮไลท์เรียกเรตติ้งคนดูได้ดีเลยทีเดียว
แต่ดันเอามาไว้สักต้นเรื่อง นึกว่าปรากฎการณ์นี้จะมีเฉพาะตอนที่รีวิวไว้ใน
Tokujo Kobashi ของค่ายทีบีเอสเจ้าเดียว ผลจากการวางไม่ดูทิศทาง ส่งผลให้เรตติ้ง
ที่ควรน่าจะดี กลับไม่ดีตามที่ควรจะเป็น จากนั้นเรื่องก็กลับมาลดฮวบตามสภาพเช่นเคย
ปกติแล้วใครเขาก็มักจะบรรจงวางไว้กลางหรือไม่ก็ท้ายเรื่อง ด้วยสูตรนี้มันต้องทำให้พระเอก
ต้องเลือกระหว่างงานดีที่โน้นกับเพื่อนดีที่นี้ ซึ่งก็ยังจะได้ลูกขยี้ที่ดีเสมอ อย่างน้อ่ยเกิดขยี้พลาด
มันก็ยังมีผลพ่วงของการเปิดทัศนคติทางในใจของตัวละคร ที่เปิดเผยความรู้สึกที่แท้ลึกในใจ
นอกภายใต้อุปนิสัยที่เงียบขรึม แต่นี้ดันเปิดตัวโล่งโจ้งแต่ไก่โห่ แถมตอนที่เหลือจากนั้น
ก็กลับมาลงรากลึกในแง่คดีปริศนา เหมือนจะทิ้งช่วงความสัมพันธ์ของตัวละครไประยะใหญ่
ก่อนจะมาอวสานแบบบอกลากันดื้อๆ แถมเป็นความดื้อประเภทที่ยังไม่ทิ้งเรื่องของคดีเป็นหลักใหญ่
ทั้งๆที่จะลงศาลาการเปรียญอยู่ทนโท้ พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือว่า มันเต็มไปด้วยเนื้อ
จนหาความเป็นน้ำแทบจะไม่ค่อยเจอ (แถมพอมีน้ำก็ดันเป็นน้ำซุปที่ไม่ค่อยคล่องคออีกต่างหาก)






หมดจากเรือ่งนี้แล้ว ดูเหมือนว่าเส้นทางการแสดงของนายนากามูระ อาโออิจะไปได้สวย
มีงานชุกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนโอกาสได้เป็นพระเอกเจนฯรุ่นต่อไปของวงการบันเทิงมีสูง
(อยากบอกว่าทรงกะลาครอบของคุณน้องอาโออิ อยากบอกว่าเป็นเแฟชั่นที่เห่ยมาก ไม่เหมือนตอนหนึ่ง
ที่นางเอกไทม์สปินไปสู่ยุคอดีต อาโออิของเราต้องปรับเทรนด์เป็นแสกกลาง เออเว้ย!หล่อระทวยไม่น้อย)
เอาแค่ปี ๒๐๑๐ น้องเขาก็มีโอกาสได้เล่นหนังใหญ่ฟอร์มดีอยู่หลายเรื่อง อาทิ
BECK (ปุปะจังหวะฮา) เรื่องของไอ้หนุ่มดนตรีร็อคกับหมานิสัยประหลาดที่สร้างมาจากมังงะชื่อดัง
Perfect Blue ที่สร้างจากวรรณกรรมของนักเขียนชื่อดังมิยูกิ มิยาเบะ หรือจะเป็นโปรเจ็คหนังผีแอบถ่าย
Paranormal Activity Chapter 2 TOKYO NIGHT อันนี้เมืองไทยก็เข้าฉายอยู่หลายสัปดาห์
ส่วนวงการทีวีนี้ ปีที่แล้วก็เพิ่งได้รับเล่นซีรีย์ตอนพิเศษ ที่เรียกว่า4-part Tanpatsu ของค่ายฟูจิทีวี
เรื่อง Propose Kyodai เป็นเลิฟคอเมดี้ของชายสี่วัยที่มีบุคลิกคนละแบบ ซึ่งไอ้หนุ่มอาโออิของเรา
ต้องไปเป็นพี่น้องร่วมไส้กับรุ่นพี่เบอร์หนา อย่าง ยุตะ ซาโต้,โคอิเคะ เทปเป และอิโตะ อัตซึโอะ
ปรากฎว่าอาโออิได้ประกบกับดาราสาวโมโตคาริยะ ยูกะ ก็เป็นตอนสามที่เรียกเรตติ้งสูงสุดกว่า
ใครทั้งสามคนสักงั้น นอกจากนี้ ยังได้เข้าขบวนการหล่อชายล้วนปี ๒๐๑๑
กับซีรีย์Hana Kimi e ที่มีดาราหญิงนำ คร่าวนี้ไม่ใช่โฮริกิตะ มิกิ (ที่หมดรุ่นตั้งแต่ปี ๒๐๐๗)
แต่จะเป็นหนึ่งในเต้ยของวง AKB48  มาเอดะ อัตสึโกะแทน เรื่องนี้รับประกันได้ว่า
ใครได้เล่นเป็นต้องปูทางไปรสู่ดาวประดับวงการแน่นอน เหมือนที่เคยปลุกปั้น โอกุริ ชุน,อิกุตะ โทมะ,
มิซุชิมะ ฮิโระหรือยามาโมโตะ โยสุเกะ ประมาณนั้น
การถอยมาหนึ่งก้าวใหญ่ๆแบบข้ามทวีป ก็ทำให้ตัวละครโทมะ โซ ได้กลับมาพบความสุข
จากการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายตามจังหวะของชีวิตที่วัยรุ่นควรจะเป็น แทนที่จะต้องแบกรับกับ
ชื่อเสียงและเกียรติยศอันไม่สมสว่น จนทำให้เขาเกือบจะห่างหายจากช่วงเวลาที่สำคัญของชีวิต
การได้เติมเต็มสู่การบรรลุวุฒิภาวะผ่านประสบการณ์ มากกว่าการศึกษาหาความรู้ที่ได้จากการอ่าน
บางทีความอัฉจริยะก็บดบังคุณค่าบางสิ่งบางอย่าง ที่กว่าจะตระหนักได้ก็สูญเสียมันอย่างไม่อาจห้วนกลับ





l always mingled with the outside world at my own pace.
Matching it to my pace.l feel at loss as the outside world keep
coming into me.

(ตลอดเวลาที่ผมได้ประสานก้าวย่างที่เป็นประสบการณ์จากโลกภายนอก ให้เหมาะสมกับชีวิต
ผมกลับรู้สึกได้นะถึงการถูกพลัดพรากจากสิ่งภายนอกที่กำลังเข้ามายืดแย่งทุกสิ่งทุกอย่างออกไปจากผม)

l want to cherish it.This feeling of perhaps this is exciting.

(ผมอยากที่จะทนุถนอมมัน ความรู้สึกนี้บางทีก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นดีเหมือนกัน)






ส่วนนางเอก "ทากาฮาชิ ไอ"เห็นคุณน้องครั้งแรก นึกไม่ถึงว่าบารมีจะมาได้ถึงขนาดนี้
(นึกว่าลาล่า-ลูลู่ แห่งโปงลางสะออนญี่ปุ่น) และรู้สึกดีใจที่น้องมาเอาดีในวงการเพลง
กับวงป๊อบที่สร้างคุณน้องขึ้นมา ไม่รู้แคลนน้องไปรึเปล่า?แต่รัศมีซีรีย์นี้ดูไม่เกิดเอาสักเลย
ยิ่งมาเห็นลีลาการแอ็บแบบไม่แอบกระมิดกระเมี้ยน แรกๆก็แบ้วดีอยู่หรอก แต่เล่นทุกช็อตอันนี้มันเยอะไป
รู้ว่าหนูมาจากวงที่เน้นสายแอ็บแล้วแจ้งเกิด แต่เออ..คนละเวทีกันนะน้อง ผู้เขียนมาเน้นที่เรื่อง
บังเอิญมีน้องเป็นส่วนประกอบ แล้วมาทำอะไรที่ไม่สมประกอบ หน้าก็ไม่รู้จะโทนลาล่าหรือลูลู้กันแน่
ในMorning Musumeเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่ค่อยสำรวจลงลึกสักเท่าไร แต่ทราบมาว่า
น้องไอนี้เป็นถึงลึดของวงนี้เชียว ไม่ใช่แค่กรุ๊ปนี้เท่านั้น ยังรวมถึงHello!Projectอีกกลุ่มด้วย
แล้วยิ่งไม่เข้าใจไปใหญ่ สำหรับลัทธิพิธีกรรมที่เรียกว่า "graduate" ในความหมายเดียวกันกับ
การจบการศึกษา แต่นี้เป็นเทอมสำหรับกิจกรรมในอุตสาหกรรมเพลงกินตังค์ของบ้านเขาเท่าไร
เห็นว่าใน AKB48 หนูมาเอดะเธอเองก็จบการศึกษานี้ด้วย สอบอย่างไร-เก็บหนว่ยกิจเท่าไรไม่รู้
ก็เห็นมีเด็กหน้าใหม่เข้ามาอยู่ตลอด แล้วหนูแก่ๆที่จบการศึกษาก็เห็นยังออกหาตังค์ทั้งเล่นซีรีย์
ออกโฆษณา แถมยังไปออกซิงเกิ้ลเดียวอะไรอีกเยอะแยะ ฟังแล้วก็ดูแปลกดีเหมือนกัน
แต่แปลก พอออกจากลุกส์ของสาวมัธยมที่มองโลกสดใสคานะตัวนี้แล้ว
เออ.....น้องหนูก็หน้าตาพอไปวัดไปวาได้อยู่เหมือนกัน  ยิ่งพอเห็นอดีตหัวหน้าคนรอง
ที่มาเปลี่ยนไม้รับช่วงทีมวงMorning Musume แล้ว ไอ้ที่พูดมาตั้งแต่ต้นพี่ว่าน้องดูดีที่สุดแล้วละ ........








อ้างอิงข้อมูล

Dramawiki,Wikipedia,Jdorama





อืม......อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสิ่งดีที่มีให้ปรากฎสำหรับซีรีย์เรื่องนี้ คือ
เพลง Konomama, Zutto  ที่ร้องโดย อาโอยามา เทลมา ลูกครึ่งอัฟโฟร ทรินิแดดแอนด์เจแปน
ถือเป็นนักร้องขายเสียง ที่ยอดขายดีถล่มทลายคนหนึ่งของวงการเพลงที่โน้นเหมือนกัน
เสียดาย .......ที่ช่วงอะไรในเรตติ้งไม่ค่อยได้นัก















 

Create Date : 17 เมษายน 2555    
Last Update : 18 เมษายน 2555 22:19:10 น.
Counter : 4856 Pageviews.  

Magerarenai Onna สาวแกร่ง...แรงที่สุด


ลังจากที่เคยได้รีวิวซีรีย์ฆาตกรรมคาห้องเรียนมัธยม (ซึ่งครูอังคณาไม่เกี่ยว)
ในWatashitachi no Kyokasho ปลายเดือนพฤศจิกาของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลให้ผู้เขียน
จำต้องปรับเปลี่ยนการประเมินคุณค่าทางการแสดงของ "คันโนะ มิโฮะ" เสียใหม่
ซึ่งแต่เดิม ก็รู้สึกธรรมดาออกจะเฉยเมยเสียด้วยซ้ำ จากเรื่องที่เคยได้ยินได้ชมมากอ่น
อาทิ Dance Drill,Last Present,Tomorrow หรือ Kiina
โดยส่วนใหญ่ ล้วนเป็นผลงานซึ่งผู้เขียนมีโอกาสไล่ตามงานในยุคล่าสุดแทบทั้งสิ้น
แม้ว่า ดาราหญิงที่มีศักดิ์เรียกว่า "ป้า" ก็ยังได้ จะเริ่มเข้าวงการซีรีย์ทีวีมาตั้งแต่ปี ๑๙๙๔
แล้วมาได้รางวี่รางวัลจริงๆในสาขาทีวีครั้งแรก ก็เหมาะเจาะในปี๒๐๐๐พอดี ถ้านับเอางาน
ที่เรียกว่าเป็นสาขารางวัลนำหญิงจริงๆ ก็มีWatashitachi no Kyokasho ที่เคยรีวิวได้ไปแล้ว
เฉกเช่นเดียวกันกับ Kiina ซึ่งเรื่องนี้ออกจะเสมอตัวไม่น่าจะได้รับรางวัลสักเท่าไร
เอาเท่าที่โอกาสจะพอหาได้ตอนนี้ ที่เหลือก็คงมีแค่Hataraki Manกับ Magerarenai Onna
ซึ่งเป็นของค่าย NTVทั้งคู่ บังเอิญว่าเรื่องหลังเพิ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้ชมมาแล้ว
จึงขอโอกาสเล่าสู่กันฟัง ตามประสาความปลื้มป้าเป็นการส่วนตัว ส่วนจะเชียร์ขึ้นไหม
อันนี้ ก็แล้วแต่วิจารณญาณของท่านผู้อ่านหลงเชื่อกันเอาเอง








Magerarenai Onna เป็นซีรีย์ในปี ๒๐๑๐ แห่งค่ายNTV
ที่ยังได้คันโนะ มิโฮะคนเดิม สองสามผลงานหลังมานี้ การเลือกเล่นกับค่ายทีวีค่ายนี้
มักจะหนีไม่พ้นบทนางเอกเนิร์ดๆ เอนเนอร์จี้สูง ดังนั้นMagerarenai Onnaก็หนีไม่พ้นเช่นกัน
ที่ว่าถึงวิกฤตของหญิงวัยสามสิบอัพ "โอจิวาระ ซากิ" พนักงานทนายฝึกหัด
ที่สอบการเป็นทนายเป็นต้องตกทุกครั้งตลอดเก้าปีซ้อน ขณะที่ตัวแฟนหนุ่มที่เด็กกว่า
"ซากาโมโตะ มาซาโตะ"(แสดงโดยทซึกาโมโตะ ทาเกชิจากKekkon Dekinai OtokoและFire Boys)
รุ่นน้องซึ่งพบรักกันตอนที่ซากินั้นอยู่ปีสี่ แต่มาสาโตะเพิ่งจะเข้าปีหนึ่ง และปัจจุบันมาซาโตะ
ก็ได้เลื่อนชั้น สอบผ่านการเป็นทนายตั้งแต่การสอบครั้งแรก แต่ตัวซากิเองยังคงย่ำอยู่ที่เดิม
กระนั้น ซากิเองก็ไม่เคยละความพยายามของการที่จะเป็นทนาย ด้วยปมในวัยเด็กเธอเคยมีพ่อ
ที่เพิ่งสอบได้เป็่นทนายแต่ต้องประสบอุบัติเหตุตกจากที่สูงเสียชีวิตเพื่อช่วยเหลือเด็กทารกคนหนึ่ง
มันจึงเป็นทั้งแรงบันดาลใจและการชดเชยความหวังของผู้เป็นบิดา ซึ่งนั้นก็ทำให้ซากิ
ต้องมามีปัญหาไม่กินเส้นกับแม่ของเธอ ที่ไม่อยากให้ลูกสาวเดินตามทางของผู้เป็นพ่อ
แม้ว่าความพยายามดังกล่าว จะล้มเหลวมาครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม








A lawyer's job isn't to chase after justice.
It's to protect the interest of our clients in the right
or not doesn't have anything to do with it.


(งานของทนาย ไม่ใช่การไล่ล่าหาความยุติธรรม
มันเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของลูกความของเรา

ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิดมาก็ตาม หวังว่าเราคงจะไม่ทำอะไรให้มากกว่าไปกว่านี้)

Clear,that it would be far more profitable to us.

(เอาเป็นว่าเคลียร์นะ มันก็เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของพวกเราทุกคน)

That's why l have no intention of declining to be
the legal adviser
for the company side.

(นั้นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมฉันจึงไม่ลดความตั้งใจในการเป็นที่ปรึกษา
โดยเลือกข้างของบริษัทเป็นสำคัญ)






ะตาชีวิตของซากิก็เหมือนสายฟ้าฟาด เมื่อหัวหน้างานพยายามจะเกลี่ยกล่อมเธอ
ให้หันมาย้ายแผนกงานในฝ่ายธุรการ เพราะหมดความอดทนกับความไม่มีพรสวรรค์ในตัว
แต่ตัวซากิเองก็ยืนกรานที่จะเข้าสอบเข้าเป็นทนายอีกหน แม้ว่าตัวเธอจะถูกเยาะเย้ยถากถางเพียงใด
ทั้งจากหัวหน้างาน และการปฏิโลมจากแฟนหนุ่มที่ทำงานในสำนักงานทนายความเดียวกัน
ด้วยทิฐิมานะที่ถือมั่นในตัวของซากิเอง จนกระทั่งวันประชุมกำหนดนโยบายของทางบริษัท
ที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ทนายของบริษัท พยายามรับทำคดีโดยมุ่งประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ
จนเป็นเหตุให้ ซากิรับไม่ได้กับวิธีการดำเนินงานและขอลาออกในที่สุด โดยสุดท้าย
ซากิเลือกที่จะรักษาอุดมการณ์มากกว่าการอยู่ให้เป็น เพื่อที่จะอยู่รอด








A person in a weak position who does the right thing and who
as a result is treated unfairly.

(เมื่อใครคนหนึ่งอยู่ในสถานะที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เขาก็ควรจะได้รับสิทธิคุ้มครองตรงนั้น
รวมถึงผลลัพธ์จากการได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม)


That may be right as a lawyer but it's wrong as a human being.

(สำหรับการเป็นอาชีพกฎหมายนั้นคุณอาจจะถูก แต่มันผิดสำหรับหัวอกความเป็นมนุษย์)





ด้วยบุคลิกส่วนตัวของโอกิวาระ ซากิ เรียกได้ว่าเป็นสาวทึนทึก-มีทิฐิที่สูงปี๊ด
เธอจึงไม่ค่อย ไม่สิต้องเรียกว่าไม่พยายามเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสังคม หมุกมุนอยู่กับการอ่าน
หนังสือสอบเนติฯทั้งเวลาพักเที่ยง ไม่เว้นแม้แต่เวลานอนจนมืดค่ำตีหนึ่งตีสอง
เพื่อให้ไปถึงเป้าประสงค์ที่เป็นเสมือนจุดปฏิญาณตามความฝันให้สำเร็จ เธอเลยตั้งกฎกับตัวเองว่า
จะไม่ทานแชมเปญแกล้มกับชีสต์จนกว่าจะสอบบรรจุเป็นเนติบัณฑิตให้จงได้ (ผลเลยทำให้ในห้อง
ของซากิมีเเชมเปญวางเรียงเป็นตับถึงเก้าขวด จนแขกใดใครมาต้องหวังดีจะเปิดทานเสียทุกครั้ง)
ด้วยการตั้งกฎระดับเข้มข้นเช่นนี้ แต่ซากิก็มีวิธีการผ่อนคลายตามแบบฉบับของตัวเธอเอง
ที่มองเข้าข่ายว่าชีเพี้ยนก็มองได้ อย่างเช่น เต้นฝืนสังขารตามจังหวะเพลงผ่านเครื่องไอพอดนาโน
ที่บรรจุอัลบั้มเพลงของไมเคิลแจ็คสัน ตั้งแต่ยังเป็นคณะเจสันไฟว์จนถึงอัลบั้มชุดล่า
ก่อนพี่ไมเคิลจะตายลาหนี การได้ขย้ำกระดาษแล้วปาให้ลงถังอย่างแม่นยำ
หรือกระทั่งบันทึกไดอารีรายวันแบบสั้นๆ ซึ่งแต่เดิมมักจะจดประโยคที่เป็นเหมือนการสะกดจิตตนเอง
เพื่อให้สอบได้สำเร็จ การได้มีเพื่อนสองคนที่เดินก้าวเข้ามาในชีวิต มันก็ช่วยให้ไดอารีเล่มประจำของซากิมีบันทึกที่เปลี่ยนไป ..................................





พื่อนสองคนที่เธอได้พบเป็นการบังเอิญที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นปาฎิหารย์ครั้งสำคัญของชีวิตก็ว่าได้
คนหนึ่งเป็นเพื่อนสมัยมัธยมเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว"ฮาสุมิ ริโกะ"(แสดงโดยนากาซาคุ ฮิโรมิ จาก
Last PresentและClosed Note)
ผู้มีชีวิตครอบครัวที่หวานอมขมกลืน แถมเป็นชนิดกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ด้วยตัวสามีแอบไปมีกิ๊ก เท่านั้นไม่พอแม่ของสามีก็ยังให้ท้าย อีกทั้งควบคุมอำนาจเสร็จสรรพ
ไม่เว้นลูกของเธอเองอีกสองคน ริโกะจึงต้องพยายามแสร้งเป็นหน้าชื่นยินดีเหมือนว่าไม่มีอะไร
จึงทำให้เธอเชื่อไปเองว่าการโกหก เป็นความสามารถพิเศษที่จะโกหกในเรื่องที่โกหกได้
โดยไม่รู้ว่านี้เป็นเรื่องที่โกหกหรือว่าเป็นความจริงกันแน่ ส่วนเพือ่นอีกคนเป็นถึงสารวัตรใหญ่
ด้วยบารมีมีพ่อเป็นถึงผู้กำกับ"ไอดะ โคอุกิ"(แสดงโดยทานิฮาร่า โชสุเกะจากLove ShuffleและTop Caster)
หนุ่มเพลย์บอยที่ไม่เคยรู้จักรักแท้ และรู้สึกถูกชะตากับนางเอกซากิตั้งแต่แรกเห็น
จึงพยายามตีสนิทเฮฮาตามเรื่องตามราว โดยไม่มีคราบของความเป็นสารวัตรตำรวจให้คนอื่นเกรงขาม
แต่จริงๆแล้ว สารวัตรไอดะซังก็มีชีวิตขมขื่นไม่แพ้กัน แม้จะดำรงตำแหน่งใหญ่โตแต่จริงๆแล้ว
เป็นคนใจเสาะ ไม่กล้าออกไปดำเนินคดีในพื้นที่จริง ตลอดเวลาที่เป็นตำรวจมักจะปัดภาระความรับผิดชอบ
จนแยกไม่ออกว่า เกิดจากวัฒนธรรมขององค์กรตำรวจที่สังกัดหรือเพราะลักษณะนิสัยเป็นการส่วนตัว






พูดถึงการแสดง ก็ยอมรับมีความโดดเด่นในแง่ของบทเป็นทุนตั้งต้นอยู่แล้ว
แต่ประสบการณ์การรับชมส่วนตัว ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการฉีกอะไรไปจากเดิมของบรรดานักแสดงทั้งหลาย
อย่างบทของสารวัตรไอดะที่พี่โชสุเกะเล่น ก็มาในแพตเทิร์นที่เคยเล่นไว้ในMob Girlของค่ายอาซาฮี
เพียงแต่ว่าความเจ้าชู้ครั้งนั้น มันไม่ได้ใช้กับนางเอกที่เล่นโดยคิตากาวะ เคอิโกะสักเท่าไร
ทว่าในเรื่องอารมณ์เจ้าสำราญคล้ายคลึงกัน ถือเป็นการโคจรร่วมงานกันอีกครั้ง
ระหว่างท่านพี่โชสุเกะกับนางเอกมิโฮะ หลังจากที่สามปีที่แล้วเคยร่วมแจมในดราม่าทริลเลอร์เข้มๆ
ในWatashitachi no Kyokasho ซึ่งก็เป็นบทอาชีพทนายเฉกเช่นเดียวกันอีก
ทว่าผู้เขียน จะไปได้ใจในตัวละครเพื่อนนางเอกอย่างริโกะแทน
เพราะมันเหมือนจะได้ความสดจากการแสดงของนากาซากุ ฮิโรมิ ซึ่งจะว่าไป
เธอก็ไม่ได้ใหม่ในวงการสักเท่าไรนัก จะว่าไปอีกนั้นฮิโรมิของเราเธอก็เข้าวงการทีวีในปีเดียวกันกับ
นางเอกคันโนะ มิโฮะเสียด้วยซ้ำ สมัยยังเอ๊าะๆเธอเป็นตัวหลักแห่งวงกรุ๊ปป๊อปสามสาวที่ชื่อRibbon
(ที่ประกอบด้วยอาริมิ มัตสุโนะ,ไอโกะ ซาโตะและตัวเธอ ออกซิงเกิ้ลแรกในปี๘๙ และถูกยุบวงในปี ๙๔)
ระยะหลังเห็นเธออ้วนท่วมบวมสักอย่างนี้ก็อย่าได้แปลกใจ เพราะเธอต้องไปเป็นคอมเมนเตเตอร์
ให้กับเกมโชว์ตัดสินทำอาหาร Iron Chefทางช่องฟูจิทีวี ได้พบเจอกับสามีซึ่งเป็นfilmmaker
ในปี๒๐๐๕ โดยทั้งคู่ร่วมงานกันกำกับสินค้าโฆษณายี่ห้อนึง ไม่รู้กำกับอีท่าไหนอย่างไร
ปลายปีก็แต่งงานสายฟ้าฟาดกันเฉยเลย ตอนนี้ก็มีลูกชายทันใช้แล้วด้วย
ส่วนการแสดงของซากาโมโตะ มาซาโตะ ความที่ติดตามผลงานมาน้อย
ประเภทไม่ตั้งใจแต่ดันติดตามห้อยสอยกันมา ในเรือ่งนี้ถือว่าได้รับบทเด่นอยู่
เพียงแต่เล่นได้เสมอตัว ยิ่งการที่ไม่กล้าที่จะสละออกจากงานตามซากิ ไอ้นั้นไม่เท่าไร
แถมยังขับไล่ไฉเฉดนางเอกทั้งๆที่เพิ่งตกงานด้วยแล้ว ความได้ใจตัวละครตัวนี้
เลยหายไป ความจริงพี่ก็หน้าตาจัดว่าหล่อดีนะ แต่บารมีความเป็นดารนำไม่ค่อยจะเกิด
ตอนเริ่มเล่นหนังBattle Royaleก็อยู่ไม่เด่น ไปเป็นพระเอกเต็มตัวใน Midnight Sun
ผู้เขียนจำได้แต่นางเอกนักร้องยูอินั่งแบกะดินดีดกีต้าร์ร้องเสียงเเหง้วๆกับบรรยากาศมืดตึ๊ดตื๋อ
ไม่มีอะไรมากกว่านั้น แต่ก็ได้ข่าวว่าพี่ท่านได้ภรรยานอกวงการที่แต่งในปี๒๐๐๗
ตอนนี้ก็เป็นลูกหนึ่งไปแล้ว นึกแล้วก็ใจหายที่ดาราร่วมรุ่นสมัยผู้เขียนก็ทยอยมีลูกทันใช้
จากที่เคยเล่นหนังวัยรุ่นแว้บๆ ก็เป็นพ่อคน-แม่คนกันไปหมดแล้ว







กเว้น .....ก็แต่นางเอกของเรื่องที่คันโนะ มิโฮ
ขอตำหนิการออกแบบโปสเตอร์ของค่าย NTV อีกสักครั้งหน่อยเหอะ
เพราะใบปิดที่โปรยไว้ กับรูปแบบข้างในแทบจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันเลย ตัวซากิเอง
อย่างที่เห็นในสิบตอน ก็ไม่ได้มีภาพลักษณะที่ปรากฎอย่างเช่นท่าสมาธิโยคะนั่งชันเข่าพับเพียบเจแปน
อะไรอย่างนั้นสักทีไหน ผมเผ้าก็ไม่ได้ยาวสลวยมัดซ่อนวงในแบบขึ้นปกแต่อย่างใด
แล้วที่โผล่หัวดาราสามคนมุมขวาล่าง ก็ช่างให้ค่าพวกเขาสักเหลือเกินทั้งๆที่บทเยอะไม่แพ้กัน
อย่างนี้เขาเรียกว่าผลิตภัณฑ์ฉลากไม่ตรงกับสรรพคุณ ในอดีตก็เคยเจอะ
กับอาร์ทญี่ปุ่นประเภทไม่ตรงปกอยู่บ้าง แต่เป็นคนละพีเรียด ไอ้นั้นต้องไปซื้อแถวลานจอดรถ
ชักนอกเรื่องแล้ว ก่อนหน้านี้ก็เคยโอดกับปกของซีรีย์Motherไปที จะว่ารวมถึงแม่บ้านมิตะ
ในKaseifu no Mita ด้วยก็ยังได้ เพราะมันแทบไม่บอกอะไร ถ้าไม่มีใครรีวิวให้ฟัง
ผู้บริโภคก็จำต้องเสี่ยงชีวิตเข้าชิมเองเป็นสำคัญ เข้าเรื่องการแสดงของมิโฮะเธอดีกว่า
ก็โออยู่สำหรับการดีไซด์สาวโรบอตซากิ ที่ดูแตกต่างจากการแสดงแบบอื่นๆ ที่เธอเคยเล่นมา
ในครั้งที่เป็นKiinaนักสืบเนิร์ดอัจฉริยะ ก็คิดว่าคงเป็นสุดๆครั้งหนึ่งของเธอแล้ว
เจอะเรื่องนี้หนักข้อยิ่งกว่า แต่ก็เป็นไปคนละแบบ ถ้าในแง่ลูกอารมณ์
ในMagerarenai Onna ดูจะปรวนแปร เก็บกดและลดละกับใครเขาเป็นสักทีไหน
การได้รางวัลนักแสดงหญิงในTelevision Drama Academy ครั้งที่๖๔ จะได้ก็ไม่ว่า
แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ต้องถือว่าฤดูนั้นคู่แข่งสายค่อนข้างจะอ่อน
ไม่ว่าจะเป็น Code Blue 2,Fumo Chitai และAibou 8 แต่ที่ดูทรงนำหญิงสูสีหน่อย
ในฤดูนั้น เห็นจะเป็นเออิกุระ นานะจาก Naka nai to Kimeta Hi
เรื่องเกี่ยวกับนักศึกษาจากมหาลัยเกรดสองจบใหม่ ที่ต้องเผชิญกับการกลั่นแกล้งทุกรูปแบบ
จากที่ทำงานใหม่ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ทรง เพราะคำว่า"ทรง" มีความหมายกึ่งๆนิยามว่า
ยังไม่ดูที แต่ขอนั่งเทียนอวดรู้เอาไว้ก่อน (ซึ่งก็มักจะผิดเสมอเพราะซีรีย์มักจะพุ่งไปอีกแนว)
แต่เสน่ห์ส่วนตัวที่ชอบเป็นการเฉพาะสำหรับตัวละครซากิในในMagerarenai Onnaตัวนี้
คือ นิสัยพูดตรงฉะดะ ซึ่งเกือบทุกครั้งมักจะชวนให้กลายเป็นตลกร้ายปนขำ แต่มันแย่หน่อย
เพราะความขำนั้น มักจะชวนให้ขำไม่ออกกับความจริงที่ซากิได้พูดไป แม้ไม่มีใครตาย
แต่หน้าตายของเธอ บางทีก็ทำให้นึกถึงแม่บ้านมิตะจากKaseifu no Mita หรือครูมายะในQueen's Classroomได้เช่นกัน








Where's you Itadakimasu?

(ไหนละคำว่า "อิทาดาคิมัส")

Why do we've to say such a think for?

(ทำไมพวกหนูต้องพูดด้วยละ?)

That's because you weren't the ones who made this and
it also wasn't bought with money you had earned.

(นั่นก็เพราะว่าพวกเธอเอง ไม่มีใครสักคนที่ลงมือทำอาหารพวกนี้
และอาหารพวกนี้ ก็ไม่ซื้อมาด้วยกระตังค์ของที่หาด้วยน้ำพักน้ำแรงของพวกเธอ)

Besides,it's only natural to show your gratitude to saying
"ITADAKIMASE"

(นอกจากนี้ โดยธรรมชาติแล้วมันแสดงถึงการสำนึกรู้คุณของพวกเธอเอง
ที่จะเอ่ยคำว่า
อิทาดาคิมัส)







ซีรีย์พยายามเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเป็นเปลือกนอกที่ห่อหุ้ม แต่กับชั้นในแล้วเป็นคนละอย่าง
ซากินางเอกที่อย่างไรเสีย คนภายนอกก็ต้องมองดูว่าเป็นคนขี้แพ้ แต่จริงๆแล้วชีวิตเธอไม่เคยสิ้นหวัง
ซึ่งเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่ทำให้เธอดูแกร่ง คือ ความพยายามสร้างบุคลิกที่เรียกได้ว่า robotic behavior
ที่ดูเหมือนจะไม่รู้ร้อน รู้หนาวต่อสิ่งกระทบกระเทียบผัสสะให้เกิดวิญญาณธาตุใดใด ซึ่งภายในใจ
หาได้เป็นอย่างนั้นสักทีไหน และสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการระเบิดอารมณ์ออกมา
ซึ่งวิถีชีวิตของเธอจะดูไปต่างจากคนข้างกายทั้งสาม ไม่ว่าจะเป็น ริโกะที่แต่งงานมีครอบครัวเป็นตัวเป็นตน
มีลูกทันใช้มีผัวทันขับขี่ ไอดะที่เป็นถึงสารวัตรลูกท่านผู้กำกับ หรือแฟนหนุ่มมาซาโตะที่สอบทนายได้
แต่ก็เป็นเพียงหน้าฉากที่ดูสวยหรูตามหน้าตาทางสังคม ทว่าเนื้อในแล้วคนทั้งสามต่างอกตรม
โดยเฉพาะแฟนหนุ่มมาซาโตะ ยอมที่จะถูกกลืนไปกับนโยบายของทางบริษัทเพื่อความอยู่รอด
ซึ่งมีผลให้ชีวิตคู่ระหว่างเขากับซากิ จำต้องแยกทางกันสักระยะ ก็จะเป็นการเปิดช่องให้
ซากิใช้ชีวิตอย่างอิสระตัวคนเดียว และมีเวลาที่จะได้เรียนรู้ชีวิตอีกด้านถึงมิตรภาพใหม่
ที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะไม่มีพันธะในแง่ที่จะครอบครอง แต่เป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ไม่มีความเห็นแก่ตัว มีแต่ความบริสุทธิ์ใจที่จะช่วยเหลือ ซึ่งก็จะเป็นเหตุให้แฟนหนุ่มมาซาโตะ
ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนความขุ่นข้องหมองใจของตัวเอง ทว่าการกลับมาครั้งนี้ก็ไม่ใช่เรือ่งง่าย
เพราะเขาต้องมาพบกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง ไอดะ ที่มีทีท่าว่าจะทีเล่นทีจริง
และทุ่มใส่อย่างสุดตัวกับสาวบุคลิกพิเศษที่มีเสน่ห์แบบเป็นตัวของตัวเองโคตร







l was able to get back the friends l had lost.Help me.

(ฉันไม่สามารถกลับไปมีเพื่อนอย่างเก่าอย่างที่ฉันเคยมี โปรดช่วยฉันด้วย)

l guess that without you two.l just can't do it.

(ฉันเดาว่าการปราศจากเธอทั้งสอง ฉันจะไม่สามารถทนรับมันได้)

Those two started taking steps to live their own live.

(ต่อไปเธอทั้งสองคงจะก้าวไปตามหนทางชีวิตของตัวเธอเอง)



ถึ
งกระนั้น ซีรีย์ก็ดูจะไม่ค่อยมีน้ำหนักในแง่ความสมเหตุสมผลและความน่าเชื่อถือ
ด้วยเหตุผลบางประการ ที่ผู้เขียนคงเล่าไม่ได้ด้วยเข้าข่ายความเป็นสปอยล์
(ถึงแม้อาจจะมีบางคนหาได้แคร์กับจุดสปอยล์นี้นัก-แต่ผู้เขียนแคร์) แต่เห็นโคร่งเรื่องอ่อนอย่างนี้
แต่จะไปได้การชดเชยจาก จุดแข็งของความเป็นบุคลิกภาพของตัวละครที่ชัดเจน
ทำให้สามารถคาดเดาถึงผลที่จะตามมาและเป็นไปของสถานการณ์แม้จะพลิกผันเพียงใด
ก็โปรดมั่นใจได้ว่า ตัวละครหาได้อ่อนไหวตามไปไม่ ....................






ต่ปัญหาโดยสว่นตัวของผู้เขียนเองสำหรับเรือ่งนี้ มีอยู่หลายจุด
อย่างแรก ซีรีย์เรือ่งนี้ผู้เขียนไม่ได้รู้สึกเอาใจช่วยตัวละครเอาเสียเลย แม้จะมาเริ่มต้น
ดูน่าสนใจชวนติดตาม ประเด็นในเรื่องก็ชัดเจนดีไม่อ้อมค้อมอะไรกันมาก แต่ความที่ถูกfit
ค่อนข้างตายตัวของตัวละคร แม้ตัวละครจะมีการพัฒนาไปในแต่ละตอน
ก็เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องไปกับเหตุการณ์ ไม่ได้สอดคล้องในแง่วิธีการที่รู้สึกถูกอกถูกใจ
แต่ประการใด การระเบิดอารมณ์ของซากิในแต่ละตอน แม้จะเป็นการเปิดเผยอารมณ์เบือ้งลึก
ในสภาวะทิ้งตัวแบบเต็มเหนี่ยว ไอ้ช่วงหนแรกหนสองก็ดูเข้าท่าอยู่ แต่พอในท้ายทุกตอน
มันก็ชักรู้สึกเฟ้อๆ แบบที่เคยรู้สึกในGokuzen ที่สุดท้ายครูคุมิโกะต้องมาสลัดผมแกละ
กระโดดลงมาเตะต่อยกับพวกอันธพาล แม้จะเป็นการเปิดใจแต่มันเป็นการเปิดที่เป็นสูตรไปสักหนอย
ไมใช่อะไรหรอก ไอ้ท่าพุ่งมาขย้ำแขนนี้ยังพอทนด้วยฟิวส์สีหน้าเจ๊มาสุดหยุดตรงที่นี้
แต่ไอ้ประเภทมาแหกปากโหว้กว้ากโวยวาย มันทำให้ผู้เขียนต้องลุกขึ้นมาปรับโวลุ่มเสียทุกครั้ง
ถามหน่อยเหอะเพื่ออะไร?ก็เข้าใจนะว่ามันจำเป็น ไม่งั้นจะไม่ได้ลูกจดจำเพิ่มเติมสำหรับตัวละครนี้เลย
ประการต่อมา นอกจากความสมเหตุสมผล โดยเฉพาะในแง่การตัดสินใจของตัวละคร
ที่ยากจะยอมรับอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว (หรือคนญี่ปุ่นเขาเหนื่อยหน่ายกับความมีเหตุผลกันแล้ว)
ผู้เขียนว่าจุดคลี่คลายนี้มันได้ลดทอนความน่าจะชมลงไปเรื่อยๆ
(อันนี้เป็นเฉพาะคนคิดของผู้เขียนฝ่ายเดียว เพราะไปอ่านในเว็บบอร์ดทั้ง dramacrazy
และ jdorama ส่วนใหญ่มันก็บอกถึงความคุ้มค่าอันน่าดูชม
ยิ่งไปดูระดับเรตติ้งของคนญี่ปุ่นด้วยแล้ว ยิ่งใกล้จบเรตยิ่งกระเตื้องดีวันดีคืน)
เลยในตอนท้ายๆ ก็สักดูให้มันจบๆ ไม่ได้อยากรู้หรืออยากลุ้นอะไรว่ามันจะจบลงอีกท่าไหน
ใครจะเป็นใครจะตาย นางเอกจะสอบได้รึไม่? หรือนางเอกจะคลิกกับใคร เรียกได้ว่า
ผู้เขียนอยู่ในสภาพ "หมดลุ้น" มันคล้ายๆกับครั้งที่ได้ชม Kekkon Dekinai Otoko
กล่าวคือ ตัวละครมันเกินเยียวยาที่จะลุ้น เพราะรู้ว่าอย่างไรมันก็คงอัตสภาวะเหมือนเคย
ทางที่ดีที่สุดก็เลย ปล่่อยให้มันดำเนินไปตามใจที่มันอยากจะเป็น สุดท้ายก็เลยกลายเป็น
เรื่องที่สรุปได้เอาเองว่า เพราะความไม่ได้ดั่งใจมันเลยทำให้ตัวละครดูน่าสนใจ
แต่เมื่อไม่สอดคล้องกับเรื่องราวที่น่าใคร่ มันจึงค่อยๆหมดไฟ (แต่ก็ดูจนจบแหะ)
ซึ่งเมื่อมาดูรายชื่อคนเขียนบท ก็อืม....กะเอาไว้แล้วเชียว








มื่อดูโดยภาพรวมแล้ว ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับมาตราฐานที่ดีของผู้เขียนบท
"ยูกาวะ คาซูฮิโกะ" ที่ยังสร้างตัวละครหญิงวัยฉกรรจ์ ให้เป็นตัวละครเอกของเรือ่ง
เหมือนที่ปู่เคยสร้างให้ อามามิ ยูโกะเป็นครูไหวใจร้ายใน Queen's Classroom
สร้างให้ซากิ ไอบุ เป็นสาวสวยหุ่นสลิมในRebound ตลอดจนสร้่างมัตซึชิตะ นานาโกะ
ให้กลายเป็นแม่บ้านลึกลับ ในKaseifu no Mita (ทำให้ผู้เขียนฟันธงได้คร่าวๆว่ายูกาวาซัง
ลุงแกต้องมีปมที่ไม่ชอบขี้หน้าเด็กเป็นแน่) เพียงแต่เรื่องนี้อาจจะทำได้ไม่ถูกใจไปให้สุด
สำหรับผู้เขียนก็เป็นได้มั้ง? เท่าที่สังเกตงานของยูกาวะมักจะถูกใจความมหาชนเสมอ
แต่สำหรับความชอบส่วนบุคคลแล้ว ก็ประมาณหนึ่งซึ่งก็มักหาลูกติจากงานเขียนของปู่
(เพราะผู้เขียนอายุจะหกสิบรำมะล่อ) และกฎข้อหนึ่งที่ผู้เขียนชื่นชมแกมาก คือ
ต่อให้งานจะฮิตเปรี้ยงกระชากเรตติ้งสักแค่ไหน ปู่แกก็ไม่คิดจะเขียนภาคต่อด้วยเหตุผลว่า
มันแสนจะเฟอร์เฟ็กซ์ดีอยู่แล้ว ได้แค่นี้ก็ดีถมปะติเถๆๆ แต่อย่างน้อยๆ
สองส่วนแง่คิดที่ได้จากเรื่องนี้แบบชี้ชัดๆกว่าเรือ่งใดใดสไตลฺ์สุทธิชัย หยุ่น คงเป็นเรื่อง
วิถีที่แน่วแน่ในการดำเนินชีวิต (uncompromising way of life) กับ
คติเรื่องแต่งไปใช่ว่าจะแฮปปี้ (a girl has to be married to be happy)
ซึ่งถ้าสองข้อนี้ใครยังขาดแคลนอยู่ Magerarenai Onna น่าจะเป็นซีรีย์บ่อหน้าที่ดีเรื่องนี้สำหรับใครหลายๆคน........




อ้างอิงข้อมูลจาก

Dramawiki,Wikipedia.Tokyohive,Jdorama








 

Create Date : 11 เมษายน 2555    
Last Update : 17 เมษายน 2555 0:13:20 น.
Counter : 3260 Pageviews.  

My husband(ซูเปอร์lสตาร์ถามหารัก)กับShotgun Marriage(มาแต่งงานกันเถอะ)



กลับมาประจำการอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปพอย่อมๆ สักสองเดือน
ก็เนื่องด้วยธุระราชการงานเข้าให้ต้องเขยิบฝีเท้าข้ามก้าวตะเข็บชายแดนข้ามแม่น้ำโขง
ที่ไม่ใช่เรื่องของการแห่ต้อนรับอดีตนายกฯ แบบพวกมากลากไปแต่อย่างใด
เลยพอให้ได้อ้างว่าเพิ่งไปต่างประเทศมา จึงทำการตั้งหลักขอพักบล็อกสักเดือน
แต่พอไปๆมาๆ เออ!ได้พักสักทีก็เข้าท่าแหะ ทีนี้ชักติดลูกขี้เกียจ เลยต่ออายุเป็นสอง
ทำเป็นว่าน่าอาจจะมีสักเดือนที่สาม-สี่-ห้า งานนี้จึงต้องทำการขุดกรุซีรีย์ญี่ปุ่น
เพื่อมาเป็นงานพักบังหน้า ขนาดที่ซีรีย์ญี่ปุ่นตอนล่าที่ดูแล้วเข้าท่า
ก็เห็นมีสักงานสองงาน จึงจะค่อยจะไล่เลี่ยเพื่อในโอกาสเล่าสู่กันฟังต่อไป


สองเดือนที่แล้ว มีโอกาสหยิบงานซีรีย์เก่าสองเรื่อง
ที่แม้จะมาจากค่ายเดียวกัน แถมเวลาฉายก็ดันเป็นปีเดียวกันซะด้วย
แต่ทว่าพล็อกเรื่องนั้นว่ากันด้วยคนละแนว กระนั้นเสีย! กับมีความสอดคล้องต้องกัน
ในหลายๆประเด็น เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณปูทางว่าสหัสวรรษใหม่จากนี้
ขนบวิธีการเล่าเรือ่งของซีรีย์ญี่ปุ่นนับจากนี้ไป คงจะมีประเด็นหลักใหญ่ใจความ
ในอันที่จะกล่อมเกลาปทัสถานทางสังคมหมู่ใหญ่ ซึ่งพอเอาเข้าจริง
ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ผู้เขียนคิดเสมอไป







เรื่องยุ่งๆ ของคนที่กำลังมีครอบครัว

ย้อนไปในปี ๒๐๐๑ ถือเป็นปีที่ค่ายฟูจิทีวี ได้ออกงานซีรีย์ช่วงกลางปีมาสองชิ้น
หนึ่งที่จะอยากจะเล่า คือMy Husband หรือที่พี่ไทยรู้จักกันดีในชื่อ "ซูเปอร์สตาร์ถามหารัก"
แต่มีโอกาสมาฉายในทีวีไทย ไอทีวีในเดือนเมษา ปี ๒๐๐๓ เป็นเรือ่งของซูเปอร์สตาร์นักร้อง
"ยูอิชิโร่" (ที่แสดงโดย นากาเซะ โทโมยะ นักร้องนำวงTokio) ที่นิตยสารบันเทิงชื่อดังโหวต
ยกให้เป็นเดอะสตาร์หนุ่มแสนเซ็กซี่ที่สาวๆอยากจะเข้าไปโผกอดมากที่สุด
แต่เบื้องหลัง เขากำลังจะแต่งงานมีครอบครัวกับ "ซากุระ" หญิงสาวธรรมดาคนหนึ่ง
ที่ไปพบกันบังเอิญตอนที่ยูอิชิโร่รับการผ่าตัดริดสีดวง จึงเกิดเรือ่งยุ่งๆชุลมุนชุลเก
ระหว่างการปกปิดสถานสมรสเพื่อรักษาความเป็นซูเปอร์สตาร์ กับการเข้าบ้านฝ่ายหญิง
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งในแง่ดีของการไม่ตกเป็นข่าวและพิสูจน์ความเป็นคนธรรมดาของตนเอง






ส่วนอีกเรื่องที่ได้ชมแบบย้อนไทม์แมนชีน คือ Shotgun Marriage
หรือที่น่าจะติดหูคนไทยในชื่อ แต่งงานกันเถอะนะ ฉายในญี่ปุ่นปีเดียวกันกับMy husband
อีกทั้งตอนที่ไอทีวีได้ลิขสิทธิ์ ก็ดันมาฉายแทบจะต่อเนื่องกันกับซูเปอร์สตาร์ถามหารัก
แต่Shotgun Marriage เป็นความรักของคนธรรมดาสามัญ ที่บังเอิญตั้งครรภ์ในช่วงยังไม่พร้อม
แถมฝ่ายชาย "เรียวโนะสุเกะ" (แสดงโดยทาเคโนะอุชิ ยูทากะ Long VacationและBeach Boys)
ผู้กำกับงานโฆษณาเสเพลย์บอยที่จีบสาวไม่เลือก ได้ไปมีอะไรกับ "ชิโยะ" สาววัยยี่สิบ
(แสดงโดยเรียวโกะ ฮิโระสุเอะ จากBeach BoysและLong Vacation)
ที่เขาเองแทบจะจำชื่อไม่ได้และรู้จักกันไม่ดีพอ เพื่อแสดงความเป็นสุภาพบุรษ
จึงต้องแสดงความรับผิดชอบกับพ่อตาอดีตนายตำรวจจอมเฮียบ จนในที่สุดการมีครอบครัว
ก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดีและก่อเป็นความรักที่แท้จริงตามมา






หากดูความรักของฝั่งตะวันตก ส่วนมากมักจะจบกันเพียงแค่เรื่องของคนสองคน
แต่สำหรับซีรีย์ทั้งสองเรื่องที่ว่า ล้วนถ่ายเทน้ำหนักไปยังส่วนของความเป็นครอบครัวขยาย
โดยเฉพาะคนในครอบครัวของฝ่ายหญิง ในShotgun Marriage จะเด่นชัดกว่าในแง่
การทำตัวของการเป็นลูกเขยที่ดีเพื่อให้พ่อตายอมรับ (แสดงโดย ลุงชิบะ ชินอิชิ
จาก The Fast and the Furious: Tokyo Drift และKill Bill Volume 2)
เพราะเริ่มต้นศักราชก็งามไส้ ทำลูกสาวคนเล็กเขาท้องก่อนแต่งยังไม่พอ
ชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน รับจ๊อบโฆษณาเป็นรายชิ้น
มีเพียงรถโพล์กเต่าเก่าๆขับตุงเหรงๆ แม้วัยของชิโนะสุเกะจะล่วงเข้าเลขสามสิบ
ขนาดที่ชิโยะเอง ก็ยังมีโอกาสที่จะใช้ชีวิตผจญกับการทำงานอีกหลายปี
การมีลูก จึงเสมือนเป็นเครื่องเตือนสติให้ทั้งสอง ต้องทำการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง
และปรับเปลี่ยนมาตราฐานการใช้ชีวิตแบบเดิมเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ขณะที่My husband แม้ตัวของยูอิชิโระที่มีดีกรีเป็นถึงซูเปอรสตาร์ชื่อดัง
แต่ก็สร้างความคลางแคลงใจให้กับคนที่้เป็นพ่อตา (แสดงโดยเคน อุทสึอิ จากGokusen)
ที่ไม่ได้ยี่หระถึงความเป็นซูเปอร์สตาร์มีชื่อ มากไปกว่าการเป็นชายที่รักลูกสาวเขาอย่างแท้จริง
ยิ่งประกอบกับอาชีพนักแสดงที่หาเวลากำหนดตายตัวไม่ได้ จึงทำให้ยูอิชิโระมักจะมาสายอยู่บ่อยๆ
ยิ่งเป็นการทำลายกฎวัฒนธรรมความเชื่อเดิมของพ่อตา ที่อยากเห็นสมาชิกของบ้านทุกคน
รับประทานค่ำอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน เรือ่งเล็กๆแค่การหาเวลาให้กับครอบครัวยังทำไม่ได้
แล้วต่อไปเรื่องใหญ่ๆ อย่างการปกป้องดูแลสมาชิกในครอบครัวละ! มักเป็นคำถามที่ตอกย้ำ
ลูกเขยคนใหม่ที่จะมาประจำตระกูลอารางิเสมอ






อันนี้แม้ซีรีย์ทั้งสองเรื่องจะมีความต่างในแง่หมู่มิตรบริวาร แต่สุดท้ายเจตจำนงทั้งสองมีให้เหมือนๆกัน
Shotgun Marriage อาจจะดูมีชั้นเชิงมากกว่า ทั้งในแง่การสร้างประเด็นถกเถียงในทัศนะมุมมอง
ของคนต่างเพศ และลำดับความน่าจะเป็นในช่วงระหว่างวัย (ตอนแรกนึกว่าคนเขียนบทจะเป็น
คุโด้ คันคุโระ ที่เคยเขียนใน Ryusei no KizunaและUnubore Deka แต่พอหาข้อมูลไปกับเป็น
โยชิดะ โนริโกะ ผู้ดัดแปลงบทในDr. Koto Shinryojoสักงั้น) และความน่าย้อนกลับมาดูซ้ำ
Shotgun Marriage ดูจะมีภาษีดีกว่าเพราะเป็นแหล่งรวมนักแสดงสมทบระดับพระเอก
อย่างลุง "อาเบะ ฮิโรชิ" ที่ตอนนั้นยังหนุ่มหล่อเซ่อรับบทเป็นแฟนหนุ่มของพี่สาวนางเอก
พี่สาวนางเอกคนนี้ก็ไม่ใช่ใคร "ยูริโกะ โยชิดะ" จาก101 Marriage Proprosal
ลุงอาเบะจึงพยายามเอาดีทางการสอบกฎหมายเพื่อเป็นทนายความ ด้วยต้องเจอะคู่ปรับ
ดีกรีเป็นถึงคุณหมอบ้านร่ำที่เล่นโดย "ซาวามูระ อิคิ" นอกจากนี้ยังมี"ทสึมาบุกิ ซาโตชิ" ในบท
ผู้ช่วยรุ่นน้องของพระเอก ที่มีทัศนคติรุ่นเก่าฝังหัวของเจ้าคุณปู่ว่า ถ้าเผลอเสร็จหญิงคนไหน
เป็นต้องแต่งงานเป็นเรื่องเป็นราวกับหญิงคนนั้นโดยทันที แถมหญิงไฟแรงคนนั้นก็เล่นโดย
"คาตาเสะ นานะ"จากLast Christmas Bloody MondayและDiplomat Kuroda Kousaku
ดังนั้นเวลาเข้ากล้อง Shotgun Marriage ดูจะเล่นกันเป็นทีมเวิร์ค และที่สำคัญมันก็เวิร์คเสียด้วย
ผิดกับ My Husband ที่จะเป็นการแบ่งตอนกันเล่น ค่อยๆไล่สโค้ปสมาชิกทางบ้านของตระกูลอารางิ
ไปทีละคน ซึ่งการมีสมาชิกบ้านคนใหม่ที่มีดีกรีซูเปอร์สตาร์น่ากอดแต่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องเอาไว้
แม้ทีแรก ทำทีท่าว่าจะสร้างความกระอักกระอ่วนมากกว่าความน่าชื่นชม แต่สุดท้าย
ยูอิชิโระก็เสมือนเป็นตัวประสานความขัดแย้งและความไม่ลงรอยเดิมที่เคยมี ให้กลับกลายเป็น
ความตื่นรู้และตื่นตระหนักของสมาชิกภายใน ที่แม้จะเห็นหน้าค่าตาจนชาชิน
แต่ก็ไม่เคยเปิดเผยความรู้สึกภายในให้ได้รับรู้แก่กัน โดยตัดอคติหรือปมนิสัยที่เคยผิดพลาดน้ันทิ้งไป
ไม่ว่าจะเคย มีลูกนอกสมรส หอบผ้าทิ้งสามี แอบมีชู้กับเจ้านาย ดาวน์คอนโดเตรียมย้าย
หรือไม่มีใครเข้าใจวัยรุ่น เป็นต้น เพราะสุดท้ายก็ไม่มีใครที่จะจริงใจไปกว่าคนในครอบครัว
แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยทรยศ-หักหลัง แต่กระนั้นก็ไม่อาจหลีกหนีสายเลือดเดียวกันนี้ไปได้
กลายเป็นว่า จุดขายนักแสดงสมทบเรื่องนี้มีเพียงเจ๊"ชิโนะฮารา เรียวโกะ" เพียงคนเดียวที่พอรู้จัก
ในบทพี่สาวคนรองนักจัดรายการวิทยุ แต่เจ๊เธอก็เป็นแมวเก้าชีวิต เห็นมายอมรับบทรองๆ
พอมาดูปัจจุบัน เจ๊ก็กลับมารับบทนางเอกตัวเด่นทั้งประเภทกินวัยเดียวกันหรือแม้กระทั่งกินเด็กก็ตาม
(เอาที่ดังๆพอรู้หน่อยก็มี Moon Lover,Haken no Hinkaku,Unfair,Anego
และYankee Bokou ni Kaeru)






พล็อกแบบจับปลาสองมือ เหยียบเรือสองแคม หรือกินรวบทั้งสองงาน
ซีรีย์ทั้งสองเรื่องนี้ ถูกกำหนดให้ชี้ชัดๆแบบเลือกเอาสักทาง และกลายเป็นจุดขัดแย้ง
ที่เป็นการส่งสัญญาณแบบอ่อนๆว่า เวลาแห่งความสุขที่ปูมาตั้งแต่ต้นใกล้ที่จะสิ้นสุดแล้ว
ใน My Husbandนี้ ดูจะพอคาดเดากันออกว่ามันต้องมาในสูตรอีหรอบนี้เป็นแน่
เพราะอย่างไรเสีย ความจริงก็ต้องถูกเปิดเผยวันยันค่ำ การตกม้าตายของซูเปอร์สตาร์
ถ้าไม่ใช่ด้วยระยะเวลาของการเสื่อมไปตามกระแส อีกทางที่หนีไม่พ้นก็คือ
เรื่องของการทำตนเอง แล้วถ้ามองย้อนกลับไปสิบกว่าปีที่แล้ว การประกาศสถานะว่าตัวไม่โสด
ดูเป็นการทำร้ายอนาคตวิชาชีพในวงการบันเทิงของตัวเองอย่างแรง ซึ่งดูผิดกับสมัยนี้
แม้ตัวเรื่องMy Husband ดูจะไม่ได้บีบบังคับให้ต้องเลือก ทั้งในฝ่ายของต้นสังกัดพระเอก
ที่มีได้แต่ไม่อยากให้กระโตกกระตาก จนมาสู่แผนเห็นดีเห็นงานย้ายครัวมาอยู่ในของบ้านศรีภรรยา
และครอบครัวฝ่ายหญิงเองก็อยากที่จะศึกษาบุคลิกน้ำใสใจคอ ถึงตัวตนที่แท้เวลา
ยามที่ถูกถอดหัวโขนจากความเป็นซูเปอร์สตาร์ของยูอิชิโระ
แต่กระนั้น การอ้างโดยนำเอาเรื่องของ "เวลา" ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่เลือนลอยนัก
ยิ่งการที่จะให้ยูอิชิโระรับงานภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ร้อยล้าน ขณะที่มีคิวตารางงานอีกยาวพรืด
ทั้งการเปิดตัวงานเพลง ถ่ายทำโฆษณา ไหนจะต้องไปช่วยจัดรายการวิทยุให้กับพี่สาวนางเอก
ในช่วงที่เกิดปัญหากับสปอนเซอร์ ทว่า ก็ไม่ใช่ปัญหาหลักใหญ่ที่ทำให้ยูอิชิโระต้องเลือก
ระหว่างงานหรือจะเอาครอบครัว เพราะสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการบริหารตารางงาน
และการเข้าอกเข้าใจในอาชีพของสามี อันนี้จะผิดกับ Shotgun Marriage เมื่อเรียวโนะสุเกะ
ต้องถูกเงื่อนไขบังคับให้เลือก ระหว่างโอกาสการถ่ายทำสารคดีในต่างประเทศหนึ่งปีเต็ม
กับการแต่งงาน ที่รวมถึงการอยู่คอยดูแลเอาใจใส่ชิโยะตอนที่ตั้งครรภ์จนถึงเวลาคลอด
ด้วยตลอดทั้งชีวิตของเรียวโนะสุเกะ มักจับเจ่าทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
งานโฆษณาที่ได้ก็มักทำไปตามคำสั่งโดยที่ไม่ได้ใส่ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองลงไป
จนกระทั่ง ได้มีโอกาสผนวกไอเดียสินค้าเข้ากับเรือ่งของการกำเนิดของชีวิตนอ้ยๆ
ที่เป็นดั่งแรงปรารถนาขับดันส่วนลึกลงไป เท่ากับการเปิดใจใส่ความมุ่งมั่นในเนื้องานที่เขาไม่เคยเป็น
คล้ายเป็นการพิสูจน์ตัวตนผ่านชิ้น ที่ไม่เพียงแต่เป็นที่ชื่นชอบทั้งตัวลูกค้าและบริษัทต้นสังกัด
แม้แต่ตัวพ่อตาเอง ก็ยังต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบแต่เเรกเริ่มเสียใหม่ จึงไม่แปลก
เมือ่ตอนที่เรียวโนะสุเกะขอเลื่อนงานแต่งออกไป โดยเลือกขอไปทำตามฝันเมื่อมีโอกาส
พ่อตาของชิโยะจึงโกรธเขามาก ไม่ใช่ด้วยเพราะการปฏิเสธขอเลื่อนงานแต่งเพื่อสานฝัน
แต่เพราะทำไมเขาถึงไม่เอาโอกาสใหญ่ชิ้นนี้ มาปรึกษาว่าที่ภรรยาของเขาเป็นอันดับแรก
แทนที่จะเป็นพ่อตา ซึ่งยังไม่ได้รู้จักเขาดีพอ
จะว่าไป เรื่องนี้ถ้าอาคานิชิ จินกับคุโรกิ เมอิสะได้ชมในตอนนี้ เธอจะได้รู้ว่าจริงๆแล้วอย่าคิดว่าเธํอไม่มีใคร







สองเรื่องมีความต่างกันอยู่บ้าง ในแง่ที่ซากุระบะ ยูอิชิโระจาก My Husband
ดูจะเสร็จสรรพรับคำกับบททดสอบแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ไม่ว่าทางครอบครัวของฝ่ายสาว
จะออกกฎเหล็กพิลึกพิหลั่นอย่างไรก็ตาม เพราะชีวิตที่พร้อมหน้ากันของสมาชิกคนในครอบครัว
เป็นสิ่งที่ยูอิชิโระขาดแคลนมาตั้งแต่เด็ก นอกจากการแต่งเพลงที่เป็นพรสรรค์มาแต่เล็ก
และนั้นก็เป็นสิ่งที่คนภายนอก ต่างสัมผัสเข้าถึงและถูกอุปโลกน์ว่าเป็นตัวตนที่ใช่
จนนำมาซึ่งปัญหาการที่ต้องสวมบทบาท อันอาจจะทำให้ตัวตนอีกด้านหนึ่งที่สะท้อนความเป็นเขาเช่นกัน
ถูกละเลยปกปิดไว้ ซีรีย์คล้ายจะพยายามเบี่ยงเบนให้เห็นว่า ความเป็นธรรมชาติของยูอิชิโระ
ตอนที่ได้สวมแว่น คาดผม และทำตัวออดอ้อนติ๊งต๋อง นั้นเป็นตัวตนที่แท้จริง มีอิสระจากการถูกครอบ
จากงานแสดง แต่สุดท้ายซีรีย์ก็ได้สร้างข้อสรุปที่ว่า ไม่ว่าจะยามที่ออกหน้าสื่อหรือหลังสื่อ ทั้งหมดต่างก็คือ
ตัวซากุระบะ ยูอิชิโระด้วยกันทั้งคู่ มันขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มเปี่ยม
และจริงใจต่อความรู้สึกที่เป็นมากกว่า หากทั้งสองบุคลิกล้วนแล้วต่างสร้างความสุขต่อบริวาร
แวดล้อมและไม่ได้ทรยศกับความปรารถนาที่มุ่งมั่นออกไป และบทบาทแบบสองบุคลิกนี้กระมัง
ที่ตามหลอนให้นางาเซะ มักวนรับบทประเภทนี้ซึ่งงานยุคหลังจากนี้ ก็ดูออกจะเลอะเทอะขาดๆเกินๆ
ไม่ว่าจะเป็น Unubore Deka,My Boss My Hero,Karei naru Spy
แต่ไม่ว่าจะเกินเลยตกทะเลเพียงใด นางาเซะก็งัดการแสดงลูกเวอร์น้ำตาทะลักอย่างสุขล้น
ยากจะหาดาราญี่ปุ่นคนไหนมากินเขายาก ผิดกับฮิราโอะ เรียวโนะสุเกะ ในShotgun marriage
แม้จะไม่แยกร่างอวตารเหมือนสองร่างในแบบที่ยูอิชิโระใน My Husbandเป็น
แต่ความเปลี่ยนจากบุคลิกหนึ่ง ไปสู่อีกบุคลิกหนึ่ง อันี้จะเป็นเรื่องของการพัฒนาตัวละคร
จากคนไม่เอาไหนสักอย่าง จนนำไปสู่ชายที่พูดได้เต็มปากว่ามีความพร้อมที่จะเป็น "พ่อคน"
การได้พบกับชิโยะ (ที่ตอนหลังรู้ว่ามันไม่ใช่ความบังเอิญ) การมีพ่อตาที่เคี่ยวเข็ญ
ได้ปรึกษาชีวิตครอบครัวกับแม่และเพื่อนฝูง เข้าคอร์สอบรมเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์
ก็ทำให้เรียวโนะสุเกะตระหนักรู้ และอยากที่จะรับผิดชอบชีวิตที่มากไปกว่าการมีแค่ตัวคนเดียว
แม้การที่รู้ว่าตัวเองมีลูก จะเป็นสายใยเชิงบังคับในความจำเป็นที่จะต้องมีครอบครัว
สุดท้ายคำว่า "ครอบครัว" ก็เสมือนมีมนต์วิเศษอะไรบางอย่าง ที่ไม่อาจจะทำให้เขาผลักไส
แม้ว่าลึกๆแล้ว เขาจะยังคงรักในความเป็นอิสระและไม่ชอบการผูกมัดใดใดก็ตาม






เมื่อพูดถึงฝ่ายชายยาวเป็นหางว่าว ก็อดที่จะวกมาถึงฝ่ายสาวไม่ได้
ถ้าให้เทียบการแสดงระหว่างชิโยะ ที่แสดงโดยฮิโระสุเอะ กับซากุระ ที่แสดงโดยทาเคโนะอุชิ
ชั้นเชิงและมีบทโชว์ ดูจะตกเป็นของฮิโระสุเอะมากกว่า ขนาดที่ทาเคโนะอุชิ
ดูจะเก็บตัวคุดคู้อยู่แต่หลังบ้าน ไมได้โชว์พลังนักแสดงหน้าใหม่สักเท่าไร
จะว่าไปการโคจรพบกันระหว่างทาเคโนะอูชิ ยูกาตะกับฮิโระสุเอะ เรียวโกะ
ก่อนหน้าก็เคยวนเวียนกันอยู่บ้าง แต่จะเป็นในระดับศักดิ์ที่เรียกฝ่ายชายว่าพี่
ส่วนฝ่ายหลังเรียกน้องสักมากกว่า
นับตั้งแต่Long Vocation จนมาถึงBeach Boys ซึ่งทั้งสองก็เรตติ้งดีทั้งคู่
การได้บทฉันท์สามี-ภรรยาแบบคู่พระคู่นาง แบบที่ฟังตอนแรกก็ไม่น่าเชื่อ
แต่วันเวลา ก็พาให้เทียบรุ่นไปโดยไม่รู้ตัว และบทก็ส่งให้ชวนข้ามรุ่น เพียงแต่
รู้สึกเอาเหลือเกินว่า ทำไมชิโยะที่ตัวฮิโระสุเอะเล่น ถึงดูมีวุฒิภาวะเกินควรจะเป็น
อันนี้ไม่รู้ว่าด้วยบทที่ให้ หรือด้วยความจัดเจนในงานแสดงในช่วงที่พีกสุดๆ
ส่วนทาเคโนะอุชิ ยูโกะ ตอนนั้นก็เพิ่งจะยี่สิบวัยกำลังใสได้ทีเลย ผิดกับตอนนี้
ที่ซีรีย์เรื่องล่าสุดแห่งค่ายฟูจิทีวี Strawberry Night ในบทสารวัตรนักสืบเรอิโกะ
หน้านี้นี่โคตะระตะบึง ดุเดือด จริงจัง ผิดกับคนละเรื่องไปเลย


แต่ถึงจะเป็นซีรีย์ส่งเสริมข้อคิดเรื่องสถาบันครอบครัวก็เหอะ .........
เอาเข้าจริง ในโลกของความเป็นจริงดาราสาวทั้งสองท่าน ก็หาได้จบลงเหมือนนิยายซีรีย์
ที่ชวนเล่นขับกล่อม ไปด้วยประการทั้งปวง







เมื่อมาประมวลโดยภาพรวมทั้งหมด ซีรีย์สองเรื่องนี้มีความดีความเด่นแตกต่างกัน
เพราะเรือ่งหนึ่งเน้นความสนุกสนานค้างฟ้าที่มีความฝัน อยากจะใช้ชีวิตแบบครอบครัวชนสามัญ
ส่วนอีกเรื่องก็มุ่งเน้นเรื่องราวดราม่าที่เป็นชีวิตของคนสามัญ ที่ต้องเลือกระหว่างความฝันกับ
ชีวิตครอบครัว อย่างไรเสียท้ายที่สุดซีรีย์ก็จบแบบเเฮปปี้แบบไม่ทำลายทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งไป
ถ้าเทียบในแง่ความจี๊ด Shotgun marriage มีลูกจี๊ดๆเก็บลูกซึ้งได้ดีกว่า
อย่าง ฉากฝ่ายหญิงมอบพวงมาลัยโฟล์กเป็นของขวัญ ส่วนฝ่ายชายก็ขายรถโฟล์กนั้น
เพื่อมาซื้อเป็นแหวนหมั้น ช๊อตนี้เล่นเอาจุกได้อยู่เหมือนกัน ฉากที่ชิโยะรู้สึกกลัวเมื่อเห็น
เตียงคนไข้ห่ามแม่ที่กำลังจะคลอด ซึ่งเรียวโนะสุเกะจับความรู้สึกได้ ช๊อตนี้ก็จี๊ด
และอย่างที่บอก อย่าปล่อยให้ลุงยูกาตะมีช๊อตนิ่งๆเพ่งสายตาส่งความคิดเป็นอันขาด
เพราะหมอนี้ มักมีพลังวิเศษให้คนดูต้องถอดรหัสคิดตามได้อยู่เสมอๆ
ส่วนข้อแตกต่างที่ดีของ My Husband ถ้าเทียบเอาหลายๆงานภายใต้การนำของ
พี่โทโมยะ นางาเซะ ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้การแสดงของพี่ท่าน ค่อนข้างจะได้สัดส่วนพอดิบพอดี
(ส่งผลให้ได้รางวัล TDAAตัวแรกในครั้งที่๔๑ ทำให้สายคอเมดี้เปิดกว้างให้เขาอยู่เสมอ)
ไม่ค่อยเหลวไหลเละเทะอย่างที่ผ่านมา ไม่สิ!ที่กำลังจะผ่านไปมากกว่า ซีรีย์มีลูกส่งมากขึ้น
เพราะค่อนข้างเข้ากับชีวิตนักดนตรีที่พี่ท่านเป็นอยู่ เลยทำให้เพลงHitoribotchi no Haburashi
มีความโดดเด่นและติดหู ถ้าถามว่าเพลง insert song ที่ว่านี้ถูกเปิดบอ่ยมากแค่ไหน
ก็ต้องขอบอกว่า ถูกเปิดบ่อยม๊ากๆ แต่แปลกที่จังหวะจัดวางเพลงนี้เพื่อให้เข้ากับเรื่อง
จะถูกจับใส่ได้ตรงเวลา ไม่ได้รู้สึกเป็นการรบกวนหรือยัดเหยียดเหมือนกับบางเรื่อง
และแน่นอน เพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งออริกอนชาร์ตวีกลี ในกลางปี๒๐๐๑ และดูเหมือนจะเป็น
ซิงเกิลแรกของวงTokio ที่ขึ้นอันดับสูงสุด นับตั้งแต่วงเริ่มเปิดท้ายขายซีดี
ก่อนหน้านี้เคยทำได้สูงสุดในอันดับที่สองในชาร์ต ก็นับแต่ในปี๑๙๙๕ กับเพลงที่ชื่อ
Uwasa no Kiss ในอัลบั้ม Bad Boys Bound พอเริ่มมีซิงเกิ้ลขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่ง
เพลงในยุคหลังๆ ก็ได้อานิสงส์ขึ้นชาร์ตสำหรับอันดับหนึ่งอีกหลายเพลงเลยทีเดียว........









อ้างอิงข้อมูลจาก

Dramawiki,Jkdramas and wikipedia





 

Create Date : 01 เมษายน 2555    
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 14:52:23 น.
Counter : 8016 Pageviews.  

One Million Stars Falling from the Sky ดาวล้านดวงร่วงหล่นบนท้องนภา


One Million Stars Falling from the Sky ซีรีย์ในปี ๒๐๐๒ ของค่ายฟูจิทีวี
เป็นซีรีย์ที่ผู้เขียนเคยได้ยินกิตติศัพท์ถึงความบิวเบี้ยวในพฤติกรรมของตัวละคร
และอาการลุ้นสุดท้ายจนจิตตก จึงถือเป็นงานสต้อป ที่รอการมีจิตใจเข้มแข็ง
และบรรยากาศของโลกที่เป็นสีชมพูได้ที่ จนเมื่อบ่ม'รมวิชาจนแก่กล้า
จึงได้เวลาถือฤกษ์ยามดีในปีที่ใครก็กลัวว่าโลกจะแตก เอามันซะเดือนมกราคมด้วยหนึ่งในซีรีย์
ที่ได้ชื่อว่าหม่นหมองเป็นที่สุดเรือ่งหนึ่ง นับตั้งแต่ซีรีย์ญี่ปุ่นได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาปานนั้นเชียว






เมื่อดูจนจบแบบเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า ก็เชื่อแล้วละว่า ....ของเขา แรงจริง!
ผลข้างเคียงที่ผู้เสพย์ก่อนหน้าเป็นอย่างไร ผู้เขียนก็มีอาการไม่ต่างไปจากนั้น
เหตุการณ์เปิดตัวด้วยคดีฆ่าตัวตายของนักศึกษาสาวบนอพาร์ตแมนแห่งหนึ่ง
ซึ่งสถานที่เกิดเหตุการณ์ก็สอดคล้องกับคำให้การที่พอสันนิษฐานให้พอเชื่อได้ว่า
เป็นการตกตึก ส่วนจะเป็นอุบัคิเหตุหรือเพื่อต้องการฆ่าตัวตาย
ก็เป็นเรือ่งที่ต้องพิสูจน์กันต่อไป จะยกเว้นก็เพียงแต่ตำรวจนักสืบ โดจิมะ คันโซ
(แสดงโดยลุงอาคาชิยะ ซันมะ จากKoi no Kara Sawagi) ที่แม้จะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโส
ที่ดูจะไม่ประสีประสากับงานคดีหน่วยฆาตกรรมนอกพื้นที่ แต่ก็รับรู้โดยสัญชาติญาณว่า
คดีนี้ น่าจะมีเงื่อนงำอะไรบ้างอย่างให้ขบคิด ถึงแม้ว่าลักษณะในที่เกิดเหตุดูปกติทั่วไป
ไม่มีการรื้อค้นทรัพย์สินจนเกลื่อนกลาด หรือแสดงอาการต่อสู้จนข้าวของกระจัดกระจาย
อันส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนของสันนิษฐานเบื้องต้น มาเป็นการฆาตกรรม
คันโซ นอกจากด้านที่เป็นตำรวจแล้ว ก็ยังมีเรือ่งให้ต้องกลุ้มใจอีกอย่าง คือ
น้องสาวเพียงคนเดียวที่ยังไม่เป็นฝั่งเป็นฝาสักที โดยอายุกำลังจะย่างเข้าเลขสามสิบ
โดจิมะ ยูโกะ (แสดงโดย ฟุตาสึ เอริ จากchange และSaiyuuki) เพราะที่ผ่านมา
ด้วยนิสัยแก่นแบบลิงทะโมน มีความสนใจในเรื่องวิชาการทางวิทยาศาสตร์
ที่เป็นอุปสรรคต่อการดูตัวเบื้องต้นแล้ว แต่นั้นก็ไม่สำคัญเท่ากับ
แผลจากรอยน้ำร้อนลวกที่เกิดตั้งแต่สมัยเด็ก เพราะถ้าคันโซสามารถปลดระวางในจุดนี้ไปได้
เขาก็จะได้เกษียณชีวิตอาชีพตัวเอง และหันมาเปิดร้านทำอุโด้งอย่างที่ตั้งใจ





ส่วนอีกด้าน บนเรือสำราญอันหรูหรากลางน้ำ
มีงานประกาศหมั้นหมายของคู่บ่าวสาวทายาทนักธุรกิจชื่อดัง นิชิฮารา มิวะ
(แสดงโดยอิกาวะ ฮารุกะ จากSunao ni NarenakuteและFreeter, Ie o Kau)
เจ้าสาวที่ไม่ได้เต็มใจกับงานแต่ง แต่ทำไปเพียงเพื่อให้ธุรกิจของครอบครัวอยู่รอด
กลับกลายเป็นว่า เธอได้ตกหลุมรักกับเชฟหนุ่มกลางงาน คาตาเสะ เรียว
(แสดงโดย คิมุระ ทาคุยะ) เพลย์บอยเจ้าเสน่ห์ที่หญิงติดตรึมไปทั่ว และมีเบื้องหลังชีวิต
ที่แสนเศร้าจากการที่อดีตเคยเป็นเด็กกำพร้า มีเพียงภาพวาดสีเทียนพ่อ-แม่-ลูก
ที่เป็นตัวบ่งบอกว่าครั้งหนึ่งในวัยเด็กเขาเคยมีความสุขอย่างมาก และความสุขนั้น
ก็ถือเป็นความรักครั้งสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่ทุกอย่างจะมืดหม่นลงจนกลายเป็นความด้านชาในจิตใจ
จึงพยายามเติมเต็มความรักจากหญิงสาวไม่เลือกหน้า และหว่านล้อมความรักนั้น
เพื่อประโยชน์ตามที่ตนต้องการ จนเมื่อหมดในสิ่งที่เขาต้องการก็พร้อมที่จะทำลายมันโดยทันที





กระทั่งสองเหตุการณ์เชื่อมเป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากมิวะกับยูโกะเป็นเพื่อนที่สนิทสนมกัน
จึงเป็นเหตุผลให้ยูโกะได้รู้จักกับเรียว ที่กำลังแอบคบหากับมิวะอย่างไม่เปิดเผย
แม้จะพอรู้อยู่ว่าถ้าเรือ่งนี้ รู้ถึงหูของครอบครัวและคู่หมั้นของมิวะ จะต้องเป็นเรือ่งใหญ่แน่
ยูโกะจึงพยายามเตือนสติมิวะ แต่ไม่เป็นผล เพราะมิวะหลงใหลได้ปลื้มกับเรียวแบบหัวปักหัวป้ำ
ขณะเดียวกัน ยูโกะก็ดูเหมือนจะหวาดระแวงในตัวของเรียวอยู่เช่นกัน
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เรียว รู้สึกสนใจในตัวยูโกะมากขึ้น นอกจากประเด็นที่ยูโกะสามารถมองเขา
ทะลุไปถึงก้นลึกของจิตใจ หาได้ด้วยรูปลักษณ์หน้าตาแบบที่ผู้หญิงคนอื่นมักจะมอง
และที่สำคัญตัวเรียวเอง ก็มีแผลเป็นที่เกิดจากน้ำร้อนลวกในวัยเด็กด้วยเช่นกัน





Everybody killed for you.With their own free will.
Then it's no good.There is evidence you.

(ทุกคนที่ต่างลงมือฆ่าเพื่อนาย พวกเขาอาจจะทำด้วยความเต็มใจ
แต่นั่นมันคงไม่ดีนัก เพราะมันจะกลายเป็นหลักฐานมัดมือ)

Although you can trick other people
but you can't fool yourself.You'd better think about it.

(ถึงแม้ว่านายจะใช้มุกนี้ไว้หลอกคนอื่น แต่นายหลอกตัวเองไปไม่พ้นหรอก
เรือ่งนี้นายรู้อยู่แก่ใจของนายดี)

In your heart there's an evil being dwelling.You don't have
the right to be a human.God won't always protect you.

(ในหัวใจของนายมันมีปีศาจที่สิงสถิตย์อยู่ นายไม่มีสิทธิ์ที่แม้จะเป็นมนุษย์
พระเจ้าไม่มีวันปกปอ้งนายไปได้ตลอดหรอก)










หารู้ไม่ว่า การได้รู้จักกับยูโกะเป็นเหตุให้เรียวถูกเพ่งเล็งจากคันโซพี่ชายของยูโกะ
นอกจากความสามารถพิเศษอันอัฉจริยะของเรียว ที่สามารถจดจำการจัดวางสิ่งของ
แค่เพียงเสี้ยววินาที อันจะไปสัมพันธ์กับชั้นวีดีโอชุดของผู้ตายที่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
และยังมีประเด็นที่เชื่อมโยง พอให้เป็นหลักฐานมัดตัวระหว่างเรียวกับผู้ตายได้ นั้นก็คือ
รูปถ่ายหมู่ของผู้จาย ปรากฎชื่อ มิซาชิตะ ยูกิ (แสดงโดยโค ชิบาสากิ จากGalileo
และOrange Days) เพราะยูกิคนนี้ เป็นหนึ่งในหญิงสาวอีกคนที่เรียวกำลังคบหาอยู่
แม้ยูกิเองจะรู้ดีว่า ตัวเรียวเองเป็นผู้ชายหลั๊นล๋าที่คบหาแบบไม่จริงจังกับใครสักคน
แต่ยูกิก็ยอมรับที่จะเลือกคบด้วยความสัมพันธ์เช่นนี้และพร้อมยอมทำตามทุกอย่างตามที่เรียวต้องการ
ซึ่งการได้ทาคุยะมาเล่น ยิ่งส่งเสริมความเชื่อว่าไอ้หมอนี้คงมีเสน่ห์ยั่วยวนใจสไตล์โคโลจญ์
แบบที่ไม่ต้องแอ็คอะไรมากมาย เจ๊นักอ่านโซนแถวนี้ก็กรี๊ดแล้ว แม้ผู้เขียนจะพยายาม
ตอกย้ำความเป็นพ่อลูกสอง-เมียหนึ่ง แต่ก็ดูจะไม่เป็นผล ทำให้คิมูดาร์กที่เคยโพนทะนาว่า
ดาร์กสาดด..แน่แล้วในSleeping Forrest ดูไบร์ทขึ้นเยอะเลย นับว่าเป็นสายนรกออนทัวร์ที่สุด
นับตั้งแต่รีวิวงานของทาคุยะมาหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Love Generation
Concerto Karei naru Ichizoku Long Vacation Karei naru Ichizoku Change Mr.Brain
Engine Spaceship Battle Yamato A Sleeping Forest และ Nankyoku Tairiku








ซีรีย์ดำเนินเรือ่งเปิดทางเหมือนจะมาในแนวคดีฆาตกรรมทั้งดุ้น
แต่อยู่ๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นศึกชิงรักหักสวาทตามวิถีของเมโลดราม่า โดยมีคาตาเสะ เรียว
เป็นศูนย์กลางความรักจากตัวละครหญิงอันหลากหลายของเรื่อง เลยเปิดพื้นที่
ตัวตนด้านมืดของเชฟเรียว ที่ทำทีว่าจะเป็นความรักข้ามชนชั้นอันบริสุทธิ์
แต่ไปๆมาๆกลายเป็นการแบ็คเมล์หักหลัง เพื่อจะหลอกเอาเงินจากความร่ำรวยของอีกฝ่าย
และทำท่าว่าครึ่งเรือ่งแรก นางเอกของเรื่องจะตกเป็นของเจ๊ฮารุกะในบทมิวะไปสักงั้น
ไม่รู้ตกอีท่าไหน กลายเป็นความเต็มใจให้หลอกของตัวมิวะเอง เพราะในตอนนั้นมีเพียง
คนนอกไม่กี่คนเท่านั้นที่ล่วงรู้พฤติกรรมคบผู้หญิงหลายคนของคาตาเสะ เรียว
ซึ่งถ้าไม่ใช่นักสืบตำรวจคันโซ ก็เห็นจะเป็นคู่หมั้นของมิวะที่ไม่ได้แคร์กับงานแต่งสักเท่าไร
แต่ถึงกระนั้นก็ยากที่จะอ่านใจตัวละครเรียวได้อยู่ดี เพราะมีความคาบเกี่ยวกันไปมาระหว่าง
"ด้านที่ดี" กับ "ด้านที่เลว" สร้างจุดถ่ายเทน้ำหนักไม่ให้สุดโต้งไปข้างใดข้างหนึ่ง
จึงกลายเป็นตัวละครเทาๆ ที่แม้แต่ตัวละครก็ไม่เคยที่จะยอมรับกับพฤติกรรมที่เป็นอยู่
แม้จะถูกซักไซ้ไล่เรียงจากคันโซถี่ขึ้นนักก็ตาม






จนกระทั่งซีรีย์มาชัดเจนขึ้นในครึ่งเรื่องหลัง เมื่อประจักษ์พยานต่างๆ
ค่อยๆเข้ารูปเข้ารอย มีการสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานที่ตำรวจนักสืบคันโตพุ่งเป้าเอาไว้
และการค้นพบหลักฐานใหม่ๆที่ตัวคันโซกัดไม่ปล่อยมาตั้งแต่ต้น จนบางทีซีรีย์มีการเปลี่ยนข้าง
เมื่อตำรวจนักสืบคันโซกระทำบางอย่างโดยพลการ บิดเบื้องเส้นแบ่งระหว่าง
ฟากตัวดีกับตัวร้ายจนหมดสิ้น คราวนี้ก็ไม่ใช่มีแค่เรือ่งของคดีเท่านั้น
แต่ยังตามมาด้วย "ภูมิหลัง" ของตัวละครที่มีเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยตรงจุดนี้ผู้เขียนว่า
คนเขียนบทเขาเจ๋งดี! ตรงที่ใช้เหตุการณ์ครึ่งเรื่องแรกเพื่อบอกเล่าความเป็นตัวตน
ในมาตราฐานอีกอย่างหนึ่ง แต่พอเข้าครึ่งหลังกลับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในมาตราฐานอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งไม่ต้องมาอธิบายบอกเล่าลักษณะนิสัยจากปากของตัวละคร
ปล่อยให้คนดูสังเกตและตีความพฤติกรรมตามแต่ละมุมมองกันเอาเอง
และการตีความกันเอาเองนี้แหละ ที่สร้างข้อเถียงไปตามภูมิธรรมของแต่ละบุคคล
ในพฤติกรรมเทาๆที่ไม่มีตัวละครไหนดีสุดและเลวสุด ซีรีย์จึงเดาใจอะไรค่อนข้างยาก
ยิ่งมาเจอะกับพฤติกรรมทีเล่นทีจริงของตัวละคร แบบเมื่อวานเอามีดไล่แทง
แล้วอีกวันมานั่งคุยดีกันเฉยเลย บทสนทนาที่ว่าจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของเรื่อง
ซึ่งจริงๆ มันควรจะแรงผ่านการกระทำที่ได้กระทำไปแล้วด้วยซ้ำ กลับมาญาติดีกันเฉยเลย
ลักษณะการบิดเบื้อนเช่นนี้ มันยังทำให้อนาคตข้างหน้ากลายเป็นเรือ่งการออกผีออกก้อย ที่จะเกิดอะไรขึ้น
ต่อไปอีกก็ได้ เพราะมาตราฐานทางอารมณ์ของตัวละครมันบรรลุสติปัฏฐานขั้นสูงกันหมดแล้ว





Like putting a bird in a cage.Then looking up its heart.

(เหมือนอย่างนกที่ถูกขังในกรง เห็นว่ามันมีชีวิตอยู่ดีอย่างงี้)

Not being able to come out.
Not happy,Not sad,Not hoping,Not trusting,Not loving.

( ไม่ต้องโผบิน ไม่ต้องมีความสุข ไม่ต้องเศร้า ไม่ต้องมีความหวัง ไม่ต้องเชื่อใจ ไม่ต้องมีความรัก)

So l can't be hurt but actually.Maybe l really want to fly.

(ถึงแม้จะไม่เจ็บปวดนักก็ตาม แต่บางทีก็อยากโปรยบินตามปรารถนาของใจสักครั้ง)









และเป็นไปตามที่คาดจากการเกินคาดของนักชมล่วงหน้า
เมื่อเรื่องราวเฉลยจบจนถึงที่สุด อาการใจสลายไปตามตัวละครและหดหู่จิตสลด
จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากหากบังเอิญดันเอาใจช่วยไปตามตัวละคร แต่ผู้เขียนว่า
คนเขียนบทเขาเก่งตรงที่ วางตำแหน่งของตัวละครทุกตัวมีข้อที่ชิงชังและจุดที่ขัดใจ
เพื่อไม่ให้เราหลงรักตัวละครหนึ่งละครใดอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู หรือเก็บไว้เพื่อให้เป็นอุดมคติสอนใจ
เพราะขืนจำใส่ใจไว้ก็บรรลัยเมื่อนั้น กระนั้นก็ไม่ได้ปล่อยให้ตัวละครเป็นสิ่งที่ถูกเกลียดชัง
เพราะลึกๆ ต่างก็มีพันธนาการในวัยเด็กเป็นสิ่งฉุดรั้ง และรอการปลดเปลื้องจากใครสักใคร
ให้เขาได้มีอิสระจากกรอบหรือกรงที่ตัวเองสร้างเพื่อคุ้มภัย ซีรีย์ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องให้
นักแสดงมาเค้นพลังการแสดงแบบกลั่นน้ำตาท่วมจอ เพราะโดยบทของเรือ่งก็ทรงพลังมากพอ
ที่จะกระทุ้งจิตใจเหล่าคนดูที่มีฐานของศีลธรรมและประเพณีอันดีเป็นที่ตั้งอยู่ก่อนหน้า
ซึ่งพอมาค้นประวัติของคนเขียนบท ก็ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไร
"คิตากาวะ เอริโกะ" เธอคนนี้เคยเขียนงานซีรีย์เด่นๆ กระเทือนวงการซีรีย์หลายชิ้น
Long Vacation,Orange Days,Beautiful Life,Love Story และSunao ni Narenakute
ถ้าผู้เขียนต้องได้เกิดเป็นตัวละครแล้ว อยู่ภายใต้อาณัติมือเขียนซีรีย์ท่านหนึ่งท่านใดมาปู้ยี้ปู้ยำ
คนแรกๆที่ขอสงวงนสิทธิ์ก็คงเป็นเธอคนนี้ เพราะเธอมักมีสูตรใส่โศกนาฎกรรมแรงๆผ่านตัวละคร
โดยไม่แคร์เพื่อนตัวละครด้วยกันไม่เท่าไร แต่ไม่เเคร์ใจคนดูนี้สิ! ที่เป็นเรือ่งสำคัญ
ซึ่งในยุคแรกๆ สูตรนี้อาจจะแลศักดิ์สิทธิ์อยู่บ้าง แต่พองานชิ้นหลังๆ สูตรนี้ชักไม่ค่อยเข้าตาแหะ
เป้กก็เยอะ อิหลักอิเหลื่อมก็ไม่น้อย ยิ่งล่าสุดในซีรีย์ทวิสต์รัก Sunao ni Narenakute
เอตะนี้แย่มาก จูริก็หลงมันไปได้อย่างไร เจจุงก็น่าสงสารซะ เทซึจินี้ก็เจ๊อ้วนบุญหล่นทับ
โอ้!จะรันทดประชดชีวิตกันไปถึงไหน ดูแล้วถึงขั้นอึดอัดใจจนต้องกรอกให้จบๆ
เพราะดงดารามันน่ามองซะเหลือเกิน






เคยตั้งข้อสงสัยในคราวที่ดูซีรีย์นายกฯ Change ทำไมทาคุยะกับเอริ
ถึงมีบทพลอดรักกันน้อยจัง เลยมาเข้าใจทันทีหลังจากที่ได้ดู One Million Starsฯ
ก็ออกจะนัวกันซะขนาดนั้น สงสัยว่าตอนที่เล่นในchange เอริคงโปะแป้งพาวเดอร์เก่งขึ้น
ตกกระบนใบหน้าเลยมองไม่ค่อยจะเห็น ผิดกับOne Million Starsฯ หรือบางทีอาจบรรจงแต้ม
เพื่อให้สมสาวแห้วนัดบอดที่มักไม่แคร์เครื่องสำอาง ผิดกับเจ๊โคที่ตอนนั้นยังหน้าใสผมยาวเกือบก้นกบ
ส่วนฮารุกะซัง หลังจากที่ได้แต่งงานเข้าบ้านตระกูลช่างดีไซด์เนอร์ จนได้ลูกสาวไปแล้วหนึ่ง
ก็หาได้ลดทอนจำนวนชิ้นงาน ทุกวันนี้ก็ยังเห็นงานชุกชุมยังกะเพิ่งได้เข้าวงการใหม่ๆ
แต่เสียดายก็แต่ป้า "โตโยต้า มาโย ที่โผล่มาช่วงท้ายเป็นสาวใหญ่ชอบกินเด็ก
สุดท้ายต้องมากินลูกปืนหายตุบวูบจอไปสักงั้น แต่ก่อนนี้เจ๊ถือว่าดาวจรัสงานชุกยุคปี ๙๐
แต่พอแต่งงานกับผู้กำกับชินจิ เอโอยามา โอกาสเป็นนางเอกเจ๊ก็หายตามไปด้วย
ไม่ยักกะเหมือนเจ๊ฮารุกะซังเอาสักเลย





มาย้อนดูประกาศรางวัลTelevision Drama Academy Awards ครั้งที่ ๓๓กันนิดนึงดีกว่า
ผลปรากฎว่า One Million Stars Falling from the Sky ถือเป็นกระดูกเบอร์ใหญ่ของวง
เพราะเล่นเหมาเอาเกือบจะทุกสาขาเท่าที่มี (และมีกระซิบกระซาบมาว่า
ทางผู้กำกับอเมริกาอาจจะฉก "ผลลัพธ์ของเรือ่งนี้ (Sequel) หรือไม่ก็ ดัดแปลง(Remake)
โดยคาดว่าฉายในปี ๒๐๑๓ ลงเป็นแผ่นฟิลม์ ซึ่งก็ไม่รู้จะเป็นฟิลม์ประเภทไหน โดยตอนนี้
ก็ยังห้อยชื่อกำกับเอาไว้่ก่อนว่าThe Night We Became one-วิกิฯแจ้งมาเชื่อได้ไหมไม่รู้?)
ที่ไม่เหมาหมด เพราะว่าฤดูนั้นมีการแทรกของGokuzenแห่งค่ายNTV มาเบียดแย่งไป
ในส่วนของนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (นากามะ ยูกิเอะ) กับ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(มัตซุโมโตะ จุน) และถือเป็นอีกงานแสดงของทาคุยะที่ได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม
ภายใต้บทประพันธ์ของเจ๊เอริโกะเป็นครั้งที่สาม ก่อนหน้านี้ก็เคยได้จาก Long Vacation
และBeautiful Life มาแล้ว ก็หวังว่าช่วงเวลาที่ป๋ายะกำลังมึนลงกับภาวะเป้าคนดูไม่เป็นใจเช่นนี้
โอกาสการกลับมาร่วมงานระหว่างทาคุยะกับเอริโกะ คงน่าจะได้ฟิชเชอร์ลิ่งกันในไม่ช้านี้
เพราะอย่างน้อยๆ ก็เชื่อว่าบารมีที่ทั้งสองสะสมจากปางก่อน ก็น่าจะส่งอานิสงส์ทางเคมีได้ดีเฉกเช่นวันวาน ........







อ้างอิงข้อมูลจาก

Dramawiki ,Wikipedia and Jdorama





 

Create Date : 26 มกราคม 2555    
Last Update : 28 มกราคม 2555 8:37:16 น.
Counter : 5734 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.