A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
Papa to Musume no Nanokakan"เจ็ดวันอลวน ไหนคนพ่อไหนคนลูก"


"อารางาคิ ยูอิ"
นักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง ยังคงเป็นนักแสดงทางเลือกหลักของตัวผู้เขียน
ถึงแม้ว่าระยะหลังๆ ผู้เขียนจะเปลี่ยนเทรนด์ในการคัดเลือกซีรีย์เอนเตอร์เทนสักเรื่อง
โดยอัพคุณภาพในทีมงานเบื้องหลัง อย่าง "คนเขียนบท"
แทนที่จะเป็นหน้าตาของ "นักแสดง" แบบทัศนคติคนเป็นวัยรุ่น
ก็อย่างว่าละครับ วัยมันไม่รุ่นให้เอื้ออำนวยต่อการหาพรรคพวกในระดับเทียบเคียงกัน
เลยไปได้พวกผู้เฒ่าผู้แก่หลบ(ฉาก)ใน แต่จะให้ทิ้งความเป็นเบื้องหน้าในเชิงหน้าตาซะ
คงไม่ต่างจาก การสั่งเมนูอาหารขึ้นชื่อของภัตตาคาร
แต่ดันสะเออะ ละทิ้งโต๊ะอาหารเพื่อขอไปถ่ายรูปคู่กับ 'พ่อครัว' ก็ยังไงๆอยู่




แม้ว่าคุณน้องยูอิ จะเล่นหนังใหญ่ได้ไม่ประทับใจจอร์สสักเรื่อง
เป็นพรีเซ็นเตอร์ขนม ที่ปากคุณน้องเธอจะกว้างกว่าช็อกโกแลตแท่งป๊อกกี้ขบเคี้ยว
อีกทั้ง ซิงเกิ้ลตัวล่าในเพลง 'ฮานามิซุคิ' จะส่งเสียงร้องแหง๊วๆ ดั่งแมวคราง
เทียบไม่ได้เลยกับเสียงร้องตัวแม่ ในฉบับของ นักร้องลูกครึ่งญี่ปุ่น-ไต้หวัน 'ฮิโตโตะ โย'
กระนั้น ผู้เขียนก็สวามิภักดิ์คุณน้องยูอิ ในชื่อชั้นของตลาดซีรีย์ทีวี
ที่แม้จะมีทั้งดีๆและแผ่วๆ แต่ก็เป็นทางเลือกสุดท้าย ในฐานะที่ไม่มีอะไรจะเสีย
แต่สุดท้าย ก็ต้องสะอึกกลืนน้ำลายสักหนึ่งเฮือก
เมื่ออ่านบทคัดย่อของ Papa to Muzume no Nanokakan
ที่เธอเคยฝากผลงานไว้ เมื่อ ปี ๒๐๐๗ ในช่อง TBS
ด้วยพล็อกเรือ่งดันว่า ด้วยปาฏิหาริย์ของการ "สลับร่าง"!!





"สลับร่าง" มันมาอีกแล้วครับ เพราะเมื่อเดือนที่แล้ว
ผู้เขียนมีโอกาสร่ายซีรีย์ทางโทรทัศน์ของค่ายอาซาฮีทีวี ที่ชื่อ "Himitsu"
ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ "ฮิราชิโนะ เคโงะ" (ผู้เขียนนักสืบฟิสิกส์กาลิเลโอ)
ก็มีพล็อกเรื่องว่ากันด้วยเรื่องของการสลับร่าง ระหว่างแม่กับลูกสาว
ที่ยังตาตรึงจนตื่นกลัว เพราะในฉาก 'ห้านาทีสุดท้าย' ก่อนอวสานด้วยดี
ถือเป็นหมัดสวนน็อคแบบไม่ทันตั้งตัว ที่เล่นเอา ทั้ง 'เจ็บและจุก' จนถึงทุกวันนี้
(ยิ่งกว่ารู้วันพิพากษาโลกตามพระคัมภีร์ ที่มีคนถอดรหัสตีความ
ว่าเป็นในส่วนของวันที่ ๒๑ พฤษภาคม แต่พอตื่นมาในเช้าวันที่ ๒๒
ก็ยังเห็นหัวคะแนนในพื้นที่ ขยันเคาะประตูหาเสียงแต่โดยดี)



จนมาชะเง้อ .ซีรีย์ในหมวดหมู่ก็น่าเบาใจ..............
เพราะถูกจัดให้อยู่ใน comedy family อีกทั้งจำนวนการทนพิษบาดแผล
เพียงแค่ ๗ ตอน น่าจะลดทอนอาการบาดเจ็บ หากเกิดความผิดพลาดในการเทียบเก็ง
ถือเป็นการนั่งนับ 'รอยยิ้ม' ของคุณน้องยูอิให้เป็นประเด็น
ซึ่งคุณน้องเอง ก็คงไม่ใจร้ายแบบที่หน้าบึ้งทะมึนไม่จับแจกแบบที่เห็นใน Code Blue





เมื่อดูแบบไม่คาดหวังเนื้อหา มากไปกว่า "หน้าตา"
ผลสัมฤทธิ์จึงไปได้ด้วยดี เพราะครั้งนี้ Papa to Musume no Nanokakan
ถ้าจะให้ถอดความ-ตั้งชื่อ "เจ็ดวันอลวน ไหนคนพ่อไหนคนลูก"
ซีรีย์ที่ว่ากันด้วย ความสัมพันธ์ที่มีช่องว่างระยะห่างของพ่อกับลูกสาวตระกูล "คาวาฮาระ"
พ่อที่ชื่อ "เคียวอิชิโร่" หัวหน้าฝ่ายการตลาดเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่
มีลมหายใจแต่ละวัน ในฐานะมนุษย์เงินเดือน ที่นอกจากลูกสาว
จะไม่ศรัทธาในตัวคุณพ่อแล้ว แม้แต่เขาเอง ก็ชักเสื่อมศรัทธาและตั้งคำถามในการมีชีวิตอยู่



In High School.
l was called the fastest guy on ther rugby team.
(ตอนเรียนไฮสกูล ผมถูกขนามนามว่าไอ้หนุ่มจอมถลาแห่งทีมรักบี้)

Now my deer legs.That everyone feard exites nomore.
(แต่บัดนี้ แข้งอันปราดเปรี้ยว ที่ทุกๆคนเคยหวั่นเกรง มันไม่หมดฤทธิ์ไปแล้ว)

Instead of scrums.l sway to the rhythm of packed train car
for 25 years.
(จังหวะการเข้าทำสกรัม ถูกกวักแกว่งด้วยจังหวะของการโหนรถไฟ กว่ายี่สิบห้าปี)

My house l built with a 30 year loan is a 25 minute walk
away from the station.
(บ้านของผม จากน้ำพักน้ำแรงของการปล่อยกู้มากว่าสามสิบปี คือจุดเริ่มต้น
ในยี่สิบห้านาทีทุกเช้าที่เดินไปสถานี)

People start burning calories so.lt's good for my health
I made excuse to ignore the unconvinence.
(ผู้คนสตาร์ทการเผาผลาญแคลอรี แน่ละมันดีต่อสุขภาพของผม
แม้ว่าการออกกำลังกายฝืนธรรมชาติอย่างนี้ มันอาจจะไม่สะดวกนัก)

Yes l live in a world where no one needs me.
(ใช่แล้วละ ผมอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ที่ๆไม่มีใครต้องการผม)



เพียงแค่ตอนแรก ก็ทำท่าว่าเป็นซีรีย์ที่มีแนวทางเป็นของตนเอง
แบบไม่ต้องคิดตาม ก็อาศัยยถาปัจจุบันของมนุษย์คนเมืองมารู้สึกเอาเองได้
เปิดตัวมา ก็ต้องเรียกว่า "เจ็บจี๊ด"
จึงไม่แปลก ที่ตัวลูกสาวหัวโทนกระเทียมลีบ จะสนิทตีซี้กับคนรุ่นพ่อได้ยากยิ่ง
บทเด็กสาววัยมัธยมช่างฝัน "โคเมะ" ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
เพราะทางทีมงานเขาหมายหัว คุณน้อง "อารางาคิ ยูอิ" มาตั้งแต่ต้น
ยามที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับทางพ่อ เธอจึงมักจะอาศัยเข้าทางแม่
เพื่อไปกระทบชิงทางพ่อ ให้พูดแทนเสมอๆ




Let your dad offer.
(ไปขออนุญาติพ่อก่อนสิลูก)

but it's been a year no.....,2 year. l'm getting a narrows.
Mom.Ask him for me too.
(แต่มันไม่ได้พูดเป็นปี....ไม่สิ สองปีเห็นจะได้ อึดอัดใจจริงๆ
งั้น ....งั้น......แม่ช่วยอนุญาติพ่อแทนหนูด้วยละกัน)



แล้ว อีหนูโคเมะ ก็เชิดตูดใส่กระถืบเท้าขึ้นบันไดห้องตัวเองโดยพลัน .....



ซึ่งปัญหา 'เราเข้ากันไม่ได้' นี้ เริ่มจะไม่ใช่แค่ พ่อกับลูก เท่านั้น
แม้แต่ปัญหานี้ คุณแม่ท่าน ก็ระอาใจ



Aren't things going in the wrong order?
First ,She is suppore to talk this over with the head of the house.
(ทำอย่างงี้ มันไม่ถูกนะแม่
อันดับแรกเลย เพราะแม่นั่นแหละที่ไปให้ท้ายลูก จนลูกสาวมันไม่เห็นหัวพ่ออยู่ในสายตา)



ก็เลยถูกคุณภรรยา สวดกลับเปรี้ยงกลับไปแบบไม่ต้องติดว่า....


That's exactly why she hates you.
(นั่นแหละ ที่เป็นเหตุผลว่าทำไมลูกสาวถึงเกลียดคุณ)




จนกระทั่ง แผนกระชับมิตร ระหว่างพ่อกับลูกสาวเลยบังเกิดขึ้น
โดยอาศัยการไปเยี่ยมคุณยายที่ต่างจังหวัด อันเป็นโอกาสที่จะะได้เปิดใจกัน
แต่รูปเกมส์ก็ยังไม่ได้ดีขึ้น จนช่วงขากลับคุณยายจึงมอบตะกร้าที่บรรจุลูกพลับของดีในท้องถิ่น



lt's the legendary peach from the tree
That bears fruit once every ten years.
(มันเป็นลูกพลับในตำนาน ที่จะออกผลิดอกออกผลในทุกๆสิบปี/ครั้ง)



สรรพคุณขนาดนี้ มีหรือที่พ่อลูกจะไม่พร้อมใจกันถือกลับบ้าน
แต่แล้ว ขณะที่กำลังอาศัยขบวนรถไฟในเที่ยวกลับ จนต้องแวะจอดใต้อุโมงค์
ได้เกิดอุบัติเหตุแผ่นดินไหวอย่างหนัก กว่าจะฟื้นมาอีกที
ร่างของพ่อ ก็ได้ไปอยู่ในลูกสาว ส่วนตัวลูกสาว ก็ได้ไปอาศัยอยู่ในร่างของพ่อแทน
และทุกอย่างต่อจากนี้ ก็จะเอวังในความอลวนด้วยประการละฉนี้





อย่างว่า สูตรสลับร่างสร้างโชค (?) แบบนี้ จะหลีกหนีพล็อกหลักไปได้ที่ไหน
โดยรวมแล้ว Papa to Musume ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ในเนื้อหาและวิธีการ
ทำให้นึกถึงซีรีย์สลับร่าง (switched-body) บูชาครู อย่าง After School
ที่คนร่วมสมัยวัยโดดเรียนรุ่นก่อน รู้จักกันใน "สลับร่างสร้างรัก" ที่ทางช่องสามจัดไว้ซะบ่าย
(ใครยังจำ โคเฮ ไอ้หนุ่มมือกีต้าร์ กับ อาซึสะ ไฮโซผมยาว กันได้ยกมือขึ้นหน่อย!)
เพราะอาจเรียกได้ว่า ฝืนวิญญาณโครงสร้างกันแทบไม่มีตก
ปักหลักด้วย 'ความสัมพันธ์ที่ระหองระแหง' จนเกิด 'ปมอคติ'
จากนั้นก็หา 'สิ่งอุบัติการณ์' เพื่อเข้าสู่การ 'สลับร่าง' (ถ้าเข้าสายคอเมดี้ ต้องให้ต่างเพศ)
อันจะนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ 'ถ้าเป็นเขาแล้วเราจะรู้สึก' เป็นการสร้าง 'จิตสำนึกร่วม'
จากนั้นที่เหลือก็รอเวลา 'คืนกลับร่าง'




Papa to Musume ฯ ดูจะให้น้ำหนัก กับในส่วนของ "ภารกิจ" (mission) เป็นพิเศษ
เป็นภารกิจเฉพาะที่ตกค้างไว้ ก่อนการสลับร่าง
ไม่ว่าจะเป็นตัวพ่อเคียวอิชิโระเอง ที่จะต้องทำเดธไลท์เสนอผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ต่อหน้าท่านประธานใหญ่
ขณะที่ลูกสาวฮินะเอง ก็กำลังพัฒนาความสัมพันธ์ระยะแรกเริ่มกับรุ่นพี่เคนตะ (รับบทโดย
ชินเกอากิ เคนโตะ จาก TROUBLEMAN) และไหนจะเรื่องสอบเก็บคะแนนระหว่างภาคอีก
แน่นอนว่า 'โจทย์' ยังคงเหมือนเดิม แต่ 'ตัวแก้' นั่นไม่เปลี่ยนไป
(ซึ่งคงเข้าใจว่า 'ตัวช่วย' จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้ นอกจาก 'พ่อ-ลูก' ต้องมานั่งสุมหัวแก้ปัญหากันและกัน)
หนทางจะมุ่งเสนอไปในทาง 'วิธีการใหม่' ซึ่งอาจจะทำให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มประหลาดใจ
และตามไม่ทัน ด้วยยังยึดอยู่กับรูปแบบวิธีการเดิมๆ แต่จะไปได้ 'ความสด' ที่ดูตื่นตา
สูตรแบบนี้ สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการตามลุ้นแบบแผนที่ไม่ใช่ 'ของตาย' ในแบบเดิมๆ
ก็แน่ละ เวลาชมซีรีย์ในทิศทางนี้มันจะแลสนุกก็ตาม (โดยเฉพาะในยามที่อีกฝ่าย
ต้องรีบบึ่งแจ้นกลัวว่าอีกฝ่ายจะเห็นเรือนร่างอันโสภา แม้จะทำมาเป็นมาควบคุมจริงก็เหอะ
นึกว่าจะคุมได้ทุกช่วงเวลาเหรอ?) แต่อดไม่ได้ ถ้าจะมองในแง่ชีวิตจริง
เราคงไม่อาจจะทนแรงต้านและปัจจัยความเสี่ยงเหมือนอย่างซีรีย์
เพราะในชีวิตจริง จะเป็นคอเมดี้ที่ตลกได้ อาจต้องรอการสมานหายใจ
แล้วยอ้นกลับมามอง เมื่อแก่เพิ่มไปอีกสิบปี





ต่อมอารมณ์คอเมดี้สลับร่างไหนๆ ไม่ว่าจะเป็น himitsu หรือ afterschool
หนีไม่พ้น ยามที่คนอื่นเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร จึงเข้าสู่หมวดตีบทร่างที่เป็นให้แตก
(ซึ่งก็มักพยายามแสดงอย่างประติประเจ่อ กลบได้ไม่เนียน)
หรือความพยายามที่จะบอกความจริง ซึ่งก็รู้ว่าคำตอบนั้นไม่น่าเชื่อถือสำหรับบริวาร
เลยกลายเป็นความขบขันซ้อนในซีรีย์แนวขบขัน ซ้ำกันเข้าไปอีก
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม พอเป็นซีรีย์คอเมดี้ญี่ปุ่นด้วยแล้ว ต่อให้เบาสมองเพียงใด
ก็มักจะมีคติสอนใจไว้สอดแทรกไว้ ซึ่งต่อให้ไม่ต้องสลับร่าง ก็มักมีจุดลงเอยคล้ายๆกัน
คือ การปรองดองของผ่องเผ่า (Solidarity)





ผู้เขียนไม่ได้รู้สึกเลยว่า "ทากาชิสะ อิการาชิ" ผู้เขียนนิยายต้นฉบับ Papa to Musume
มันจะยอดเยี่ยมขนาดจนต้องมีการถ่ายทำหรือลงมือสร้างในแง่ของรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะ ไม่จำเป็นต้องอ่านบทนิยาย แค่เห็นโครงพล็อกหลัก ก็พอเชื่อได้อยู่ว่า
ตัวคนดูเอง ก็สามารถเพ่งญาณเดาทางใน ลำดับความที่จะเกิดอยู่ภายภาคหน้าได้
หรือถ้าให้แยกห้อง และยื่นหัวข้อไว้เป็นการบ้าน บางทีอาจจะถูกตียกชั้น
เพราะมีคำตอบออกมาคล้ายคลึงยังกับลอกกันมา
โดยทัศนะส่วนตัว ผู้เขียนก็เห็นแย้งกับ คกก. Television Drama Academy Awards ครั้งที่ ๕๔
ที่ยกรางวัลไปได้ไง ให้กับ "ลุงทาชิ" และ "เขียนบทยอดเยี่ยม"
อันแรก พอเข้าใจว่าผู้เขียนเอง อาจจะไม่มีภาพติดตาจากงานชิ้นก่อนๆของลุงทาชิ
(ก็แน่ละ! ลุงมิใช่เป้าหมายในการเลือกชมของผมนิ)
แต่มานึกย้อนอีกที ดูให้ตายก็ไม่ได้รู้สึกกลมกลืนว่าลุงทาชิแก
กำลังถูกสวมวิญญาณลูกสาวอยู่ในร่างแต่อย่างใด ดูอย่างไรก็รู้เลยว่าแกล้งทำ
อาจจะดูจริงจังบ้าง ในกรณีที่น้องยูอิเธอพากย์เสียงความในใจ ขณะที่ภาพก็กำลังฉาย
ทีท่าโอเวอร์แอ็กติงของลุงทาชิที่เป็นลูกสาวอยู่ ยกเว้นว่ารางวัลนี้จะยกให้สำหรับรางวัล
"ช่างทำไปได้" อันนี้ ก็ว่าไปอย่าง.............
ส่วนทีมดัดแปลงบท "อราอิ" "วาตานาเบ้" และ "โตกุนางะ" ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทะเบียนราษฎร์
ที่ไม่กระดิกหูขึ้นสักราย ความแปลกใจในฐานะโผล่มาก็คว้ารางวัล จึงเป็นเรื่องที่อดสงสัยไม่ได้





และเพื่อให้ความเป็นธรรมเช่นกัน ในทางกลับกัน
ผู้เขียนก็ไม่ได้คิดว่า คุณน้องยูอิเธอจะแสดงลูกสาวที่ถูกสลับร่างกับปะป๋าได้เนียนสนิทใจ
หรือจะเรียกง่ายๆว่า "แอ็บแมน" และ "ทำสาว" ด้วยกันทั้งคู่นั่นแหละ
เพียงแต่ เวลาที่คุณน้องยูอิเข้าฉากทีไร มันอาจจะทำให้ใจพองโต (เพ้อบางเล็กน้อย)
ไม่ได้รู้สึกว่า ผู้เขียนลืมความเป็นสถานะมนุษย์เงินเดือน โดยยังหลงคิดไปว่า
กำลังเป็นเด็กเจเนเรชั่นวาย ที่มีนัดติวตอนเย็น และรุ่งเช้าแหกขี้ตาตื่นเพื่อไปลอกการบ้านเพื่อน
ชอบความเป็น อารางาคิ ยูอิ ในโลกของความเป็นซีรีย์ มากกว่าการพลัดพรากจากหน้าจอ
ไปโผล่ในตลับเทป (แม้ชื่ออัลบั้มแสนจะจดจำง่าย Sora , Hug และ Niji ก็ตาม
แถมยอดขายจะไปได้ดี แม้ไม่มีตัวคุณพี่คอยอุปถัมภ์) ตลอดจนโลกของภาพยนตร์
ที่ไม่ว่าทั้ง Sky of Love ไม่เว้นกระทั่ง Hanamizuki (สงสัยไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย)
ส่วนอ้าย Ballad หนังซามูไรยอ้นเวลา ที่คุณน้องต้องไปเล่นคู่กับทซึโยชิ
ก็ดันไม่ยักกะมีแผ่นเข้าตลาดเมืองไทยสักที
จักรวาลแห่งซีรีย์ จึงเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับตัวผู้เขียน ที่จะใช้อายตนะกิเลส
เข้าไปสัมผัสตัวตนแบบหลอกๆ (แต่เต็มใจ)ของคุณน้องยูอิจัง แบบไม่มีอะไรที่ต้องแสลงใจกลับมา





ขณะที่ตัวละคร อื่นๆ ก็ดูเหมือนอยู่ๆ
จะไปได้แรงบันดาลใจ จากที่ไหนมาก็ไม่ทราบ โผล่ทะลึ่งพรวดอยากจะได้ อยากจะมี
ผู้เขียนการกำหนดจัดวางตำแหน่ง เพื่อส่งความขัดแย้งชุดใหม่จากละครชุดเดิม
ซึ่งต้องใช้เวลาปูเรื่อง เขยิบฐานะความสัมพันธ์ที่ค่อยๆเกินเลยในเวลาที่เหมาะสม
ยังทำได้ ไม่น่าเชื่อถือนัก ซึ่งอาจจะไม่ใช่ปัีญหาของซีรีย์แนวคอเมดี้เท่าไร
การปะทุฉุกละหุกขึ้นมาเสียเฉยๆ อย่างฝ่ายลูกน้องออฟฟิคของปะป๋า ไม่ว่าจะเป็น
ตัวเลขานุการ "นิชิโนะ" (รับบทโดย มายูมิ ซาดะ จาก Hana Yori Dango)
ที่เหมือนจะอยู่ฝักใฝ่ฝ่ายดี แต่อยู่ๆก็ดันมานึกปิ๊งกับหัวหน้า เป็นฝ่ายร้ายแก่ครอบครัว
ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า หัวหน้าเขามีครอบครัวเป็นตัวเป็นตน มีลูกสาวพอให้ไปประกวดนางงามอันดับต้นๆ
เพียงเพราะไปซึ้งการหยอดคำหวานที่ให้กำลัง ซึ่งประโยคนี้ปะป๋าแกจะแจกดะเขาไปทั่ว


if you just keep walking forward with your beliefs.
Happiness will be near with person you love.
(เพียงแค่เธอลองก้าวไปยังสิ่งที่เธอเชื่อ ความสุขนั้นก็จะตกแก่บุคคลที่เธอรัก)


หรือ ลูกน้องหัวหน้าอีกคนอย่าง "นากาจิมา" (รับบทโดย โนริโตะ ยาชิมะ จาก
Taiyo to Umi no Kyoshitsu และ Ns' Aoi ) ที่แรกเริ่มเดิมที ก็จะมาตามบทถนัด
แบบตัวเจ้าปัญหา แต่พอมาปุบปับปรับบทสักพัก พี่ท่านก็กลายมาเป็นพ่อหนุ่ม
แอบชอบเลขานุการนิชิโนะสักงั้น ความจริงสูตรผุดๆโผล่ๆอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก
สำหรับซีรีย์ญี่ปุ่นในแนวคอเมดี้เท่าไร เพียงแต่ว่า ผกก.ที่เก๋าหน่อย
เขาจะมีวิธีส่งสัญญาณทำบิ๊วเป็นระยะๆ หรือไม่ก็ใช่ระบบจัดวางที่สอดคล้องต้องกัน
เพื่อรอการเชื่อมต่ออย่างมีนัยยะบางประการ ไม่ใช่ทะลึ่งโผล่ขึ้นพรวด
เล่นเอาตกอกตกใจเสียกลางเรื่อง ซึ่งก็เข้าใจเขาหน่อยว่า
โควต้าเพียง ๗ ตอน ทำได้เท่านี้ ก็ดีถมพอตัวอยู่แล้ว ดูผังรายชื่อผู้กำกับ
ชื่อ "มาโฮโกะ ทากานาริ" อาจเป็นชื่อที่ไม่คุ้นเท่าไรนัก แต่กับ "โยชิดะ เคน"
อันนี้ค่อนข้างแปลกใจ เพราะหมอนี้เคยเป็นผกก.ร่วมใน ซีรีย์
around 40 และ Aikurushii ซึ่งต่างก็เป็นซีรีย์วางหลักวางเหลี่ยมได้ดี
ดีดลูกซึ้งเป็นระยะๆ





แต่ใช่ว่า จะไม่มีสคริปบทสร้างสรรค์นะครับ
papa to musume ก็ยังมีการวางโจทย์ในเงื่อนไขดีๆของตัวละคร
ที่หยิบยกคุณสมบัติ ในฐานะที่ไหนๆก็ถูกสลับตัวเพราะความอร่อยของลูกพลับเป็นเหตุ
อย่างตอนที่ ลูกสาวในร่างของคุณพ่อเคียวอิชิโระ ประการจุดยืนที่จะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์แชมพูตัวใหม่
โดยหันมาเล่นจากตลาดบน (upper-market) มาลงสู่ตลาดล่าง (lower-market)
ด้วยการลดราคาจากสามพันเยน ให้เหลือขนาดเล็กลง จำหน่ายในราคาห้าร้อยเยน แทน
และกำหนดให้มีวางขายตามร้านค้าทั่วไป แทนที่จะเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
เออ...อันนี้เข้าท่าแหะ คือ พูดกลั่นจากความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนของวัยรุ่น
(ก็คือตัวเอง นั่นแหละเพียงแต่อยู่ในร่างของปะป๋า) หรือ ฉากแสดงวันครบรอบการแต่งงานที่คุณลูกไม่เคยรู้
อันนี้ก็เก๋ ในสถานการณ์ก่อนหน้าที่คุณลูกสาวคุเมะ ยุให้แม่เลิกกับพ่อในเร็ววัน
แต่ที่เหลือ ก็เป็นความอ่อนในคอเมดี้ทั่วไป ที่ไม่ให้น้ำหนักกับเหตุการณ์มากเท่าไรนัก
เลยเข้าสู่หมวดซีรีย์เบาสมอง ที่อ่านรู้เกมส์ง่ายไปสักหน่อย
ซึ่้งถ้าตัวละครตีบทสลับร่างได้แตก อันนี้คงเรียกอาการอมยิ้มรับประทานได้มากขึ้นเยอะ




ถ้าไม่คิดอะไรมาก (อยากเว้นตรรกะหลายอย่างที่ชวนคิดมาก ยิ่งเป็นยูอิแล้ว
อาจต้องคิดหนัก) สำหรับแฟนานุแฟนของแฟนตาซีรีย์ที่เคยชื่นเคยชอบ
ซีรีย์แนวสลับร่างอลวน แบบ"สลับร่างสร้างรัก" (after school)
ซึ่งเคยเข้าฉายในทีวีไทยเมื่อวันเวลานานโคตร ตัว papa to musume เอง
ก็เจริญรอยตามสูตรนั่น โดยเฉพาะแง่เงื่อนไขสิทธิพิเศษของคนถูกสลับร่างเป้กๆ
โดยไม่สนว่าจะเป็นการเดินซ้ำรอยกับซีรีย์รุ่นพ่อ แม้กาลเวลาจะล่วงเลย
จนมีช่อง Discovery หรือ History Channel ตามล่าหาความจริงกันแล้ว
เพียงแต่ครั้งกะโน้น (after school) เป็นการสมมติตัวละครหลักของ
ชายกับหญิงคู่หนึ่งในโรงเรียนมัธยมเดียวกัน ส่วนhimitsที่วางแผนได้เหนือชั้นและรัดกุมกว่า
ก็เป็นการเกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูกสาว ออกไปเชิงของtragedy เพราะต้องเสียใครคนหนึ่งไป
จะเเปลกอะไร ถ้าการสลับร่างระหว่างพ่อกับลูกสาว จะเกิดขึ้นบ้างไม่ได้
ซึ่งก็อาจจะอ้างต่อไปได้อีกว่า ยังเป็นการสลับร่างที่ไม่ซ้ำแบบใคร
ถ้านับสูตรเถๆนี้อยู่ในใจ ก็คงเหลือไว้อีกปานเบรอะ ทั้ง การสลับร่างแม่กับลูกชาย พี่กับน้อง
ตุ๊ดกับทอม หัวหน้ารัฐบาลกับหัวหน้าฝ่ายค้าน สายตำรวจกับสายโจร หรือเจ้านายกับสัตว์เลี้ยง
อย่างงี้ก็เท่ากับว่า ยังไม่มีประตูปิดตายสำหรับซีรีย์แนว switched-body ที่ยังมีให้เล่นในจินตนาการของผู้สร้างต่อไป แต่ขอได้ไหมว่าอย่าจำเจ
นี้ขนาด ยังไม่เคยมีประสบการณ์โดนสลับตัวเลยนะเนี่ย ขอบอก........





อวยข้อมูลจาก d-addict


ครั้งหนึ่งเคยรำลึกถึงซีรีย์การสลับร่างระหว่างเพื่อนกับเพื่อนใน after school


ครั้งหนึ่งเคยรำลึกถึงซีรีย์การสลับร่างระหว่างแม่กับลูกสาวใน himitsu



Create Date : 23 พฤษภาคม 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 23:33:01 น. 2 comments
Counter : 4407 Pageviews.

 
เรื่องนี้ดูไว้นานมากแล้วค่ะ ตั้งแต่สมัยเริ่มดูซีรีส์ใหม่ๆ
เลยจำได้ค่อนข้างกระท่อนกระแท่น
รู้แต่ว่าไม่ชอบคนที่แสดงเป็นพ่อเลยค่ะ
(หุหุ กลายเป็นว่าตัวพ่อแสดงเก่งจนได้รับรางวัลซะนี่)
เห็นด้วยค่ะที่บอกว่าตัวพ่อที่ต้องสวมบทลูกสาวแสดงไม่เก่งเลย
ดูยังไงก็ไม่เป็นธรรมชาติ ดูยังไงก็ไม่คิดว่าเป็นกิริยาของเด็กสาว
ดูแล้วรู้สึกกระอัก กระอ่วนชอบกล แต่ประเด็นนี้คงไม่ใช่หัวใจหลักของเรื่องนี้
หัวใจหลักน่าจะเป็นว่าลองมาเป็นฉันดูสักครั้งสิ
แล้วเธอจะเข้าใจว่าทำไมฉันต้องทำอย่างนั้น ทำไมฉันต้องทำอย่างนี้
เหมือนกับที่ว่าพ่อกับลูกสาวไม่เข้าใจกัน แถมไม่ยอมหันมาพูดจากันซะอีก
ก็เลยให้สลับตัวกันซะเลย จะได้รู้จักตัวตนจริงๆของกันและกันซะที
(หุหุ เสียดายที่วิธีแบบนี้ไม่มีอยู่จริง)
แต่ซีรีส์เรื่องนี้ ดูแล้วเข้าข้างลูกสาวมากกว่าพ่อนะ
เหมือนว่าลูกสาวมีความคิดความอ่านดีกว่า และเหมือนว่าจะฉลาดกว่าด้วย
การดำเนินเรื่องก็ไม่ซีเรียสจริงจัง ดูเอาเพลินๆ แต่ไม่สนุกมาก
ส่วนอะรากากิ ยูอิ ก็ไม่ใช่ดาราในดวงใจ ถ้าเป็นจูริล่ะก็อาจตรึงใจมากกว่านี้
และถ้าให้ดี บทพ่อเป็นป๋ามาซาฮารุล่ะก็แจ๋วเลย อิอิ


โดย: มะนาวเพคะ IP: 101.108.77.70 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:17:52:38 น.  

 
แวะมาอ่านบล๊อคเพื่อนๆครับ ว่างๆแวะมาทักทายกันบ้างนะครับ หนังสือพิมพ์


โดย: bbandp วันที่: 4 มิถุนายน 2554 เวลา:7:16:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.