ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
นำขวดพลาสติก มาใส่น้ำดื่มอีกครั้ง เป็นอันตรายจริงหรือ



หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับการนำขวดพลาสติกใส่บรรจุน้ำดื่ม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ขวด PET นั้นว่า หากเรานำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อใส่น้ำดื่ม หรือทิ้งขวดตากแดดไว้นานๆ สาร DEHA (diethyl hydroxylamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ผสมอยู่ในเนื้อขวดพลาสติกนั้น สามารถออกมาปนเปื้อนกับน้ำในขวดได้จนทำให้ใครต่อใคร ไม่แน่ใจในความปลอดภัยและพากันใช้แล้วทิ้งขวดน้ำเหล่านั้นไปอย่างน่าเสียดาย

ขวด PET ที่เราใช้กันมากมายทุกวันนี้ ทำจาก พลาสติกโพลีเอทีลีนเทอเรพทาเลท (Polyethylene Terephthalate) หรือ PET ซึ่งเป็นพลาสติกมีความโปร่งใส แข็งแรงทนทาน เหนียว ไม่แตกง่าย สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ (Gas) ได้ดี และทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เกิน 70 ถึง 100 องศาเซลเซียส ปัจจุบัน เรามักนำไปใช้เป็นขวดบรรจุน้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำมัน น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำยาบ้วนปาก กล่องขนม ฯลฯ เนื่องจากมีความใสที่ใกล้เคียงกับขวดแก้วแต่มีน้ำหนักเบาและมีราคาที่ถูกกว่าแก้ว พลาสติกชนิดนี้จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

วันนี้หลายสถาบันได้ออกประกาศยืนยันความปลอดภัยในการใช้งาน ขวด PET อาทิ สมาคมพลาสติกสหรัฐอมเริกา (The America Plastics Council) ยืนยันว่า “วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขวด PET ไม่มีสาร DEHA เป็นสารประกอบ” ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The US Food and Drug Administration)และองค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Authority) แห่งประเทศนิวซีแลนด์ ก็ออกมายืนยันแล้วว่า “ขวด PET ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร” เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาของสถาบันวิทยาศาตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (Institutional Life Sciences Institute) ที่กล่าวว่า“ระดับความเป็นไปได้ที่สารปนเปื้อนจะแพร่ออกจากขวด PET ต่ำกว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้ และปริมาณของสารปนเปื้อนก็ต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดผลทางพิษวิทยา”

จากคำยืนยันที่กล่าวมา คงช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ ถึงความปลอดภัยในการใช้ซ้ำขวด PET กันได้มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าตังค์กันได้โขแล้ว ถือว่าเรายังจะเป็นอีกแรงที่ได้ช่วยรักษาทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับโลกของเราใบนี้อีกด้วย

ที่มา : พรรณนิภา ไกรลาสนฤมิต จากข้อมูลองค์ความรู้ "สภาวิศวกร"




Create Date : 10 กันยายน 2555
Last Update : 10 กันยายน 2555 8:01:49 น. 0 comments
Counter : 2471 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.