|
เรื่องเค้กเค้ก
เค้ก เป็นขนมชนิดหนึ่งมักจะทำจากส่วนผสมหลัก 4 อย่าง คือแป้ง น้ำตาล ไข่ และไขมัน มีลักษณะเนื้อละเอียดนุ่มรสชาติอร่อย นิยมใช้ในงานปีใหม่ วันเกิดเป็นต้น
ชนิดของเค้กโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.เค้กที่มีส่วนผสมของไขมันเป็นหลัก เช่น เค้กเนย
2.เค้กที่มีไข่เป็นส่วนผสมเป็นหลัก เช่นเค้กถ้วย เค้กญี่ปุ่น
3. ชนิดที่ที่ 2 ผสมกัน เช่น ชิฟฟอนเค้กเทคนิคในการทำเค้กทั่วๆ ไป
เทคนิคการทำเค้กทั่วไป 1.ควรร่อนแป้งทุกครั้งก่อนนำมาตวงเพื่อให้อากาศเข้าแทรกระหว่างเนื้อแป้งทำให้แป้งฟูและเบา ถ้าจะใช้วิธีชั่งก็ต้องร่อนก่อนชั่ง
2.เนยหรือเนยเทียม ถ้าเป็นเนยสดจะตีหรือคนได้โดยง่ายต้องนำออกจากตู้เย็นก่อนนำมาใช้ แต่ไม่ควรนำไปตั้งไฟเพื่อเร่งให้อ่อนตัวเร็วขึ้นเพราะจะทำให้เนยสดละลายและเหลวเกินไปซึ่งไม่สามารถตีให้ขึ้นฟูได้ ถ้าเป็นเนยเทียมหรือมากกลิ่นไม่เก็บในตู้เย็น
3.ในกรณีที่ทำเค้กที่มีปริมาณน้ำตาลสูง มักนิยมตีแป้งกับเนยก่อนจึงเติมส่วนผสมอื่นๆ สำหรับน้ำตาลทรายควรละลายในส่วนผสมของ ของเหลวก่อนแล้วจึงเติมลงในส่วนผสมเพราะจะทำให้เปลือกขนมที่อบแล้วนุ่มขึ้น
4.การตีส่วนผสมเค้กชนิดที่มีไขมันเป็นหลัก ควรใช้พายยางปาดข้างอ่างผสมและที่ตีเสมอๆ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมเข้ากับได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ควรหยุดเครื่องตีก่อนจึงใช้พายปาดทุกครั้ง
5.การเติมไข่หรือส่วนผสมที่เป็นของเหลวควรค่อยๆ เติมลงไปทีละน้อยหรือแบ่งเติมไปทีละส่วน ไม่ควรใส่หมดในทีเดียว ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันแยกตัวออกจากส่วนผสม
6.ในการผสมเค้กในช่วงสุดท้าย มักจะเป็นการผสมนมหรือของเหลวอื่นสลับกับแป้งเป็นส่วนผสมสุดท้ายเพื่อป้องกันการแยกตัวของไขมัน ในส่วนผสมอื่นและเพื่อให้แป้งดูดซึมของเหลวบางส่วนไว้
7.ไข่ไก่ที่เหมาะในการทำขนมเค้กควรเป็นไข่ไก่สด และต้องไม่แช่ตู้เย็น
8.ในการทำเค้กชนิดที่มีส่วนผสมของไข่เป็นหลัก ควรร่อนแป้งลงในส่วนผสมอื่นๆ หรือใช้วิธีตะล่อมแป้งให้เข้ากันทีละน้อย เพราะจะทำให้แป้งค่อยๆ ดูดซึมของเหลวและไม่จับตัวเป็นก้อน ทำให้ผสมกันได้มากขึ้น
9.ในการตีไข่ขาวหรือไข่แดง สำหรับเค้กชนิดที่ต้องตีไข่ให้ขึ้นฟูควรตีด้วยความเร็วสูง จนไข่เริ่มตั้งยอดอ่อนๆ จึงเติมน้ำตาลลงทีละน้อยและเมื่อส่วนผสมของไข่ขาวและน้ำตาล เริ่มฟูเป็นฟองขึ้นจึงลดความเร็วลง ใช้ความเร็วปานกลางเพื่อให้ฟองอากาศยังคงอยู่ในส่วนผสม ข้อควรระวังการตีไข่ขาวนั้นอุปกรณ์เครื่องใช้ทุกอย่างได้แก่อ่างผสมที่ตี พายยางจะต้องสะอาดและแห้งสนิท ไม่เปื้อนไขมัน ไข่ขาวไม่ควรมีส่วนของไข่แดงปนอยู่แม้แต่น้อย
10.ในการอบเค้กทุกชนิด ควรจุดเตาอบให้อุณหภูมิของเตาอบได้ตามความต้องการ ถ้าอบขนมให้มีลักษณะดีเหลือง สม่ำเสมอผู้ทำต้องศึกษาการใช้เตาอบนั้นๆ จนเกิดความเคยชิน
11.การทดสอบว่าเค้กที่อบสุกหรือยังนั้น ทำได้โดย ใช้ไม้ปลายแหลมจิ้มตรงกลางขนมถ้าไม่มีเศษขนมติดไม้ออกมาแสดงว่าสุกและสังเกตุว่าขอบขนมร่อนออกจากพิมพ์โดยรอบ
12.การอบเค้กควรวางพิมพ์ให้อยู่กึ่งกลางเตาอบให้มากที่สุด หรือเมื่อต้องการอบอบพร้อมกันสองพิมพ์ หรือมากกว่านั้น ควรจัดวางพิมพ์ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไม่ควรวางพิมพ์ชิดหรือติดผนังเตาอบถ้าอบทั้งสองชั้น ก็ควรวางสับหว่างกัน
13.ในการรองเค้ก ไม่ควรเปิดเตาอบขณะขนมกำลังขึ้น ถ้าจำเป็นจะต้องเปิดเตาอบดูขนบ ควรเปิดอย่างช้าๆ มิฉะนั้นขนมจะไม่ขึ้น และยุบได้
ลักษณะของเค้กที่ดี 1.สีของผิวรอบนอกควรเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนสม่ำเสมอ
2.สีของเนื้อใน เป็นไปตามส่วนผสมเช่นเค้กเนยก็เป็นสีเหลืองอ่อน เค้กช็อคโกแลตก็เป็นสีน้ำตาล
3.ลักษณะของ ของรอบนอก เรียบสม่ำเสมอกัน
4.การขึ้นฟูเป็นไปตาม ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตได้ น้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของขนม
5.ลักษณะของหน้าขนม มัน เรียบ ไม่นูนเป็นแห่งๆ
6.กลิ่นหอม ชวนรับประทาน เป็นไปตามส่วนผสมที่ใส่แต่ต้องไม่มีกลิ่นหืน
7.ลักษณะของเนื้อในต้องละเอียด ไม่แน่น หนัก มีความชื้น ไม่ร่วนหรือแฉะ
8.มีความนุ่มนวล นิ่มเมื่อเอามือแตะเบาๆ จะสปริงหรือหยุ่นกลับที่เดิม เนื้อจะไม่แน่น
9.รสชาติกลมกล่อมเป็นไปตามส่วนผสมไม่ควรมีรสชาติผิดแผก แปลกออกไป เช่น รถเฝื่อนเป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เค้กเสียและวิธีการแก้ไข
การทำเค้กที่ดีจะต้องอาศัยเทคนิคแล้วยังต้องมีประสบการณ์ สัดส่วนและสิ่งที่ทำอย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเสมอและวิธีแก้ไขดังนี้
1.เค้กหน้าไม่เรียบ ฟู และแตก วิธีแก้ไข ก็คือใช้ที่ปาด(สแปดตูส่ง)แตะน้ำมันพืชทาบนเนื้อขนมก่อนเข้าอบ
2.เค้กยุบตรงกลางเป็นเพราะอุณหภูมิในการอบไม่ถูกต้องใช้ไฟอ่อนหรือไฟแรงเกินไป ควรปรับอุณหภูมิให้ถูกต้อง หรืออาจใส่ผงฟูหรือน้ำตาลมากเกินไป เป็นเพราะเคลื่อนย้ายเค้ก หรือเปิดเตาอบขณะเค้กกำลังขึ้น
3.ผิวหน้าเค้กแฉะ เป็นเพราะอบไว้ไม่สุกดี วิธีแก้ไขควรอบให้สุก ตรวจสอบอุณหภูมิของเตาอบ
4.เค้กที่มีรูใหญ่ๆ เป็นเพราะส่วนผสมแห้งเกินไป ผสมกันไม่ทั่ว เทเค้กลงในพิมพ์ไม่ต่อเนื่อง วิธีแก้ไขควรผสมให้เข้ากันอย่างทั่วถึง เทเค้กลงพิมพ์ให้ต่อเนื่องกัน ไล่อากาศก่อนเข้า เตาอบโดยเคาะพิมพ์เบาๆ หรือใช้พายยางลากไปมาในเนื้อขนมก่อนนำเข้าเตาอบ
5.เนื้อเค้กแห้ง เป็นเพระตีไข่ขาวนานเกินไป หรืออบนานเกินไปวิธีแก้ไขควรตีไข่ขาวถึงจุดที่ต้องการเท่านั้นไม่ควรอบนานเกินไปตรวจสอบอุณหภูมิอย่างถูกต้อง
เครดิต //www.horapa.com/content.php?Category=Bakery&No=350
Create Date : 19 พฤษภาคม 2551 |
Last Update : 19 พฤษภาคม 2551 8:41:21 น. |
|
3 comments
|
Counter : 1431 Pageviews. |
|
|
|
โดย: zalitalin วันที่: 19 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:56:57 น. |
|
|
|
โดย: สุนันทา IP: 58.147.94.11 วันที่: 25 กันยายน 2551 เวลา:12:02:04 น. |
|
|
|
โดย: DASA IP: 58.8.244.243 วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:51:08 น. |
|
|
|
|
|
|
|
อิอิ