All Blog
ทฤษฎีการเรียนรู้บลูม
#ทฤษฎีการเรียนรู้บลูม  #พรรณีเกษกมล
            แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ มีมายาวนาน ตั้งแต่ปี 1956
ทฤษฎีของบลูม หรือ Bloom’s Taxonomy โดย Benjamin Bloom แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามด้านหลัก ได้แก่
            ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) กระบวนการคิดและการเรียนรู้ที่ใช้สติปัญญา ตั้งแต่ การจำ การเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) อารมณ์ ค่านิยม ทัศนคติ ตั้งแต่ การรับรู้ การตอบสนอง การให้ค่านิยม การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อม ๆ กัน ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
 
ส่วนมากจะเน้นว่า เรียนเก่งหมายถึงด้านพุทธิพิสัย การใช้ปัญญา
ที่จะแบ่งจากระดับง่ายหายาก  6 ระดับ ดังนี้
จำ (Remember) การจดจำข้อมูลที่เรียนรู้ไปแล้ว
เข้าใจ (Understand) การเข้าใจและการตีความข้อมูล
ประยุกต์ (Apply) การใช้ข้อมูลในสถานการณ์หรือบริบทใหม่
วิเคราะห์ (Analyze) การแยกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยและเข้าใจโครงสร้างหรือรูปแบบ
ประเมิน (Evaluate) การตัดสินใจหรือการประเมินค่าของข้อมูลหรือโครงการ
สร้างสรรค์ (Create) การรวมข้อมูลหรือส่วนย่อยเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งสมัยใหม่จำเป็นมาก คนที่สร้างนวตกรรมมีโอกาสที่จะก้าวหน้าและร่ำรวยได้อย่างมาก
 
เรียนเก่ง มีลำดับขั้น แน่นอน
จาก จำ เข้าใจ ประยุกต์ วิเคราะห์ ประเมิน สร้างสรรค์
คนเรียนเก่งต้องมีความจำดีเป็นฐาน และผ่านทุกระดับ
จะจำอะไรล่ะ จำทุกอย่างที่เรียนรู้รึ หรือเลือกจำแต่สิ่งที่สำคัญละจำเป็น
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ควรเลือกจำสิ่งใด
 

 
            การเรียนเก่งจำเป็นต้องรู้ และระบุพฤติกรรมที่ชัดเจนในแต่ละระดับได้ เพื่อจะได้ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย
            จะรู้ได้อย่างไรว่า บรรลุถึงขั้นนั้นแล้ว ใช้การวัดผล การประเมินที่หลากหลาย
การฝึกตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิดและการให้เหตุผล
 



Create Date : 07 พฤษภาคม 2567
Last Update : 7 พฤษภาคม 2567 18:20:27 น.
Counter : 61 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments