bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะพระพุทธรูปพระประจำวันศุกร์ ได้แก่ ปางรำพึง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่ พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ความเป็นมา ภายหลังจากที่ตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ 6 พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง (ซึ่งได้เคยบอกเล่ามาแล้ว) ในพุทธประวัติว่า คืนวันเพ็ญเดือน 12 พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 ซึ่งมาเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิประจำวันอาทิตย์

สัปดาห์ที่ 1 พระพุทธเจ้าทบทวนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมายถึงกระบวนการ หรือเหตุ หรือปัจจัยที่ต่อเนื่องกัน จนทำให้ชีวิตนั้นเป็นทุกข์อย่างไร

สัปดาห์ที่ 2 พระพุทธเจ้าทบทวนความเป็นมาหรือแนวทางที่ได้ปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ ในอดีต ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้เป็นปางสมาธิที่มีเรือนแก้วครอบอยู่

สัปดาห์ที่ 3 เสด็จจงกรมตลอดสัปดาห์

สัปดาห์ที่ 4 พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเรื่องอภิธรรมปิฎก อันเป็นเรื่องที่ลึกซึ่งสลับซับซ้อนมาก

สัปดาห์ที่ 5 ประทับเสวยวิมุตสุขอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในพุทธประวัติตอนนี้กล่าวถึงการปฏิเสธหรือการพ้นไปจากตัณหา ราคะ พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่จะปรากฏผู้หญิง 3 คน แสดงท่ายั่วยวนอยู่ที่ฐานพระพุทธรูป

สัปดาห์ที่ 6 เสวยวิมุตสุข โดยมีพญานาคมุจรินท์แผ่พังพานป้องกันฝน

สัปดาห์ที่ 7 พระพุทธเจ้าพิจารณาว่าธรรมที่พระองค์ค้นพบนั้นเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง ที่ยากแก่ปุถุชนคนทั่วไปจะเข้าใจได้ แต่ก็มีบุคคลบางพวกบางเหล่าอาจจะเข้าใจได้

พุทธประวัติในตอนนี้กล่าวว่า สหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาเพื่อแสดงธรรมแก่สัตว์โลกนั้น พิจารณาในเรื่องนี้ สหัมบดีพรหม ก็คือ ผู้มีพรหมวิหาร อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของพระพุทธเจ้า

การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าต่อสัตว์โลก คือ การแสดงถึงพระเมตตาคุณอันสูงสุดที่จะช่วยปลดเปลื้องภาวะแห่งทุกข์หรือสังขารทุกข์แก่สัตว์โลก

ผู้บูชาพระพุทธรูปประจำวันศุกร์ก็หมายถึง การบูชาและนึกถึงพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ อันเป็นพรหมวิหารของพระพุทธเจ้าและน้อมเอาการเมตตา กรุณานั้น มาเป็นคุณสมบัติของตน

หน้า 6

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
คุณชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อาทิตยวารสิริวิบูลย์ค่ะ

Create Date :23 ธันวาคม 2555 Last Update :23 ธันวาคม 2555 14:42:33 น. Counter : 1330 Pageviews. Comments :0