bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์





พระพุทธรูป ปางโอวาทปาติโมกข์




พระพุทธรูปปางนี้แสดงสัญลักษณ์ของการแสดงปาติโมกข์คือ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ พระหัตถ์ขวาซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) นิ้วกลาง บรรจบกับนิ้วหัวแม่มือเป็นลักษณะวงกบ

พระพุทธรูปปางนี้เป็นคติและสัญลักษณ์อันสำคัญของพระพุทธศาสนาเพราะคำว่า ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่รวมวินัยสงฆ์ไว้ 227 ข้อ ที่มีพุทธานุญาตหรือคำสั่งของพระพุทธเจ้าที่ต้องให้พระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกๆ 15 วัน (วันจันทรคติคือวันขึ้น 15 หรือแรม 15 ค่ำ ของทุกเดือน)

พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนานี้ครั้งแรกเมื่อตรัสรู้แล้วประมาณ 9 เดือน ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ในวันมาฆบูชาให้กับพระอรหันต์ซึ่งพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้ทั้งหมด 1,250 รูป นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังแสดงปาติโมกข์ตลอด 20 พรรษาแรกที่ได้ตรัสรู้

สาระสำคัญของปาติโมกข์ก็คือ การละเว้นความชั่ว การทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตให้บริสุทธิ์

หรือพูดอีกอย่างก็คือ อุดมการณ์อันสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ พระหรือบรรพชิต 3 ประการ

ตามความหมายหรือคำแปลจากโอวาทปาติโมกข์ ได้แก่


1. ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

2. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

3. การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ที่นั่งนอนอันสงัด ความเพียรในอธิจิต

นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

หน้า 6


ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
คุณชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อาทิตยวารสิริวิบูลย์ค่ะ
Create Date :07 เมษายน 2556 Last Update :7 เมษายน 2556 10:48:17 น. Counter : 2096 Pageviews. Comments :0