bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์



 

 

 

 

 

 

 

 

 

มีความเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าธรรมจักรเป็นอุทาสิกเจดีย์แบบหนึ่ง ที่หมายแทนสัญลักษณ์ของพระ พุทธเจ้า

แท้จริงแล้วธรรมจักรเป็นธรรมเจดีย์อย่างหนึ่งคือบรรจุคำสอนของพระพุทธ เจ้าที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายของคำสอนหรือการใช้ภาษาภาพแทนคำสอน

ธรรมจักรที่เรารู้จักและเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ รูปวงล้อที่หมุนไป หมายถึงคำสั่งสอนที่หมุนไปในที่ต่างๆ แกนกลางคือหลักของคำสอนที่มีซี่หรือกงล้อ 8 ซี่ หมายถึงอริยมรรคคือหนทางของการปฏิบัติเพื่อพ้นไปจากวัฏสังสาร คือการเวียนอยู่ในทุกข์

สัญลักษณ์ที่สำคัญของธรรมจักรแบบหนึ่งก็คือ ธรรมจักรที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชประมาณพุทธศตวรรษที่ 3

รูปแบบเป็นธรรมจักรที่หมุนอยู่ตรงกลางมีรูปกวาง 2 ตัวอยู่ซ้ายและขวา

ธรรมจักรในรูปแบบนี้แสดงถึงการเริ่มต้นของการประกาศธรรมครั้งแรกของพระ พุทธเจ้า ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ธรรมะที่แสดงเพื่อพ้นไปจากสังสารวัฏของผู้เบื่อหน่ายในวัฏสังสาร ผู้เห็นภัยในวัฏสังสาร ต้องไม่ดำเนินชีวิตอยู่ใน 2 หนทาง คือ

ทางที่หนึ่ง การบำเรอตนด้วยกามคุณ คือ เพลิดเพลินอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์
กับอีกทางหนึ่งก็คือ การทรมานตนให้ยากลำบาก โดยเชื่อว่าเป็นการเผากิเลสคือความอยาก

การที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏก็คือ หลักของอริยสัจ 4 หรือรู้ความจริง 4 ประการ

ความรู้ในอริยสัจ นั้นเรียกว่า ความหยั่งรู้ ประกอบ ด้วยความหมาย 3 ประการคือ

1. รู้ตามความเป็นจริงว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุของทุกข์ อะไรคือการดับทุกข์ อะไรคือหนทางดับทุกข์

2. รู้เรื่องที่ควรทำเรียกว่า หยั่งรู้จริง ได้แก่ การกำหนดรู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรควรละตัดกัน ก็คือ เหตุแห่งทุกข์ อะไรควรทำให้ชัดเจน อะไรคือวิธีปฏิบัติที่ทำให้ ดับทุกข์

3. ความรู้ที่ว่าได้กระทำแล้วเสร็จสิ้นแล้วก็คือ ทุกข์ได้กำหนดแล้ว เหตุของทุกข์ได้ละแล้ว ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว และทางดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

หน้า 6

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
คุณชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

Create Date :02 มิถุนายน 2556 Last Update :2 มิถุนายน 2556 10:19:18 น. Counter : 1149 Pageviews. Comments :0