bloggang.com mainmenu search

ภุมวารสิริสวัสดิ์มานมนัสโชติที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ค่ะ


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
องค์พระนิพนธ์ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพรและหิมพานต์
มีพระนามที่เรียก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ

๑. สมเด็จพระสรรเพชญ
๒. พระศาสดาจารย์
๓. พระศาสดา
๔. สมเด็จพระบรมศรีสุคต
๕. พระบรมโลกนาถศาสดา
๖. สมเด็จพระศรีสรรเพชญ
๗. สมเด็จพระโลกเซษฐ์
๘. สมเด็จพระสิทธัตถะ
๙. สมเด็จพระบรมศาสดา
๑๐.สมเด็จพระผู้ทรงบุญสิริ
๑๑.สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
๑๒.สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์
๑๓.พระบรมศาสดา
๑๔.สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า
๑๕.สมเด็จพระชินศรีสัพพัญญู
๑๖.สมเด็จพระศาสดา
๑๗.หน่อพุทธางกูร
๑๘.พระโพธิสัตว์
๑๙.หน่อพระศาสดา
๒๐.พระบรมพุทธพงศ์โพธิญาณ
๒๑.พระชินศรีโมลีโลก
๒๒.สมเด็จพระบรมนราพิสุทธิ์พุทธางกูร
๒๓.พระบรมราชพุทธพงศ์ผู้ทรงญาณ
๒๔.สมเด็จพระบรมราชรวิวงศ์พงศ์พุทธางกูรเกษกษัตริย์
๒๕.สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์
๒๖.พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ

พระอรหันต์ประมาณห้าร้อยพระองค์ ที่มาประชุม ณ นิโครธารามวิหารบรมพุทธาวาส แต่ล้วนทรงพระปฏิสัมภิทา

พระปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาที่แตกฉาน ๔ คือ

๑. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในอรรถหรือผล
๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในธรรมหรือเหตุ
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในนิรุตติ ได้แก่ภาษา
๔ .ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในปฏิภาณ คือไหวพริบ

ปฏิสัมภิทานี้ เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์บางรูป

พระศาสดาจารย์ ได้ตรัสแด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณยอดธรรมวิเศษ
พระองค์จึ่งตรัสเทศนาพระธรรมจักกัปวัตนสูตร โปรดเบญจวัคคีย์ คือ

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ
๒. พระวัปปะ
๓. พระภัททิยะ
๔. พระมหานามะ
๕. พระอัสสชิ

เมือ่พระพุทธองค์ จะทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติวงศ์ศากยราชนั้น
ทรงทราบพระอัชฌาศัยพระบรมญาติทุกพระองค์ ซึ่งยึดว่าทรงมีพระชนม์แก่กว่าพระพุทธองค์ ไม่ยอมยกมือไหว้ จึงจะทรมานพระประยูรญาติให้ปราศจากมานะทิฐิ พระพุทธองค์ก็เข้าสู่พระจตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ มีอภิญญาณ เป็นที่ตั้ง

ฌาน หมายถึง ความเพ่งอารมณ์ มี ๔ ชั้น คือ
๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ
วิตก (ตรึก)
วิจาร (ตรอง)
ปีติ (อิ่มใจ)
สุข
เอกัคคตา (ความมีอารมณ์อันเดียว)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา อุเบกขา (ความวางเฉย)

อภิญญาณ (อภิญญา) หมายถึง ความรู้วิเศษ ซึ่งเป็นทางพระนิพพาน ๖ คือ
๑. อิทธิวิธี ทำฤทธิ์ได้ต่างๆ
๒. ทิพพโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตของผู้อื่นได้
๔. บุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้
๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเข้าสู่พระจตุตถฌาน มีอภิญญาณ เป็นที่ตั้งแล้ว พระพุทธองค์เสด็จเหาะตรงขึ้นสู่นภากาศ ประดุจจะยังธุลีละอองพระบาทให้เรี่ยรายลงถูกต้องเศียรเกล้าพระวงศาศากยราช เปล่งพระฉัพพรรณรังสิโยภาสรุ่งเรืองสว่าง อย่างพระยมกปาฏิหาริย์ในมณฑลสถานไม้คัณฑามพพฤกษ์ ดูพิลึกมหัศจรรย์

พระฉัพพรรณรังสิโยภาส หมายถึง แสงสว่างพระรัศมี ๖ ประการ คือ

๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒ ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตะ แดงเหมือนตะวันอ่อน
๔ โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ หงสบาท เหมือนดอกเซ่ง หรือหงอนไก่
๖. ปภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

หรดาลทอง คือ สีแดงอมเหลืองเจือทอง
หงสบาท คือ สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง
Create Date :23 มิถุนายน 2552 Last Update :23 มิถุนายน 2552 19:50:02 น. Counter : Pageviews. Comments :0