bloggang.com mainmenu search







ปริวาสกรรม “ปริวาส” เป็นชื่อของสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์

ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “การอยู่กรรม” จึงนิยมเรียกรวมกันว่า “ปริวาสกรรม”

“ปริวาส” นั้นโดยความหมายแปลได้ว่า “การอยู่ใช้” หรือ “การอยู่กรรม” หรือ “การอยู่รอบ” คือ อยู่ให้ครบกระบวนการสิ้นสุดกรรม วิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรม

ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัย ต้องอาบัติ (ต้องโทษ) ”สังฆาทิเสส” ซึ่งอาจจะล่วงโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น

ได้พ้นมลทินหมดจดบริสุทธิ์ ไม่มีเหลือความผิดเครื่องเศร้าหมอง อันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมนั้นมีคำข้องคือ อยู่กรรมและวุฏฐานวิธี มาจากรูปศัพท์ว่า ปริวาสนํ ปริวาโส การเข้าอยู่รอบ ชื่อว่า ปริวาสฯ ปริวาสิยเต ปริวาโส อาการอันภิกษุเข้าอยู่รอบชื่อว่า ปริวาส ปริวาโส อสส อตถีติ ปาริวาสโกฯ

ภิกษุผู้อยู่ปริวาสชื่อว่า ปริวาสิกะฯ (ณิกปัจจัย) แต่เมื่อเวลาพูดหรือใช้จะไม่ใช้ ปาริวาสิกะ (ปา) แต่จะใช้เป็นรูปศัพท์ ปริวาสิกะ แปลว่า การอยู่รอบ

ส่วนคำว่า ปาริวาสิกะนั้น แปลว่า ขนมกุมมาสที่เก็บไว้นาน (ให้ดูวัตร ๙๔ ข้อ-นับเห็น ๘๑ ข้อ ประกอบด้วย) ความเป็นมาของการอยู่ปริวาส

ส่วนการอยู่ปริวาสกรรมนั้น เจาะจงไว้สำหรับบุคคล ๒ จำพวกเท่านั้น คือ ปริวาสกรรมมีเพื่อสำหรับบุคคล ๒ จำพวก

1.ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้วแต่ต้องครุกาบัติ

2.ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์


ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์นี้ เป็นปริวาสตามปกติสำหรับภิกษุผู้บวชอยู่แล้วในพระพุทธ ศาสนา แต่ไปต้อง “ครุกาบัติ” (ต้องโทษ)สังฆาทิเสสเข้า

จึงจำเป็นต้องประพฤติปริวาส เพื่อนำตนให้หลุดพ้นจากความมัวหมอง ตามเงื่อนไขทางพระวินัยและเงื่อนไขของสงฆ์

ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ได้มีการจัดปริวาสหลายครั้งหลายสถานที่ โดยเฉพาะที่เมืองสาวัตถี ซึ่งที่นี่เป็นสถานที่ที่พระอาคันตุกะผ่านเข้าออกบ่อย ๆ จึงทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับพระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ปริวาส

เป็นสาเหตุให้ต้องคอยบอกวัตรอยู่ร่ำไป ไม่เป็นอันต้องทำกิจต้องประพฤติธรรม ไม่ว่าพระอาคันตุกะจะแวะผ่านมาเวลาไหน ทั้งกลางวันกลางคือก็ต้องคอยบอกวัตร

จึงทำให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวาย พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการเก็บวัตรได้ เป็นการชั่วคราวและให้สมาทานใหม่อีกครั้ง เมื่อต้องการประพฤติ(วิ.จุล.๖/๘๔/๑๐๖)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานปรีดิ์กมลค่ะ
Create Date :18 พฤษภาคม 2553 Last Update :19 พฤษภาคม 2553 8:30:37 น. Counter : Pageviews. Comments :0