bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมออกข้างเดียว หรือยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างเสมออก หันฝ่ามือออก เรียกกันว่า ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร

จากพระพุทธประวัติฝ่ายเถรวาท กล่าวว่า มีข้อวิวาทและขัดแย้งกันระหว่างพระญาติ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพระบิดาและพระ มารดา เรื่องการแย่งชิงน้ำจากแม่น้ำโรทิณี ซึ่งกั้นเขตแดนของทั้งสอง พากันเป็นเหตุให้พระญาติทั้ง 2 ฝ่ายยกทัพมาจะรบพุ่งกัน

พระพุทธเจ้าเข้าห้ามปรามทั้ง 2 ฝ่าย และเทศนาเล่าเรื่องของความขัดแย้งที่เกิดกรณีวิวาทเพียงแต่ความไม่เข้าใจกัน และการไม่พิจารณาเหตุผลให้รอบคอบ จนทำให้เกิดความตายขึ้นทั้งสองฝ่ายโดยเน้นให้เห็นเรื่องคุณสมบัติ ความโง่เขลา ของสัตว์โลกหรือนักปราชญ์ ดังว่าดังนี้

คนโง่เขลายังไม่ทันรู้เรื่องราวแจ่มแจ้ง ฟังคนอื่นโจษจันก็พากันตื่นตระหนก พวกเขาเชื่อคนง่าย

ส่วนคนเหล่าใดเป็นนักปราชญ์ เพียบพร้อมด้วยศีลและปัญญา ยินดีในความสงบ และเว้นไกลจากการทำชั่ว คนเหล่านั้นหาเชื่อคนอื่นง่ายไม่

ทั้งนี้ เพื่อเตือนสติของพระญาติทั้งสองมิให้รบพุ่งกัน เทศนาพระสูตรสำคัญที่ชื่อ อัตตทัณสูตรที่ 15 ก็คือเรื่องของภัยของสัตว์ที่อยู่ด้วยตัณหาและทิฐิ การมีสติและสมาธิ และความเพียรที่จะแสวงหาความพ้นทุกข์

คติตรงนี้ก็คือ ท่านจะพบว่าไม่มีอะไรในพระพุทธรูปปางนี้จะเกี่ยวข้องไปกับคำว่า พระประจำวันที่จะทำให้คนเกิดวันจันทร์ คนไหว้พระวันจันทร์จะมีโชคมีลาภตามความเข้าใจของผู้คนทั่วไปในปัจจุบัน

หากแต่จะพบความจริงข้อหนึ่งก็คือ พระพุทธรูปปางนี้คือสัญลักษณ์ของการหยุดยั้งการวิวาท ความขัดแย้ง อันนำไปสู่การทำลายล้างกัน โดยขาดสติปัญญาในการไตร่ตรองปัญหาให้รอบคอบ

ในอีกมุมหนึ่งนั้นนัยยะของพระสูตรอัตตทัณสูตร ก็คือมนุษย์ควรจะใช้ความคิดหรือจิตใจที่ต้องมีสมาธิ มีปัญญาให้รู้ทันกิเลส อารมณ์ ความยินดียินร้าย มีความเพียร ตรึกตรองตามวิถีทางของนักปราชญ์ที่จะพาไปสู่ความพ้นทุกข์

หน้า 6

 

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
คุณชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อาทิตยวารสวัสดิ์วิบูลย์ค่ะ

Create Date :25 พฤศจิกายน 2555 Last Update :25 พฤศจิกายน 2555 12:07:48 น. Counter : 1975 Pageviews. Comments :0