bloggang.com mainmenu search




“มาเอสตา” โดยดูชิโอราว ค.ศ. 1308-1311เป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์กับเทวดา 20 องค์และนักบุญ 19 องค์ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิหารที่เซียนา






“มาเอสตา” โดยชิมาบูเย ในมหาวิหารเซนต์ฟรานซิสแห่งอาซิซิ




จิตรกรรมมาเอสตา (ภาษาอิตาลี: Maestà) “Maestà” เป็นภาษาอิตาลีที่แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปสัญลักษณ์ที่เป็นภาพของพระแม่มารีและพระบุตร ที่อาจจะรวมทั้งนักบุญและเทวดาด้วย

“จิตรกรรมมาเอสตา” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งความปรีชา” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “แมรีในฐานะพระมารดาของพระเจ้า” (ภาษากรีก: Theotokos)

ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์

หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “Maria Regina” ที่เป็นพระแม่มารีนั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระบุตร

ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจาก ศิลปะไบแซนไทน์ เช่นภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏ อุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน

และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สอง ในปี ค.ศ. 565 จิตรกรรมมาเอสตาเข้ามาเผยแพร่ในโรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13

และเน้นความสำคัญของพระแม่มารีมากขึ้น ภาพมาเอสตามักจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วาดบนผนังที่ฉาบด้วยพลาสเตอร์ หรือเป็นจิตรกรรมแผงสำหรับใช้เป็นฉากแท่นบูชา

ถ้าเป็นภาพที่ใช้สักการะเป็นการส่วนตัวภาพก็มักจะลดลงเหลือเพียงพระแม่มารีและพระบุตร


ตัวอย่างจิตรกรรมมาเอสตา

งานจิตรกรรมมาเอสตาชิ้นที่สำคัญที่สุดคืองาน “มาเอสตากับเทวดา 20 องค์และนักบุญ 19 องค์” ที่เขียนราว ค.ศ. 1308 - ค.ศ.1311 ซึ่งเป็นชุดภาพเขียน ที่จ้างโดยเมืองเซียนนา

สำหรับมหาวิหารเซียนนา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1311

งานมาเอสตาที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือ งานเขียนของซิโมเน มาร์ตินิ สำหรับพาลัซโซพุบลิโคในเซียนา และงานของชิมาบูเยในมหาวิหารเซนต์ฟรานซิสแห่งอาซิซิ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสสวัสดิศรีค่ะ
Create Date :19 กุมภาพันธ์ 2553 Last Update :20 กุมภาพันธ์ 2553 7:27:36 น. Counter : Pageviews. Comments :0