bloggang.com mainmenu search




“พระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์และการชื่นชมของแมไจ” จิตรกรรมฝาผนังโรมาเนสก์จากสเปน ราวคริสต์ทศศตวรรษ 1100






งานโมเสกแบบไบแซนไทน์ที่พาเลอร์โมราว ค.ศ. 1150






“การประสูติของพระเยซู” โดย จอตโต, คริสต์ศตวรรษที่ 13 ปาดัวหมอตำแยส่งพระเยซูให้แมรี






“การประสูติของพระเยซู” จากฉากแท่นบูชาบลาเดอลิน (Bladelin-Altar) โดย โรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น (Rogier van der Weyden) ราวหลัง ค.ศ. 1446 การวางองค์ประกอบของภาพเขียนสร้างตามคำบรรยายของนักบุญบริจิต

ภายใต้ทรากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นเพิงอย่างที่ทำกันมาในสมัยก่อนหน้านั้น นอกจากนั้นภายในภาพยังมีภาพเหมือนของพร้อมกับผู้อุทิศทรัพย์ให้วาดด้วย ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน





ศิลปะตะวันตกได้รับอิทธิพลองค์ประกอบบางอย่าง มาจากรูปสัญลักษณ์แบบไบแซนไทน์ แต่มักจะชอบใช้โรงนามากกว่าถ้ำ ยกเว้นงานของดูชิโอที่พยายามใช้ทั้งสองอย่าง ทางตะวันตกหมอตำแยจะหายไป

นักคริสต์ศาสนวิทยาไม่เห็นด้วยกับตำนานนี้แต่การสรงน้ำยังคงอยู่ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมน้ำเอาไว้หรือแมรีอาบน้ำให้พระเยซู ที่ใดที่มีอิทธิพลไบแซนไทน์มาก หมอตำแยก็จะยังอยู่โดยเฉพาะในอิตาลี เช่นในงานของจอตโต ดี บอนโดเน

จะเห็นหมอตำแยส่งพระเยซูให้แมรี ระหว่างสมัยกอธิคจะมีการเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างพระแม่มารีและพระบุตร พระแม่มารีเริ่มจะอุ้มพระเยซู หรือพระเยซูจะมองไปทางพระแม่มารี การดูดนมจะไม่ค่อยสร้างแต่ก็มีบ้างบางครั้ง

ศิลปะตะวันตก

รูปสัญลักษณ์ในสมัยยุคกลางตอนหลังทางตอนเหนือของยุโรปมักจะมีอิทธิพลจากการเห็นภาพ “การประสูติของพระเยซู” ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1303-1373) ซึ่งเป็นตำนานที่นิยมกัน

ก่อนที่จะเสียชีวิตนักบุญบริจิตก็บรรยายว่า ได้เห็นภาพของพระเยซูนอนบนพื้นและมีแสงส่องสว่างออกมาจากพระวรกาย พระแม่มารีมีผมทอง การใช้แสงเงาตัดกันแบบ “chiaroscuro” นิยมทำกันจนถึงสมัยศิลปะแบบบาโรก

รายละเอียดอย่างอื่นเช่นเทียนเล่มเดียว “อยู่บนผนัง” และมีพระเจ้าปรากฏอยู่ด้วยมาจากตำนานของนักบุญบริจิต



ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสสวัสดิ์สิริค่ะ
Create Date :14 กุมภาพันธ์ 2553 Last Update :15 กุมภาพันธ์ 2553 0:12:59 น. Counter : Pageviews. Comments :0