bloggang.com mainmenu search




งานกระจกสี “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ราว ค.ศ. 1240





“พระเยซูที่เสา” ประติมากรรมอิตาลี ค.ศ. 1817





พระเยซูถูกเฆี่ยน (Flagellation of Christ หรือ Christ at the Column) เป็นฉากหนึ่งจากทุกขกิริยาของพระเยซู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู

“พระเยซูถูกเฆี่ยน” เป็นหัวเรื่องของศิลปะคริสต์ศาสนา ที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียน ที่แปลงมาจากทางสู่กางเขน แต่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดดั้งเดิม

คอลัมน์ที่พระเยซูถูกมัด แซ่ หรือไม้เบิร์ชเป็นองค์ประกอบในอุปกรณ์การทรมานพระเยซู (Arma Christi)

สถาบันหลายแห่งอ้างว่าเป็นเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้ รวมทั้งบาซิลิกา ดิ ซานตา พราสเซเด (Basilica di Santa Prassede) ในกรุงโรม ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของคอลัมน์ที่พระเยซูถูกมัด

ประวัติ

เหตุการณ์นี้ปรากฏในสามในสี่ของพระวรสารกฏบัตร และเป็นเหตุการณ์ที่มักจะเกิดก่อนการตรึงกางเขนตามกฎหมายโรมัน ในทุกขกิริยาของพระเยซูเหตุการณ์นี้ตามด้วย “การเยาะหยันพระเยซู” และ “พระเยซูทรงมงกุฏหนาม”

ฉากนี้เริ่มสร้างทางคริสต์ศาสนจักรตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่แทบจะไม่ปรากฏในศิลปะไบแซนไทน์ และหายากในศิลปะของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ไม่ว่าจะในสมัยใด

งานแรกๆ พบในหนังสือวิจิตรและงานแกะงาช้าง ในอิตาลีพบในงานจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่จากคริสต์ศตวรรษที่ 11

องค์ประกอบของภาพมักจะมีด้วยกันสามคนในภาพ พระเยซู และผู้รับใช้สองคนของไพเลทที่ทำหน้าที่เฆี่ยน

ในรูปวาดสมัยแรกพระเยซูมักจะเปลือย หรือสวมเสื้อยาวมองมาทางด้านผู้ชมรูป หรือเป็นฉากที่มองจากด้านหลัง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเยซูมักจะนุ่งผ้าเตี่ยว (loincloth) และหันพระพักต์มาทางผู้ชมภาพ

บางภาพก็จะมีไพเลทนั่งดูการเฆี่ยน และอาจจะมีผู้รับใช้ของภรรยาของไพเลทเดินเข้ามาพร้อมกับจดหมาย

ในปลายยุคกลางจำนวนผู้เฆี่ยนก็เพิ่มเป็นสามหรือสี่คน และลักษณะของผู้ที่เฆี่ยนทางเหนือ ก็เริ่มอัปลักษณ์ขึ้นและแต่งตัวอย่างทหารรับจ้างในสมัยนั้น

บางครั้งก็จะมีแฮรอด อันทิปาส (Herod Antipas) ปรากฏในรูปด้วย การเฆี่ยนทำโดยผู้ที่ทำงานให้กับไพเลท และบางครั้งผู้เฆี่ยนก็จะใส่หมวกอย่างชาวยิว

หลังจากภาพมาเอสตา (Maestà) โดยดูชิโอ การเฆี่ยนก็มักจะทำกันในที่สาธารณะต่อหน้าผู้มามุงดู

นักบวชลัทธิฟรานซิสกัน ผู้เผยแพร่การเฆี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้าใจถึงความทรมานของพระเยซู อาจจะเป็นผู้รับผิดชอบการสร้างกางเขนขนาดใหญ่หลายชิ้น ที่ใช้ในการแห่ที่ด้านหลัง

เป็นภาพการเฆี่ยนและด้านหน้าเป็นพระเยซูถูกตรึงกางเขน และอาจจะมีกลุ่มผู้เดินตามขบวนแห่ ที่เฆี่ยนตัวเองไปพลางที่มองเห็นพระเยซูทรมานนำอยู่ข้างหน้าบนกางเขน

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ฉากนี้ก็อาจจะนำมาสร้างเป็นงานโดดๆ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพในชุดทุกขกิริยาของพระเยซู ในขณะเดียวกันในภาพ “พระเยซูที่คอลัมน์” ก็อาจจะเป็นภาพพระเยซูยืนอยู่คนเดียว

ลักษณะนี้เป็นที่นิยมทำเป็นประติมากรรมในสมัยศิลปะบาโรก อีกฉากหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับฉากนี้ แต่ไม่ปรากฏในพระวรสารกฏบัตรคือฉาก “พระเยซูในคุกใต้ดิน” (Christ in the Dungeon)

ซึ่งมักจะแยกจากฉาก “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ค่อนข้างยาก หรือ ระหว่างฉาก “พระเยซูที่คอลัมน์” กับฉาก “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ก็แยกกันยากเช่นกัน

ในสมัยใหม่ฉากนี้ก็ปรากฏในภาพยนตร์เ ช่นในงานที่สร้างโดย เมล กิบสัน ในปี ค.ศ. 2004 เรื่อง “The Passion of the Christ” และในงานที่สร้างโดย สแตนลีย์ คูบริค (Stanley Kubrick) ในปี ค.ศ. 1972 เรื่อง “A Clockwork Orange”

เมื่อตัวละครที่ถูกจำขังที่แสดงโดยมาลคอล์ม แม็คดาวเวลล์ (Malcolm McDowell) จินตนาการว่าตนเองเป็นทหารโรมันที่เฆี่ยนพระเยซู


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริวิบูลย์ รัศมิสูรย์ส่องจำรูญจรัสค่ะ
Create Date :14 กุมภาพันธ์ 2553 Last Update :15 กุมภาพันธ์ 2553 0:40:49 น. Counter : Pageviews. Comments :0