"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 
14 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

ศิลป์แห่งแผ่นดิน : ในสวนลับ

ศิลป์แห่งแผ่นดิน : ในสวนลับ : โดย...ศักดิ์สิริ มีสมสืบ


 




ศิลป์แห่งแผ่นดิน : ในสวนลับ
*ผมได้รับหนังสือรวมบทกวี “ในสวนลับ” ของ “บลูด้า” เมื่อเดือนที่แล้ว “บุรุษไปรษณีย์” ยังเป็นบุคคลสำคัญสำหรับคนบ้านนอกอย่างผม ผมยังรู้สึกดีต่อการเขียนจดหมายถึงใครบางคน ผ่านบริการส่งถึงผู้รับโดยผู้ชายนาม “บุรุษไปรษณีย์” มีใครแปลกใจบ้างไหมว่าทำไมไม่มี “สตรีไปรษณีย์” หรือ “โพสต์เลดี้” บ้าง
“บลูด้า” เป็นนามปากกาของชายหนุ่ม เกิดและโตที่จังหวัดสมุทรปราการ จบด้านทัศนศิลป์ ตรี-โท ที่ มศว ประสานมิตร ปัจจุบันก็ทำงานอยู่ที่นั่น



“เมื่อคนหนุ่มคนหนึ่งมุ่งเดินทาง ตั้งแต่บัดนั้น
ต้องยอมรับในเบื้องต้นว่าเขากล้าหาญ
กล้าที่จะโบยบินอย่างสำราญ
กล้าที่จะร้าวรานทรมานเพียงลำพัง

เมื่อคนหนุ่มคนหนึ่งมุ่งเดินทาง ตั้งแต่บัดนั้น
ทุกอย่างก้าวขับเคลื่อนด้วยความหวัง
ความสำเร็จ ความล้มเหลว เป็นพลัง
เติมต่อความฝันในทันใด”



“บลูด้า” เริ่มมีผลงานบทกวีใน “โลกศิลปะ” (2548-2549) และบางช่วงในคอลัมน์ “ราชดำเนินแกลเลอรี่” (สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์) เคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารเพื่อชุมชน, เขียนคอลัมน์ดนตรีแจ๊สในนิตยสารต่างๆ (เปิดตัวแล้ว), และประปรายตามวารสาร ลือวรรณกรรมทางเลือก คนหนุ่มคนหนึ่งตระหนักแก่ใจดีถึงหนทางข้างหน้าบนถนนสายกวี
“ในสวนลับ” เล่มนี้ ทำให้ผมย้อนนึกถึงก้าวย่างแรกๆ ของตัวเอง

ผมพิมพ์บทกวีเล่มแรกเมื่อ พ.ศ.2526 (ตุ๊กตารอยทราย) ด้วยทุนรอนของตนเอง ตามด้วย “คนสอยดาว” (2528) และ “มือนั้นสีขาว” (2531) เริ่มเขียนบทกวีอย่างเอาจริงเอาจังตั้งแต่ 2515 เวลาล่วงผ่านไปถึง 10 ปี กว่าจะมีผลงานเล่มแรก

ตุ๊กตารอยทราย (พิมพ์ครั้งที่ 1) พิมพ์ 3,000 เล่ม สามปีผ่านไปขายได้ไม่ถึงสามร้อยเล่ม “คนสอยดาว” ยิ่งแย่กว่า.. กว่าจะก้าวเดินได้อย่างมั่นใจก็เล่นเอาอ่อนล้าโรยแรงไม่น้อย

“ฉันคือเต่าปูลู เธอเห็นฉันไหม ฉันไม่ได้หายไปไหน ฉันอยู่ใกล้กับเธอ เธอบอกว่าใกล้สูญพันธุ์ แต่ได้โปรดฟังฉัน เราสามารถพบกันได้โดยง่าย ง่ายเหมือนเธอเห็นใบไม้ ง่ายเหมือนเธอเห็นเมฆขาว ง่ายเหมือนเธอเห็นเดือนดาว ง่ายเหมือนเธอเห็นท้องฟ้า ง่ายเหมือนเธอเห็นชิ้นส่วนของร่างกาย...”

บลูด้า พรรณนาเรื่องเต่าปูลู เต่าปูลูในสวนลับของบลูด้า ผมเองก็เชื่อว่า มันไม่มีวันสูญพันธุ์ ผมรู้จัก “บลูด้า” เพียงน้อยนิด ไม่สนิทกาย แต่สนิทใจ รับรู้ว่าเขาทำอะไรอยู่บางช่วงก้าวเราอาจโคจรมาใกล้กันบ้าง จากนั้นเขาก็ไปตามทางของเขา
ทำกิจกรรมด้านศิลปะการศึกษาหลากหลายที่นั่น ที่นี่ ผ่านพบผู้คนหลากหลาย เรียนรู้ผ่านประสบการณ์มากมาย “..ทางชีวิตคดเคี้ยวเสมอมา...กลับสู่โลกซับซ้อนและวุ่นวาย เก็บความสุขไว้ในบทสนทนา”
ผมรู้ว่าเขาเป็นเพื่อนสนทนาที่ดี ดูจากกิริยา แววตาที่เขานิ่งฟัง เชื่อว่าเขาคงเป็นคู่สนทนาที่ดีสำหรับตนเองด้วย เขาเป็นนักเรียนที่ดีของครู เป็นครูที่ดีของผู้อื่น และเป็นครูที่ดีของตนเอง

“อีกกี่ครั้งกี่หนแล้ว แผ่นกระดาษที่ว่างเปล่า คงเหลือเป็นพื้นที่น้อยนิดในชีวิตฉัน มิเคยคิดอาจเอื้อมครอบครอง อาศัยใช้เพียงทดลองความคิด ถูกผิด วาด ขีด เขียน ร่ำเรียน ภายใต้วังวนกลไกวนเวียน อ่าน เขียน เหมือนเพื่อนชีวิต ใกล้ชิดสนิทกัน..”

บทกวีบางบทของเขาได้รับการแปรปรุงเป็นบทเพลงเพื่อแสดงในบางวาระ กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม เขาบอกว่า..ในชีวิตประจำวัน เขาไม่ถนัดปลูกต้นไม้นัก ปลูกอะไรไม่ค่อยงาม เรียกว่าเป็นคน “มือร้อน” (แต่เขาก็ชื่นชมคน “มือเย็น”) เขาจึงเลือกปลูกไม้ในสวน แห่งถ้อยคำ.. “ในสวนลับ” ของเขามีหลากหลายพรรณไม้ให้ชื่นชมดมดอม

“หากฝันยังอยู่ เธอจะเห็นตะวัน หากฝันยังอยู่ เธอจะเห็นพระจันทร์ เธอจะเห็นหมอกขาว เธอจะเห็นดวงดาว เธอจะเห็นความสดใน จะเห็นความหม่นหมอง เห็นการครอบครอง เห็นการปล่อยวาง เห็นความรื่นเริง เห็นความอ้างว้าง เห็นความสว่าง เห็นความมืดมน
เห็นความร่ำรวย เห็นความยากจน เห็นคนฉ้อฉล เห็นคนยากไร้ เห็นคนร้องเพลง เห็นคนร้องไห้ เห็นความวุ่นวาย เห็นความเรียบง่าย หากฝันยังอยู่ เธอจะเห็นการงาน หากฝันยังอยู่ เธอจะเห็นสะพาน หากฝันยังอยู่ เธอจะร่วมสร้าง หากฝันยังอยู่ เธอจะปลูกต้นไม้”

ผมอ่าน “ในสวนลับ” ของ “บลูด้า” จบ ด้วยความเบิกบาน ผมพบพรรณไม้หลายชนิดที่ไม่เคยพบในสวนของผมเอง (ในสวนลับ รวมบทกวีเล่มแรกของบลูด้า คำนำ โดย อำนาจ เย็นสบาย ภาพปก/ภาพประดับ โดย เรืองรอง รุ่งรัศมี เคล็ดไทย จัดจำหน่าย)



ขอบคุณ
คม ชัด ลึกออนไลน์
ศิลป์แห่งแผ่นดิน
คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ
สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2555
0 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2555 10:12:38 น.
Counter : 2157 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.