กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
27 สิงหาคม 2550

ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร

“ ตอนที่ ๑. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
เมื่อเสียงปืนดังขึ้น เสียงกฎหมายก็เบาลง:

“ เมื่อเสียงปืนดังขึ้น เสียงกฎหมายก็เบาลง ” ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยนับแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐประหารได้นำกองกำลังติดอาวุธเข้ายึดครองอำนาจอธิปไตยของปวงชนและได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญของประชาชน โดยต่อมาได้มีการประกาศกฎข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งตรากฎหมายของคณะรัฐประหารขึ้นมาบังคับใช้แทน

หากได้ลองใช้สามัญสำนึกของคนที่ยังมีความเป็นมนุษย์ก็น่าจะตอบได้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คณะบุคคลใดจะมายึดครองอำนาจอธิปไตยของคนทั้งชาติไปเป็นของหมู่คณะของตนด้วยการใช้กำลัง เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คณะบุคคลใดจะกระทำการละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วยการออกประกาศคำสั่งตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้โดยที่ประชาชนทั้งประเทศมิได้มีความยินยอมพร้อมใจ

คณะรัฐประหารจึงมิอาจกล่าวอ้างความชอบธรรมในการยึดครองอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยมิได้มาตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตามหลังการรัฐประหารได้มีเนติบริกรพากันออกมาแก้ต่างให้กับการกระทำผิดกฎหมายอาญาของคณะรัฐประหารว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้ โดยอ้างว่าเมื่อการรัฐประหารประสบความสำเร็จก็เท่ากับอำนาจรัฐได้ตกเป็นของคณะรัฐประหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้ว่าในปัจจุบันประเทศในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกไม่สามารถให้ความยอมรับการรัฐประหารได้

ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่เนติบริกรใช้อธิบายเป็นหลักกฎหมายโบราณซึ่งใช้เพื่อรับรองความชอบธรรมให้แก่รัฐที่สามารถชนะสงครามต่อรัฐอื่น ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่ใช้กันในสมัยที่คนยังมีความป่าเถื่อนและบัญญัติขึ้นโดยนักคิดที่ฝักใฝ่ในระบอบอำนาจนิยมซึ่งมีความเชื่อว่า “อำนาจคือธรรม” หรือ “ธรรมคืออำนาจ”

ดังนั้นหากคนไทยจะยอมรับหลักกฎหมายที่เนติบริกรนำมาใช้อ้างอิงเห็นทีทุกคนจะต้องย้อนเวลาไปในสมัยที่ภูมิภาคแถบนี้ยังประกอบขึ้นด้วยแว่นแคว้นต่างๆโดยแต่ละแคว้นก็มีกองกำลังของตน หากแคว้นใดยกไพร่พลพร้อมศาสตราอาวุธไปตีแคว้นอื่นจนตกเป็นเมืองขึ้นก็ให้ถือว่าแคว้นผู้บุกรุกได้ยึดครองอำนาจรัฐไว้โดยชอบธรรม แต่ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรซึ่งเป็นรัฐเดี่ยว กองกำลังก็มีแต่กองทัพไทยเท่านั้นไม่มีกองกำลังอื่นใดในประเทศที่จะไปสามารถสู้รบปรบมือกับแสนยานุภาพของกองทัพได้ ดังนั้นการนำหลักกฎหมายโบราณมาใช้กล่าวอ้างเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับการยึดอำนาจจึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ถือว่ารัฐจะต้องปกครองประเทศโดยกฎหมายหรือเรียกว่าเป็นนิติรัฐ

จากคุณ : จำปีเขียว - [ 25 ส.ค. 50 10:04:33 A:203.209.97.188 X: ]

+++++++++++

“ ตอนที่ ๒. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
ประเทศไทยเป็นนิติรัฐ????
การจะเป็นนิติรัฐได้จะต้องถือว่าพลเมืองทุกคนไม่เว้นแม้แต่ผู้มีอำนาจก็ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมาย ไม่เหมือนในโลกยุคเก่าที่ถือว่าผู้กุมอำนาจรัฐไม่เคยมีความผิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความผิด ในขณะที่บุคคลต่างๆ ในคณะรัฐประหารมักจะสั่งสอนประชาชนให้เคารพกฎหมาย แต่คณะรัฐประหารเองคือผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาในมาตรา ๑๑๓ เป็นผู้ที่ได้ใช้กำลังเพื่อล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดฐานเป็นกบฎต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นผู้กระทำย่ำยีต่อหลักกฎหมายอย่างมิอาจปฎิเสธได้โดยไม่เคยรู้สึกว่ามีความผิด ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความผิด ในเมื่อการณ์เป็นเช่นนี้แล้วประเทศไทยจะเป็นนิติรัฐได้อย่างไร ?

ปัจจุบันนี้หลายประเทศในโลกก็ปกครองประเทศโดยกฎหมาย แต่กฎหมายที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้จะต้องมีความถูกต้องตามระบอบการปกครองของประเทศนั้นๆ อาทิ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย(CONSTITUTION MONARCHY) กฎหมายที่ปวงชนชาวไทยจะให้การยอมรับได้ก็จะต้องไม่มีลักษณะขัดหรือแย้งต่อหลักประชาธิปไตย ไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

หลักประชาธิปไตย คือหลักของการยอมรับมติของคนส่วนใหญ่ มิใช่เรื่องของคนส่วนน้อยจะฉวยโอกาส
เข้ามาตรารัฐธรรมนูญ ตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อให้คนทั้งชาติต้องปฎิบัติตาม

หลักประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพแห่งบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

“ ตอนที่ ๑. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5750444/P5750444.html

จากคุณ : จำปีเขียว - [ 26 ส.ค. 50 12:37:59 A:203.209.97.118 X: ]

++++++++++

“ ตอนที่ ๓. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
นิติธรรมหรือนิติทำ
นอกจากนี้การปกครองประเทศโดยกฎหมายยังต้องมีความยึดมั่นต่อ “หลักนิติธรรม” ซึ่งหมายถึงในการดำเนินกิจกรรมทางปกครองในนิติรัฐนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของกฎหมายปกครอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้การกระทำทางปกครองกลายเป็นการทำตาม “หลักนิติทำ”

หลักการอันเป็นรากฐานของกฎหมายปกครอง (ศึกษารายละเอียดได้ในหนังสือหลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีดังนี้
๑. หลักความพอสมควรแก่เหตุ
๒. หลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมายได้ในการกระทำทางปกครอง
๓. หลักการห้ามเลือกปฎิบัติโดยอำเภอใจ
๔. หลักสุจริตและหลักการห้ามใช้สิทธิโดยมิชอบ
๕. หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ
๖. หลักการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

นับแต่อดีตคณะรัฐประหารทุกรุ่นก็ทำลายหลักประชาธิปไตยและหลักประเพณีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว แต่คณะรัฐประหารรุ่นล่าสุดยังมีการกระทำทางปกครองโดยไม่คำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของกฎหมายปกครองถึงขั้นที่อาจจะกล่าวได้ว่าหลักนิติธรรมได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ

“ ตอนที่ ๑. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5750444/P5750444.html

“ ตอนที่ ๒. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5753796/P5753796.html
“ ตอนที่ 3. ลมหายใจอันรวยรินของกฎหมายหลังการรัฐประหาร”
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5756486/P5756486.html

จากคุณ : จำปีเขียว - [ 27 ส.ค. 50 10:33:01 A:203.209.96.181 X: ]




Create Date : 27 สิงหาคม 2550
Last Update : 27 สิงหาคม 2550 12:50:41 น. 0 comments
Counter : 400 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]