กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
9 กรกฏาคม 2550

ที่มาที่ไป กรณี CTX ที่ควรศึกษา...

แหล่งที่มา
//www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=524#146516

แหล่งข่าวจากกระทรวงฯ แฉในเน็ต โดยกล่าวว่า คตส.มั่วข้อมูลเรื่องซีทีเอ๊กซ์ สืบค้นข้อมูลมาสี่เดือน หาความผิดปรกติอะไรไม่พบ เตรียมเดินเกมกลบเกลื่อน บีบหน่วยงานรัฐฟ้องกันเองแล้วเผ่น

คนในกระทรวงทนไม่ไหว สื่อฯและคนไทยชั่วๆ บางคน สร้างความปั่นป่วน

ข้าราชการกระทรวงแห่งหนึ่ง ใช้นามว่า " คุณหนูเอง " สุดทนกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น จนต้องออกมาแฉเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องซีทีเอ๊กซ์ หรือเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ที่สื่อชั่วๆ และคนไทยเลวๆ บางคนพยายามตีแผ่ สร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นแก่สังคม สุดท้ายสร้างเงื่อนไข จนก่อให้เกิดการยึดอำนาจและทำรัฐประหารในท้ายที่สุด

อธิบายอย่างสรุป ด้วยข้อมูลเชิงลึกจากกระทรวงฯ

แหล่งข่าวอธิบายด้วยการปูเรื่องดังกล่าว ด้วยการอธิบายแบ่งเป็น 6 ข้อดังนี้: -

1. สัญญาที่มีถูกกล่าวหาไม่ใช่สัญญาซื้อซีทีเอ๊กซ์ แต่เป็นสัญญาจ้างทำระบบสายพานพร้อมติดตั้งเครื่องตรวจสอบระเบิด โดย CTX 9000 เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งภายในระบบ (เหมือนสร้างบ้าน แล้วเครื่องแอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่ง)

2. ปัญหาของบริษัท อินวิชั่น กับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เกิดเพราะบริษัทไม่มีระบบตรวจสอบภายใน เป็นที่เชื่อว่า อาจมีการเตรียมงบประมาณเพื่อให้เงินตอบแทนฝ่ายไทย แต่สุดท้ายอัยการสูงสุดไทยส่งเรื่องไปถามต่อกระทรวงยุติธรรม ประเทศสหรัฐฯ และได้คำตอบกลับมาว่า " ไม่พบมีการให้สินบนใดๆ เกิดขึ้น"

3. เรื่องนี้ถูกจับเป็นเรื่องการเมือง เพราะฝ่ายค้านหลงเข้าใจผิด คิดว่าอิตาเลียนไทย (ITO) ผู้รับเหมาซื้อซีทีเอ๊กซ์ 26 ตัวในราคา 1,504 ล้าน แต่กลับมาขายแพงโก่งราคากินส่วนต่างให้บทม. ถึง 2,608 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนเงิน 2,608 ล้านบาทกลับกลายเป็นราคาระบบสายพานทั้งระบบ โดยแหล่งข่าวอธิบายเปรียบว่า "เหมือนบอกผู้รับเหมาซื้อแอร์ราคา 1,504 บาท ทำไมมาคิดเจ้าของตั้ง 2,608 บาท ทั้งที่ความจริง 2,608 บาท คือ ราคาตัวบ้านทั้งหมด"

4. ต่อมากระทรวงยุติธรรมและบริษัทจีอีอินวิชั่น ได้ประณีประนอมยุติคดี โดยตกลงว่า จีอีอินวิชั่นจะไม่ยอมขาย CTX แก่เอกชน จะขายตรงให้แก่หน่วยราชการไทยเท่านั้น คือ บทม.

5. ITO ซึ่งเป็นผู้รับเหมา ประสบปัญหาซี้อ CTX ไม่ได้ ก็ขอให้ผู้ว่าจ้างช่วย เพราะผู้ขายบอกว่าจะขายแก่ บทม. เท่านั้น

6. บทม. มีทางเลือก ๓ ทาง คือ
- เพิกเฉยต่อคำขอ ทำให้ผู้รับเหมา ITO ไม่สามารถซื้อ CTX ได้ตามสัญญา เมื่อถีงวันส่งงานระบบสายพาน ส่งไม่ได้ ก็ปรับ ITO และยกเลิกสัญญา แล้ว หาผู้รับเหมาใหม่มาทำต่อ (หมายเหตุ เลิกสัญญาทันทีไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงกำหนดส่งระบบสายพาน และ ITO ยังไม่ได้ผิดสัญญา ผลคือ งานก่อสร้างอื่นๆที่เกี่ยวพันกันจำนวนมากทำต่อไม่ได้ สนามบินจะเสร็จล่าช้าเป็นปีๆ)

- เปลี่ยนยี่ห้อเครื่องตรวจจับระเบิดใหม่ (เปลี่ยนแอร์) สมัยนั้นมีเพียง 2 ยี่ห้อ คือ ของ INVISION กับของ L3 บทม.พิจารณาแล้ว ทำไม่ได้ เพราะโครงสร้างรองรับ รวมทั้งขนาดสายพานทางเข้าทางออก ผู้รับเหมาได้สร้างตามเสปค CTX ไปหมดแล้ว พื้นที่ก็จำกัด จึงทำตามเสปคของ L3 ไม่ได้

- บทม.ยอมช่วยเหลือ ITO เป็นการแก้ไขปัญหา แทนที่จะลอยตัวปล่อยให้งานล่าช้าจนเปิดสนามบินตามกำหนดไมได้ (ความเสียหายต่อประเทศจะมากกว่าจนเทียบกันไม่ได้) โดย บทม.ช่วยเป็นผู้สั่งซื้อ CTX ให้ แต่ ITOต้องยอมทำสัญญากับ บทม.ว่า ยังต้องมีความรับผิดชอบต่อการติดตั้ง การเชื่อมระบบ และถ้าเกิดมีความล่าช้า ก็ยังต้องรับผิดชอบเหมือนเดิม

คตส.หาจุดผิดที่เคยโดนสื่อและฝ่ายค้านหลอกไม่เจอ สุดท้ายจะหาเรื่องรังแก คนดีและคนทำงาน

ด้วยความเป็นธรรม ถ้าท่านอยากให้บ้านเสร็จทันเวลาเข้าไปอยู่ ท่านจะไม่เลือกวิธี ๓ หรือ? ข้อกล่าวหาปัจจุบันกลับไม่ใช่เรื่องความต่างของราคา เพราะตรวจตัวเลขและสัญญา ก็รู้ทันทีว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด เอาราคาค่าจ้างทั้งระบบไปเปรียบเทียบกับราคาอุปกรณ์เดียว แต่กลับไปกล่าวหาเรื่องอื่น ดังนี้ : -

(๑) ทำไมต้องเปลี่ยนจากระบบ x-ray ธรรมดาเป็นระบบ inline-screening (คือกระเป๋าถูกตรวจระหว่างเดินผ่านสายพานโดยอัตโนมัติ) ซึ่งเป็น requirement ของ ICAO (องค์การการบินพลเรือนระหว่างชาติ)

(๒) ทำไมไปทำสัญญาอำพราง เพื่อช่วย ITO ในการซื้อตรง ทั้งที่เป็นแค่ซื้อในนาม (เหตุผลง่ายๆ คือ เป็นการแก้ไขปัญหาโดยเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง)

ที่กล่าวหาว่าเป็นนิติกรรมอำพราง อำพรางอะไร หรือว่ากล่าวหามั่ว

คตส. ชี้ข้อมูลซื้อตรงที่ บทม. ช่วย ITO ซึ้อให้ ว่า เป็นนิติกรรมอำพราง คำว่าอำพราง หมายความว่าอะไรคะ หมายความว่า หลอกคนอื่นใช่ไม้คะ อำพรางใครคะ? อำพรางคนไทยด้วยกัน ก็ไม่ได้อำพรางอะไร เพราะทำอย่างเปิดเผย ทุกคนก็รู้ว่า บทม. ช่วยซื้อให้แต่ในนาม เพื่อผูกมัดให้ ITO ต้องรับผิดชอบในการติดตั้ง การเชื่อมระบบ การใช้งานทุกอย่างเหมือนเดิม เรื่องนี้ ก็ไม่ได้ทำกันเป็นความลับอะไร

อำพรางสหรัฐฯ ก็ไม่ได้อำพราง เพราะในสัญญาที่ บทม. ทำกับจีอีอินวิชั่น บอกไว้อย่างชัดเจนว่า บทม. จะชำระเงินให้จีอีอินวิชั่น ผ่านทาง Main Contractor คือ ITO ซึ่งจีอีอินวิชั่นจะต้องนำไปแสดงต่อกระทรวงยุติธรรม สหรัฐฯเขาก็รู้ deal นี้ ทุกประการ ถ้าเขาไม่เห็นด้วย เขาก็ต้องระงับการส่งสินค้าแล้ว เพราะ CTX จัดเป็นสินค้า security การขาย จะต้องให้รัฐบาลเขาอนุมัติ

พวกปั่นเรื่องไม่ดูสถานการณ์ อ้าง"แล้วที่บอกซื้อตรงทำไมราคาไม่ถูกลง"

คำตอบคือ สัญญาที่ บทม. ทำกับ ITO เป็นสัญญาจ้างทำระบบ ซึ่งรวม CTX อยู่ด้วย ราคาทั้งระบบเป็น lumped sum เหมือนเราสร้างบ้าน เจ้าของอยากได้แอร์ยี่ห้อหนึ่ง บอกผู้รับเหมาว่า ให้คิดราคาทั้งหมด ซึ่งมีรายการของแอร์ยี่ห้อดังนี้ด้วย ผู้รับเหมาก็คิดราคามา รวมราคาแอร์ยี่ห้อนี้เข้าไป เจ้าของตรวจสอบแล้ว ก็ตกลงตามราคาเหมา ซึ่งรวมแอร์ตัวดังอยู่ด้วย วันดีคืนดี ผู้รับเหมาไปมีปัญหากับตัวแทนที่ขายแอร์ เจ้าของแอร์ชื่อดังก็ตัดตัวแทนที่ขายแอร์ออกไป และบอกกับผู้รับเหมาว่า อั๊วไม่ขายให้ผู้รับเหมาแล้ว โครงการนี้ ถ้าอยากซื้อต้องให้เจ้าของบ้านเป็นคนมาซื้อเอง ในราคาเดิม เจ้าของแอร์ก็วิ่งไปบอกเจ้าของบ้านว่า แอร์ยี่ห้อดังนี้ มันไม่ยอมขาย มันบอกถ้าจะซื้อ เจ้าของต้องไปซื้อเอง และจะขายในราคาเดิมเท่านั้น

เจ้าของบ้าน มีทางเลือก 3 ทาง คือ

(1) บอกกับผู้รับเหมาว่า เป็นเรื่องของเอ็ง ถ้าเองหาแอร์ตัวดังให้ข้าตามสัญญาไม่ได้ ฉ้นจะเลิกสัญญากับแก และจะปรับตามสัญญา ถ้าเจ้าของบ้านเลือกทางนี้ ก็ต้องรออีกหลายเดือน จนครบกำหนดส่งบ้านตามสัญญา ถึงเลิกสัญญาได้ และให้คนอื่นมาทำได้ อ้าว.. แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหนเนี่ย บ้านก็กำลังถูกไล่ ทางเลือกนี้จึงไม่มีผลดี

(2) ให้ผู้รับเหมา ไปหาแอร์ยี่ห้ออื่น ยี่ห้อดังเทียบเท่ามีอีกยี่ห้อเดียว แต่ขนาด วิธีการติดตั้ง สายน้ำเข้าออก มันต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้รับเหมาเขาทำส่วนรองรับไปหมดแล้ว เอาสิ ถ้าเลือกวิธีนี้ ก็ต้องรื้อแล้ว ทำใหม่หมด แล้วใครจะรับผิดชอบละ ในเมื่อเจ้าของบ้านยินยอมให้เปลี่ยนยี่ห้อแอร์ได้ รับรองทางเลือกนี้ บ้านไม่เสร็จทันกำหนดแน่

(3) ช่วยผู้รับเหมา โดยให้ยืมชื่อไปซื้อแอร์ยี่ห้อดัง ยอมลงนามในสัญญาซื้อตรงกับเจ้าของแอร์ โดยให้ผู้รับเหมาจ่ายตังค์ให้ เจ้าของแอร์เขาก็รู้นี่ ว่าใครจ่ายตังค์ ก็ไม่เห็นเขาโวยวายอะไรว่า หลอกกันนี่ เจ้าของบ้านรอบคอบ บอกกัยผู้รับเหมาให้มาทำสัญญาอีกฉบับนะ ว่า ถ้าฉันซื้อให้แก แล้วแกก็ยังมีหน้าที่รับผิดชอบติดตั้ง ต่อสายไฟสายน้ำ และถ้ามีปัญหา หรือ ล่าช้า จะนำการซื้อตรงมาเป็นข้ออ้างไม่ได้นะ ผู้รับเหมาตกลง

ถ้าเป็นคุณ ที่ต้องการให้บ้านเสร็จทันกำหนด คุณจะเลือกทางไหนหรือ ส่วนราคาทำไมไม่ลดลง เพราะในสถานการณ์ขณะนั้น คนขายมี power มากกว่าคนซื้อ เขาไม่ขายแพงกว่าเดิม ก็ถือว่าบุณหนักหนาแล้ว แล้วอย่างนี้ คุณจะว่า เจ้าของบ้านทำนิติกรรมอำพรางหรือไม่?

เทียบราคาซื้อของไทยและจีน

ถ้าเทียบราคาของเครื่อง CTX ที่ประเทศไทยซื้อ กับที่ประเทศจีนซื้อ ตามที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงยุติธรรม(รูปใน คห 1 ในกระทู้พันทิพ

ประเทศจีน ซื้อ เครื่อง CTX9000 จากอินวิชั่น 2 ตัว ราคา 2.8 ล้านหรียญ หรือราคาตัวละ 1.400 ล้านเหรียญ
ประเทศไทย ซึ้อ เครื่อง CTX9000 จากอินวิชั้น 26 ตัว ราคา 35.8 ล้านหรียญ หรือราคาตัวละ 1.376 ล้านเหรียญ
ไทยซื้อ CTX 9000 ถูกกว่า ที่จีนซื้อ เป็นส่วนต่างเท่ากับ 0.634 ล้านเหรียญ = 25 ล้านบาท


สรุปสุดท้าย การเมืองของฝ่ายค้านและพันธมิตรฯทำให้บ้านเมืองพัง

อย่างที่หนูเองบอก ประเด็นที่ทำให้พรรคฝ่ายค้านตาลุกวาว คือ คิดว่า ITO (ผ่านทางผู้รับเหมาย่อย คือ Patriot) ซิ้อ CTX 26 ตัวราคา 35.8 ล้านเหรียญ หรือ 1,504 ล้านบาท แล้วทำไมมาขาย บทม. ถึง 2,608 ล้านบาท ทำไมกำไรมากมายก่ายกองอย่างนี้ แล้วเอาส่วนต่างไปให้ใครหรือเปล่า ทั้งที่ 2,608 ล้านบาท เป็นราคาของระบบสายพานทั้งระบบ

เรื่องนี้ที่หนูเองทนไม่ได้ จึงต้องนำมาอธิบายอีกครั้ง เพราะอยู่กระทรวง ถึงไม่มีส่วนเกียวข้อง แต่ก็มีโอกาสได้ติดตามข้อมูล และรู้สึกว่า ฝ่ายที่ถูกชี้มูล ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งยวด ไม่เคยเห็นความไม่เป็นธรรมแช่นนี้มาก่อน เพราะสังคมถูกปั่นหัวโดยไม่มีข้อเท็จจริงว่า พอพูดถึง CTX คือ การโกงระดับชาติ

สาธารณชนลองคิดดู ถ้าผิดเต็มตาอย่างที่ว่า ข้อมูลทุกอย่างก็อยู่ในอำนาจของคมช. หาได้หมด ทำไมยังใช้เวลาตั้งสามสี่เดือน แล้วเมื่อผิดหวัง ก็หาทางออก โดยการชึ้มูลด้วยการเหวี่ยงแหไปก่อน อย่างที่ท่านรองอัยการสูงสุดร้องหาความยุติธรรมดังกล่าว ทั้งๆ ที่ท่านเป็นนักกฏหมายมือฉมังในประเทศไทยเอง

อ่านเพิ่มเติม :
//www.sec.gov/litigation/complaints/comp19078.pdf
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5048375/P5048375.html
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5051980/P5051980.html

+++++++++++
ข้อโตแย้งอีกข้อ...

1.5 ประเด็นการทำนิติกรรมอำพรางในการทำสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิดโดยตรง

คณะทำงานฯพบว่าการทำสัญญาดังกล่าว บทม.ได้มอบหมายให้ ITO เป็นผู้ชำระเงินตามสัญญาให้แก่ผู้ขายคือ GE InVision, Inc โดย ITO ได้รับใบรับรองการซื้อสินค้า (Bill of Sale) โดยระบุให้ ITO เป็นผู้ซื้อและหนังสือค้ำประกันการซื้อขาย (Performance Bon7d) และสิทธิการเรียกร้องค่าเสียหาย คณะทำงานฯพบว่าการทำสัญญาดังกล่าว เป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อเป็น การหลอกลวงให้หน่วยงาน US SEC และ US DOJ เข้าใจว่าเป็นการซื้อโดยตรง
-----------------------------------------------
ตอบข้อโต้แย้ง

การอนุมัติให้บทมทำสัญญาซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 DSI กับบริษัท GE InVision โดยให้กิจการร่วมค้า ITO เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินแก่บริษัท GE InVision แทน โดย บทม. และกิจการร่วมค้า ITO ยังคงผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาเดิมทุกประการ คตส.กล่าวหาว่าเป็นการกระทำนิติกรรมอำพราง นักกฏหมายทุกสำนักงงเป็นอันมาก


คำว่า นิติกรรมอำพราง หมายความถึงการกระทำนิติกรรมอันหนึ่งเพื่อปกปิดนิติกรรมอีกอันหนึ่ง โดยทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำนิติกรรมอันแรก แต่กรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 DSI ที่ บทม.ลงนามจัดซื้อโดยตรงกับบริษัท GE InVision ก็เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมิได้มีเจตนาปกปิดคู่สัญญาคือบริษัท GE InVision แต่ประการใด และมิได้เป็นเรื่องที่คู่สัญญาคือ บทม. กับ GE InVision แสดงเจตนาลวงแต่อย่างใด

*องค์ประกอบของนิติกรรมอำพราง *

(ก) มีการทำนิติกรรมสองนิติกรรม

(ข) นิติกรรมอันหนึ่งเปิดเผย แต่ไม่ต้องการผูกพัน

(ค) นิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ถูกปกปิด แต่ต้องการผูกพัน

* จากหนังสือคำอธิบายนิติกรรม-สัญญา ของรองศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์(จำปี) โสตถิพันธุ์ โดยสำนักพิมพ์วิญญูชน พิมพ์เมื่อ มิถุนายน ๒๕๔๙ หน้า ๑๐๘

สัญญาระหว่าง บทม.กับบริษัท GE InVision ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘เป็นนิติกรรมที่เปิดเผยและต้องการผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมที่ต้องการปกปิดแต่ต้องการผูกพัน และสัญญาระหว่าง บทม.กับ กิจการร่วมค้า ITO ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีกรณีใดเป็นนิติกรรมอำพราง ทุกฝ่ายเข้าใจสัญญาที่ได้ลงนามไว้ต่อกันเป็นอย่างดี ไม่มีสิ่งใดที่ต้องการปกปิด แต่ต้องการผูกพัน ทุกสัญญากระทำโดยเปิดเผยและผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว

ดังนั้นการที่คณะกรรมการ ทอท. ได้มีมติอนุมัติให้ บทม. ทำสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 DSI โดยตรงจากผู้ผลิต โดยให้กิจการร่วมค้า ITO เป็นผู้รับผิดชอบแทน บทม.ทุกประการนั้น จึงไม่ใช่การทำนิติกรรมอำพราง มีเจตนาช่วยเหลือมิให้กิจการร่วมค้า ITO เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญา เนื่องจากเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย เป็นที่รับทราบของสาธารณะ และสัญญาได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนได้ผ่านการตรวจสอบจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ไม่มีปัญหาโต้แย้งแต่ประการใด

การบอกว่า หลอกลวงให้หน่วยงาน US SEC และ US DOJ ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะมีการระบุในสัญญาระหว่าง บทม กับ GE InVision อย่างชัดเจนว่า บทม เป็นผู้ซื้อ แต่ ITOเป็นผู้ชำระเงิน สัญญานี้ เมื่อลงนามแล้ว GE InVision ต้องนำไปยื่นให้ US SEC และ US DOJ ทราบตามข้อตกลง เมื่อหน่วยงานทั้งสองทราบแล้วอนุมัติ จะหาว่า อำพราง US SEC และ US DOJ ได้อย่างไร สำนักกฏหมายทั้งประเทศงง คตส.เป็นอันมาก

ใครว่าไม่จริง?



Create Date : 09 กรกฎาคม 2550
Last Update : 9 กรกฎาคม 2550 23:17:31 น. 0 comments
Counter : 1132 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]