ธรรมะสายดับและความทุกข์ย่อมมีแก่ผู้เพลิดเพลิน 2559


ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ กองทุกข์ทั้งมวลดับลง ด้วยอาการอย่างนี้...ปฏิจจสมุปบาท แปลว่าธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งดับ หรือถูกทำลายลง ส่วนที่เหลือก็ดับตามกันลงไป พระพุทธเจ้าทรงทบทวนพิจารณามากที่สุด คือ ปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณานานถึง 7 วัน กล่าวคือ สัปดาห์แรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ยังคงประทับอยู่ที่บริเวณ โพธิมณฑลนั่นเอง และทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยตลอดทั้งสายเกิด (สมุทัยวาร) และสายดับ (นิโรธวาร) ... ความสงสัยของพระองค์หมดสิ้นไป ทรงกำจัดมารและเสนามารเสียได้ เพราะทรงรู้กฎแห่งเหตุผล หรือกฎแห่งความเป็นเหตุผลของกันและกัน (Cr-ครูวศิน อินทสระ)


เทพบุตรทูลถามว่า อยู่พระองค์เดียวไม่ทรงเบื่อหน่ายบ้างหรือ ตรัสตอบว่า ไม่เบื่อหน่าย

“ข้าแต่สมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ” – เราได้อะไรเล่า ถึงต้องยินดี

“พระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ” – เราเสื่อมอะไร จึงต้องเศร้าโศก

“พระองค์ไม่ทรงยินดี และไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ” – เป็นอย่างนั้น เราไม่ยินดีและไม่เศร้าโศก

“พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างเลยหรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ ประทับนั่งแต่พระองค์เดียว ไม่ทรงเบื่อบ้างหรือ” – เราไม่มีความทุกข์เลย ความเพลิดเพลินก็ไม่มี อนึ่งเมื่อเรานั่งอยู่แต่ผู้เดียว ความเบื่อหน่ายก็มิได้ครอบงำเรา

“ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้” – ความเพลิดเพลินย่อมมีแก่ผู้มีทุกข์ ความทุกข์ย่อมมีแก่ผู้เพลิดเพลิน ผู้เป็นภิกษุ ย่อมไม่มีทั้งความเพลิดเพลิน และความทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด...





Create Date : 01 กรกฎาคม 2559
Last Update : 1 กรกฎาคม 2559 14:26:02 น.
Counter : 1474 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2559

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog