พระอรหันต์มาจากใหน ?




พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ 1.ไกลจากกิเลส 2.กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น 3.เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด 4.เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย 5.ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง


พระอรหันต์ คือ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ ดังนี้ 
1.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา 
2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสงสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
3.สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา (ละใด้ 3ข้อคือ พระโสดาบัน)



4.กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ
5.ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด (ละได้3ข้อ และมีข้อ4-5เบาบางลงใด้ คือ พระสกทาคามีและผู้ละสังโยชน์ใด้5ประการคือพระอนาคามี)
6.รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ
7.อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในอรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ
8.มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น
9.อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต
10.อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง (อริยบุคคลผู้ละสังโยชน์ใด้10ประการคือพระอรหันต์)

อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้วแบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ 

เครดิต: https://th.wikipedia.org/wiki/อริยบุคคล






Create Date : 17 เมษายน 2559
Last Update : 17 เมษายน 2559 14:17:04 น.
Counter : 778 Pageviews.

1 comments
  
ดูอายตนะทั้งหลายเห็นว่าว่างเปล่าในอายตนะ
ดูอายตนะทั้งหลายเห็นว่ารู้ในอายตนะ
ดูอายตนะทั้งหลายเห็นว่าไม่มีในอายตนะ
ดูอายตนะทั้งหลายเห็นว่ามีความจำ และไม่มีความจำในอายตนะ
ดูอายตนะทั้งหลายเห็นว่าเกิดดับ ไม่ยึดติดในอายตนะ
ดูสัญญาเวทยิตนิโรธ ฌาณสมาบัติที่ดับสัญญา ดับเวทนา ความรู้สึก
นั่งเข้าฌานได้ไม่เกิน 7วัน
โดย: สมาชิกหมายเลข 3481473 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2559 เวลา:15:15:45 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
All Blog