6 เมืองตัวอย่างของโลกกับการวางแผนพัฒนาเมืองที่ดี โดย ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม


6 เมืองตัวอย่างของโลกกับการวางแผนพัฒนาเมืองที่ดี

(6 Well-planned Citiesaround the Globe)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สญชัย ลบแย้ม (drsonchai@gmail.com) - 5 มกราคม 2558

อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ประวัติ)


การวางแผนภาคและเมือง(Urban and Regional Planning) เป็นสาขาวิชาหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการวางแผนการพัฒนาเมืองและภูมิภาคในหลายมิติทั้งด้านกายภาพ สังคมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ประกอบด้วยองค์ความรู้หลักการ และเครื่องมือที่หลากหลายให้เลือกใช้เพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองหรือชุมชนที่แตกต่างกันในการนี้ ขอแนะนำตัวอย่างเมืองที่มีการพัฒนาตามหลักการผังเมืองที่ดี จำนวน 6เมือง ตามหลักการผังเมือง (planning principles) จำนวน 6 ข้อ ได้แก่

1) การวางแผน (Planmaking)

2) เมืองเขียว (GardenCity)

3) การฟื้นฟูเมือง (Urban Revitalization)

4) การควบคุมการเติบโตเมืองอย่างชาญฉลาด(Smart Growth)

5) การพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรม(Brownfield Redevelopment)

6) การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-orientedDevelopment: TOD)

เมืองเหล่านี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกวัตถุประสงค์ของบทความเพื่อการถอดบทเรียนว่าการพัฒนาเมืองที่ดีสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย

1. การวางแผนเมือง (Plan Making) - ผังเมืองฟิลาเดเฟีย

ผังเมืองฟิลาเดเฟีย:หนึ่งปีหลังจากคุณวิลเลียม เพนส์ (นักปรัชญาและศาสนา นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้ก่อตั้งจังหวัดเพนซิลเวเนียในสมัยที่สหรัฐอเมริกาเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ) อนุมัติพื้นที่ตั้งของเมือง และผังเมืองปีค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) ก็อุบัติขึ้น เมืองฟิลาเดเฟียเป็นเมืองใหญ่มีประชากรมากเป็นอันดับห้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นเมืองแรกที่ใช้ระบบถนนแบบตารางหมากรุก(Grid street pattern) เพื่อ 1) เสริมสร้างพื้นที่โล่งสีเขียวแบบจัตุรัส(Open green public squares) 2)เพื่อให้ถนนมีขนาดความกว้างอันหลากหลายตามหน้าที่ของมัน (Streetfunction) และ 3) เพื่อกันที่ไว้สำหรับการพัฒนาเมืองในอนาคต(Future growth)



รูปที่  1 ผังเมืองฟิลาเดเฟีย


2. เมืองเขียว (Garden City) – เมืองนิวเฮพเวนมลรัฐคอนเนคติกัต

ด้วยดำริของรัฐมนตรี จอนดาเวนพอร์ต และคหบดี เซพฟียเลียส อีตัน ได้วางแผนสร้างเมืองใหม่ในปี ค.ศ. 1638(พ.ศ. 2181) ตามพื้นฐานความเชื่อเรื่องเมืองอุดมคติในคัมภีร์ไบเบิ้ล หลักเกณฑ์การวางแผนและออกแบบเมืองคือให้มีด้านแต่ละด้านกว้างประมาณครึ่งไมล์(800 เมตร) โดยประกอบไปด้วยแปลงพื้นที่ทั้งสิ้นเก้าแปลงหรือ เรียกผังเมืองนี้ว่า “Nine Square Plan”

ผังเมืองนี้ยึดหลัก สร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางชุมชนหรือเมืองและแวดล้อมด้วยถนนลักษณะตารางหมากรุกซึ่งเป็นรูปแบบถนนที่แพร่หลายในเมืองใหม่ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณอนุภูมิภาคNew England (New England ประกอบด้วย 6 มลรัฐ คือ แมสซาชูเซทส์ รัฐเมน รัฐคอนเนคติกัต โรดไอแลนด์ และนิวแฮมเชอร์)และรัฐทางตะวันตกของประเทศในขณะนั้น





รูปที่  2 New Heaven "Garden City"


3. การฟื้นฟูเมือง (Urban Revitalization) – โครงการไฮไลน์เมืองนิวยอร์ค

โครงการไฮไลน์ (HighLine project) เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองแบบยังคงมีรากฐานเดิม (urbanrevitalization) ซึ่งต่างจาก urban redevelopment (การรื้อร้างสร้างใหม่)โครงการนี้เป็นการเริ่มต้นการใช้โครงสร้างระบบขนส่งทางรางแบบยกระดับ (elevatedrailway) ซึ่งเลิกการดำเนินงานไปนานแล้วภายหลังยุคอุตสากรรม (industrialera) ส่งผลให้เป็นแหล่งเสื่อมโทรมของชุมชน และซ่องสุมของอาชญากรในเบื้องต้นหรือเรียกว่าเป็นระยะทดลอง การฟื้นฟูได้นำพื้นที่บางส่วนของระบบรางมาพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ(public space) เช่น สวนสาธารณะ และทางเดิน แก่ประชาชนเมืองนิวยอร์คโดยถือเป็นโครงการทดลองด้านผังเมืองโครงการหนึ่งด้วย (urban experiment) โครงการเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ.2552)

ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการมีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคนโครงการมีระยะทางครอบคลุมชุมชนประมาณ 6 ช่วงตึก (sixblocks) เริ่มจากถนนหมายเลข 14 ถึงถนนหมายเลข 20ทั้งนี้เมืองนิวยอร์คได้ประกาศว่าจะเพิ่มระยะทางโครงการเป็นสองเท่าภายในปีนี้อีกด้วย (พ.ศ. 2558) นับเป็นโครงการฟื้นฟูเมืองที่เป็นแบบอย่างให้กับเมืองต่างๆ ไปทั่วโลก




รูปที่  3 High Line project map





รูปที่  4 ทัศนียภาพ





รูปที่  5 ทัศนียภาพ (ต่อ)


4. การควบคุมการเติบโตเมืองอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) – เมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน

บ่อยครั้งที่เมืองพอร์ตแลนด์(Portland) มลรัฐโอเรกอน ถูกใช้เป็นกรณีตัวอย่างด้านการวางแผนและจัดการเมืองที่ดีตามหลักการผังเมืองสมัยใหม่เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) พอร์ตแลนด์ได้ใช้แนวทางการควบคุมการเติบโตเมืองอย่างชาญฉลาดนี้โดยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เชิงเข้มข้น (intensity) และมีความหนาแน่น(density) ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ใจกลางเมือง (city’score) โดยยังคงเก็บรักษาพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมไว้อย่างเข้มงวดการพัฒนาใด ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดการใช้ที่ดินที่วางไว้จะถูกตรวจสอบอย่างเคร่งครัด การเดินทางของประชาชนได้ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลักเช่น รถไฟฟ้า และรถโดยสารประจำทาง เป็นต้น อีกทั้งส่งเสริมการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์(non-motorization mode) เพื่อการเดินทางระยะสั้นและเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบ ได้แก่ การเดิน และจักรยาน

การควบคุมการเติบโตเมืองเช่นนี้นับเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างไปจากแนวทางการวางผังเมืองในยุคเดียวกัน ที่ยังคงมุ่งเน้นการเติบโตตามชายขอบถนน(ribbon development) และการกระจายการเติบโตของเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดตามแนวถนนต่างๆ (scattered development and sprawl) ที่รุกร้ำและสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างขาดประสิทธิภาพ




รูปที่  6 Portland "Smart Growth City"





รูปที่  7 Portland City


5. การพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรม (BrownfieldRedevelopment) – เกาะแกรนด์วิวล์ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา

เกาะแกรนด์วิวล์เริ่มการพัฒนาเปลี่ยนแปลงโฉมเมือง ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513)โดยการพัฒนาพื้นที่ทิ้งร้างและเสียหายจากการดำเนินโครงการนิคมอุตสากรรมบนพื้นที่ตั้งมากกว่า 37 เอเคอร์ (ประมาณ 15 ไร่) การพัฒนาพื้นที่นี้ ที่ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบฟอลส์นับเป็นตัวอย่างการพัฒนาแบบสร้างใหม่ประเภทหนึ่ง (urban redevelopment) ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงปัจจุบันก็ว่าได้

จากการถอดบทเรียนเกาะแกรนด์วิวล์นี้พบว่าการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และดีสามารถทำได้ในทุกพื้นที่และสภาวะ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง



รูปที่  8 Grand Ville Island


6. การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-orientedDevelopment: TOD) – เมืองอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอแลนด์

เมืองอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศเนเธอแลนด์เมืองอัมสเตอร์ดัมเริ่มเฟื่องฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17ผังเมืองรวมของเมืองก็ได้บัญญัติและบังคับใช้ ด้วยรูปร่างของเมืองที่มีสัณฐานเมือง(urban form) แวดล้อมด้วยคลองรูปร่างครึ่งวงกลมทั้งสี่ ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากอ่าวไอเจ(IJ Bay) โดยมีการพัฒนาพื้นที่พานิชยกรรม แหล่งงานและที่อยู่อาศัยที่หลากหลายบริเวณโดยรอบ เฉลี่ยไม่เกิน 2 กิโลเมตรจากที่ตั้งสถานีขนส่งมวลชน และเน้นการเดินทางระยะสั้นและการเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบจักรยานและการเดิน

ในปัจจุบันการขยายถนนมีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 ของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและพบว่าปริมาณการสัญจรด้วยรถยนต์ของเมืองมีเพียงร้อยละ 20 ของการสัญจรทั้งหมดเมืองอัมสเตอร์ดัมจึงนับได้ว่าเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมดี น่าอยู่ติดอันดับโลก และมีการสัญจรด้วยจักรยานมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลกอีกด้วย





รูปที่  9 Amsterdam map



รูปที่  10 Amsterdam "City for Bicycle"


จากการนำเสนอหลักการวางแผนพัฒนาเมืองและชุมชนในบริบทนานาชาติทั้งหกประการพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำหลักการไปใช้เพื่อบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาของเมืองที่มาจากหลากหลายปัจจัยและสาเหตุในปัจจุบัน ดังนั้นเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงยังคงมีความหวังที่จะบรรเทาปัญหาที่สั่งสมมาจากการวางแผนเมืองที่ผิดพลาด(หรือขาดการวางแผน!) ในอดีตที่ผ่านมาหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับ “การวางแผนภาคและเมือง”อย่างจริงจัง

แหล่งอ้างอิง

Center for Transit-OrientedDevelopment. (2010). Performance-Based Transit-Oriented Development TypologyGuidebook: Center for Transit-Oriented Development.

Portland Bureau of Transportation.(2009). Portland Streetcar System Concept Plan: A Framework for FutureCorridor Planning and Alternatives Analysis. Portland: The City of PortlandOregon.

//www.cnu.org

//www.ctod.org

//www.epa.gov

//www.smartgrowthamerica.org





Create Date : 06 มกราคม 2558
Last Update : 11 มกราคม 2558 8:48:27 น. 0 comments
Counter : 1693 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.