ความเชื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างนโยบายสาธารณะของนายกเทศมนตรีในประเทศสหรัฐอเมริกา



ความเชื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างนโยบายสาธารณะของนายกเทศมนตรีในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร thapana.asia@gmail.com/ www.asiamuseum.co.th/ www.smartgrowthasia.com



ที่มา: The WashingtonPost, October 7, 2014

บทนำ

บทความนี้ ส่วนใหญ่แปลและเรียบเรียงจากบทความเรื่อง The most influential cities in the country, according tomayors เขียนโดย Hunter Schwarz ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารออนไลน์ The Washington Post ในคอลัมภ์ GovBeat เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ความน่าสนใจของบทความนี้ได้แก่การนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของ Boston University Initiative on Cities ซึ่งสำรวจในประเด็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างนโยบายของนายกเทศมนตรีโดยสำรวจจากนายกเทศมนตรี จำนวน 68 คน ในนั้นมี 18 เมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 30,000 ครัวเรือน โดยตั้งคำถามสำคัญว่า หากท่านจะสร้างนโยบายในการบริหารเมืองท่านใช้อะไรเป็นฐานข้อมูลและตัดสินใจ ซึ่งข้อค้นพบที่ได้คือ นายกเทศมนตรีส่วนใหญ่มองหาประสบการณ์จากนครนิวยอร์คบอสตัน และออสติน ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบจากประสบการณ์จากเมืองขนาดกลางและเล็กของสหรัฐฯและยังพบว่าพวกเขาต่างเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่ได้จากกลุ่มนายกเทศมนตรีด้วยกันเองมากกว่าแหล่งข้อมูลข่าวสารอื่นๆหรือแม้แต่การรับฟังจากทีมงานของเขาเอง ข้อค้นพบนี้ แสดงให้เห็นว่าด้วยเหตุปัจจัยทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวในการวางแผนนโยบายของเมืองสำคัญๆในสหรัฐฯ หรือในโลกต่างถูกจับจ้องจากบรรดานายกเทศมนตรีของสหรัฐฯพวกเขาจะเลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับพวกเขามากที่สุดเพื่อผสมผสานสร้างเป็นนโยบายและแผนการพัฒนาเมือง นอกจากนั้นหากจะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการวางนโยบายและแผนงานสำหรับนายกเทศมนตรีในสหรัฐฯก็ได้แก่ กลุ่มของนายกเทศมนตรีด้วยกันเอง


United StatesConference of Mayors

https://www.linkedin.com/company/u.s.-conference-of-mayors

ผลการศึกษาและข้อค้นพบ

จากการศึกษาพบว่านายกเทศมนตรีมองหาและผสมผสานแนวคิดการพัฒนาเมืองเพื่อสร้างนโยบายจากเมืองหลักๆ คือนิวยอร์ค บอสตัน ประมาณร้อยละ 28 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดต่อจากนั้นจะมองหาจากเมืองออสติน เดนเวอร์ พอร์ตแลนด์ ซอลเลคซีตี้ และลอสแองเจลิสตามลำดับ ดังภาพที่ 1


ภาพที่ 1ร้อยละของเมืองที่นายกเทศมนตรีใช้ในการผสมผสานแนวคิดเพื่อสร้างนโยบาย

ที่มา: The WashingtonPost, October 7, 2014

ในการศึกษาได้จำแนกกลุ่มนายกเทศมนตรีตามขนาดของเมือง โดยใช้ฐานประชากรซึ่งพบว่า นายกเทศมนตรีที่มาจากเมืองขนาดใหญ่ หรือเมืองที่มีประชากรมากกว่า 300,000ครัวเรือนมีแนวโน้มที่จะใช้ประสบการณ์จากเมืองที่มีขนาดใหญ่ด้วยกันสำหรับนายกเทศมนตรีที่มาจากเมืองขนาดเล็กพวกเขาจะใช้ประสบการณ์จากทุกขนาดของเมืองซึ่งมีความหลากหลาย โดยนครนิวยอร์คยังเป็นเมืองอันดับหนึ่งและสองที่นายกเทศมนตรีทุกแห่งมองหาประสบการณ์โดยเมืองขนาดใหญ่ที่นายกเทศมนตรีจากกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ด้วยกันมองหาประสบการณ์นอกจากนครนิวยอร์คแล้วได้แก่ นครเดนเวอร์ ฟิลาเดเฟีย ลอสแองเจลิส บอสตัน แวนคูเวอร์ ดัลลัส และออสติน ในขณะที่นายกจากเมืองขนาดเล็กให้ความสนใจประสบการณ์จากเมืองบอสตันต่อด้วยนิวยอร์ค ออสติน พอร์ตแลนด์ และซอลเลคซิตี้และยังให้ความสนใจการพัฒนาสถานที่ของเมืองอย่างแอนชอเลส อลาสก้า เมดฟอร์คและสก๊อตเดล ข้อมูลจากการสำรวจดังภาพที่ 2


ภาพที่ 2 เปรียบเทียบการมองหาประสบการณ์ของนายกเทศมนตรีจากเมืองสำคัญๆ

ระหว่างเมืองขนาดใหญ่กับเมืองขนาดเล็ก

ที่มา: The WashingtonPost, October 7, 2014

ผลการศึกษายังได้บอกเราว่า แม้จะมีปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการตัดสินใจของนายกเทศมนตรีอยู่บ้างแต่ก็เทียบไม่ได้กับประสบการณ์ทางตรงที่นายกเทศมนตรีได้รับจากข้อมูลประสบการณ์ของนายกเทศมนตรีด้วยกันเอง

สำหรับการจำแนกตามต้นสังกัดของนายกเทศมนตรี พบว่า นายกเทศมนตรีที่สังกัดพรรคเดโมแครตใช้ประสบการณ์จากนครนิวยอร์คมากที่สุดรองลงมาเป็นนครบอสตัน เดนเวอร์ ฟิลาเดลเฟีย ออสติน พอร์ตแลนด์ ลอสแองเจลิสซานฟราสซิสโก ซอลเลคซิตี้ และมินเนียโพลิสส่วนนายกเทศมนตรีที่สังกัดพรรครีพับลิกันให้ความสนใจประสบการณ์เพียงแค่ 3 เมืองใหญ่ๆ คือ ออสติน พอร์ตแลนด์ และดัลลัช ดังภาพที่ 3


ภาพที่ 3ความสนใจประสบการณ์ในการสร้างนโยบายของนายกเทศมนตรีจำแนกตามพรรคที่สังกัด

ที่มา: The WashingtonPost, October 7, 2014

สำหรับนโยบายสำคัญของเมืองต่างๆ ที่บรรดานายกเทศมนตรีชอบนำไปปฏิบัตินั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นนโยบายสาธารณะในการบริหารจัดการเมืองกับนโยบายตามเกณฑ์และนโยบายของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles & Policy) (จำแนกออกเป็น 2 กลุ่มโดยผู้เขียนเอง) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

นโยบายสาธารณะ

นโยบายสำคัญๆ ประกอบด้วย

• การให้บริการประชาชน

• การออกข้อกำหนดต่อต้านอาชญากรรม

• การสร้างหุ้นส่วนและเครือข่ายด้านสุขภาพ

• นโยบายการใช้ระบบ LED

• ศูนย์การกีฬาและบันเทิง

• การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

• การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจใหม่

• การต่อต้านการทำร้ายสัตว์

นโยบายจากเกณฑ์และนโยบายการเติบโตอย่างชาญฉลาด

นโยบายสำคัญๆ ประกอบด้วย

• การส่งเสริมที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้

• นโยบายการจัดเทศกาลดนตรีประจำปี

• การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจักรยาน

• การสร้างโปรแกรม Bike Sharing

• การลงทุน BRT (Bus Rapid Transit) และระบบขนส่งมวลชน

• การสร้างสวนสาธารณะระดับชุมชน

• การสร้างระบบความร่วมมือของชุมชนในการให้บริการประชาชน

• การสร้างและปรับปรุงฟื้นฟูถนนให้เป็นถนนแบบสมบูรณ์ (Complete Streets)

• การเปลี่ยนชุมชนที่ใช้ยวดยานเป็นชุมชนแห่งการเดิน

• การสร้างพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่

• การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ

• การสร้างสวนและพื้นที่สีเขียวลอยฟ้าหรือยกระดับ

• หลังคาเขียว

• การปรับปรุงระบบการสื่อสารด้วยด้วยตัวของสาธารณะเอง

• การสร้างกายภาพเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

• การสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนการพัฒนาเมืองด้วยการประชุมสัมมนา

• การสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มประชาชนที่ไร้บ้าน

• การสร้างความสมดุลของระบบการเดินทางและให้ความสำคัญกับทางจักรยานและการปั่นจักรยาน

• การส่งเสริมให้เกิดวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยในเขตเมือง

สรุป

ผลการศึกษาของ BostonUniversity Initiative on Cities ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนายกเทศมนตรีของสหรัฐฯ นั้นมาจากข้อมูลข่าวสารหรือการสื่อสารระหว่างกันของเหล่านายกเทศมนตรีเองโดยนายกเทศมนตรีจากเมืองขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้ประสบการณ์จริงจากเมืองขนาดใหญ่ด้วยกันเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการสร้างนโยบายซึ่งจากผลการศึกษา พบว่าข้อค้นพบต่างๆตรงตามนโยบายของการเติบโตอย่างชาญฉลาดที่ได้ให้นักผังเมืองสร้างนโยบายการพัฒนาเมืองที่มีความเด่นชัดทำความเข้าใจและจูงใจให้นายกเทศมนตรีมองเห็นความสำคัญและให้นายกเทศมนนตรีเป็นผู้นำในการทำความเข้าใจกับชุมชนและต่อสาธารณะจากนั้นให้รีบนำลงสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้นโยบายที่การเติบโตอย่างชาญฉลาดให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกได้แก่นโยบายทางกายภาพที่ประชาชนสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทันที อาทินโยบายการสร้างและปรับปรุงฟื้นฟูถนนแบบสมบูรณ์ การสร้างพื้นที่ TOD หรือนโยบายการสร้างสวนสาธารณะระดับชุมชน โดยให้นำผลที่ได้จากการปฏิบัติออกเผยแพร่ซึ่งต้องให้นายกเทศมนตรีในฐานะผู้นำเป็นผู้เผยแพร่และประกาศให้ความสำเร็จดังกล่าวเป็นความสำเร็จร่วมกันของนายกเทศมนตรีกับประชาชน

ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านบทความ “ย้อนหลัง” เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านผังเมืองที่ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่าง 2 ลิ้งก์นี้

//www.oknation.net/blog/smartgrowth

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand




Create Date : 18 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2557 12:24:57 น. 0 comments
Counter : 736 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.