สนข. กับการพัฒนาระบบรางเชิงรุกด้วยแนวคิด TOD บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม



สนข.กับการพัฒนาระบบรางเชิงรุกด้วยแนวคิด TOD

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม

กลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อีเมล์: drsonchai@gmail.com

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางแบบเชิงรุกด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดTransit Oriented Development (TOD) ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบรางและได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ณสวนผึ้งรีสอร์ท จังหวัดราชบุรี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการกับการพัฒนาเมืองและระบบคมนาคมขนส่งเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดสำนักงานขนส่งและจราจร และสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมืองและสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

ในงานสัมมนาแบ่งออกเป็นสามช่วง คือการเสวนา การบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการการประยุกต์ใช้แนวคิด TOD เพื่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์คมนาคมขนส่งนำร่องจำนวน 3 แห่ง ที่สำคัญ ได้แก่ 1) สถานีคลองบางไผ่2) สถานีบางโพ 3) สถานีพระนั่งเกล้าโดยทั้งสามสถานีเหล่านี้มีความสำคัญและศักยภาพต่อการพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายและเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอสาระสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ช่วงเสวนา(Discussion panel) และช่วงการปฏิบัติงานวางแผน (Planningworkshop)

1. ช่วงเสวนา เรื่อง แนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (อดีต –ปัจจุบัน – อนาคต)

ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมได้แก่

- ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. (คุณวิจิตต์นิมิตรวานิช)

- ผู้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี)

- ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (คุณปัฐตพงษ์ บุญแก้ว)

- ผู้แทนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ดร.กฤษ อนุรักษ์มลกุล และคุณสุเทพพันธุ์เพ็ง)

ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม โดยการเสวนามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการอย่างหลากหลายสามารถสรุปประเด็นที่สำคัญ ได้ดังนี้

1.1 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข.:

1.1.1 ระบบขนส่งมวลชนทางรางขาดการบูรณาการกับด้านการผังเมืองมานาน ควรเพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเช่น กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย

1.1.2 ภาวะทางการเมืองที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า(Transit Oriented Development -TOD) ตามโครงการของ สนข. ที่ จ.พิษณุโลกและนครราชสีมา

1.1.3 ศูนย์พหลโยธิน จำนวน 127 ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนาตามหลักการ TOD

1.1.4 เชื่อว่าการพัฒนาตามหลักการ TOD สามารถลดปัญหาการเดินทางของประชาชนได้

1.1.5 กฎหมายการจัดรูปที่ดินน่าจะเป็นเครื่องมือที่เป็นไปได้ต่อการพัฒนาตามหลักการTOD ของประเทศไทยเฉกเช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

1.2 ผู้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย:

1.2.1 ควรพิจารณารถไฟฟ้าให้เป็นรูปแบบทางธุรกิจ(Business model) โดยหาทางเติมผู้โดยสารให้มากที่สุดให้เดินทางด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

1.2.2 สถานี รฟม. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีจำนวน 3 ชั้นครึ่งหากแต่ชั้นจอดรถไม่อนุญาตให้คนทั่วไปใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและเสียโอกาส

1.2.3 การเลือกตำแน่งสถานีที่ดีจะช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารได้

1.2.4 การเดินทางทางเชื่อมต่อเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาตามหลักการ TODควรมุ่งเน้นรูปแบบการเดินทาง Bus – Metro – Walk (BMW)

1.2.5 ควรเน้นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมบริเวณสถานีเพื่อดึงดูดผู้โดยสาร เช่น ร้านค้า และงานแสดงต่าง ๆ

1.2.6 ตัวอย่างการพัฒนาตามหลักการ TOD เช่น สถานีสยามสแควร์

1.2.7 TODลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนหากสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยให้คนมีรายได้น้อยอยู่ใกล้สถานีเพื่อลดการเดินทางไกลจากชานเมืองเข้ามาทำงานในเมือง

1.2 ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย:

1.2.1 สถานีระบบขนส่งมวลชนควรมีเอกลักษณ์ที่สื่อถึงท้องถิ่นที่ตั้ง และสามารถเป็นแหล่งสำคัญทางสถาปัตยกรรมของเมือง(landmark) ต่อไปได้

1.2.2 การพัฒนาพื้นที่ของ รฟท. เช่น พื้นที่ใต้สะพานนวลฉวี จ.ภูเก็ต จำนวนกว่า 600 ไร่ ควรคำนึงเรื่องสังคมด้วย

1.2.3 ต้องการให้แผนแม่บทที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยมีความนิ่งไม่เปลี่ยนง่ายตามการเมือง ดังตัวอย่างที่ดีของประเทศสิงคโปร์

1.2.4 ผู้ติดตามการปฏิบัติงานมีมากเกินไปกว่าผู้ปฏิบัติส่งผลให้มีตัวชี้วัดมากมาย อันอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ปฏิบัติงานได้

1.2.5 ต้องการให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะเชื่อว่าด้านการผังเมืองจะเป็นศาสตร์ที่ช่วยเหลือการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนได้เป็นอันมาก

1.3 ผู้แทนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด:

1.3.1 ปัญหาในการพัฒนาที่ผ่านมาคือการขาดการบูรณาการหรือประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย

1.3.2 การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีที่ผ่านมาขาดการจัดการที่เหมาะสมโดยเฉพาะการเพิ่มความหนาแน่น (density)และการปรับปรุงพัฒนา เรื่อง การเข้าถึง และความปลอดภัย

1.3.3 ความสำเร็จในการพัฒนามักมาจากภาคเอกชน

1.3.4 เวลาในการเดินทางถือเป็นปัจจัยที่ใช้เลือกรูปแบบการเดินทางที่สำคัญตัวหนึ่ง

1.3.5 การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางเชื่อมต่อ เช่นสร้างสะพานลอยบริเวณสถานีมักกะสัน เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีเพชรบุรี ของ รฟม. (มูลค่า80 ล้านบาท) กระตุ้นยอดผู้โดยสารเพิ่มกว่า30 ล้านบาทต่อปี

1.3.6 ติดกับสถานีรามคำแหง มีภาคเอกชนกำลังก่อสร้างโครงการแบบ mixed-used ชื่อ A-Link

1.3.7 เห็นว่าการพัฒนาแบบ TODมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้านอกเหนือไปจากรายได้จากค่าโดยสารเพียงลำพัง

2. ช่วงปฏิบัติงานวางแผน (Planning workshop)

ผู้เข้าร่วมจำนวน กว่า 50 คน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการการคมนาคมและการผังเมืองโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม เป็นผู้ออกแบบการปฏิบัติงานวางแผนและดำเนินรายการมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

2.1 รูปแบบการปฏิบัติงาน (Workshop design)

แบ่งกลุ่มตามรายสถานี โดยให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการศึกษาวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนทั้งสามแห่ง ตามหลักการTOD หลังจากได้ฟังการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ แล้ว และสุดท้ายให้ผู้แทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นโดยมีผู้ดำเนินรายการเป็นคนให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

2.2 เครื่องมือ (Workshop tools)ประกอบด้วย

2.2.1 แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง (lay-outs) ผังพื้น (plans)รูปด้าน (elevations)

รูปตัด(sections) และภาพทัศนียภาพ(perspectives) ของสถานีรถไฟฟ้าที่สำคัญ

จำนวน3 สถานี คือ

2.2.1.1 สถานีพระนั่งเกล้า






รูปที่  1 ทัศนียภาพสถานีพระนั่งเกล้า

2.2.1.2 สถานีบางโพ




รูปที่  2 ทัศนียภาพสถานีบางโพ

2.2.1.3 สถานีคลองบางไผ่






รูปที่  3 ทัศนียภาพสถานีคลองบางไผ่

2.2.2 ตารางประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งตามหลักการTOD

เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ฝึกปฏิบัติงานวางแผนได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แยกตามรายประเด็นตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การประเมินตามเกณฑ์ TOD





2.2.3 กระดาษเปล่า (Flip chart) เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติงานวางแผนได้ทำการบันทึกแบบอิสระ(freestyle note-taking)ใช้ในกรณีที่เครื่องมือที่มีอยู่อาจมีความจำกัดในการแสดงความคิดเห็น

2.3 สรุปประเด็นความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติงานวางแผน

จำแนกความคิดเห็นเป็นรายสถานีได้ดังนี้

2.3.1 สถานีพระนั่งเกล้า

2.3.1.1 ควรเน้น Universal Design และทางเท้าแบบมีสิ่งปกคลุม(covered way)

2.3.1.2 จำหน่ายตั๋วราคาประหยัดเพื่อดึงดูดผู้โดยสารช่วงoff-peak

2.3.1.3 เพิ่มเส้นทางจักรยานและเดินเท้าเพื่อการเข้าถึงสถานี

2.3.1.4 วางแผนเพื่อเชื่อมต่อกับระบบการเดินทางประเภทอื่น ๆเช่น รถสองแถว และรถตู้มวลชน

2.3.1.5 ออกฎหมายหรือข้อกำหนดที่เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

2.3.2 สถานีบางโพ

2.3.2.1 พิจารณาการเชื่อมต่อกับอาคารพานิชย์ที่มีอยู่โดยรอบสถานี

2.3.2.2 ปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นการพัฒนาเชิงเข้มข้นเช่น สีแดง

(พานิชยกรรม)

2.3.2.3 ผ่อนปรนกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยเรื่องจำนวนที่จอดรถขั้นต่ำกรณี

รถไฟฟ้าเปิดให้ดำเนินการแล้ว

2.3.2.4 ออกฎหมายหรือข้อกำหนดที่เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้

น้อยถึงปานกลางเช่น 2.5 แสนบาทต่อตารางเมตร

2.3.2.5 เน้นการเดินทางเชื่อมต่อทั้งทางบก น้ำ และทางราง

2.3.2.6 เพิ่มพื้นที่จูบและจร (kiss & ride) เพื่อการรับส่งผู้โดยสารบริเวณสถานี

อย่างรวดเร็ว

2.3.2.7 เพื่อสิทธิประโยชน์ของประชาชนภาครัฐควรควบคุมค่าโดยสารได้

2.3.3 สถานีคลองบางไผ่

2.3.3.1 เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปาน
รฟม. ควรประสานความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจาก กคช.มีประสบการณ์และความชำนาญในเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย

2.3.3.2 เตรียมการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการเช่น โรงพยาบาล และโรงเรียนสำหรับชุมชนให้เพียงพอต่อการขยายตัวของประชากรโดยรอบสถานีในอนาคต และลดการเดินทางเข้าเมืองได้อีกทางหนึ่ง

2.3.3.3 ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของสถานีซึ่งเป็นชานเมืองกรุงเทพมหานครและเป็นประตูสู่จังหวัดโดยรอบจึงควรส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนไปยังจังหวัดใกล้เคียงด้วย

2.3.3.4 พิจารณาที่จอดรถและจรแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย (freepark & ride)

2.3.3.5 เนื่องจากรูปแบบสถานีมีความกว้างและลึกเห็นควรให้มีบริการรถรับส่งเข้า-ออกสถานี เพื่ออำนวยความสะดวก

2.3.3.5 เพื่อส่งเสริมการเดินทางเชื่อมต่อเห็นควรให้มีทางเดินเท้า ทางจักรยาน และที่จอดจักรยานที่เหมาะสมต่อสภาพดินฟ้าอากาศและมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

2.4 ภาพบรรยากาศการสัมมนา

































Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2558 14:13:08 น. 0 comments
Counter : 1541 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
12 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.