ชุมชนแห่งการเดินแห่งแรกของประเทศไทยจะบังเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่อำเภอลำลูกกา



ชุมชนแห่งการเดินแห่งแรกของประเทศไทยจะบังเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่อำเภอลำลูกกา

ปฏิบัติการผังเมืองการเคหะแห่งชาติ

บทสรุปเบื้องต้นการปฏิบัติการผังเมืองเพื่อพิจารณาร่างผังแม่บทศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ: ชุมชนแห่งการเดินแห่งแรกของประเทศไทยจะบังเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่อำเภอลำลูกกา

สรุปโดย ฐาปนา บุณยประวิตร

thapana.asia@gmail.com/ //www.asiamuseum.co.th/

www.smartgrowthasia.com

หมายเหตุ : ท้ายบทความจะเป็นภาพบรรยากาศการสัมมนาและปฏิบัติการผังเมือง (Workshop) ของผู้เข้าร่วมประชุม

การเคหะแห่งชาติ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการประชุมปฏิบัติการผังเมืองครั้งที่1เพื่อพิจารณาร่างผังแม่บทการวางผังและออกแบบศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยตามเกณฑ์Smart Growth และ LEED-ND ในวันที่ 18 ธันวาคม 2557 เวลา09.00-12.30 น. ณ.ห้องประชุมทองพันธ์ พูนสุวรรณ ชั้น 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้ร่วมปฏิบัติการจำนวน 64 คน โดยมีนายนพดล ว่องเวียงจันทร์ผู้ช่วยผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติเป็นประธาน

การประชุมในครั้งนี้ ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน ในฐานะของหัวหน้าโครงการได้กล่าวสรุปวัตถุประสงค์โครงการและข้อสรุปจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่1ซึ่งมีข้อสรุปให้พัฒนาที่ดินบริเวณย่านลำลูกกาของการเคหะแห่งชาติเป็นศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย

สำหรับคำกล่าวเปิดของประธานที่ประชุม สรุปได้ว่าการเคหะแห่งชาติมีพันธกิจในการสร้างระบบการพัฒนาเมืองที่มีความทันสมัย ก้าวหน้าสามารถตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและความต้องการของประชาชนโดยให้ความสำคัญในการนำแนวคิดการวางผังและออกแบบเมืองที่เป็นสากลลงสู่การปฏิบัติโดยเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในแปลงที่ดินของการเคหะแห่งชาติเองและมีความเชื่อว่า แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาดและ LEED-ND เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมที่จะสามารถวางผังและออกแบบโครงการไปสู่ความสำเร็จซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับให้การพัฒนาโครงการอื่นทั้งของการเคหะแห่งชาติและของหน่วยงานอื่นๆต่อไป

ส่วนการบรรยายวิชาการเรื่องการประยุกต์ใช้แนวคิดการวางผังและออกแบบโครงการตามเกณฑ์Smart Growth และ LEED-ND นั้น อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการเติบโตอย่างชาญฉลาด ได้ชี้ให้เห็นรูปแบบผสมผสานแนวคิดของ Smart Growth กับ LEED-ND โดยหน้าที่ของ Smart Growth เป็นการกำหนดบทบาทและทิศทางการพัฒนาโครงการผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาในระดับภาคและระดับย่าน ส่วน LEED-ND มีบทบาทในการนำเกณฑ์ของ Smart Growth ลงสู่การออกแบบรายละเอียดทางกายภาพซึ่งใช้ร่วมกับเกณฑ์การออกแบบของ Form-Based Codes เป้าหมายที่กำหนด ดังสรุปตามภาพ



ที่มา : บริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด

สำหรับเครื่องมือของ Smart Growth ที่นำมาใช้แบ่งออกเป็น 4เครื่องมือประกอบด้วย

• การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development-TOD)

• กฎหมายผังเมือง Form-BasedCodes

• เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับย่าน (LEED-ND)

• ถนนแบบสมบูรณ์ (CompleteStreets)

รายละเอียดดังภาพ





ที่มา : บริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด

ส่วนระดับชั้นการออกแบบของ Form-BasedCodes ที่นำมาใช้ประประกอบด้วยการวาผังปรับปรุงฟื้นฟูระดับภาค การวางผังปรับปรุงฟื้นฟูระดับชุมชนการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูระดับแปลงที่ดิน และการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูระดับอาคารรายละเอียดดังภาพ



ที่มา : บริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด

ในการบรรยายสรุปของอาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือ ได้กล่าวถึงการนำเกณฑ์ของ Smart Growth และ LEED-ND ประยุกต์สำหรับการออกแบบโครงการศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยในแปลงที่ดินของการเคหะแห่งชาติบริเวณอำเภอลำลูกกา โดยการออกแบบได้ดำเนินตามเกณฑ์จำนวน 5 เกณฑ์ ได้แก่

• Smart Location and Linkage

• Neighborhood Pattern and Design

• Green Infrastructure and Building

• Regional Priority Credit

• Innovation and Design Process




ที่มา : บริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด

นอกจากนั้นยังได้สรุปวิธีการศึกษาและออกแบบตามเกณฑ์ของโครงการทั้งการวิเคราะห์สภาพการไหลของน้ำผิวดิน (Surface Drainage Analysis การศึกษาสภาพภูมิประเทศ (Topographic Analysis) และการศึกษาตามเกณฑ์ LEED-ND ในประเด็น ProjectBoundary, Site Type, Buildable Land, Walking and Bicycling Distances, Land UseDensities, Development Footprint, Transit Service, Connectivity and CirculationNetwork and Block Frontage

ในการปฏิบัติการผังเมืองที่แบ่งออกเป็น 2 รอบนั้นมีข้อสรุปที่เป็นสาระสำคัญดังนี้

1. ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันให้พื้นที่ออกแบบมีบริเวณใจกลางเมืองหรือ Urban Core (T6) จำนวน 2 บริเวณได้แก่บริเวณด้านหน้าของโครงการและพื้นที่ด้านหลังของโครงการโดยให้ศูนย์กลางเมืองด้านหน้าโครงการเป็นย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นรองรับการบริการผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และภายนอกพื้นที่โดยมีร้านค้าปลีกและศูนย์การค้าหรือหน่วยบริการทางธุรกิจเป็นตัวนำในการพัฒนาส่วนใจกลางของศูนย์บริเวณด้านหลังโครงการกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ในโครงการสำหรับพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย (T5 – Commercial Center) ให้กระจายอยู่รายรอบพื้นที่ใจกลางเมืองทั้งสองบริเวณ

2.ที่ประชุมมีความเห็นในใช้โครงข่ายการขนส่งมวลชนในการเชื่อมต่อการเดินทางทั้งในบริเวณโครงการและเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกโครงการตามข้อเสนอของที่ปรึกษาโดยสร้างทางเลือกการพัฒนา จำนวน 2 ทางเลือกคือ

ทางเลือกที่ 1 กำหนดให้มีเส้นทาง BRT จำนวน 2 เส้นทางโดยการวิ่งวนภายในโครงการกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยต่อขยายรถไฟฟ้ามาถึงด้านหน้าของโครงการ

ทางเลือกที่ 2 กรณีที่ไม่มีโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยวิ่งผ่านโครงการให้ต่อขยายเส้นทางรถ BRT จากโครงการไปยังสถานีรถไฟฟ้าคูคต

3. ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของที่ปรึกษาในการสร้างถนนโถงทางเดิน (Pedestrian Mall) เป็นถนนสายหลัก (Main Streets) โดยกำหนดให้ใช้เฉพาะการเดินรถ BRT การเดินและการใช้จักรยานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ได้อนุญาตให้ถนนสายรองที่วิ่งขนาบข้างถนนสายหลักรถยนต์สามารถวิ่งผสมผสานกับรถBRT และยวดยานประเภทต่างๆ ได้

4.ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของที่ปรึกษาในการใช้ที่ลุ่มอันเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นสวนสาธารณะจำนวน 2 แห่ง และให้พิจารณาสถานที่อนุญาตสำหรับการประกอบการอุตสาหกรรมให้มีความรอบคอบซึ่งในประเด็นดังกล่าวตัวแทนของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานีได้เสนอว่าผังเมืองรวมจังหวัดปทุมธานีได้กันพื้นที่บริเวณคลอง 9 จำนวน 4,000ไร่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรใช้ประโยชน์ตามประกาศผังเมืองรวม

คณะผู้จัดการประชุมขอขอบคุณคณะผู้บริหารและตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆที่ร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ซึ่งประกอบด้วย

1.สำนักงานจังหวัดปทุมธานี

2. สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร

3. สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร

4.กรมโยธาธิการและผังเมือง

5. บริษัท ซีพี ออลล์จำกัด

6. บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

7. บริษัท Magnolia Quality Development จำกัด

8.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

9.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

10. สมาคมอาคารชุดไทย

11.มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

12. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

13. มูลนิธิแพธทูเฮลท์

14. บริษัท ฟลูอิด ไดนามิกจำกัด

15.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

16.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

17. การรถไฟแห่งประเทศไทย

18.องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

19. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตรศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

20. บริษัท อิสเทอร์นสตาร์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

21.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพบรรยากาศการประชุมและปฏิบัติการผังเมือง (Workshop) ของผู้เข้าร่วมสัมมนา



ผู้ร่วมประชุมถ่ายภาพร่วมกัน



นายนพดล ว่องเวียงจันทร์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ

กล่าวเปิดการประชุมปฏิบัติการผังเมือง



จากซ้ายไปขวา

นายต่อพงศ์ จำจด ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์ การเคหะแห่งชาติ

อาจารย์พงษ์ศักดิ์ พิบูลศักดิ์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายพอ บุณยรัตนพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้เชี่ยวชาญการเติบโตอย่างชาญฉลาด และ

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร



ภาพบรรยายของอาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร



ภาพการบรรยายของอาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือ



บรรยากาศการประชุม



บรรยากาศการประชุม



ภาพถ่ายจากซ้ายไปขวา

อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้เชี่ยวชาญการเติบโตอย่างชาญฉลาด

นายราเชน ผินประดับ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาที่อยู่อาศัยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ

และผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน หัวหน้าโครงการวิจัย



ผศ.ดร.สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์ และ ดร.ทัศนี ต้นไทย



อาจารย์ฐาปนา ให้สัมภาษณ์ประเด็นการพัฒนาเมืองแห่งการเดินกับคุณชยาภรณ์ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ Voice TV



ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Voice TV



ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ภาพการปฏิบัติการผังเมืองเพื่อพิจารณาร่างผังแม่บท



ที่ประชุมรับฟังการบรรยายสรุปการวางผังและออกแบบโครงการ



คุณอธิป พีชานนท์ ให้ความเห็นการลงทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์



ภาพบรรยากาศการปฏิบัติการ



ภาพบรรยากาศการปฏิบัติการ



ภาพบรรยากาศการปฏิบัติการ



คุณพอ บุณยรัตนพันธ์ ตัวแทนกลุ่มบรรยายสรุปผลการปฏิบัติการ



ภาพบรรยากาศการปฏิบัติการ



คุณต่อพงศ์ จำจด ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์

กล่าวขอบคุณผู้ร่วมการประชุมและปิดการประชุม



อาจารย์พงษ์ศักดิ์ พิบูลศักดิ์ ให้ความเห็นการพัฒนาโครงการ



ภาพบรรยากาศการปฏิบัติการ



ผู้ร่วมการประชุมถ่ายภาพร่วมกัน


ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านบทความ “ย้อนหลัง” เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านผังเมืองที่ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่าง 2 ลิ้งก์นี้

//www.oknation.net/blog/smartgrowth

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand





Create Date : 19 ธันวาคม 2557
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 13:48:16 น. 0 comments
Counter : 1153 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.