ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะออกแบบถนนให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน นวัตกรรมการออกแบบถนนยุคใหม่

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะออกแบบถนนให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันนวัตกรรมการออกแบบถนนยุคใหม่ (Completed Street Design) ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันก้าวพ้นความเลื่อมล้ำทางสัมคมให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มผู้ใช้งานบนท้องถนนอย่างเท่าเทียมกัน เชิญอ่านบทความ 




การการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ : นวัตกรรมออกแบบถนนสำหรับเมืองน่าอยู่

Completed Street Design : Revitalization Innovationfor Livable Cities

โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ : อาจารย์/นักออกแบบชุมชนเมือง

Email: Siwa_thong@yahoo.co.th

เขียนเมื่อ 17-05-2557

บทนำ

เป็นระยะเวลากว่า70 ปีที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานระดับรัฐในประเทศไทยได้ถูกพัฒนาขึ้นในด้านต่าง ๆโดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กระทรวงคมนาคม (ThailandTransport Portal) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในประเทศทั้งนี้หน่วยงานราชการย่อยในสังกัดที่เกี่ยวข้องกับระบบคมนาคมขนส่งและการจราจรทางบกได้แก่ กรมการขนส่งทางบก, กรมทางหลวง,กรมทางหลวงชนบท และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจะมีบทบาทในการวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดกรอบและจัดทำแผนการปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทุกประเภทและถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบถนนในประเทศไทยอย่างยิ่ง

ระบบถนนในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1. ระบบถนนในเมือง (City Street) และ 2. ระบบถนนในชนบท (LocalStreet Network) ซึ่งจะมีความสำคัญลดหลั่นกันตามประเภทและการใช้งาน การพัฒนาระบบถนนในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานั้นได้มีการพัฒนาตามหลักทฤษฎีทางวิศวกรรมการขนส่งและจราจรซึ่งแสดงถึงเทคนิควิทยาการทางวิศวกรรมที่ก้าวหน้าที่ได้รับจากประเทศตะวันตกรวมไปถึงระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ให้ความสำคัญเฉพาะผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะประเภทต่างๆ เท่านั้นแต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของการออกแบบถนนโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้งานหลากหลายประเภทและหลากหลายรูปแบบการเดินทางมากขึ้นโดยมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนโดยเฉพาะระบบถนนในเมืองที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับคนเดินเท้าเมื่อลักษณะเมืองถูกปรับเปลี่ยนเพราะรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนเปลี่ยนไปการพึ่งพาอาศัยโดยรถยนต์นั้นเริ่มถูกจำกัดและลดความสำคัญลงซึ่งแตกต่างกับการพัฒนาในประเทศไทยที่ยังคงเน้นความสำคัญไปที่ผู้ใช้รถยนต์เป็นหลักการเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาระบบถนนในต่างประเทศที่ได้มาจากการผลักดันอย่างเข้มแข็งของกลุ่มสัมพันธมิตรส่งเสริมถนนแบบสมบูรณ์ในระดับชาติ(The National Complete Streets Coalition)ถือว่าได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการเดินทางและการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองไปโดยสิ้นเชิง

ต้นกำเนิดกลุ่มออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ (The National Complete Streets Coalition)

ปัจจุบันการพัฒนาระบบถนนของเมืองในประเทศแถบตะวันตกและยุโรปได้พัฒนาไปสู่การให้ความสำคัญของคนเดินเท้าและกลุ่มผู้ใช้จักรยานมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับรวมถึงส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อม(Green Transportation)นอกจากนี้ยังพยายามลดความจำเป็นของการใช้รถยนต์ภายในเมืองทุกรูปแบบด้วยการสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลักสำหรับเดินทางภายในเมืองโดยถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของผู้บริหารเมือง(Local Government)โดยมุ่งเน้นไปที่การลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับประชาชนแนวคิดการพัฒนาระบบถนนในอเมริกาและแคนาดาในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกิดจากการผลักดันโดยกลุ่มสัมพันธมิตรส่งเสริมถนนแบบสมบูรณ์ในระดับชาติ (The NationalComplete Streets Coalition)เป็นกลุ่มที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างถนนแบบสมบูรณ์ (Complete Street) ในอเมริกา ซึ่งค่อนข้างมีความแข็งแกร่ง และมี“พันธมิตร”ที่คอยรณรงค์และสนับสนุนต่อความเชื่อที่ว่า ถนน (โดยเฉพาะถนนในเมือง)จะต้องเป็นถนนที่ปลอดภัยต่อทุกคน ไม่ใช่แค่เฉพาะคนขับรถยนต์เท่านั้นเพราะฉะนั้นเมื่อจะสร้างถนน ก็ต้องมีทางเท้า ทางข้าม ป้ายสัญญาณต่างๆ ที่เอื้อให้ ‘คนเดินเท้า’ รู้สึกว่าตนมีสิทธิที่จะใช้ถนนเท่าเทียมกันกับคนขับรถยนต์ด้วย(โตมร ศุขปรีชา,2013)นอกจากการผลักดันนโยบายให้เกิดการพัฒนาระบบถนนแบบสมบูรณ์ในระดับชาติแล้วยังมีการศึกษาวิจัยและทดลองเทคนิควิธีการปฏิบัติการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์เพื่อหารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบในแต่ละพื้นที่จึงเป็นความก้าวหน้าวิทยาการนวัตกรรมด้านผังเมืองและการออกแบบชุมชนเมือง (Planningand Urban Design Innovation) ที่มุ่งเน้นไปสู่ภาคการปฏิบัติจริงที่ประสบผลสำเร็จเกิดเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่าง ๆทั่วทั้งอเมริกาและแคนาดา และประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่คำนึงถึงการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ถนนผสานทฤษฎีด้านการวางผังและการออกแบบ รวมถึงเทคนิคด้านวิศวกรรมจราจรและสุขภาพของสาธารณะเป็นหลัก



ภาพที่ 1 : นโยบายการส่งเสริมถนนแบบสมบูรณ์และข้อบังคับในปัจจุบัน(Current Policy Statements and Regulations

ที่มา:Complete Streets Prince Avenue. (2012). Basic APA format for citing printmaterialist media. Retrieved June, 16, 2014, from //completestreetsprince.org/safety-by-design/complete-streets-introduction/



ภาพที่ 2: ถนนแบบสมบูรณ์ในเมืองเบลลิ่งแฮม(Complete Streets features make this street in Bellingham)

ที่มา: Stefanie Seskin. (2013). Basic APA format for citing printmaterialist media. Retrieved June, 16, 2014, from//www.smartgrowthamerica.org/2013/08/22/join-the-national-complete-streets-coalition-at-the-2013-national-walking-summit/


หลักการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ (Principle: The Complete Street)

หลักการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์จะให้ความสำคัญที่คำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้งาน 4 ประเภท ได้แก่ กลุ่มคนเดินเท้ากลุ่มผู้ใช้จักรยาน กลุ่มผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนโดยเน้นระบบขนส่งมวลชนสีเขียวและกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ตามลำดับ ส่วนความก้าวหน้าทางวิชาด้านฝั่งประเทศในยุโรปที่มีพัฒนาการไปถึงการมองระบบถนนเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก (Living Street)ซึ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ในบ้านและมีความเป็นกันเองสูงสำหรับแนวทางการพัฒนาถนนแบบสมบูรณ์ในอเมริกาได้คำนึงถึงปัจจัย 6 ด้านตามหลักการของถนนแบบสมบูรณ์ยังให้ความสำคัญสอดคล้องกับผลประโยชน์ด้านอื่น ๆที่ประชาชนจะได้รับ ได้แก่ 1.ความปลอดภัย 2.ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน3.สุขภาพของสาธารณะ 4.ความสามารถในการรองรับ 5.ความยั่งยืน และ6.การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม

การออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ในขั้นต้นจึงมุ่งเน้นไปในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกโดยอาศัยหลักการ 3E ซึ่งได้แก่วิศวกรรม (Engineering) การศึกษา (Education) และ การบังคับใช้ (Enforcement) โดยใช้ลักษณะการทางการศึกษาวิจัยโดยการมองกรอบใหญ่ของการพัฒนามากกว่าการแยกส่วนเพื่อแก้ปัญหาในจุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นการบูรณาการแก้ปัญหาการจราจรแบบองค์รวมและได้อาศัยหลักข้อกำหนดการจำแนกลำดับชั้นของย่านในระดับภาค(Urban Transect) เป็นองค์ประกอบของการออกแบบที่อาศัยความสูงของอาคารที่มีความสัมพันธ์กับความกว้างของถนนและทางเท้าซึ่งขนาดของทางเท้าจะต้องมีขนาดที่สัมพันธ์และเพียงพอต่อการรองรับคนเดินเท้านอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง หลักการวางองค์ประกอบของถนนแบบสมบูรณ์ ได้แก่ ต้นไม้สตรีทเฟอร์นิเจอร์ ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ไฟฟ้า เป็นต้นซึ่งต้องมีการจัดลำดับชั้นของการวางตำแหน่งตามสภาพพื้นที่นั้น ๆ

ถนนแบบสมบูรณ์ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย (Complete Streets:Making Safer Streets)

หลักพื้นฐานการทำงานด้านนี้จะใช้หลักการ 3E ดังที่กล่าวมา ซึ่งหมายถึงการศึกษาความต้องการการปฏิบัติในระดับชุมชนการเปลี่ยนแนวทางการวางแผนไปสู่กระบวนการออกแบบถนนรวมถึงการออกแบบองค์กรและการเรียนรู้จากความสำเร็จที่แสดงถึงอัตลักษณ์และการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการออกแบบถนนให้มีความสมบูรณ์



ภาพที่ 3: ทางจักรยานเป็นภารกิจหนึ่งของการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมถนนแบบสมบูรณ์

ที่มา: Aaron Bialick. (2013). Basic APA format forciting print materialist media. Retrieved June, 16, 2014, from//sf.streetsblog.org/2013/06/18/bikeway-on-mission-instead-of-market-does-anybody-think-its-a-good-idea/

เทคนิคและวิธีการทำถนนให้ปลอดภัยโดยทั่วไปจะคำนึงถึงพื้นฐานความต้องการโดยอาศัยความชำนาญด้านวิศวกรรมจราจรและการพินิจพิจารณา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ เช่น การให้คำแนะนำในการเลี้ยวและระยะเวลาของการมองเห็นป้ายสัญญาณจราจรและเทคนิคการปฏิบัติที่สามารถเข้าใจได้อย่างเป็นธรรมชาติอย่างไรก็ตาม กุญแจที่สำคัญทางด้านแนวคิดในการออกแบบถนนให้ปลอดภัย มี 5 ประการได้แก่

1.การทำถนนให้ง่ายต่อการใช้งานต่อผู้ใช้ (Make the Street Easy to Use) ความต้องการขั้นพื้นฐานที่หลากหลายของผู้คนในเมืองคือ การขับรถ การเดินและการปั่นจักรยานเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุจำเป็นต้องมีเงื่อนไขในแนวทางที่ว่าจะต้องสร้างตัวอย่างของการขับเคลื่อนการจราจรตลอดเส้นทางของถนนที่เป็นโครงข่ายให้เชื่อมต่อกัน

2.การสร้างสรรค์ความปลอดภัยด้วยหมายเลข (Create Safety in Number) การทำให้ผู้ใช้ถนนป้องกันการได้รับบาดเจ็บอย่างเช่น การมีทางเดินเท้า และทางปั่นจักรยานที่ชัดเจนที่สามารถมองเห็นได้โดยหลักการออกแบบ จะต้องประยุกต์ใช้แนวทางของการออกแบบการสัญญาณจราจรและการลดการขับขี่ด้วยความเร็วที่มากเกินไป

3.การทำสิ่งที่มองไม่เห็นให้มองเห็น (Make the Invisible Visible) การวางกลุ่มผู้ใช้ให้สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ง่าย

4.การเลือกคุณภาพมากกว่าปริมาณ (ChooseQuality Over Quantity) ถนนและสี่แยกควรออกแบบตามลักษณะของรูปทรงเรขาคณิต และออกแบบตามหลักการความสำคัญตามลำดับ

5.การมองภาพใหญ่มากกว่าส่วนย่อยหรือมองเฉพาะจุดเล็ก ๆ ที่มีปัญหา (แต่สำคัญ) (Look Beyond the (Immediate) Problem) การขยายขอบเขตของพื้นที่เป้าหมาย เพื่อหาวิธีแก้เชิงพื้นที่ของพื้นที่ที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้



ภาพที่ 4: โครงการกรีนเลน (Peoplefor Bikes) การส่งเสริมเลนจักรยานในสหรัฐอเมริกา

เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมนโยบายการสร้างถนนแบบสมบูรณ์

ที่มา: Michael Andersen. (2014). Basic APA formatfor citing print materialist media. Retrieved September, 8, 2014, from//usa.streetsblog.org/2014/09/08/the-letter-to-the-times-that-foresaw-nycs-biking-triumph-10-years-ago/

ปฏิบัติการมีส่วนร่วมออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ (InvolvementDesigning Complete Streets)

สำหรับขั้นตอนปฏิบัติการมีส่วนร่วมถนนแบบสมบูรณ์นั้น The Complete Streets Coalition ได้กำหนดขั้นตอนหลักไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

            1. การอธิบายข้อมูลพื้นฐานของถนนแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วย

-ผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ

-ตัวอย่างความสำเร็จของนโยบายถนนสมบูรณ์ในสถานที่ต่างๆ

-เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างสภาพของถนนในปัจจุบันกับถนนแบบสมบูรณ์และเสนอแนวทางการประยุกต์ถนนแบบสมบูรณ์เพื่อใช้ในชุมชน

2. การอธิบายนโยบายการจัดทำถนนแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วย

-นโยบายและวิธีปฏิบัติ

-รูปแบบนโยบายและเครื่องมือ 10 ข้อในการนำถนนแบบสมบูรณ์ไปใช้

-การกำหนดเป้าหมายและวิธีการวัดทางสถิติถนนแบบสมบูรณ์ และ

-การนำถนนแบบสมบูรณ์ไปใช้ตอบสนองการใช้งานของชุมชน

3. การนำนโยบายถนนแบบสมบูรณ์สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย

-การนำถนนแบบสมบูรณ์ให้เป็นนโยบายของท้องถิ่น

-การใช้ 4 ขั้นตอนในการปฏิบัติการ

-การสรุปปัญหาอุปสรรคในการนำถนนแบบสมบูรณ์สู่การปฏิบัติและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและการร่างขั้นตอนการปฏิบัติจริง

ส่วนการสร้างแรงจูงใจส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนได้กำหนดขั้นตอนหลักไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.ต้องรณรงค์ว่า ถนน (โดยเฉพาะถนนในเมือง) จะต้องเป็นถนนที่ปลอดภัยต่อทุกคนไม่ใช่แค่กับคนขับรถยนต์เท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะสร้างถนน ก็ต้องมีทางเท้าทางข้าม ป้ายสัญญาณต่างๆ ที่เอื้อให้ ‘คนเดินเท้า’รู้สึกว่าตนมีสิทธิที่จะใช้ถนนเท่าเทียมกันกับคนขับรถยนต์ด้วย

2.ในเวลาเดียวกันก็ต้อง “กล่อม”รถยนต์ให้ “สงบ”คือไม่พยศจนเป็นอันตรายกับคนอื่นด้วยการลดความเร็วสูงสุดลง(เลิกการเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด เป็นต้น)

3.ปลูกต้นไม้บนถนนเพิ่มขึ้น ลดพื้นที่สำหรับรถยนต์ลง และอื่นๆรวมไปถึงการสนับสนุนให้คนหันมาใช้ “ทางเลือก” อื่นๆ ในการเดินทาง เช่น มีทางรถเมล์ทางจักรยาน ฯลฯ โดยที่การสัญจรทางเลือกเหล่านี้ต้องใช้ได้จริงและกว้างขวางครอบคลุม



ภาพที่ 5: ถนนแบบสมบูรณ์ ในสิงคโปร์ (Boulevardexample: City of Singapore)

ที่มา: Singapore (โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)

การใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์จริงในกระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่(Pop-Up Planning)

สำหรับการเรียนการสอนด้านการวางผังและการออกแบบชุมชนเมืองตามแนวทางในต่างประเทศได้ใช้วิธีการจำลองสถานการณ์และปฏิบัติการภาคสนามโดยการจำลองเหตุการณ์สมมุติก่อนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการยอมรับของประชาชนในพื้นที่และผู้ใช้รถยนต์ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับสำหรับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมในพื้นที่สามารถช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและเสริมสร้างประสบการณ์ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติสำหรับทีมนักออกแบบนอกจากนั้น เทคนิควิธีการปฏิบัติการภาคสนามเป็นยุทธวิธีที่สำคัญที่จะประสานหน่วยงานท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการพัฒนาพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น




ภาพที่ 6: กลยุทธ์วางแผนวิธีการใหม่สำหรับการปฏิรูปกระบวนการทางสาธารณะ

ที่มา: Amber Hawkes. (2013). Basic APA format forciting print materialist media. Retrieved June, 16, 2014, from//thisbigcity.net/pop-up-planning-new-methods-for-transforming-the-public-process/

บทสรุป

ถนนแบบสมบูรณ์ (The Complete Street) ถือเป็นนวัตกรรมด้านการออกแบบชุมชนเมืองที่ได้รับการยอมรับและพิสูจน์ให้เห็นถึงวิทยาการก้าวหน้าอีกขั้นของการออกแบบถนนโดยให้ความสำคัญไปที่ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนทุกกลุ่มสร้างผลประโยชน์และความเสมอภาคของกลุ่มผู้ใช้โดยไม่ได้มองไปที่การแก้ปัญหาการจราจรเป็นหลักแต่คำนึงถึงดุลภาพระหว่างผู้ใช้งานแต่ละประเภทซึ่งแตกต่างจากแนวคิดในอดีตที่ให้ความสำคัญเฉพาะรถยนต์แนวคิดถนนแบบสมบูรณ์แม้พึ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่นานแต่หลายมลรัฐในอเมริกาและแคนาดาได้รับการยอมรับและปฏิบัติโดยทั่วไปรวมไปถึงประเทศที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบกายภาพภายในเมืองที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจและสังคมเท่านั้นงานออกแบบกายภาพจึงเป็นจุดแรกเริ่มของการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตที่มีความสำคัญถึงเวลาที่ระบบกายภาพบนท้องถนนควรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นและให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าเป็นอันดับแรก โดยการผลักดันให้มีการสนับสนุนการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ให้เป็นวาระแห่งชาติเพราะผลประโยชน์ที่ได้รับกลับมาไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก ความปลอดภัย สุขภาพที่ดีและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของมนุษย์


ขอเชิญชม การออกอากาศเรื่องนี้ได้ตามลิ่งนี้ครับในรายการพลเมืองข่าว : ถนนของใคร? (29 ม.ค. 58)




เอกสารอ้างอิง

ฐาปนา บุณยประวิตร. (2013). Basic APA formatfor citing print materialist media. Retrieved June, 16, 2014, from //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/02/22/entry-1

โตมร ศุขปรีชา. (2013). Basic APA formatfor citing print materialist media. Retrieved June, 16, 2014,from//thaipublica.org/2013/04/living-street/

Amber Hawkes. (2013).Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved June, 16,

2014, from //thisbigcity.net/pop-up-planning-new-methods-for-transforming-the-public-process/

Aaron Bialick. (2013). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved June, 16, 2014,from//sf.streetsblog.org/2013/06/18/bikeway-on-mission-instead-of-market- does-anybody-think-its-a-good-idea/

Complete Streets Prince Avenue.(2012). Basic APA format for citing print materialist media.

Retrieved June, 16, 2014, from //completestreetsprince.org/safety-by-design/complete-streets-introduction/

Michael Andersen. (2014). BasicAPA format for citing print materialist media. Retrieved

September, 8, 2014, from //usa.streetsblog.org/2014/09/08/the-letter-to-the-times-that-foresaw-nycs-biking-triumph-10-years-ago/

New York City DepartmentTransportation. (2013). Basic APA format for citing print materialist

media. Retrieved June, 16, 2014, from //completestreetsprince.org/safety-by-design/complete-streets-introduction/

Stefanie Seskin. (2013). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved June, 16,

2014, from //www.smartgrowthamerica.org/2013/08/22/join-the-national-complete-streets-coalition-at-the-2013-national-walking-summit/

ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านบทความ “ย้อนหลัง” เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านผังเมืองที่ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่าง 2 ลิ้งก์นี้

//www.oknation.net/blog/smartgrowth

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand





 

Create Date : 03 มกราคม 2558
0 comments
Last Update : 12 พฤษภาคม 2558 22:24:06 น.
Counter : 6079 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.