<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 กรกฏาคม 2554
 
 
สมิติเวช ศรีนครินทร์ ชวนรู้จัก ฝังเข็ม แพทย์แผนจีนทางเลือกที่ได้การยอมรับ


(ข้อมูลจากนิตยสาร AIGLE เดือนกรกฎาคม)

แพทย์แผนจีน หรือที่เราเรียกกันว่า “หมอแมะ” นั้นเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวจีนในเมืองไทยมาช้านานแล้ว ภาพคลีนิคหมอแมะที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ มีลิ้นชักบรรจุตู้ยาสมุนไพรจีนสูงถึงเพดานดูคุ้นตาเป็นอย่างดี การรักษาแบบแพทย์แผนจีน หรือ Traditional Chinese Medicine ว่ากันว่าเป็นศาสตร์ที่สืบทอดกันมาหลายพันปีแล้ว การรักษามีตั้งแต่การให้ยาสมุนไพร (herbal medicine) การฝังเข็ม (acupuncture) การนวด (massage therapy) ไปจนถึงการครอบแก้วสูญญากาศ (cupping) และการเลือกรับประทานอาหาร ในปี 1979 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและบรรเทาอาการด้วยการฝังเข็ม จึงทำให้การแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับให้เป็นทางเลือกหรือทางเสริมกับการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างสมภาคภูมิและแพร่หลายอย่างกว้างขวางมาจวบจบทุกวันนี้

คุณณัฏฐ์ชุดา กิตติรวีวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์จีนและการฝังเข็ม โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เล่าเรื่องศาสตร์ของการแพทย์แผนจีนให้ฟังว่า “แก่นของการแพทย์แผนจีนว่าเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับ “สมดุลแห่งชีวิต” ซึ่งหมายถึง การที่ชีวิตของคนๆ หนึ่งจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั้นประการแรก ร่างกายจะต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่สมดุล ซึ่งทางการแพทย์แผนจีนมองว่า ร่างกายของมนุษย์เรานั้นเป็นองค์รวม ไม่ได้แบ่งแยกเป็นระบบต่างๆ ถ้าหากว่า มีการเสียสมดุลเกิดขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ก็จะส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือ เกิดโรคต่างๆ ขึ้นมา และอีกประการหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หากมีปัจจัยเหตุใดเหตุหนึ่งมาทำลายความสมดุลในการดำรงชีวิตของร่างกายแล้วก็กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ ในขณะเดียวกัน การเสียสมดุลของระบบอวัยวะภายในร่างกายเองก็จะยิ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข ชีวิตก็จะถึงจุดดับสิ้นไปในที่สุด นอกจากนั้นแล้ว ตามทฤษฎีการแพทย์จีนกล่าวว่า ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณซึ่งได้รับมาจากพ่อและแม่โดยกำเนิด ไหลหมุนเวียนไปตามเส้นเลือดและเส้นลมปราณต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งผลักดันให้อวัยวะต่างๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และมีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ร่างกายจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด อวัยวะต่างๆ ก็จะทำงานผิดปกติไป หากความผิดปกตินั้น ไม่สามารถปรับแก้ไขกลับคืนมาได้ ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ แล้วมีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ขั้นตอนการรักษาแบบแพทย์แผนจีนนั้น เริ่มจากการสอบประวัติผู้ป่วย ซักถามอาการ ตรวจอาการ วินิจฉัยโรค และการรักษาในรูปแบบต่างๆ เริ่มจากการตรวจโดยการจับชีพจรค่ะหรือที่เรียกกันว่า “แมะ” แล้วก็ดูลิ้น สังเกตุการหายใจหรือดมกลิ่น แล้วก็มีการซักถามประวัติ ซักถามอาการค่ะ ส่วนวิธีการรักษาที่รู้จักกันหลักๆ มี 4 อย่าง คือ การใช้ยาจีน การนวดทุยหนา(นวดแบบจีน) การครอบแก้วสุญญากาศ แล้วก็การฝังเข็ม”

การฝังเข็ม หรือ Acupuncture เป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทย์แผนจีน ซึ่งมีพัฒนาการมากว่า 4,000 ปี และได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก แพทย์แผนจีนนี้เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยองค์ประกอบหลักของร่างกายสองส่วน คือ หยินและหยาง การที่คนเราเจ็บป่วยก็เนื่องด้วย ความไม่สมดุลในการทำงานของ หยินและหยางในร่างกาย ดังนั้น การรักษาจึงมีหลักการอยู่ที่การปรับสมดุลของอวัยวะภายใน โดยการกระตุ้นจุดบนผิวกายภายนอกผ่านเส้นลมปราณ การฝังเข็ม ก็คือ วิธีการรักษาโรคด้วยการใช้เข็มนั่นแหละค่ะ เข็มนั้นก็มีหลายขนาด ปักลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การฝังเข็มมีคุณสมบัติในการรักษาโรค 3 ประการ คือ แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจาก




WHO ให้การรับรองการรักษาใน 5 กลุ่มโรค
กลุ่มแรกนี้ได้ผลชัดเจนมาก คือ กลุ่มอาการปวดต่างๆ หลัง คอ ไหล่ ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน
กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มโรคทางระบบประสาทอัมพฤกษ์ อัมพาต
กลุ่มที่สาม คือกลุ่มโรคจิตเวช พวกนอนไม่หลับ กังวล เครียด
กลุ่มที่สี่ คือ กลุ่มโรคทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก
กลุ่มที่ห้า คือกลุ่มทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ภูมิแพ้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการลดความอ้วนและเพิ่มนํ้าหนักในคนผอม การเลิกบุหรี่ เหล้า สิว ฝ้า ผมร่วง วัยทองหญิง วัยทองชายด้วย โดยทั่วไปแล้ว จะต้องมาสัปดาห์ละ 2 ครั้งค่ะ และต้องมาฝังเข็มอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์ เข็มที่ใช้นั้นบางมาก แค่ 0.18-0.30 มิลลิเมตร ซึ่งมีขนาดเท่าเส้นผมเอง โดยทั่วไปจะใช้เข็ม
ครั้งละ 15-20 เล่ม ฝังนาน 20-25 นาที กระตุ้นด้วยไฟฟ้าตํ่าเพียง 9 โวลท์ ในระหว่างที่ปักเข็มอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนจะรู้สึกง่วงนอน นั่นเป็นเพราะการฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins)
หรือสารแห่งความสุขเกิดขึ้น และเจ้าเอนโดฟินนี้แหละค่ะ จะช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มเมื่อรักษาไปหลายๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้น หรือสนิทขึ้นและจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิม การฝังเข็มนั้น จะไม่เห็นผลอย่างรวดเร็ว ท่านที่มาด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ปฏิบัติตัวตามนาฬิกาชีวิต แพทย์แผนจีนจะทำการรักษาที่ต้นเหตุ ดังนั้น ควรใจเย็นๆ ถ้าไม่เจ็บป่วยเรื้อรังก็จะเห็นผลได้เร็วกว่าการทานยา และไม่ต้องกลัวการตกค้างที่ตับ ที่ไต

Acupuncture for Aches & Pains โรคปวดกล้ามเนื้อกับการฝังเข็ม
โรคปวดกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ซึ่งนิยามของโรคนี้ คือ กลุ่มอาการปวดจากปมกล้ามเนื้อหดตัวซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและแสดงอาการปวดออกมาเฉพาะแบบตามแต่กล้ามเนื้อนั้นๆ และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ตาแดง นํ้าตาไหล
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2.4 ต่อ 1 เท่า อายุที่พบบ่อยคือ ช่วงวัยทำงานเฉลี่ย 31-50 ปี และพบตามแกนกลางกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ เช่น คอ หลัง สะบัก อย่าคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังและเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา ทำให้การรักษายากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เจ็บกล้ามเนื้อ
• การบาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน (Macrotrauma)เช่น อุบัติเหตุศีรษะกระแทก ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่าไหล่หดเกร็ง หันคอไม่สุด รู้สึกมึน และวิงเวียนศีรษะ
• การบาดเจ็บไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง (Microtrauma) เช่น อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน
(เกร็งยักบ่าไหล่ ห่อไหล่) ยกของผิดท่า
• ความเครียด (Psychological stress) และความเร่งรีบในการทำงาน
• โรคเรื้อรังต่างๆ (Chronic illness) เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังคด
• โรคของต่อมไร้ท่อ(Endocrine disorder) เช่น วันหมดประจำเดือน โรคไทรอยด์
• แร่ธาตุและสารอาหารไม่เพียงพอ (Nutritional inadequate) เช่น วิตามิน กรดโฟลิก

การวินิจฉัย กดเจ็บเฉพาะที่ (Regional pain) คลำ ได้ก้อนเป็นปมแข็ง (Taut band) และแสดงอาการปวดร้าวไปตามอาการที่ปรากฏ (Reproducible refer pain) จำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ก่ออาการนั้น
วิธีการรักษา กำจัดปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งที่เกิดขึ้นได้แก่ การยืดกล้ามเนื้อ นวด ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ใช้เข็มคลายกล้ามเนื้อ และฉีดยาชาเฉพาะจุดไปที่บริเวณกล้ามเนื้อหดเกร็ง
การฝังเข็มกับโรคปวดกล้ามเนื้อ มี 2 วิธี คือ การฝังเข็มแบบตะวันออก และ แบบตะวันตก




การฝังเข็มแบบตะวันออก เป็นการฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลของร่างกายหยินและหยาง มีการใช้จุดฝังเข็มทั้งจุดใกล้และจุดไกลเพื่อปรับสมดุล และอาจใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อช่วยลดอาการปวด
ข้อดี : คือ ใช้รักษาโรคได้ประมาณ 30 กว่าโรคตาม WHO รับรอง
ข้อเสีย : คือใช้เข็มปริมาณมากกว่าและต้องฝังแบบต่อเนื่องเพื่อปรับสมดุล ประมาณ 10 ครั้ง
การฝังเข็มแบบตะวันตก เป็นการฝังเข็มเฉพาะจุดที่เป็นปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยง ดังที่ได้กล่าวเบื้องต้น ทำให้เกิดการคลายตัวของปมกล้ามเนื้อและมีการเรียงตัวใหม่ของใยกล้ามเนื้อ รวมทั้งทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น ทำให้นำพาของเสียที่เกิดขึ้นออกนอกกล้ามเนื้อ และมีการหลั่งโพแทสเซียมจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ช่วยระงับปวดได้ดีขึ้น
ข้อดี : คือ ได้ผลดีมากในกลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อจากกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นปม (Myofascial pain syndrome) ใช้จำนวนเข็มน้อยกว่า ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ากระตุ้น คลายปมกล้ามเนื้อได้ตรงจุดกว่า
ข้อเสีย : คือ รักษาได้เฉพาะโรคปวดกล้ามเนื้อจากกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นปมเท่านั้น (Myofascial pain syndrome)

ดังนั้นจึงควรเลือกรักษาให้เหมาะสมทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกายนะครับ และควรหาสาเหตุที่คุณปวด เจ็บกล้ามเนื้อให้ทะลุ เพื่อแก้ไขและหาวิธีป้องกันการกลับเป็นซํ้า ลองพิจารณาตัวคุณเองดังนี้
• ท่านั่งที่ทำงาน นั่งบิดๆเบี้ยวๆ ผิดลักษณะหรือเปล่า อาจปรับโต๊ะปรับเก้าอี้ที่ทำงานให้ถูกกับสรีระของคุณเองจะดีกว่า
• คุณเครียดมากไปหรือเปล่า ฝึกหรือหาวิธีผ่อนคลาย และอย่าทำงานหักโหมจนเกินไป
• การออกกำลังแบบแอโรบิก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นการผ่อนคลาย
• การออกกำลังกายเฉพาะส่วนช่วยเสริมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ทนต่องานมากขึ้น เช่น กล้ามเนื้อบริเวณบ่าไหล่ หลังส่วนบน
• การทำกายภาพบำบัด จะช่วยรักษาต้นเหตุของโรคบางกลุ่ม เช่น การดึงคอ ดึงหลังใน กลุ่มโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้ดี

สอบถามเพิ่มเติมที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โทร. 0-2378-9086

อ่านความรู้เพื่อเป็นแนวทางป้องกันดูแลชีวิตและสุขภาพได้ในนิตยสารรายเดือน ไอเกิล (AIGLE) หรือ //www.aiglemag.com และพบบทความสุขภาพออนไลน์อีกมากมายที่ //www.facebook.com/DrCareBear

ไอเกิล เป็นนิตยสารรายเดือนเพื่อไลฟ์สไตล์และสุขภาพดีที่สามารถ interact กับผู้อ่านได้อย่างสนุกสนาน ท้าทาย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนทำงานรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพ ต้องการสร้างความสมดุลของร่างกาย ความคิด อารมณ์ สังคม และจิตใจ เพื่อความอยู่ดีมีสุข หาอ่านได้ที่ สมิติเวช, Au Bon Pain, Greyhound, Absolute Yoga, True Fitness, California WOW, หมู่บ้านเครือแสนสิริ, ธ.ธนชาต, ธ.ทหารไทย และโรงแรมในเครือ Amari
***************************************



Create Date : 26 กรกฎาคม 2554
Last Update : 26 กรกฎาคม 2554 17:47:08 น. 1 comments
Counter : 4719 Pageviews.

 
อยากลองมารักษาค่ะค่าใช้จ่ายต่อการรักษา1ครั้งเท่าไหร่คะ


โดย: ภรรยวรรณ ค่ะ IP: 223.204.246.168 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:14:06:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com