<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
19 กันยายน 2554
 
 
ภาวะโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome



ใครมีพุงบ้างคะ ? ในสังคมปัจจุบันของเราไม่ว่าเดินไปทางไหนก็จะพบเห็นคนอ้วนมีพุงเป็นส่วนใหญ่ค่ะ เพราะด้วยหลาย ๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธ์ การบริโภคอาหารที่มากเกินไป หรือภาวะการอ้วนจากโรคอื่น ๆ Nurse แอ๋ว มีบทความสาระดี ๆ เกี่ยวภาวะโรคอ้วนลงพุงมาฝากค่ะ


เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome ภาวะนี้หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติทำให้เกิดโรค หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน


เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชายและหญิงตามลำดับ และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ


ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 ,ผู้ที่ได้รับยารักษาความดันโลหิต
ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิง ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่2
พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า


คนกลุ่มใดที่มักจะเป็น Metabolic syndrome
ผู้ที่เป็นเบาหวาน
ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
สาเหตุของโรค Metabolic syndromeสาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบแต่น่าจะเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน


พันธุกรรม
การเกิดภาวะนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติทำให้ระดับอ้วนลงพุ่งไม่เท่ากัน ขึ้นกับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด ตารางข้างล่างแสดงเส้นค่ารอบเอวของบางประเทศ สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ประเทศในเอเชียใต้









วิธีการวัด
ใช้สายเมตรธรรมดาวัดรอบเอวเหนือสะโพกให้สายขนานกับพื้นอย่าให้สายรัดแน่นเกินไปวัดขณะที่หายใจออกเต็มที่


กลไกการเกิดเนื่องจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้มีความ ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินในปริมาณที่มากเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในกระแส เลือด เมื่อเวลาผ่านไปตับอ่อนไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิด เบาหวาน การเกิด Metabolic syndrome จะเกิดก่อนการเกิดโรคเบาหวานภาวะดังกล่าวจะมีอินซูลินมากซึ่งจะก่อให้เกิด ปัญหาไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการทำลายของเยื่อบุผิวหลอดเลือด รวมทั้งมีผลต่อไต


ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร?
ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ไขมัน triglycerideที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจ เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย


การรักษา
เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบา หวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย


การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม
การออกกำลังกาย
วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
การับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ
ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
ลดสุรา



การรักษาโดยการใช้ยา
เมื่อปรับปรุงพฤติกรรมแล้วปรากฎว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุมการรักษาไขมันในเลือด
เป้าหมาย
ลดระดับไขมัน Triglyceride
เพิ่มระดับไขมัน HDL
ลดระดับไขมัน LDL


ยาที่ใช้รักษา
Fibrate (PPAR alpha agonists)จะลดไขมันและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
Statin ใช้ลดไขมันโดยเฉพาะ ApoB-containing lipoproteins และมีรายงานว่าลดอุบัติการของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจการใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยา


การรักษาความดันโลหิต
ควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต เท่ากับ 140/90 มม.ปรอท สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต 130/80 มม.


ยาที่ใช้รักษา
เชื่อว่ายาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors[เช่น enarapril,perindopril ]and angiotensin receptor blockers[cozaar,valsartane ] จะช่วยลดโรคแทรกซ้อน แต่จากหลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากยาลดความดันโลหิตมากกว่าการรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยาที่เพิ่มให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินดีขึ้น เช่น Metformin, thiazolidinediones


การรักษาอื่นๆ
aspirinเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
งดบุหรี่
การพบแพทย์
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งเช่น อ้วน น้ำตาลในเลือดสูง ควรจะปรึกษาแพทย์


หลังจากอ่านแล้ว ชอบหรือไม่ชอบบทความ Nurse แอ๋ว เขียนคอมเม้นท์ติชมไว้ได้เลยนะคะ อ่อ สำหรับใครรู้สึกว่าตัวเองอ้วน มีพุง ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันดูนะคะ ลองทานอาหารให้พอเหมาะ และออกกำลังเพื่อเผาผลาญพลังงาน และไขมันในร่างกายด้วยนะคะ



โรงพยาบาลสมิติเวช 





Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 19 กันยายน 2554 10:52:39 น. 0 comments
Counter : 1405 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com