<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 มีนาคม 2555
 
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต

(การปลูกถ่ายไขกระดูก)


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไขกระดูก

ไขกระดูกเป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของกระดูก มีลักษณะเป็นของเหลว และเป็นแหล่งกำเนิดของเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ในไขกระดูกจะมีเซลล์เม็ดเลือดจำนวนมากหลายชนิด เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)  เป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด  นอกจากนี้ เซลล์ต้นกำเนิดยังพบได้ในเลือดจากสายสะดือ  และในเลือดที่หมุนเวียนอยู่ในร่างกาย


การปลูกถ่ายไขกระดูกแบ่งเป็น 2 แบบ



1. การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของตนเอง
(Autologous Bone Marrow Transplantation)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรง หรือดื้อต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ หลักการของการรักษาคือ การให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงแก่ผู้ป่วย แล้วตามด้วยการให้เซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งอาจนำมาจากไขกระดูกของผู้ป่วยเอง หรือในปัจจุบันเรามักจะเลือกใช้การเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับยากระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดออกมาในกระแสโลหิตประมาณ 4 – 5 วัน  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ เพื่อนำเลือดของผู้ป่วยผ่านเข้าเครื่อง  และแยกเอาเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิด และเม็ดเลือดขาวออกมา  เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดก็จะคืนให้แก่ผู้ป่วย  การนำเซลล์ต้นกำเนิดกลับให้ผู้ป่วยจะทำให้เม็ดเลือดของผู้ป่วยกลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว  การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง เช่น การติดเชื้อ และการมีแผลในปาก


2. การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของผู้อื่น (Allogeneic Bone Marrow Transplantation)

     เนื่องจากไขกระดูก หรือเซลล์ต้นกำเนิดของผู้อื่นถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจะต้องกำจัด  ดังนั้นก่อนที่จะให้ไขกระดูกของผู้อื่น จึงต้องมีการเตรียมผู้ป่วยโดยการให้ยาเคมียำยัด การฉายแสง หรือ สองอย่างรวมกัน (preparative regimen) วิธีการนี้จะทำลายเซลล์ในไขกระดูกของผู้ป่วย และกดภาวะภูมิคุ้มกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกของผู้อื่น นอกจากนี้วิธีการนี้ยังทำลายเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ก่อนทำการปลูกถ่ายไขกระดูก ในผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับไขกระดูกจากผู้รับบริจาค



     โดยทั่วไปสิ่งที่จะบอกว่าผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค และเซลล์ต้นกำเนิดของผู้บริจาคเริ่มทำงานได้เต็มที่ คือการที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น  เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล(neutrophil) เพิ่มขึ้นเกิน 500  ไมโครลิตร เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน  เราเรียกว่าผู้ป่วยยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค (engraftment) หลังจากนั้นเซลล์ต้นกำเนิดจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดที่สมบูรณ์แข็งแรงต่อไป  ผู้ป่วยอาจต้องได้รับเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดเสริมต่อไปอีกระยะจนกระทั่งเซลล์ต้นกำเนิดของผู้บริจาคทำงานได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะค่อยๆกลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งอาจใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี หลังจากการปลูกถ่ายไขกระดูก


ด้วยความปรารถนาดีจาก

ศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก โลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์




 




Create Date : 10 มีนาคม 2555
Last Update : 10 มีนาคม 2555 13:23:30 น. 0 comments
Counter : 533 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com