<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
6 กุมภาพันธ์ 2555
 
 
ปรับพฤติกรรมดูแล“หัวใจ” ไม่ให้ชํ้าชอก


⁞⁞


เพียงแค่ใช้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการรับประทานยาเพื่อควบคุมรักษาระดับแค่นี้เราก็อาจห่างไกลโรคหรือบรรเทาระดับของโรคที่มีความสุ่มเสี่ยงมากขึ้นได้ แต่แรงกระตุ้นอาจต้องเริ่มจากกำลังใจเสมอ นี่ล่ะเรียกว่าพฤติกรรมเดิมๆ ในเมื่อความดันโลหิตสูง จะมีค่าตัวเลขสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งมักจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา พอรู้อีกทีก็เป็นแล้วโดยเฉพาะผู้ใหญ่เกือบ 30% พบปัญหานี้ และพบว่า 50-60% จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นหากสามารถควบคุมความดันโลหิตให้น้อยลงได้ แต่นั่นเป็นสถิติเฉพาะคนที่รักตัวเอง และต้องการป้องกันสาเหตุการตายก่อนเวลาอันควร

4 ขั้นตอนพิชิตโรค

ไม่ว่าคุณหรือใครก็สามารถป้องกันและรักษาได้ เพียงแค่ใช้หลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การติดตามตรวจ Monitoring

ควบคุมความดันโลหิตของคุณโดยแพทย์ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ และรวดเร็ว แต่ว่าการวัดแล้วพบว่าความดันโลหิตสูงเพียงครั้งเดียว ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นความดันโลหิตสูง ทุกคนมีระดับความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดทั้งวัน ความดันโลหิตสูงจะยืนยันว่าเป็นเมื่อพบว่าตรวจเจอมากกว่า 2 ครั้ง

2. พฤติกรรมสร้างสุขภาพที่ดี Healthy Lifestyle

            • ลดนํ้าหนักตัว หากพบว่ามีนํ้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพราะนํ้าหนักตัวที่มากขึ้นความต้องการเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายก็จะมากขึ้น ปริมาณเลือดในหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดแรงที่ผนังหลอดเลือดมากขึ้น ไขมันจะผลิตสารเคมีที่กระตุ้นให้เส้นเลือดและหัวใจทำงาน สุดท้ายแล้วก็จะมีความดันโลหิตสูงในที่สุด หากควบคุมดัชนีมวลกายได้ระหว่าง 18.5-24.9 จะสามารถลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 5-20 มิลลิเมตรปรอทต่อนํ้าหนักที่ลดได้ 10 กิโลกรัม

            • ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้หัวใจปั๊มเลือดได้ดีขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงระบบไหลเวียนจะดี และสามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือดได้ แนะนำให้ออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะสา

            • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณจำกัด ผู้หญิงดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว และผู้ชายวันละ 2 แก้ว ถ้ามากกว่านี้แอลกอฮอล์จะเพิ่มระดับความดันโลหิต รบกวนการทำงานของตับทำให้ฮอร์โมนที่มีส่วนต่อการควบคุมความดันเสียสมดุล และรบกวนการสร้างสเตียรอยด์ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวควบคุมความดันโลหิตที่สำคัญ

3. การปรับเปลี่ยนอาหาร Dietary Change

อาหารจะเป็นตัวช่วยสำคัญทำให้ความดันโลหิตดีขึ้นในเวลาไม่นาน โดยเฉพาะจำพวก ธัญพืช ผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์นมไขมันตํ่า สามารถลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 18-14 มิลลิเมตรปรอทอย่าลืมเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียมได้แก่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง นํ้านมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นมไขมันตํ่า ถั่ว ผักใบเขียว อาหารที่มีโซเดียมก็สำคัญ ถ้าขาดโซเดียมเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะไม่สามารถทำงานได้ร่างกายจะไม่สามารถรักษาสมดุลของนํ้าและเกลือแร่ต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติโซเดียมจะมีกลไกในร่างกายที่จะนำโซเดียมกลับมาใช้ และมีความจำเป็นจะต้องได้รับเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไปจากทางเหงื่อ ทางปัสสาวะหรือการขับถ่าย สัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม จึงควรรับประทานวันละ 2.4 กรัม ซึ่งเท่ากับเกลือ 6 กรัมหรือหนึ่งช้อนชา

โซเดียมพบได้จาก เนื้อสัตว์ ถั่ว ธัญพืช ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นมไขมันตํ่าและเครื่องปรุงรสจากเกลือในการถนอมอาหารเช่น ปลาเค็ม ผักดอง และอาหารกระป๋อง สามารถลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 2-8 มิลลิเมตรปรอท

4. การรับประทานยาควบคุมความดัน Medication to Lower Blood Pressure

ในขณะที่ความดันโลหิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายๆ อย่าง จะช่วยให้ควบคุมความดันได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ แต่ถ้าหากคุณพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมๆ แล้วยังไม่สามารถควบคุมความดันได้ หนทางสุดท้ายแต่ไม่ช้าจนเกินไปก็คือการพุ่งตรงไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาและทำการปรับยา รวมถึงการติดตามผลจนระดับความดันปกติจนเป็นที่พอใจ

Remark

- systolic pressure คือค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว เวลาวัดความดันจะอ่านผลคู่กันกับค่า diastolic pressure

- diastolic pressure คือค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/70

ข้อเท็จจริงเรื่องหัวใจ

ความตายใกล้แค่เอื้อม จากภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดสมองแตกเฉียบพลัน

            • หัวใจวายและเส้นเลือดสมอง อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งเป็นผลมาจากความดันโลหิตสูง

            • มากกว่า 80% ของการตายจากโรคหัวใจ เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดการดูแลเรื่องสุขภาพแม้ชายและหญิงจะมีสัดส่วนใกล้กัน แต่ความเสี่ยงของผู้หญิงจะสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง

            • การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ระวังเรื่องอาหาร มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

            • ความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการ แต่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองและหัวใจวายได้

            • เบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน มีความเสี่ยงเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ หัวใจวาย และเส้นเลือดสมองมากขึ้น



Free TextEditor


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2555 20:51:06 น. 0 comments
Counter : 778 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com