กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2565
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
9 กันยายน 2565
space
space
space

ธรรมของสัตบุรุษ ๓-๔



    ประการที่ ๓  อัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักตน.  นี่ก็สำคัญ  คนที่มันเหลวไหลไม่ได้เรื่อง เพราะไม่รู้จักตัวเอง  ไม่รู้ว่าตัวนี่คืออะไร  ตัวควรจะทำอะไร  ตัวจะมีประโยชน์อย่างไร ไม่ได้คิด ไม่คิดก็ไม่รู้จักตัวเอง  ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมนุษย์  เป็นพุทธบริษัท  เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้น้อย เป็นผัวเขา เป็นเมียเขา เป็นนายเขา เป็นลูกจ้างเขา ไม่รู้  ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้แล้วจะว่าอย่างไร ให้จัดโต๊ะบูชา คนไม่รู้ มันก็จัดผิดหมด วางเกะกะไปหมดเลย โต๊ะ ๙ ตัว วางเลอะเทอะหมดแล้ว ไม่รู้ว่าตัวไหนสูง ตัวไหนต่ำ ตัวไหนตั้งก่อน ตัวไหนตั้งหลัง วางเลอะเทอะหมดเพราะไม่รู้

ตัวเรานี่ก็เหมือนกัน  ถ้าเราไม่รู้ก็วางตัวไม่ถูก  ในเรื่องวางตัวนี้มันสำคัญนักหนา  ถ้าวางถูกแล้วมันน่าเอ็นดู  ถ้าวางผิดแล้วมันน่าเกลียด  คนเราที่มันเสียผู้เสียคนไปเพราะเรื่องนี้มิใช่น้อย วางตัวไม่ถูก  ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่  ไม่เป็นที่ขอบใจของผู้น้อย ไม่รู้ว่าตัวเรานี่ควรอยู่ตรงไหน ควรจะทำอย่างไร โดยฐานะ โดยตำแหน่ง โดยความรู้ โดยความสามารถ ไม่รู้เลยวางตัวไม่ถูก กลายเป็นคนที่เขาเรียกว่าเสือกไม่เข้าเรื่อง  เสือกไปเรื่อยๆ อย่างนั้น ไม่เข้าเรื่องกับเขา นี่มันสำคัญนะ.

   อัตตัญญุตา สำคัญมาก เป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของผู้อยู่ในสังคม อยู่ในป่าคนเดียวไม่เป็นไรดอก ไม่ต้องใช้ก็ได้ อยู่กับเสือ ทำไม่ดีเสือก็เอาไปกินเสียเลย แต่อยู่กับมนุษย์มันลำบาก ต้องรู้จักตัว ต้องรู้จักตัวโดยอายุ โดยเพศ โดยตำแหน่ง โดยความรู้  มันรอบตัว  รู้แล้วมันต้องทำให้เหมาะ  เราเป็นผู้น้อยก็ต้องทำตัวให้สมกับเป็นผู้น้อย  เราเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องทำตนให้สมกับเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้นำก็ต้องนำเขา เป็นผู้ตามก็ต้องตามเขา อย่าดันไปนำเข้ามันก็ยุ่งละ นี่เรียกว่า วางตัวเหมาะเจาะ

   รู้จักตัวเอง  เช่น  เราเป็นคนไทย  คนไทยนี่มันต้องวางตัวอย่างไร  ต้องทำจิตใจให้เป็นไทยไว้ จิตใจที่เป็นคนไทยนี่มันอิสระ อยู่เหนือความชั่ว ไม่เป็นทาสของธรรมชาติฝ่ายต่ำ เรียกว่าเป็นไทย  ถ้าจิตใจของเราตกอยู่ในอำนาจความโกรธ ความโลภ ความหลง ความอยาก อะไรต่างๆ เราไม่เป็นไทย แต่ใจเป็นทาสอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย แต่เป็นสัญชาติทาส เชื้อชาติทาส ไม่เป็นไทย เพราะใจไม่เป็น อย่านึกว่า เป็นไทยโดยการจดทะเบียน โดยเลือดเนื้อเชื้อไข นั่นมันเป็นทางวัตถุ มันไม่คุ้มดอก ต้องให้เป็นไทยด้วยน้ำใจ ใจต้องอิสรเสรีอยู่เหนือความชั่ว แล้วจะอยู่เหนือความชั่วก็ต้องรู้ว่า ตัวเรามันมีอะไรชั่วอยู่บ้าง มีอะไรสอดแทรกเข้ามาเกาะจับอยู่ในใจของเราบ้าง มองบ่อยๆ ค้นบ่อยๆ ค้นพบก็เอาออกเสีย บีบมันเสียเลย จับมันส่งไปต่างประเทศเสีย อย่าให้มันอยู่กับเราต่อไป โอ้เจ้าความชั่วนั่นมันไม่ดี เราก็ได้เป็นไทย

เราเรียกตัวเองว่าเป็นมนุษย์  มนุษย์มันก็ต้องมีใจสูงเหมือนดอกบัวที่อยู่ในน้ำ  ดอกบัวอยู่ในน้ำสกปรกในโคลนในตม แต่ว่าดอกบัวไม่เปื้อนน้ำ ไม่เปื้อนโคลน ไม่เปื้อน โผล่พ้นน้ำสะอาดเรียบร้อย เราชอบเก็บมาบูชาพระ  การเก็บดอกบัวมาบูชาพระ  ก็เพื่อจะเป็นดอกไม้เตือนใจเราให้ทำเหมือนดอกบัว

   ผู้ใด  ที่เรียกตัวเองว่าเป็นมนุษย์  ต้องยกระดับจิตใจให้มันสูงไว้ตลอดเวลา อย่าให้ต่ำ ถ้าใจต่ำก็เป็นได้เพียง “คน” เป็นคนนั่นมันไม่ลำบากดอก  เกิดมาจากท้องแม่คอหยักๆ เป็นแล้ว  เป็นมนุษย์นี่มันต้องสร้าง  ต้องอบรมบ่มนิสัย  เพื่อให้เป็นมนุษย์  รู้ตัวว่าเราเป็นมนุษย์  ร้องทำจิตใจให้เป็นมนุษย์ 
รู้ตัวว่าเราเป็นพุทธบริษัท  ก็ต้องทำตนให้สมกับความเป็นพุทธบริษัท พุทธบริษัทต้องเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแจ่มใส รู้อะไร รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น อะไรตั้งอยู่ในจิตใจของเรา อะไรควรจะแก้ไข อะไรควรจะปรับปรุง อะไรควรจะรักษาไว้ ตื่นอยู่ด้วยมีสติ ไม่เผลอ ไม่ประมาท มารไม่รังแก เพราะเรามีสติกำกับ เบิกบานเพราะนึกถึงความดีที่ทำมาตลอดเวลา ใจคอเบิกบานแจ่มใส
คนที่ใจคอหดหู่เหี่ยวแห้งนั่น  ก็เพราะว่า  มองไปข้างหลังแล้วมันแย่  มองไปดูแล้วมันไม่ไหว ต้องวิ่งหนีละ  ข้างหลังมันเลอะเทอะ สกปรก ไม่เบิกบาน

   คนที่จะเบิกบานนั้น ไม่มีเบื้องหลัง หลังไม่ลาย ไม่มีแผล มันก็เบิกบาน แต่ถ้ามันมีแผลแล้วใจไม่เบิกบานดอก ให้สังเกตเถอะ เราทำอะไรผิดนี่ มันไม่สบายใจ มันตะขิดตะขวงกระอักกระอ่วนอยู่ในใจตลอดเวลา เรื่องความผิดนี่ทำให้ไม่สบายใจ
แต่ถ้าเราประพฤติอยู่ในระเบียบวินัย ไม่มีอะไรบกพร่อง สบายใจ ร่าเริงเบิกบานอยู่ตลอดเวลา  ความรู้จักตัวเอง มันต้องรู้จักแบบนั้น


   ประการที่ ๔  ให้รู้จักประมาณ.    คนดีนี่ต้องรู้จักประมาณ  เรียกว่า มัตตัญญุตา “มัตตัญญุตา สะทา สาธุ ความรู้จักประมาณ คือพอดี ยังประโยชน์ให้สำเร็จ”  รู้จักประมาณในการแสวงหา ในการเลี้ยงชีวิต ในการอะไรทุกอย่าง รู้จักประมาณ รู้จักตัวเองว่าเรานี่มีกำลังเท่าใด จะยกของได้สักเท่าไร รู้จักประมาณกำลังความรู้ความสามารถ แล้วก็ใช้ให้มันพอดี  ได้ของอะไรมา เราก็ต้องมีประมาณในการใช้ ว่าจะใช้สักเท่าไหร่ จะเก็บสักเท่าไหร่ จะเอาไปทำอะไรบ้าง รู้จักงบประมาณส่วนตัว รู้จักความพอดีในการจับจ่ายใช้สอย
รู้จักพอดีในการกินอาหารประจำวัน ในการร่วมวง ในการเที่ยวการเล่น ไม่เป็นคนที่เรียกว่าเกินไป กินเกินไป เที่ยวเกินไป นอนเกินไป สนุกเกินไป จนลืมหน้าที่ ลืมงานลืมการ อย่างนี้ ใช้ไม่ได้
คนใดที่ไม่รู้จักประมาณแล้วเอาตัวไม่รอด ชีวิตตกต่ำ  แต่ถ้ารู้จักประมาณในการอยู่แล้ว เรื่องมันก็จะเรียบร้อย ข้อนี้ เป็นข้อสำคัญอยู่ เรียกว่า รู้จักประมาณ


Create Date : 09 กันยายน 2565
Last Update : 10 กันยายน 2565 7:47:59 น. 0 comments
Counter : 253 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space