กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
29 เมษายน 2565
space
space
space

สามัญ-(ต่อ)


   ทีนี้ เรื่องบางเรื่อง ที่เราสวดมนต์ว่า “อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข - การอยู่ร่วมกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจเป็นทุกข์”  ที่เราเป็นทุกข์เพราะอะไร ?   เพราะไม่เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง  ไม่ได้คิดว่ามันไม่เที่ยง  จึงเป็นทุกข์ คือถ้าเราคิดเสียว่ามันไม่เที่ยง เช่นว่าเราได้ของอันใดมา แทนที่เราจะนึกว่ามันจะอยู่กับเราตลอดไป เรากลับบอกตัวเองว่า มันไม่เที่ยงนะ ไม่แน่ว่ามันจะหายเมื่อไร มันจะแตกเมื่อไร มันจะหักเมื่อไร ใครจะมาเอาไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ คิดไว้บ่อยๆ พอนึกไว้อย่างนั้น สมมติว่า มันแตกขึ้นมาจริงๆ ก็เลยปลงตกลงไป  เออ  เหมือนกับที่คิดไว้ เพราะเราได้คิดไว้ล่วงหน้าแล้ว เราคิดไว้ล่วงหน้าแล้วมันไม่เป็นทุกข์ เพราะเรารู้ว่าธรรมชาติมันต้องเป็นไปอย่างนั้น
คนที่มีความทุกข์ความเสียหาย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ก็เพราะว่าไม่ได้คิดถึงปัญหานี้ ไม่ได้แยกอนิจจังมาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้า พออะไรเปลี่ยนแปลงไปก็เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับเอาเลยทีเดียว อันนี้แหละเสียหาย ชีวิตมันวุ่นวายกันที่ตรงนี้ ตกต่ำกันที่ตรงนี้ หมดกำลังใจกันที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรจะใช้หลักอนิจจังไว้

   ที่เรียกว่า  เจริญวิปัสสนา  ก็เจริญด้วยหลักนี้  ยกสังขารขึ้นพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อผ่อนคลายอารมณ์  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน คิดไว้บ่อยๆ พูดกับตัวเองไว้บ่อยๆ ว่ามันไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ท่องเป็นคาถาไว้ เห็นอะไรก็ต้องพูดว่า อือ ไม่เที่ยง เรียกว่า เป็นธรรมสำหรับเตือนใจเพื่อให้เกิดปัญญา คิดบ่อยๆ นึกบ่อยๆ ให้นึกว่าไม่เที่ยง
เราเล่นต้นไม้ ถ้าเราเล่นให้เป็นธรรมะมันก็ได้ประโยชน์ พอดอกไม้มันออกมา เราก็สังเกตความเปลี่ยนแปลงทุกวัน จะเห็นดอกตูม แย้ม บาน จนเต็มที่
ถ้าเป็นกล้วยไม้มันก็อยู่หลายวันหน่อย ผลที่สุดก็เหี่ยว จนกระทั่งร่วงผลอยสู่พื้น เราเห็นดอกไม้ร่วง ให้คิดน้อมเอามาเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจว่า ชีวิตเรามันก็จะร่วงเหมือนดอกไม้ ใบไม้

   กิจวัตรอย่างหนึ่งว่ากวาดวัด เป็นต้น เขาไม่ใช้ให้กวาดเฉยๆ แต่ให้เอาใบไม้มาคิดนึก ว่าใบไม้มันแห้ง แต่ก่อนมันจะแห้ง มันเป็นใบอะไร ก็เป็นใบไม้แก่ ใบไม้อ่อน มันเป็นยอดไม้ แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นใบไม้เหลืองเหี่ยว หลุดจากขั้วมากองบนดิน เราก็ต้องมากวาดทุกวัน เอาใบไม้นั้นมาเป็นครู แล้วบอกตัวเองว่า เราก็เหมือนใบไม้นี้แหละ ไม่นานก็เหี่ยว แล้วเขาก็เผาเป็นขี้เถ้า  แล้วบอกตัวเองบ่อยๆ
ถ้าเห็นซากใบไม้  ซากสัตว์ตาย  ก็เอามาพิจารณาให้เห็นว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน แล้วก็จะเกิดประโยชน์กับชีวิตบ้าง  เกิดความทุกข์ขึ้นมา ก็คิดว่าชีวิตมันไม่เที่ยง แม้ความทุกข์เองก็ไม่เที่ยง
ความสุขก็ไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยงแท้ถาวร คล้ายๆกับกระแส กระแสลม กระแสไฟฟ้า ชีวิตเรามันเป็นกระแส มันไหลเรื่อยไปไม่มีไหลกลับ เว้นไว้จะใช้เครื่องผันเอา แต่โดยธรรมชาติมันไม่ไหลกลับ มันไหลไปตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และเมื่อมันไหลอยู่อย่างนั้น ควรหรือที่เราจะเข้าไปจับเอาตอนใดตอนหนึ่งว่ามันเที่ยง เช่น รถมันกำลังวิ่ง ขืนไปจับมันก็แย่

   เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้ว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลง มองดูแขน ก็ต้องบอกว่า แขน เอ๊ะ เจ้าไม่เที่ยง มองดูมือก็ตอบบอกว่ามือไม่เที่ยง ดูกระจกส่องหน้าก็ว่าหน้าไม่เที่ยง ผมไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ตาไม่เที่ยง ทั้งเนื้อทั้งตัวก็ไม่เที่ยง ว่าไปอย่างนั้น เห็นผู้หญิงเดินมา โอ๊ย ไม่เที่ยง ไม่เข้าท่าดอก ว่าไปอย่างนั้น พอเห็นละก็รีบว่าเชียว เขาว่าไม่เที่ยงก็ไม่เข้าท่า
พอว่าอย่างนั้นแล้วใจมันหยุด ไม่เกิดอะไรดอก แต่ว่าไม่ว่าอย่างนั้นดอก กลับว่า เอ้อ เข้าท่าดีนี่ มันก็เกิดกิเลสไปซี่ไปว่าอย่างนั้น เราต้องรีบบอกว่า ไม่เข้าท่า ไม่เที่ยง ไม่เข้าท่า เป็นทุกข์ ไม่น่าดู คอยพูดเป็นคาถาไว้ เป็นคำเตือน
คนโบราณเขาใช้กัน ใช้เป็นคาถาเตือนใจ พอเห็นเข้า ไม่เที่ยง ไม่เข้าท่า ไม่เห็นงามสักหน่อย ว่าไว้บ่อยๆ ใจก็เฉยๆ ค่อยๆ เปลี่ยนไปตามคำพูด อันนี้ ก็ใช้หลักอนิจจังเข้าจับสิ่งต่างๆ และเมื่อสิ่งใดมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราก็อย่าไปร้อนอกร้อนใจ

ถ้านึกถึงความไม่เที่ยงเป็นเครื่องปลอบโยน   เช่นว่า   มารดาบิดาตายไป บุตรภรรยาตายไป วัวหาย ควายสูญ นาฬิกาถูกจี้ ก็มานึกถึงกฎอนิจจังไว้ว่า มันไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่ของเรา มันไม่อยู่กับเราตลอดไปดอก มันหายไปแล้วก็ช่างหัวมัน หาใหม่ต่อไป นึกไว้อย่างนี้ สอนตัวเองอย่างนี้ด้วยหลักอนิจจัง มันก็เบาใจ ไม่เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน
คนแก่ๆ ที่ท่านเข้าวัดนานๆ เราจะเห็นว่าท่านใจเย็น ท่านไม่ปราดเปรื่องในเรื่องธรรมะอะไรดอก แต่ว่าอย่าดูหมิ่นน้ำใจ แม้ว่าจะพูดจาธรรมะไม่เก่ง แต่ท่านรู้ รู้ถึงหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอะไรเกิดขึ้นท่านก็นั่งเฉยๆ ไม่สนใจ ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นร้อน
 


Create Date : 29 เมษายน 2565
Last Update : 29 เมษายน 2565 12:40:37 น. 0 comments
Counter : 183 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space