กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 มิถุนายน 2565
space
space
space

ภาวนามัย


   บุญข้อที่ ๓ ต่อไปคือ ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. ภาวนานี่หมายความว่าอย่างไร? ทำให้มาก  ภาวนา   แปลว่าทำให้มาก เรื่องที่ทำให้มาก นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจโดยเฉพาะ เรื่องการรักษาศีล   เรื่องการคุ้มครองจิต   การฝึกจิตโดยเฉพาะ ทำให้มาก เรียกว่า ภาวนา ทำมากๆ ทำบ่อยๆ ทำติดต่อกัน เรียกว่าภาวนา

   ทีนี้  ภาวนามันมี ๒ แบบ เรียกว่า สมถภาวนา  วิปัสสนาภาวนา  เพื่อให้จิตสงบโดยส่วนเดียว ไม่เกี่ยวด้วยปัญญา ไม่เกี่ยวด้วยการคิดค้นอะไรทั้งนั้น มุ่งให้มันหยุดเท่านั้นเอง ให้มันสงบเรียกว่า สมถภาวนา  วิปัสสนาภาวนา นั้น  หมายถึงการคิดค้นเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง เรียกว่าเจริญวิปัสสนา
คนเราไปพูดมักจะพูดผิดอยู่  เช่น  พูดไปว่า  เจริญวิปัสสนา นี่ไม่ถูก พูดอย่างนั้น เรียกว่าพูดตามภาษาชาวบ้าน   ถ้าพูดให้ถูกตามแบบวัด  ต้องพูดว่า ฝึกฝนภาวนา  เช่น  ไปถามว่า วัดนี้ มีการเจริญภาวนาไหม  พูดถูก   ถ้าไปถามว่า   มีการเจริญวิปัสสนาไหม  โดยมากไม่ถูกดอก คือมุ่งจะถามว่ามีการฝึกฝนภาวนาหรือเปล่า  อย่าไปถามเรื่องวิปัสสนา เพราะว่าภาวนามี ๒ อย่าง สมถะ กับ วิปัสสนา
สมถะมุ่งให้จิตสงบเพียงอย่างเดียว  ตัวอย่างเช่นว่าเราเจริญอานาปานสติ  กำหนดลมหายใจเข้าออก  เรียกว่า  สมถภาวนา  ถ้าเรามีใจสงบแล้วหยุดแล้วพอสมควร  เราก็ไปนั่งคิดคิดว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ไม่เที่ยงอย่างไร คิดให้เข้าเนื้อแท้ของเรื่อง ให้เห็นชัดว่าไม่เที่ยงอย่างไร  มันเป็นทุกข์อย่างไร  เป็นอนัตตาอย่างไร  เรียกว่าเจริญวิปัสสนา วิปัสสนาจะนั่งเจริญตรงไหนก็ได้  แต่ว่าที่เงียบมันดีไม่รบกวนจิตใจ เราคิดได้ทั้งนั้น อารมณ์อะไรมากระทบก็แยกแยะวิเคราะห์วิจัยเอา เรียกว่าเจริญวิปัสสนา

   ๑. ให้จิตสงบ   (เรียกว่า สมถภาวนา)

   ๒. ให้ได้คิดค้นในเรื่องสิ่งทั้งหลายให้รู้แจ้งตามสภาพที่เป็นจริง แล้วจะได้ไม่หลงใหลมัวเมา  (เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา)    ภาวนามี ๒ อย่าง อย่างนี้   สุดแล้วแต่ว่าเราจะชอบเรื่องใด ใช้เรื่องใด แต่ถ้าว่าทำตามลำดับใช้ทั้ง ๒ อย่าง สุดแล้วแต่โอกาส  บางครั้งเราต้องใช้สมถะ เพราะจิตมันฟุ้งซ่าน มันวิ่งมาก วิ่งไปวิ่งมามันชนกัน เอาสมถะเข้ามาข่มไว้ ถ้าจิตมันสงบอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้สมถะ ใช้วิปัสสนา คือ การค้นคิดในเรื่องอะไรที่เป็นปัญหา เช่น เรื่องความทุกข์ เรื่องอะไรเป็นต้น นี่เรียกว่าเจริญวิปัสสนา ภาวนามันมี ๒ อย่าง อย่างนี้


   การฝึกเจริญภาวนานี้ เช่นว่าในเรื่องสมถะ ก็คือว่าต้องการฝึกจิตของเราให้มันหยุด ปกติจิตของคนเรานี้มันไม่ได้หยุด มันฟุ้งซ่าน มันดิ้นรนกลับกลอก เที่ยวไปไกลๆ ท่านจึงเรียกว่า “ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ - ผู้มีปัญญาย่อมหักห้ามจิตที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษายากห้ามยาก ให้เหมือนกับนายช่างศรดัดลูกศร”   นายช่างศรดัดลูกศรให้ตรง วิถีกระสุนที่มันยิงจะได้ไปตรง ถ้าว่าไม่ตรงมันไปคดๆ มันไม่ถึงจุดหมาย ถึงมันก็ไม่แรง เพราะมันไม่ตรง
จิตของคนเรานี้มันต้องดึงให้ตรง ให้มันสงบ ปกติมันไม่สงบ มันดิ้นรนกลับกลอก ไปนั่นไปนี่อยู่ตลอดเวลา คิดนั่นคิดนี่ไม่ได้หยุดดอก เราจึงเปรียบเหมือนว่าลิง
ลิงซนขนาดไหน เรานั่งดูลิงเถอะ ไม่มีหยุดซักขณะเดียว กลอกตากลอกหน้ามือไม้ ทำนั่นทำนี่ ลิงมันเป็นอย่างนั้น เปรียบชัด เปรียบเหมือนจิตนี้ว่าเหมือนกับลิงที่มันซุกซน
ลิงซุกซนนี้เราจะปราบให้มันหยุดนี่เราจะทำอย่างไร  ต้องมัดเข้ากับหลักแล้วก็คอยตีไว้ มือกระดิกตีมือ เท้ากระดิกตีเท้า หัวกระดิกตีหัว กลับกลอกตีทั้งนั้น เมื่อใดมันนิ่ง เขาก็ไม่ตี มันเจ็บมันก็เรียนรู้ อ้อ ทำอย่างนั้นเขาตี  ถ้ากูนั่งเฉยเขาไม่ตี เลยมันนั่งเฉย  ทำท่าน่าเอ็นดู เมื่อเฉยแล้วก็ใช้ได้ ก็ฝึกให้ทำอะไรต่อไป เหมือนฝึกให้ลิงเล่นละคร ฝึกสัตว์เดรัจฉานเขาฝึกให้เชื่อฟังก่อน

   เคยไปที่ค่ายทหารฝึกสุนัขปากช่อง  หมาเยอะพันธุ์ดีๆ ทั้งนั้น เลี้ยงไว้เป็นร้อยเป็นพัน พันตัวกองพันหนึ่ง ถามว่าหัดอย่างไรเจริญพร หัดสุนัข เขาว่าเริ่มต้นต้องให้มันเชื่อฟังก่อน มีวิธีหัดให้เชื่อฟัง ครั้นเมื่อเชื่อฟังแล้วให้มันทำอะไรก็ได้ เอามาแสดงให้ดูว่ามันพร้อมเพรียง เช่น บอกว่าหมอบ หมอบราบไปเลย ยืน ยืนพรึบไปเลย พอสั่งให้วิ่ง วิ่งไปเลย พอเขาเป่านกหวีดหยุดปั๊บเลย แหม เหมือนกับคนเก่งกว่าคนเสียอีก  มันไม่เก  หัดได้ดีมาก ให้ดู ดูแล้วเขาก็แสดงจับผู้ร้าย เอาคนมาปิดหน้าปิดตาเสีย  อย่าให้มันจำหน้าได้  เอากระสอบพันอยู่ที่แขน ๒ ข้าง ระวังมันกัด เขาก็เปลี่ยนปลอกคอให้มัน  ใส่ปลอกคอหนัง  เมื่อก่อนนี้ใช้ปลอกคอที่เป็นสายโซ่   พอเปลี่ยนเป็นคอหนังหูตั้ง หางชี้เด่ออกมาเลย  มันรู้  เตรียมจะมีเรื่องแล้ว  พอเปลี่ยนปลอกคอหูชัน สัญชาติญาณ เตรียมตัวทันที  เขาก็สั่งจับขโมย เอาเลย คาบตรงนี้เลย หอบกันไปวิ่งกันไปมันไม่ว่าง จับอยู่นั่นฟัดเหวี่ยง แต่พอเจ้าของบอกว่าวาง วางทันที มันวางทันที มันวางแล้วมันยืนดู มองตาเขียว กูจับได้แล้วบอกว่าวางกูไม่วาง มันยืนมองแล้วคนนั้นก็ออกไป มันก็กลับมาหาเจ้าของ เจ้าของก็ลูบหลัง
ถามว่าทำไมต้องลูบหลังล่ะ ปลอบใจ มันชื่นใจว่าทำเรียบร้อย หมามันก็ต้องปลอบใจเหมือนกัน หมาก็มีหัวใจต้องปลอบมัน   เขาบอกว่าวันหนึ่งกำลังฝึกหัดอยู่  คนเดินมามันวิ่งไปเลย ไม่ได้ผูกสายหนัง วิ่งไปเลย วิ่งไปกัดไอ้คนนั้น ทหารที่คุมสุนัขตัวนั้นก็วิ่งตามไป บอกว่าหยุดมันก็หยุดทันที
แล้วก็ถามว่าทำไมมันเรื่องอะไร พอเห็นเอ็งมันก็วิ่งมาหา เขาบอกว่า วันหนึ่งเขาไปที่ห้องมัน เขาขังมันเป็นห้องๆ เอาไม้แหย่มันเล่นให้มันโฮกฮากๆ มันโกรธ พอเห็นเดิน อ้อ ไอ้นี่มันเอาไม้แหย่กูวันก่อน ไล่กวดเลย ไอ้นั่นวิ่งขาถ่าง เขาหัดไว้อย่างนั้น


   เขาว่าเอาไว้เฝ้าของ เอาของวางไว้ บอกเฝ้า มันไม่ไปไหน มันนอนจ้องหน้า อย่ามาแตะนะ ใครอย่ามาเอานะ ขืนเอางับคอเลย หมาตัวมันใหญ่ พันธุ์เยอรมันกัดคอเลย มันเฝ้าอยู่ ๑ ชม. ๒ ชม. เจ้าของไม่มามันไม่ไปไหน มันเฝ้าอยู่
แล้วเรื่องขนมของกินอะไร คนอื่นให้มันกินมันไม่กิน เขาหัดไม่ให้มันกิน เพราะถ้ากินตาย ข้าศึกเอาอะไรมาให้กินมันก็ตาย เพราะฉะนั้น เขาหัดไม่ให้มันกิน จะกินได้แต่ของที่พรานหมาให้ กินของอื่นไม่ได้ เขาหัดอย่างนั้น ฝึกหัดอย่างดี หัดเก่งใช้ได้ เวลาไปป่า สมมติว่าไปเจอลวดที่เขาขึงลูกระเบิดไว้มันหยุดทันที พอเจอหยุดทันที มองดูทหารว่ามีอะไร มีเชือกเขาขึงไว้ ขึงลวดขึงเชือกมันรู้ หลุมระเบิดก็เหมือนกัน   ถ้ามันไปมันเดินหน้า   พอถึงหลุมระเบิดมันหยุดทันที  มันได้กลิ่นติดจมูก มันเลยหยุดปั๊บ เอาเท้าตะกุยค่อยๆ แล้วก็ไม่มีอันตราย ถ้าพาหมานี้ไปด้วยไม่มีอันตราย ทำอะไรดี เขาฝึกอย่างนั้น ฝึกให้เชื่อง แล้วก็ให้ทำตาม
จิตคนเรานี่ก็เหมือนกัน เริ่มต้นด้วยการฝึกให้มันหยุดก่อน หยุดนั่นคือเชื่องแล้ว แล้วก็ให้ทำอะไรต่อไปได้

   การฝึกสมาธิภาวนา   เรียกว่า   ฝึกภาวนากัมมัฏฐาน  จุดหมายก็เพื่อให้จิตสงบ เพื่อให้ตั้งมั่น เพื่อให้มันอ่อนโยน เหมาะที่จะใช้งาน ๓ อย่าง ฝึกเพื่อให้เกิดนี้คือ เพื่อให้สงบ เพื่อให้ตั้งมั่น ให้อ่อนโยนสำหรับที่จะใช้งาน  จิตปกตินี้มันไม่สงบ มันไม่มีสมาธิ ไม่ตั้งมั่น แล้วมันไม่เหมาะที่จะใช้งาน คล้ายสัตว์ป่าที่ยังไม่เชื่อง เอาไปใช้ไม่ได้ ช้างเราเอามา ใช้ขี่เข้าไปในเมืองมันต้องเชื่องแล้ว ถ้าไม่อย่างนั้นเดี๋ยวไปเหยียบรถยนต์เขาเสียหาย ฝึกให้มันเชื่องแล้วเอาไปใช้งานได้ ม้าวัวควายลิงก็เหมือนกัน   คนก็เหมือนกันจะเอาออกสนามมันต้องเก่งเชื่อง  จิตเราก็ต้องฝึกอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีวิธีฝึก เช่นว่า สมถะ กำหนดลมหายใจเข้าออก ให้มานึกอยู่ที่ลมเข้าออก ให้จิตมันนึกอยู่อย่างเดียว ให้มีสมาธิอยู่ในเรื่องลมแล้วนานๆ มันก็สงบได้ เป็นสมาธิ เราไปใช้อะไรก็ได้


   เราอาจจะนึกว่า ไม่ต้องฝึกสมาธิก็ได้ เพราะไม่ต้องการมรรคผลนิพพาน  มันไม่ใช่อย่างนั้น   เราต้องการให้มันเกิดสมรรถภาพทางจิต   ให้เกิดความสงบในเรื่องใหญ่  อันนี้  เราอยู่ในสังคมที่วุ่นวาย   มีอะไรรบกวนอยู่เสมอ   จิตมันต้องมีสมาธิ   ทำงานการจะดีได้ก็ต้องมีสมาธิมั่นคง ไม่มีสมาธิบวกเลขผิด มันก็ขาดทุน ใส่ศูนย์ผิดตัวเดียวตายแล้ว ๔๐๐ กลายเป็น ๔,๐๐๐ เราก็แย่ เสียเงินกันงอมแงมเท่านั้น ไม่ว่าทำอะไรผิดพลาด เพราะว่าจิตไม่เป็นสมาธิ


   คนที่มีจิตเป็นสมาธิเขาจะทำอะไรได้ทุกๆแห่ง แม้อยู่ในท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครม เขาก็ไม่หวั่นไหว เขานั่งทำงานได้เป็นปกติ เขาจะไม่มีความรำคาญเพราะเสียงเหล่านั้น เพราะเขาเจนกับเรื่องนี้กับเรื่องงาน มีสมาธิอยู่ในงาน ความรำคาญมันก็ไม่มี มันได้ประโยชน์ในการที่จะเอาไปใช้งาน
ยิ่งเป็นนักเรียนนักศึกษามีสมาธิ มันก็เรียนหนังสือเก่ง เรียนดี แล้วก็ประหยัดเวลา อ่านหนังสือเที่ยวเดียวรู้เรื่อง มีเวลาเยอะ คนไม่มีสมาธิ อ่านเที่ยวเดียวไม่รู้เรื่อง เพราะเวลาอ่านใจมันฟุ้งซ่าน  ตาดูหนังสือแต่ใจมันไปไหนก็ไม่รู้   เราต้องคอยเฝ้าดูใจของเราไว้ ว่ามันไปไหน เราไปนั่งดูที่นั่งๆมานั่งแล้วก็รู้ว่าแหมมันไม่ไหวเลย ไม่หยุดเลย ที่ไม่หยุดมันวิ่ง มันไปเรื่อยของมัน ไม่หยุดหย่อน เราต้องคุมให้มันหยุดแล้วจะดีขึ้น

เด็กๆเอามาฝึกสมาธิ แล้วมันจะดีขึ้นเยอะ เรียนหนังสือจะเก่งขึ้น  สอบไล่จะได้คะแนนดี แต่หลายคนไม่เห็นประโยชน์ของเรื่องนี้เท่าไรเลย ไม่สนใจ  นึกว่าไปเจริญภาวนาแล้วจะไปเข้าป่าเข้าดงไปเลย มันไม่ใช่อย่างนั้น นั่นมันอีกพวกหนึ่ง  เป็นพวกเจริญภาวนาเพื่อปรินิพพานนั้นพวกหนึ่ง
พวกที่เจริญภาวนานี่เอากำลังจิตไปใช้ในชีวิตฆราวาสก็มี มันเป็นประโยชน์ที่ควรจะสนใจฝึกฝนไว้


  เราบวชเข้ามา หลักของเราก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ต้องทำให้ครบ รักษาศีลอยู่ แล้วต้องไปเจริญสมาธิ  คิดค้นเพื่อให้เกิดปัญญา ต้องทำให้ครบ ถ้าไม่ครบก็เรียกว่าบวชไม่สมบูรณ์ ไม่ได้ฝึกสมาธิ (ฝึกจิต) เรียกว่า เจริญภาวนา  ภาวนามัย   บุญสำเร็จได้ด้วยการเจริญภาวนา จุดหมายอย่างนั้น เพื่อฝึกจิตให้มีสมรรถภาพในการงานอันเป็นหน้าที่ของเราต่อไป เพื่อฝึกจิตให้มีกำลังต่อต้านสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นรบกวนจิตใจ  ถ้าเราฝึกสมาธิไว้เราแก้ได้ไว ฝึกสติไว้มันก็ไว เห็นอะไรไม่ชอบ เพลิดเพลิน ก็รู้สึกกลับใจได้ วิธีมันมีอย่างนี้ เรียกว่า ภาวนามัย บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา
 


Create Date : 07 มิถุนายน 2565
Last Update : 19 มกราคม 2567 17:46:10 น. 0 comments
Counter : 320 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space