กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
6 มิถุนายน 2565
space
space
space

กัลยาณธรรม ๕ คู่ กับ ศีล ๕


   กัลยาณธรรม ๕ คู่ กับ ศีล ๕ไม่ฆ่าสัตว์แล้วต้องมีเมตตา  ปรารถนาให้ความสุขความเจริญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย  ไม่ลักของใครแล้วไม่ฉ้อฉลใคร  ไม่เบียดเบียนทรัพย์ของใคร แล้วก็ต้องมีสัมมาอาชีพ คู่กัน ต้องมีงานทำ  ต้องมีอาชีพ  อาชีพนั้นต้องชอบ  ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้เพื่อนมนุษย์เดือดร้อน เป็นอาชีพชอบ คู่ กันกับศีลข้อ ๒  ศีลข้อสามต้องมี ความสันโดษ  พอใจในคู่ครองของตน ทีนี้ ปัญหาก็เกิดว่า ถ้ายังไม่มีคู่ทำไงล่ะครับ ไม่มีคู่ก็ต้องอดเปรี้ยวไว้กินหวาน   อย่าไปเที่ยวหาของบูดกินหัวมันจะแตก  แล้วก็เป็นการส่งเสริมสิ่งชั่วร้ายในสังคม เช่น เราไปเที่ยวบาร์ เที่ยวไนต์คลับ ฯลฯ  ในศีลข้อ ๔ เมื่อเราไม่พูดโกหกแล้วเราก็ต้องพูดความจริง คำอ่อนหวานให้สมานสามัคคีมีประโยชน์ พูดให้มันดี  เมื่องดเว้นจากการดื่มของมึนเมาแล้ว ต้องหัดเพิ่ม สติปัญญา หัดสำรวมตนระวังตน  สำรวมไม่ให้เกิดความเสียหาย เรียกว่า มีศีลมีธรรมประจำจิตใจ อันนี้ เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน

   ทีนี้ เรื่องข้อ ๔ เรื่องการพูดเท็จ เราอย่าเข้าใจเพียงว่าไม่พูดโกหกอย่างเดียว พูดคำหยาบก็ไม่ได้ พูดส่อเสียดก็ไม่ได้ พูดเพ้อเจ้อก็ไม่ได้ ไม่ได้ทั้งนั้น ฉะนั้น ต้องพูดแต่คำจริง คำที่อ่อนหวานสานสามัคคีมีประโยชน์ ต้องถือหลักนั้นเป็นสุภาษิต พูดวาจาที่เป็นสุภาษิต อย่าให้เป็นทุภาษิต พูดอะไรก็พูดแต่เรื่องดีเรื่องแท้เรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่มีอะไรจะพูดนั่งเฉยๆ ก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีเรื่องอะไร  ยิ่งพระสงฆ์องค์เจ้าเรานี้ก็  พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า  ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมาพบกัน มีกิจที่จะต้องทำ ๒ อย่าง นิ่งอย่างพระอริยเจ้า ถ้าจะพูดก็พูดเรื่องธรรมะ

   นิ่งๆ อย่างพระอริยเจ้า,  พระอริยเจ้านิ่งไม่ชอบพูด  ท่านพูดน้อย ถ้าจะพูดให้พูดธรรมะ ถ้าว่าพูดธรรมะนี้พูดน้อย พูดไม่ยาว แล้วที่พูดหัวเราะกันเฮฮานั้น ไม่ใช่พูดธรรมะแล้ว เรื่องอะไรแล้ว หรือคนมาหาเรา ถ้าเราพูดธรรมะไม่ยาว แล้วแกก็ไป แต่ถ้าพูดกันแล้ว นั่งคุยกันแล้วคุยกันอีก นั่นมันเรื่องอื่นแล้ว ไม่ใช่เรื่องธรรมะแล้ว เรื่องเหลวไหลแล้ว มันเป็นอย่างนั้น จึงถือหลักว่า เมื่อพบกัน นิ่งอย่างพระอริยเจ้า พูดต้องพูดธรรมะ แล้วมันก็ไม่ยุ่งดี

  อันการพูดนี้เป็นเรื่องสำคัญ   พูดต้องดูกาลเทศะ เวลา สถานที่ บุคคล เหตุการณ์ พูดให้เหมาะ  พูดแล้วอย่าให้ปากแตกเป็นใช้ได้ ถ้าพูดแล้วปากแตกหัวแตกมันไม่ได้เรื่อง มันคงผิดเวลา ผิดบุคคล ผิดสถานที่ ผิดเหตุการณ์ เกิดหัวแตก ปากแตก คิดก่อนจึงพูด อย่าพูดแล้วคิดทีหลังมันเสียหาย เรียกว่า วาจาเหมือนงางอก ออกไปแล้วมันหลุบไม่ได้ งาช้างมันหลุบไม่ได้ ไม่เหมือนหัวเต่ามันหลุบได้  วาจาออกกันแล้วก็แล้วกัน  เพราะฉะนั้น  คิดก่อนจึงพูด  อย่าพูดโดยไม่คิด หากอย่างนั้นแล้วมันสบายใจ  อะไรไม่สมควรเราก็ไม่คิด แล้วถ้าพูดถูกพูดเป็นมันก็เป็นประโยชน์ พูดไม่ขาดทุน  เล่านิทานให้ฟังสักเรื่อง

    
  ลูกเศรษฐี ๔ คน   เขาเป็นเพื่อนกัน   ไปไหนไปด้วยกันสนุก เที่ยวด้วยกัน สนุกด้วยกัน ตามภาษาของลูกเศรษฐี วันหนึ่ง ก็ไปนั่งอยู่ศาลาหน้าบ้าน มีนายพรานป่าคนหนึ่งพร้อมด้วยเกวียน มีเนื้อเต็มเกวียนเลย ไปยิงสัตว์มาแล้วได้เนื้อมาตัวหนึ่ง มาถึงก็หยุดกินน้ำที่หน้าบ้าน ลูกเศรษฐีเข้าไปเห็นเนื้อก็เลยพูดขอ

   คนแรกพูดว่า “เฮ้ย ไอ้พราน ขอเนื้อบ้างดิ”

   นายพรานได้ยินก็นึกในใจว่า พุทโธ่เอ๋ย จะขอของของเขาจะพูดให้หวานๆหน่อยก็ไม่ได้ เมื่อขอแล้วก็ต้องให้เขาหน่อย นานพรานก็ตัดเนื้อพังผืดให้ไปก้อนหนึ่ง ได้พังผืดต้ม ๗ วันก็กินได้ ให้พังผืดไปก่อน

   คนที่สอง มาเห็นก็ว่า “พี่พราน ขอเนื้อให้น้องบ้างนะ”

   เอ๊ะค่อยเข้าทีหน่อยพ่อคนนี้ ตัดเนื้อขาให้ไปชิ้นหนึ่ง เรียกว่าเป็นพี่น้องกันมา แขนขวาแขนซ้าย สัตว์นั้น มันมีขาก็เลยตัดเนื้อตรงขาไปให้ชิ้นหนึ่ง

   คนที่สามมาถึงก็พูดว่า “พ่อพรานจ๋า เอาเนื้อให้ผมบ้างเถอะครับ”

   แหม พูดกระทบถึงหัวใจ เรียกพ่อ นายพรานเลยตัดหัวใจให้ไป ไอ้นี่ต้มอร่อย พอใจไหม กินอร่อย

   อีกคนหนึ่งว่า “สหายเอ๋ย เอาเนื้อมาจากไหนเยอะแยะ ขอแบ่งบ้างเถอะ”

   นายพรานนึกในใจไอ้นี่มันตีตัวเสมอเราเป็นสหาย ให้มันทั้งเกวียนเลย ยกให้ทั้งตัวเลย เอาไปเลยทั้งตัว เอาไปส่งถึงบ้านแล้วเราไปกินข้าวด้วยกัน เพราะเป็นสหายเป็นเพื่อนกัน

   สี่คนพูดไม่เหมือนกัน  คนหนึ่ง  เรียกไอ้พราน  ได้พังผืด  อีกคนเรียกพี่  ได้เนื้อขา คนหนึ่งเรียกพ่อพราน  ได้หัวใจ  คนเรียกสหายเอ๋ย  ได้ทั้งตัวเลย  มันแตกต่างกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราต้องใช้วาจาให้เหมาะแก่คนที่เรารู้จัก คนไหนควรเรียกพี่ คนไหนควรเรียกน้อง เรียกลุง เรียกป้า เรียกคุณอา  เรียกให้แก่ไว้ดี  เรียกว่าเรานับถือ โดยเฉพาะกับสุภาพสตรีเรียกให้แก่ๆไว้ดี ไอ้อ่อนนี่ไม่ค่อยได้ อ่อนไม่ได้ เราไปถึง น้องไปไหนมา เดี๋ยวก็เกิดเรื่อง แต่พี่ไม่เป็นไร เรียกพี่เพราะ ไม่เสียหาย แต่ว่าถ้าเห็นว่ามันพี่ไม่ไหว  อย่าพูดกันดีกว่า เฉยๆ นี่คือศีลข้อ ๔ นี่ก็สำคัญเหมือนกัน

   ส่วนศีลข้อห้านั้นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  พราะโทษมันมาก  สุราเอาไว้พูดกันสักวันหนึ่ง ไอ้เรื่องสุรานี่ เพราะมันสำคัญอยู่  (หัวข้ออบายมุข) 


(จบศีลมัย)

 


Create Date : 06 มิถุนายน 2565
Last Update : 19 มกราคม 2567 17:31:18 น. 0 comments
Counter : 282 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space