To sooth my soul
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยไบโพล่าร์ไม่ยอมรักษาตัวเอง

ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยไบโพล่าร์ไม่ยอมรับการรักษา

เท่าที่ผมได้สัมผัสกับตัวเองมามีสองอาการครับ

หนึ่ง ไม่อยากอยู่
สอง ไม่รู้ตัวว่าตัวเองป่วย

ครั้งแรกที่เข้าโรงพยาบาล
ก็เพราะ มีอาการแปลกๆเกิดขึ้นกับตัวเองครับ
เลยโดนหิ้วจากเจ้าหน้าที่ไปโรงพยาบาล
กรณีนี้คือ ผมไม่รู้ตัวจริงๆครับ จู่ๆ ก็หูแว่วเห็นภาพหลอน เลยตะโกนโหวกเหวกคนเดียว เจ้าหน้าทีบ้านเมืองก็เลยมาหิ้วไปซะอย่างนั้น ทีแรกก็คิดว่าตัวเองมีเซ้นส์พิเศษ แต่สุดท้ายพอกินยา แล้วพักผ่อนเซ้นส์ก็หายไปครับ กลายเป็นเข้าใจว่ามีสัมผัสพิเศษอยู่กับตัวแต่ควบคุมไม่ได้เลยต้องหาวิธีควบคุมครับ ผมพยายามตั้งสติแล้วคิดว่า ถ้ามันควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่มีจริง อย่ามีดีกว่า เลยตัดสินใจรับการรักษาแต่โดยดีครับ จะว่าไปตอนแรกก้ต้องบังคับกันละครับ เจ้าหน้าที่สองคนล็อคตัวผมส่งโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว

พอเริ่มรักษาตัวดีขึ้นก็เริ่มคิดว่าตัวเองปกติแล้วครับ แต่โอกาสทางด้านการงานและชีวิตมันล่มสลาย ทีนี้เลยกลายเป็นอาการซึมเศร้าครับ ไม่อยากอยู่ ตอนนั้นสังเกตตัวเองไม่ค่อยออกครับ ในใจก็คิดว่า แย่แล้ว ตัวเองไม่มีค่า ทำอะไรก็ไม่รอด ไม่น่าเกิดมาเลย เรียกว่าเสียศรัทธาในตัวเองนั่นแหละครับ พอมองไม่เห็นค่าของตัวเอง ก็ไม่อยากอยู่ ไม่อยากรับการรักษา
แต่ คนที่รักและเคารพ "ขอร้อง " ไว้ครับ ให้กินยา และบอกว่ามันจะดีขึ้นแน่ๆ
คนที่เรารักและเคารพคือคนใกล้ตัวที่เรารัก เชื่อใจ และเคารพครับ อาจเป็น พ่อ แม่ คนในครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนสนิท บางทีเจ้านายที่ทำงานก็สั่งได้
ทีนี้พอหายจากซึมเศร้าก็อยากอยู่แล้วครับ ทำโน่นทำนี่ได้ และเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่แล้วสุดท้ายก็ไปจะเอ๋กับเจ้าอาการคึกคักเกิน หรือมาเนียนั่นเอง

ตอน มาเนีย นี่แหละครับลำบาก เพราะผมนึกว่าตัวเองหายแล้วหายขาด หยุดยา ไม่ยอมกินยา มันก็เลยวกกลับไปหลอนอีก แต่คราวนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาช่วย ผมก็อาละวาดสิครับ เถียง ด่าทอ คนที่เคารพรัก ด้วยความรุนแรง เดชะบุญพออาละวาดจบ มีสติขึ้นบ้างเห็นคนที่รักร้องไห้เสียใจ ก็เลยเข้าไปรับการรักษาอีก

ดังนั้นสิ่งสำคัญของการที่ผู้ป่วยจะยอมรับการรักษาก็คือสติครับ

ถ้าเห็นว่ามีสติก็จูงใจได้ง่ายครับ มีปมในใจ มีปัญหาในใจก็ค่อยๆ แก้ไขกันไปได้ เพราะมีคนที่เคารพรักและเชื่อใจดูแล

แต่ถ้าไม่มีสติ ก้หาทางเรียกสติมาครับ อย่างผมนี่เขาปล่อยให้อาละวาดไปพักหนึ่งครับ โดยเอาของมีค่า ของมีคม ไปไว้ห่างๆ เอาหมอน เอาผ้านวม เอาหมอนข้างมาให้ทุบทำลายแทน พอหมดแรง ก็เริ่มมีสติครับ พอมีสติก็รีบจูงใจกันได้เลย โดยสังเกตที่การพูดจาและสายตา ลองชี้ให้ดูว่าสิ่งที่หลงเหลือจากการอาละวาดเป็นอย่างไร ถ้ามีสติจริงจะคิดได้

นอกเหนือจากการปล่อยคือการหักดิบครับ เราไปแรง แต่เขาแรงกว่า มีข้อควรระวังนะครับ เก็บของมีค่าและของมีคมไว้ให้ห่าง ผมตวาดใส่แม่ แต่โดนพี่ชายตวาดกลับจนสติมาครับ ถ้าตอนนั้นไม่มาอาจโดนชกก็ได้ แต่พอหลังจากนั้นก้เข้าใจครับเมื่อสติมาก็คิดได้ถ้าวันนั้นพี่ผมไม่ทำอย่างนั้นผมก็คงหลุดไปจนหยุดไม่ได้

อีกกรณีหนึ่งคือคึกคัก แต่ไม่อาละวาด แต่ใช้จ่าย เที่ยว ฟุ่มเฟือยมากจนเกินปกติ จนคนอื่นและตัวเองเดือดร้อน กรณีนี้หากเกิดขึ้น ให้รีบเก็บของมีค่าครับ ให้เขามีเงินอยู่กับตัวน้อยๆ เอาบัตรเครดิตไปซ่อน เอาเอทีเอ็มไปซ่อน ระยะนี้ยังพอมีสติครับ หากมีแนวโน้มแย่ลงคือจะเริ่มอาละวาด หูแว่ว และหลอนได้แต่ถ้ามีแนวโน้มดีขึ้นจะเริ่มเสียดายเงิน

อย่างที่เล่ามาครับ ถ้าอยู่ในระยะซึมเศร้า ต้องเรียกความรู้สึกอยากอยู่ขึ้นมา
ถ้าอยู่ในระยะคึกคักต้องเรียกสติมาครับ ทั้งนี้และทั้งนั้นอย่ารอให้ผู้ป่วยอาละวาด ต้องป้องกันไว้ก่อน ด้วยการกินยา ถ้าไม่ยอมกินยา ก้ต้องป้องกันโดยเอาของอันตรายและของมีค่าเก็บไว้ดีๆ นะครับ

อย่าเพิ่งบังคับให้ผู้ป่วยที่อาการยังไม่คงที่ไปฝึกสมาธินะครับ ให้สวดมนต์ไปพลางๆก่อน พออาการคงที่ค่อยไปฝึกจิต ผมเคยนั่งสมาธิตอนอาการไม่คงที่ผลปรากฏว่าหลอนครับ กลับไปเริ่มรักษาสุดขั้วอีกรอบ

สุดท้ายขอเน้นนะครับ การป้องกันการเกิดโรคนั้นดีที่สุดก่อนรอให้โรคเกิดแล้วมานั่งรักษา ป้องกันการเกิดอาการอาละวาดก่อนก่อนที่จะอาละวาด ป้องกันอันตรายก่อน ก่อนที่จะเกิดอันตราย นะครับ

ผู้ป่วยก็ต้องดูแลตัวเองนะครับ เมื่อมีศรัทธา รู้ว่าชีวิตเรามีค่า มีคนที่รัก มีคนหว่งใย ก็ต้องดูแลรักษา และป้องกันตัวเองเป็นด้วย อย่าทิ้งให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลฝ่ายเดียว


อ่อบางทีผู้ป่วยก้ต้องการเวลาส่วนตัวบ้าง อย่าห่วงใยเกินจนกลายเป็นความกดดันและคุกคามนะครับ

อีกอย่าผู้ดูแลก็ต้องคอยสำรวจตัวเองด้วย อาจจะต้องปรับตัวบ้าง หรือมีข้อติดขัดอะไร ทั้งนี้จูงมือกันไปหาหมอทั้งคู่สักครั้งก็ดีนะครับ

ทุกวันนี้ผมกินยาควบคุมอาการไว้ตลอดครับ เพราะเมื่อโรคกำเริบขึ้น มันไม่คุ้มจริงๆครับ ทั้งต้องเสียของมีค่า ทรมาณหากต้องเริ่มรักษาใหม่ อาการซึมเศร้านี่ทรมาณมากนะครับ และอาการหลังจากมาเนียที่ใช้จ่ายเก่งๆมากๆ ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันเท่าไหร่

จบแล้วครับ สวัสดี



Create Date : 05 มีนาคม 2557
Last Update : 4 มิถุนายน 2558 8:07:06 น. 3 comments
Counter : 838 Pageviews.

 
มันต้องสามฝ่ายเนอะ หนูแดงก็คิดแบบนั้น คนไข้ คนดูแลคนไข้ แล้วก็แพทย์บางทีอาจจะเป็นนักจิตวิทยามาร่วมด้วย

แต่รายที่ไม่รู้ตัวนี่คงต้องอาศัยคนรอบข้างและการยอมรับตัวเอง พูดยากเหมือนกันนะคะ เพราะดูแล้วมันเป็นเรื่องไกลตัว


โดย: ชัชชษา วันที่: 5 มีนาคม 2557 เวลา:11:51:58 น.  

 
อืม เห็นด้วยค่ะ แต่ปัญหาคือ คนที่อยู่ในอาการมาเนีย ถ้าเป็นคนดื้อด้วย เค้ายิ่งไม่ยอมให้เราควบคุมเรื่องเงิน เราจะทำยังไงดีคะ เพราะถ้าเราคุมเงิน พอพูดหน่อยหาว่า เราบ่นค่ะ ก็หาว่าเราไม่เชื่อใจเขา อยากบอกว่า ลำบากใจค่ะ พอมีวิธีแนะนำไหมคะ อยากรู้ จากคนที่เคยผ่านมาแล้วค่ะ


โดย: นายยีราฟน้อย วันที่: 5 มีนาคม 2557 เวลา:15:55:34 น.  

 
ปัญหานี้ต้องคุยกันตอนมีสตินะครับ

วิธีหนึ่งคือเอาเงินไปฝากประจำแบบเบิกยากๆน่ะครับ
หรือไม่ก็คุยกันว่าเดือนนี้จะใช้เท่านี้พอ ถ้าเกินกว่านี้ต้องคุยกันก่อน
ห้ามมีบัตรเครดิต มีเดบิตได้แต่จำกัดวงเงินต่ำๆ
มีเงินสดอยู่กับตัวจำกัดครับ

ทั้งนี้ทั้งหมดนี่ต้องตกลงกันตอนมีสตินะครับ
เขียนบันทึกเป็นสัญญาไว้เลยก็ได้

ถ้าผู้ป่วยมีสติดีอยู่ก็น่าจะเข้าใจครับ ไม่เช่นนัน้ก้ต้องให้หมอช่วยหรือคนที่เขารักและเคารพช่วยกล่อมน่ะครับ

อ่อ มีเพิ่มค่าขนมอะไรบ้างในโอกาสพิเศษ เหมือนเด็กๆนั่นแหละครับ จะได้ไม่เครียดจนเกินไป

จะว่าไปวิธีนี้คนปกติบางคนก็ใช้กันนะครับ


โดย: Polarbee วันที่: 5 มีนาคม 2557 เวลา:16:11:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Polarbee
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




ไม่เขียน ไม่เลอะ
ไม่เปรอะ ไม่ผิด
ไม่เขียน ไม่คิด
ไม่ผิด ไม่จำ
New Comments
Friends' blogs
[Add Polarbee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.