Ploy Journey Journal.........Welcome to my world
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 
สิเนหามนตราแห่งล้านนา...วรนคร/นันทบุรี หรือเมืองน่าน




"แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง"


Bhumintr Temple, Nan


นันทบุรีในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ ภายใต้การนำของ"เจ้าขุนฟอง" เชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ภูคา และนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่านบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงซึ่งเป็นปราการทางทิศใต้ปรากฏอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว



ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่า"เจ้าขุนใส" เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย



ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองสุโขทัย พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่นี้ โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911



ในระหว่างปี 2103-2318 เป็นช่วงที่ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ผู้คนถูกกวาดต้อนไปทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง และสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญได้ขอเข้าเป็นขอบขัณฑสีมาของรัตนโกสินทร์ จึงรวมคนกลับขึ้นมาใหม่ไปอยู่ที่เมืองน่านตามเดิม พร้อมบูรณะตัวเมืองและกำแพงเมืองใหม่ในปี 2343


ต่อมาปี 2360 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เจ้าสมุนเทวราชจึงย้ายไปสร้างเมืองน่านใหม่ ที่บริเวณ ดงพระเนตรช้างทางตอนเหนือของตัวเมืองน่าน ที่เดิมเรียกว่า "เวียงเหนือ" จนกระทั้่งปี 2389 ลำน้ำน่านได้เปลี่ยนเส้นทางห่างกำแพงเมืองไปมาก เจ้าอนันตวรฤทธิเดช จึงได้พระราชานุญาติจากในหลวงรัชกาลที่ 4 ย้ายเมืองกลับมาที่เดิม ที่เป็นเมืองน่านอยู่จนถึงทุกวันนี้


เครดิต: wikipedia , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, วัดพระธาตุแช่แห้ง และคำบอกเล่าของ อ.เผ่าทอง ทองเจือ



วัดภูมินทร์ "Bhumintr Temple"


วัดภูมินทร์ เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจาก ที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" แต่ตอนหลังชื่อวัดได้ เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์


จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุข หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย


Bhumintr Temple, Nan


พระประธานวัดภูมินทร์


Bhumintr Temple, Nan



สังเกตุดีๆ พระประธานมี 4 ทิศ


Bhumintr Temple, Nan



วิจิตรงดงามมาก ขนาดเสายังสวย


Bhumintr Temple, Nan



ชมจิตรกรรมวัดภูมินทร์ ที่โด่งดัง (หนึ่งในคำขวัญจังหวัดนะคะ *1)



สามร้อยปีต่อมาจากการสร้าง  วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ "ฮูบแต้ม" ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ "อยู่ข่วง" หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า "เอาคำ ไปป่องกั๋น" หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา "เป๊อะ" ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของ วัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่



 ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ที่ให้ชื่อว่า "กระซิบรัก" "The Wisper of Love"


ผลงานของหนานบัวผัน จิตรกรท้องถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่ปราณีตและเป็นภาพที่โดดเด่นประจำวัดภูมินทร์ โดยเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำลังกระซิบสนทนา และมีชื่อเสียงว่าเป็นภาพ "กระซิบรักบันลือโลก"


Bhumintr Temple, Nan


ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในชาดก และ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็ก ๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า "ร้านน้ำ" ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิง เป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น


Bhumintr Temple, Nan



Bhumintr Temple, Nan


Bhumintr Temple, Nan



สังเกตุจากภาพ มีคนจีนเข้ามาอาศัยแล้ว


Bhumintr Temple, Nan



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน


เป็นสถานที่ควรค่าแห่งการเข้าชมค่ะ


Nan National Museum



ด้านในมีสิ่งของที่เป็นมรดกของแผ่นดินวรนครมากมาย


Nan National Museum


งาช้างดำคู่บ้านคู่เมืองนันทบุรี (หนึ่งในคำขวัญจังหวัดนะคะ *2)


ตำนานที่เล่าสืบต่อมาระบุว่า อดีตเจ้าผู้ครองนครน่านได้มาจากเมืองเชียงตุง ตอนนั้นเชียงตุงมีงาช้างดำ 1 คู่ เลยแบ่งให้นครน่านมา 1 กิ่งเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี เดิมเก็บไว้ใน “หอคำ”หรือวังของเจ้าผู้ครองนคร จนเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย(เสียชีวิต) ในปี พ.ศ. 2474 บุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครจึงมอบให้เป็นสมบัติของเมืองน่าน



Nan National Museum


สิ่งของมีค่าของแผ่นดินมากมาย


Nan National Museum



Nan National Museum



Nan National Museum



Nan National Museum



วิวจากชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์


Nan National Museum


ที่ชั้นล่าง มีการจัดแสดงภาพสมัยอดีต เงินตรา และสิ่งของ


Nan National Museum




วัด


เพิ่มคำอธิบายภาพ



เพิ่มคำอธิบายภาพ


วัด.... จำชื่อม๊ะได้อะค่ะ


ที่คุณบัณฑูรย์ พบว่ามันเหมือนกับเรื่อง "สิเนหามนตราแห่งล้านนา" ที่ท่านเขียน


เพิ่มคำอธิบายภาพ



พระประธานภายใน และท่านผู้บรรยาย inspiration คุณบัณฑูรย์ ล่ำซำ  





ไปเลี้ยงปลาที่คลองข้างวัดกับท่าน  ส่วนใหญ่เป็นปลาสวาย ตัวใหญ่และมากมาย 555 หารูปไม่เจอ




คืนนี้เราพักที่นี่ Recommended เลยนะคะ ห้องพักทำดูแบบสมัยก่อน ทำให้เราย้อยนึกจินตนาการไปสู่อดีตของคนที่นี่ แต่สาธารณูปโภคครบครันนะคะ ไม่ต้องกังวล


Pukha Nanfa Hotel, Nan




ในโรงแรม และ ห้องสมุดของโรงแรม ที่สร้างไว้เพื่อถวายสมเด็จพระเทพฯ


Pukha Nanfa Hotel, Nan



ร้านภูฟ้า


Pukha Nanfa Hotel, Nan


ห้องนอนแบบไทยโบราณ กริ๊ปเกร๋






แต่งตัวไปทานอาหารเย็นร่วมกับคุณบัณฑูรย์  Theme ชุดไทย จะได้เข้ากะล้านนา






แต่เช้าที่หน้าโรงแรมมีตลาดขายของย่อมๆ และมีพระมาบิณฑบาตร  รับประทานอาหารเช้าเสร็จออกเดินทางไป "ชมดอกชมพูภูคา" ตามที่ตั้งใจอยากมา แต่ ....😰 ☹ 😓 😭  ยังไม่ออกดอก มีแต่ตูมๆเล็ก

เห็นมีศาลอยู่เลยลองเดินเข้าไปดู เป็น "ศาลท่านเจ้าหลวงภูคา" จึงสักการะท่าน แล้วออกเดินทางต่อ


Nan


ที่ศาลท่านเจ้าหลวงภูคา


Nan



แวะรีสอร์ทพักเบรคระหว่างทาง เป็นร้านกาแฟและขนมเบเกอรี่ เห็นต้นนี้มันออกลูกล้นหลามเลย เก๋ดี


Nan


ไปบ่อเกลือเจ้าส้ม ที่อ.บ่อเกลือ


Nan



สังเกตุที่พื้นด้านนอก สีขาวๆนั่นมิใช่หิมะ นะเออ แต่มันเป็นเกลือ 😣


Nan



อากาศด้านใน เค็มมาก จมูก ปาก แสบไปหมด ความเข้มข้นสูงจริงๆ


Nan


เค๊าจุ่มแล้วแขวนแบบนี้เรื่อยๆ เกลือก็ค่อยๆก่อตัว


Nan


เมื่อเต็มเข่ง


Nan



ผลึกเกลือสวยงาม


Nan


บริเวณบ่อเกลือ มีแม่น้ำน่านไหลเอื่อยๆ บรรยากาศดู Slow Life ดี


Nan


มีสะพานไม้สาน ดูเหมือนไม้ที่ทำเข่ง สานเป็นสะพาน น่ารักดี


Nan



เดินทางกลับตัวเมืองน่าน ชมการแข่งเรือยาว (หนึ่งในคำขวัญจังหวัดนะคะ *3)


ก่อนอาหารเย็น คุณบัณฑูรย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมแข่งเรือยาวของจังหวัด ได้จัดให้มีการแข่งเรือนัดพิเศษให้พวกเราชมส่วนตัวแบบเป็นๆ และใกล้ๆ  นี่ก็เป็นครั้งแรกของอิฉันที่ได้ชมการแข่งเรือจริงๆ  ที่ไม่ใช่ทางโทรทัศน์วันอาทิตย์บ่ายๆ 5555



Nan



วิวงดงามกับท้องน้ำของแม่น้ำน่าน


Nan



สักพักเดียวพระอาทิตย์เริ่มคล้อยตำ่


Nan



ถ่ายภาพกับไกด์ของเรา อ.เผ่าทอง ทองเจือ 

ขอบพระคุณอาจารย์นะคะที่ให้ความรู้ นอกจากความรู้แล้วยังให้เสียงหัวเราะกับมุกของอาจารย์เรื่อยๆ


Nan


เราทานอาหารเย็นกันที่ร้านริมน้ำนี้ พร้อมด้วยการหมดวันไปกับสาระดีๆ แล้วกลับโรงแรม



วันนี้จะไปสักการะวัดพระธาตุแช่แห้ง  ขาไปแวะชมธนาคารกสิกรไทย เค๊าบอกเป็นสาขาที่สวยที่สุดในประเทศ 


Nan


ด้านในและที่พักรับรองลูกค้า


Nan



ดาดฟ้าธนาคาร ทั้งวิวทั้งสถานที่ ... สวยจัง


Nan


ผ่านชมบ้านของคนน่านสมัยอดีต ที่ยังอนุรักษณ์ไว้เป็นอย่างดี


Nan



วัดพระธาตุแช่แห้ง (หนึ่งในคำขวัญจังหวัดนะคะ *4)



Phatat ChaeHang, Nan


พระธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897


องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของ พระธาตุแช่แห้ง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญ ไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน


Phatat ChaeHang, Nan



โบสถ์


Phatat ChaeHang, Nan


พระประธาน


Phatat ChaeHang, Nan




หลวงพ่อเจ้าอาวาสทำพิธีสืบชะตาให้


Phatat ChaeHang, Nan



พิธีสืบชะตาแบบพื้นเมืองของจังหวัดน่านได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน  เพราะเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย อีกทั้งเชื่อว่าก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานพร้อมที่จะสู้กับชะตาชีวิตต่อไป


Phatat ChaeHang, Nan




พิธีสืบชะตานี้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ


1. สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบเช่น ๒๔ ปี ๓๖ ปี ๔๘ ปี ๖๐ ปี ๗๒ ปี เป็นต้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น

2. สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้าน ประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน ๓ คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล

3. สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจราจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมืองเจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป


ถวายสังฆทาน จัดแบบผักสด และของใช้ น่ารักจัง


Phatat ChaeHang, Nan



ไปชมพระพุทธรูปโบราณ ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


วัดธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมเรียก "วัดหลวง" หรือ "วัดหลวงกลางเวียง" สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091


ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ "ค้ำ" องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย

Phatat Changkam, Nan


ภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ส่วนผสมของทองคำ 65 % พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง


พระประธาน


Phatat Changkam, Nan



พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สมัยสุโขทัยตอนปลาย

Phatat Changkam, Nan




สักการะเสร็จแล้วไปสนามบิน เพื่อกลับกรุงเทพ... 

จบการย้อนอดีตเพียงเท่านี้ กลับไปนอนฝันถึงวรนครต่อที่บ้าน




"Ploy Journey Journal"


เครดิต: wikipedia , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, แผ่นจารึกวัดพระธาตุแช่แห้ง และคำบอกเล่าของ อ.เผ่าทอง ทองเจือ


* คำขวัญของจังหวัดมีสิ่งที่ต้องไปชม 4 สิ่งนะคะ อยู่ด้านบนหมดแล้ว ส่วนส้มไม่ได้ชิม เพราะไม่ใช่ฤดูค่ะ



















Create Date : 05 สิงหาคม 2559
Last Update : 10 สิงหาคม 2559 12:04:37 น. 1 comments
Counter : 1436 Pageviews.

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 6 สิงหาคม 2559 เวลา:2:24:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3271775
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hi guys, I'm "Ploy" who always have full of bucket list. It is because the world is gigantic, so step out 'n explore its. I write, i-dive, i-trek, i-run, i-yoga, i-blog, and I love good food. Let's follow the dream. สวัสดีค่ะ ชื่อ"พลอย"ค่ะ เป็นพวกชีวิตมีแต่บวก ไม่มีลบ Bucket list เต็มตลอดเวย์ อะไรๆก็เป็นลิสต์ที่ต้องทำก่อนตายสำหรับยัยพลอยทั้งนั้น (ก็โลกนี้มันกว้างใหญ่จะตายไป!) ไหนๆก็ได้เกิดมาบนโลกสวยงามใบนี้แล้วหนิ คิดแล้วจะรออะไร...เก็บกระเป๋า ก้าวเท้าออกมา โลกรอเราอยู่ (หรือความอยากรอเราอยู่) พลอยชอบขีดๆเขียนๆ, วิ่ง, โยคะ, ดำน้ำ, เทรค, และทุกทริปจะขาดไม่ได้เลยคือ อาหารอร่อย. มาออกเดินทางตามความฝันกับ "พลอย เจอนี่ เจอนั่น" ด้วยกันนะคะ... : )
New Comments
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3271775's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.