Ploy Journey Journal.........Welcome to my world
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 กรกฏาคม 2559
 
All Blogs
 
3.เชียงใหม่: เวียงกุมกาม นครโบราณใต้ภิภพ





เชียงใหม่วันที่ 2 ไปเวียงกุมกามก่อนในตอนเช้า เพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจให้เสร็จแล้วค่อยออกเที่ยว


เชียงใหม่ Epi 1 :  https://ploy-journey-journal.blogspot.com/2016/05/epi-1.html (วัดดอยคำ, วัดไชยสถาน)



วัดเจดีย์เหลี่ยม 



"เวียงกุมกาม" เริ่มต้นจาก วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำหลวง) เป็นจุดเร่ิมต้นเข้าสู่เวียงกุมกาม


วัดเจดีย์เหลี่ยม ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ ๑ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ ๕ กม. การเดินทางเข้าถึงโดยเส้นทางถนนสายเกาะกลาง-หนองหอย มีแนวเลียบบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ปัจจุบันเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษา และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ ๙๗  ตอนที่ ๔๑  ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๓ มีโบราณสถานสำคัญที่ขึ้นทะเบียนคือเจดีย์กู่คำ วิหาร และอุโบสถ ขอบเขตโบราณสถานมีเนื้อที่รวม ๑ ไร่ ๘๓ ตารางวา สภาพแวดล้อมของวัดโดยทั่วไปมีแนวสายน้ำแม่ปิง อยู่ใกล้เคียงทางด้านตะวันตก โดยรอบเป็นชุมชนบ้านเรือนอาศัยอยู่กระจัดกระจาย มีร้านค้าย่อยและสถานประกอบการธุรกิจ บริการไม่หนาแน่น โดยเฉพาะตามเส้นทางแนวถนนสายเกาะกลาง-หนองหอย ที่ผ่านวัดทางทิศเหนือและตะวันตก ทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นเขตบ้านเรือนและสวนลำไยของเอกชน ตำแหน่งที่ตั้งวัดปัจจุบันอยู่ในบริเวณพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงกุมกาม วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง คือวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำ (ร้าง) และวัดธาตุขาว (ร้าง) ทางตะวันออกเฉียงใต้


Staring point of Wiang Kum Kam



Staring point of Wiang Kum Kam


ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำหลวง)


จากหลักฐานด้านเอกสารตำนานและพงศาวดารกล่าวถึงวัดนี้ว่า แต่เดิมชื่อวัดกู่คำ  กู่ หมายถึง พระเจดีย์  คำ หมายถึง ทองคำ ที่พญามังรายปฐมกษัตริย์ของแคว้นล้านนาทรงโปรดให้ก่อสร้างสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๑ ตามข้อความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพงศาวดารโยนกตรงกันดังนี้  เจ้ามังรายจึงหื้อไปเอาดินหนองต่าง มาก่อเจดีย์กู่คำไว้ในเวียงกุมกาม ให้เป็นที่บูชาแก่ชาวเมืองทั้งหลาย เมื่อจุลศักราช ๖๕๐ (พ.ศ.๑๘๓๑) ปีชวด สัมฤทธิศก   โบราณวัตถุสถานสำคัญของวัด คือองค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปลด ๕ ชั้น มีลักษณะเดียวกันกับ เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ที่จัดเป็นรูปแบบเจดีย์ในระยะแรกๆของแคว้นล้านนา โดยได้รับอิทธิพลจากแคว้นหริภุญไชย แต่ในสภาพปัจจุบันได้รับการซ่อมบูรณะในปี พ.ศ.๒๔๔๕ โดยพญาตะก่า-หม่องปันโย ที่ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงโยนการวิจิตร ต้นสกุลพระราชทาน อุปโยคิน ผู้เป็นคหบดีค้าไม้ชาวพม่า ที่ได้รับช่วงสัมปทาน ตัดชักลากไม้สักในเขตภาคเหนือของบริษัทบอมเบย์-เบอร์มาร์ และบริษัทบอร์เนียวในสมัยตอนปลายรัชกาลที่ ๕ และตั้งบ้านเรือนใช้เป็นที่ทำการด้วยที่หัวฝายท่าวังตาล บนฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิง หรือทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเขตละแวกใกล้เคียงกันกับวัด วัดนี้มีความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์อยู่ตรงที่ เป็นวัดกษัตริย์สร้าง มีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ


Ku Kum Temple/  Wiang Kum Kam



เจดีย์เหลี่ยม แห่งเวียงกุมกาม หรือเจดีย์กู่คำ


สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในบริเวณวัด คือพระเจดีย์ประธาน ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงการรับอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างพุทธศาสนสถาน จากแคว้นหริภุญไชยในระยะแรกๆของการก่อตั้งแคว้นล้านนา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปสี่เหลี่ยมลด ๕ ชั้นคล้ายทรงปิรามิด สร้างก่ออิฐฉาบปูนขาว ฐานล่างเป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมใหญ่ (เฉพาะตอนล่างก่อด้วยศิลาแลง) ล้อมรอบด้วยขอบเขตกำแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน  ขนาด ๑๗.๔๕ x ๑๗.๔๕ เมตร ที่มุมฐานเขียงทั้ง ๔ ตั้งประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวรูปสิงห์ นั่งชันขาหน้าหันหน้าเหลียวออก ตอนกลางระหว่างสิงห์แต่ละด้านสร้างเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางต่างๆในศิลปะแบบพม่า-พุกาม ที่นิยมทำซุ้มประกอบด้านข้างซ้ายและขวา ตกแต่งกรอบและเสาซุ้ม ด้วยลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษา แบบก้านดอกใบเกี่ยวสอดลอยตัว และลายตาผ้านูนต่ำ เครื่องยอดของซุ้มทำเป็นแบบเจดีย์จำลองลดชั้นทรงสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น รองรับส่วนปลียอดลักษณะบัวทรงสี่เหลี่ยม ยอดประดับฉัตรโลหะลายฉลุปิดทอง  สันหลังคาด้านหลังมีเครื่องยอดตกแต่ง เป็นครีบรูปสามเหลี่ยมปั้นปูนเป็นลายใบไม้-ดอกไม้ ตัวมณฑปก่อสร้างเป็นชั้นของห้องสี่เหลี่ยมบนชั้นย่อเก็จบัวคว่ำและหน้ากระดานท้องไม้ลูกแก้ว จำนวน ๕ ชั้น ขนาดลดหลั่นกันขึ้นไป  มณฑปแต่ละชั้นทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางต่างๆ ด้านละ ๓ ซุ้ม  รวมทั้งหมด ๖๐ ซุ้ม ที่กรอบซุ้มตกแต่งลายปูนปั้นแบบพรรณพฤกษาเกี่ยวสอด และแบบพญานาค ๒ ตัวหางพันกันสลับชั้นกันขึ้นไป  มุมตอนบนทั้ง ๔ ของมณฑปแต่ละชั้นประดับเจดีย์จำลอง ตกแต่งลายปูนปั้นยอดประดับฉัตรโลหะ รวมจำนวน ๒๐ องค์ ส่วนเครื่องยอดขององค์เจดีย์เป็นแบบบัวสี่เหลี่ยม ๒ ตอน คั่นด้วยชั้นลูกแก้ว รองรับส่วนปลีสี่เหลี่ยม ที่ตกแต่งลายปูนปั้นประดับด้วยกระจกเคลือบตะกั่วสี (แก้วอั่งวะ) ในส่วนต่างๆ ส่วนยอดสุดประดับฉัตรฉลุโลหะปิดทอง

cr: //www.wiangkumkam.com/view-attraction-1/วัดเจดีย์เหลี่ยม/


Ku Kham Luang: Wiang Kum Kam



ที่วัดนี้มีอุโบสถ เดิมตั้งอยู่หน้าเจดีย์ แต่เก่าและพังเกินกว่าที่จะบูรณะปฏิสังขรได้ จึงได้มีการสร้างใหม่ทดแทนของเดิมโดยร่นระยะด้านหน้าลงมา เนื่องจาก ทางพุทธมีกฏว่าห้ามหน้าพระอุโบสถอยู่เลยพระวิหารจึงต้องสร้างร่มลงมาใกล้เจดีย์มากขึ้น ซึ่งอุโบสถหลังนี้เป็นสถานที่ที่พ่อขุนเม็งรายมหาราชใช้ในการปลุกเสกของขลังก่อนออกศึกสงคราม ฉะนั้นจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งวัดจึงยึดตามประเพณีโบราณว่า “ห้ามผู้หญิงเข้า” เพราะที่ใต้พระอุโบสถเดิมได้มีการฝังเครื่องลางของขลังไว้ตั้งแต่โบราณ เพื่อมิให้เสื่อมถอย จึงห้ามผู้หญิงเหยียบและข้าม


อุโบสถที่งดงามมากๆ


Ku Kham Luang: Wiang Kum Kam



พระสีวลี


Ku Kham Luang: Wiang Kum Kam



ด้านหน้าวัด ทั้ง พระวิหาร, พระธาตุเจดีย์เหลี่ยม, พระสีวลี และ พระอุโบสถ


Ku Kham Luang: Wiang Kum Kam







อาคารที่หลายๆท่านร่วมกันสร้างเพื่อพระสงฆ์ใช้เป็นศาสนสถาน

(อนุโมทนา สาธุ...กับทุกๆท่านด้วยนะคะ ในที่สุดมันก็เสร็จสมบูรณ์)


Ku Kham Luang: Wiang Kum Kam



ศาลพระเจ้าเม็งรายมหาราช


พระเจ้าเม็งรายมหาราช



วัดธาตุขาว


เป็นชื่อเรียกตามคนท้องถิ่น หมายถึง เจดีย์สีขาว  ซึ่งมาจากสีปูนที่ฉาบเจดีย์เมื่อครั้นเจดีย์ยังมีสภาพดีอยู่ สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศัตวรรษที่ 21-22 กรมศิลปากรเข้าดำเนินการขุดตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2528 พบวิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ ถัดไปทางด้านหลังเจดีย์เป็นแท่นบูชา วัดหันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทางทิศใต้พบซากฐานอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถ ด้านหลังพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปสร้างจากอิฐหุ้มด้วยปูนขาว  


วัดธาตุขาว เวียงกุมกาม



วัดธาตุขาว เวียงกุมกาม



นอกจากนั้นยังคงพบจารึกอักษรฝักขาม อายุราวพุทธศัตวรรษที่ 21 และพระพิมพ์แบบหริภุญไชยอายุราวพุทธศัตวรรษที่ 18 ตอนปลาย   


พระอุโบสถ


วัดธาตุขาว เวียงกุมกาม


พระพุทธรูปองค์ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่โดยศรัทธาของชาวบ้านโดยมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปองค์เดิมประกอบอยู่


วัดธาตุขาว เวียงกุมกาม




วัดปู่เปี้ย


ตามที่นักประวัติศาสตร์และกรมศิลปากรได้ศึกษาอายุสมัยของการสร้างองค์เจดีปู่เปี้ยน่าจะอยู่ในรัชสมัยของพญาติโลกราชลงม ในราว พ.ศ 1998 - 2068 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วและมีลักษณะ ของวัดดังนี้ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์อุโบสถ และส่วนประกอบปลีกย่อย อื่น ๆ เช่น แท่นบูชา และศาลผีเสื้อตั้งอยู่ ด้านหน้า พระอุโบสถ วิหารและอุโบสถอยู่ข้างเคียงกันต่างหัน ทิศไปทางทิศตะวันออก โดยเฉพาะวิหาร มีร่องรอยของการก่อสร้างซ่อมกันมาหลายสมัย ส่วนองค์เจดีย์นั้นมีลักษณะ เป็นเรือนธาตุ

สูง ซึ่งเป็น ศิลปกรรมที่มีทั้งแบบสุโขทัย  และแบบล้านนารวมกัน และ รับองค์ระฆังขนาดเล็ก องค์ระฆังและ ส่วนยอดเป็นศิลปกรรมแบบสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่เข้า ในว่าเป็นแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามอยู่ลึกลงไปจากผิวดิน ปัจจุบันประมาณ 2 เมตร


วัดปู่เปี้ย เวียงกุมกาม



วัดอีค่าง


เนื่องจากการศึกษาศิลปกรรมของลักษณะเจดีย์เป็นศิลปกรรมดั้งเดิมของล้านนาแบบเต็มตัว  ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชกาลของพระเจ้าเมืองแก้ว  และไม่เก่าไปกว่า พุทธศักราช 2060 อยู่ติดกับแนวคุน้ำกั้นดินด้านทิศตะวันตกของเวียงอยู่ลึกลงไปในผิวดินประมาณ 2 เมตรประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นแบบล้านนาดั้งเดิมอย่างเต็มตัว ตัววิหาร หันทิศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ด้านหลังวิหารมีอาคารเชื่อมต่อคล้ายมณฑป ส่วนเจดีย์ อยู่หลังสุดบริเวณโดยรอบมีทางเดินสำหรับประทักษิณ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วอยู่ติดกับแนว คูน้ำ - คันดินด้านทิศตะวันตกของเวียง  อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร


ประวัติ


เนื่องจากการศึกษาศิลปกรรมของลักษณะเจดีย์เป็นศิลปกรรมดั้งเดิมของล้านนาแบบเต็มตัว  ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชกาลของพระเจ้าเมืองแก้ว  และไม่เก่าไปกว่า พุทธศักราช 2060 อยู่ติดกับแนวคุน้ำกั้นดินด้านทิศตะวันตกของเวียงอยู่ลึกลงไปในผิวดินประมาณ 2 เมตรประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นแบบล้านนาดั้งเดิมอย่างเต็มตัว ตัววิหาร หันทิศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ด้านหลังวิหารมีอาคารเชื่อมต่อคล้ายมณฑป ส่วนเจดีย์ อยู่หลังสุดบริเวณโดยรอบมีทางเดินสำหรับประทักษิณ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วอยู่ติดกับแนว คูน้ำ - คันดินด้านทิศตะวันตกของเวียง  อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร


วัดอีค่าง เวียงกุมกาม



วัดนี้ใช้เป็นฉากการถ่ายภาพเมื่อครั้งประชุม APAC (The 2nd Asia-Pacific Water Summit)ในวันที่ 13 พค. 2013 สิ่งก่อสร้างทั้งหมดยังคงสวยงามเพื่อใช้ต้อนรับท่านผู้นำจากชาติต่างๆ แต่น่าเสียดายที่ใช้แค่วันนั้น แต่วันนี้ทุกอย่างได้โดนทิ้งร้างให้เริ่มเสียหายไป


วัดอีค่าง เวียงกุมกาม



มีที่พักเหมือนรีสอร์ทใหญ่โตที่สวยงาม แต่ทั้งหมดถูกใช้แค่วันนั้นวันเดียว

วัดอีค่าง เวียงกุมกาม




วัดหนานช้าง


ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สวนลำไยของเอกชน ระหว่างกลางกลุ่มโบราณสถาน วัดพระเจ้าองค์ดำ(ร้าง) วัดปู่เปี้ย(ร้าง) วัดธาตุขาว(ร้าง) และวัดอีค่าง(ร้าง) จริงๆอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดอีค่างเลยค่ะ ในระยะที่ผ่านมา กรมศิลปากรใช้เงินงบประมาณชื้อที่ดินบริเวณวัด พร้อมกับได้ดำเนินการขุดแต่ง-บูรณะโบราณสถาน ที่เป็นซากเหลืออาคารสิ่งก่อสร้างของวัดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๔๗


ประวัติ


ชื่อวัดหนานช้างเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยตั้งตามชื่อเดิมของเจ้าของที่ดินบริเวณวัด (บางท่านเรียกว่าวัดปิงห่าง) สภาพก่อนดำเนินงานขุดแต่งพบเพียงเนินดินปรากฏเศษและแนวก่อเรียงอิฐกระจัดกระจาย หลังการขุดแต่งจึงพบว่าใต้ดินลึกลงไปเฉลี่ย ๒ เมตรนั้น เป็นสิ่งก่อสร้างและอาคารประเภทต่างๆของวัดจำนวนร่วม ๑๐ แห่ง แม้ว่าวัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงในเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่หากพิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางสถาปัตยกรรมต่างๆแล้ว อนุมานว่าคงก่อสร้างเป็นวัดขึ้นแล้ว ตั้งแต่สมัยที่รัฐล้านนารุ่งเรือง(ยุคทอง) ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑  สภาพโดยรวมของวัดจัดว่าเป็นวัดสำคัญของเวียงกุมกามแห่งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะปรากฏสิ่งก่อสร้างมากแห่ง เฉพาะอย่างยิ่งการขยายวัดสร้างอาคารประกอบ ๒ หลังทางด้านหลังวัด และหลายหลังในแนวด้านข้างขวาของวัด (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) และเป็นวัดแห่งเดียวของเวียงกุมกาม ที่พบมณฑปลักษณะพิเศษที่มีโครงสร้างเสา ๔ กลุ่มๆละ ๔ ต้น พระเจดีย์มีส่วนฐานเขียงประดับเจดีย์เล็กที่มุมทั้งสี่ แท่นแก้วหรือฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน พบร่องรอยการตกแต่งลวดลายปูนปั้นในส่วนท้องไม้ บ่อน้ำในเขตบริเวณวัดพบมากถึง ๔ แห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่ง คือเครื่องเคลือบเนื้อขาว แบบลายครามสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ของจีน ที่มีผู้นำมาบรรจุไหใบใหญ่ฝังไว้ในระยะที่วัดได้ร้าง และสิ่งก่อสร้างต่างๆได้พังทลายลงไปแล้ว บริเวณด้านหลังมณฑปเสาสี่ต้น จำนวนถึง ๔๓ ใบ (จากทั้งหมด ๕๒ รายการ) ไหบรรจุกระดูก ที่พบฝังไว้ใต้กำแพงวัดด้านข้างซ้าย (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ใต้ประตูทางเข้า-ออก ลักษณะเคลือบสีเขียว และเคลือบสีน้ำตาล(หลุดร่อน) จานเครื่องเคลือบลายครามฝังตัวตะแคงซ้อนกันรวม ๘ ใบในชั้นตะกอนทรายที่น้ำพัดพามาด้านหน้าโขงวัดฝั่งขวา แสดงถึงการร้างของเวียงกุมกามในลักษณะที่ผู้คนไม่ได้นำเอาข้าวของเครื่องใช้ติดตัวไป และประการสำคัญ เวียงได้ร้างลงไปนานระยะหนึ่ง ก่อนที่น้ำจะพัดพาตะกอนดินและทรายมาทับถม ประมาณช่วงเวลากลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ภายหลังจากที่พม่าเข้ายึดครองล้านนาได้แล้วระยะหนึ่ง

cr://qr.wiangkumkam.com/th/view-attraction-21/

วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม





วัดกู่ป้าด้อม


วัดกู่ป้าด้อมน่าจะก่อสร้างขึ้นในระยะที่พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ. 1835 - 1839 วัดกู่ป้าด้อม (กู่เป็นภาษาถิ่น หมายถึง เจดีย์  ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในเอกสารและตำนานทางประวัติศาสตร์   เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน  เนื่องจากอยู่ในเขตที่ดินของป้าด้อม ประกอบด้วย วิหารเจดีย์ และแท่นบูชาจำนวน 2 แท่น ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว ซึ่งปัจจุบันรับการบูรณะแล้ว ตั้งอยู่ในเขตบ้านท่าวังตาล ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ติดกับแนวคูเมือง - กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเลียงใต้ สามารถเดินทางมาจากวัดปู่เปี้ย หรือตามถนนทางแยกเข้าเวียงกุมกามด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม

วัดกู่ป้าด้อม เวียงกุมกาม


วิหาร วัดกู่ป้าด้อม เวียงกุมกาม


วัดกู่ป้าด้อม เวียงกุมกาม


วัดกู่ป้าด้อม เวียงกุมกาม


จริงๆมีวัดที่สวยงามมากๆอีก เพราะคราวก่อนที่เคยมามีมากกว่านี้ แต่วันนี้ยัยพลอยหลงทางซะก่อน และหลงกลับมาถึงที่วัดเจดีย์เหลี่ยม จึงไม่ได้ออกไปตามหาอีกครั้ง  เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพเลยค้นหาข้อมูลดู ปรากฏว่าขาดอีก 3 วัดที่ไม่ได้ ไปเยือน คือ วัดกานโถม, วัดกู่มะเกลือ, และวัดกู่อ้ายหลาน



กลับมารอเพื่อทำพิธีสะเดาะห์เคาระห์ต่อชะตาพื้นเมืองที่พระวิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม 


วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม


"สิ่งของที่ใช้ในพิธี"


กล้วยและกาบกล้วย



เทียน





หมากพูล บนเสาค้ำคูณ



เสาค้ำยัน เพื่อค้ำคูณเจ้าของวันเกิด



บายศรีสู่ขวัญ



พระประธานในพระวิหาร




พระสงฆ์ประกอบพิธี สวดแบบภาษาเหนือ



ใส่สายสิญย์คล้องศรีษะ




เจ้าหน้าที่เข็ญขนมเค๊กมา Surprise โยม 



เมื่อพระ Happy Birthday โยม 




เปลี่ยนจากร้องเพลงอวยพรวันเกิดมาเป็นสวดให้พรแทน .... เกร๋มากกกกกกก




ถวายปัจจัยและสังฆทาน




ท่านตุ๊นง เจ้าอาวาสวัดเจดีย์เหลี่ยม





ใกล้เวลาเที่ยง จึงต้องให้พระไปฉันเพลก่อน 

โยมก็ไปนั่งรับประทานด้วยกัน  ขอบพระคุณทุกท่านที่ทำอาหารอร่อยมาให้นะคะ  อิ่ม อร่อยมากๆค่ะ โดยเฉพาะข้าวซอย และ ยำเห็ดเผาะ ของคุณอาชาติ ขอบคุณมากๆนะคะ


#พลอย



ติดตามอ่านต่อได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ


เชียงใหม่ Epi 3:  https://ploy-journey-journal.blogspot.com/2016/05/epi-3_25.html (วัดสะแล่ง, วัดนาแก จ.แพร่)


เชียงใหม่ Epi 4:  https://ploy-journey-journal.blogspot.com/2016/05/epi-4.html (วัดพระธาตุลำปางหลวง)



ย้อนกลับ:


เชียงใหม่ Epi 1 :  https://ploy-journey-journal.blogspot.com/2016/05/epi-1.html (วัดดอยคำ, วัดไชยสถาน)





สรุปทริปคร่าว


วันที่ 1: กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เมื่อไปถึง ทานอาหารกลางวัน เจี่ยทงเฮง เดินทางไปสักการะหลวงพ่อทันใจ วัดดอยคำ  และ กราบกราบครูบาอินทร์คำ วัดไชยสถาน อาหารเย็น ที่โอ้กะจู๋

วันที่ 2: วัดเจดีย์เหลี่ยม (ตุ๊นง เจ้าอาวาสขอจัดงานวัดเกิดให้ม๊าและป้าติ๋ว)  เที่ยวรอบๆเวียงกุมกาม อาหารกลางวัน ตุ๊นงท่านจัดเลี้ยง บ่ายไป วัดโลกโมฬี และพระธาตุดอยสุเทพ อาหารเย็น ที่โอ้กะจู๋

วันที่ 3: กราบครูบาสมจิต ที่วัดสะแล่ง และ กราบท่านเจ้าอาวาสวัดนาแก จ.แพร่ ทานอาหารในตัวเมืองแพร่ บ่ายแวะพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง กลับเชียงใหม่>>กทม.






Create Date : 15 กรกฎาคม 2559
Last Update : 4 สิงหาคม 2559 0:37:11 น. 0 comments
Counter : 1531 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3271775
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hi guys, I'm "Ploy" who always have full of bucket list. It is because the world is gigantic, so step out 'n explore its. I write, i-dive, i-trek, i-run, i-yoga, i-blog, and I love good food. Let's follow the dream. สวัสดีค่ะ ชื่อ"พลอย"ค่ะ เป็นพวกชีวิตมีแต่บวก ไม่มีลบ Bucket list เต็มตลอดเวย์ อะไรๆก็เป็นลิสต์ที่ต้องทำก่อนตายสำหรับยัยพลอยทั้งนั้น (ก็โลกนี้มันกว้างใหญ่จะตายไป!) ไหนๆก็ได้เกิดมาบนโลกสวยงามใบนี้แล้วหนิ คิดแล้วจะรออะไร...เก็บกระเป๋า ก้าวเท้าออกมา โลกรอเราอยู่ (หรือความอยากรอเราอยู่) พลอยชอบขีดๆเขียนๆ, วิ่ง, โยคะ, ดำน้ำ, เทรค, และทุกทริปจะขาดไม่ได้เลยคือ อาหารอร่อย. มาออกเดินทางตามความฝันกับ "พลอย เจอนี่ เจอนั่น" ด้วยกันนะคะ... : )
New Comments
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3271775's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.