หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ หน้า 3




อุปจารสมาธิ

อุปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือ ใกล้จะถึงปฐมฌาน มีกำลังใจเป็นสมาธิสูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อยต่ำกว่าปฐมฌานนิดหน่อยเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิบอิ่มผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุมชื่นไม่อยากเลิก ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงสมาธิขั้นนี้ จึงต้องระมัดระวังตัวให้มาก เคยพักผ่อนเวลาเท่าไร เมื่อถึงเวลานั้นต้องเลิกและพักผ่อน ถ้าปล่อยอารมณ์ความชุ่มชื่นที่เกิดแก่จิตไม่คิดจะพักผ่อน ไม่ช้าอาการเพลียจากประสาทร่างกายจะเกิดขึ้น ในที่สุดอาจเป็นโรคประสาทได้ ที่ต้องรักษาประสาทก็เพราะปล่อยใจให้เพลิดเพลินเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ต้องเชื่อคำเตือนของพระพุทธเจ้าที่ท่านแนะนำ ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มี ท่านอัญญาโกณฑัญญะ เป็นประธานโดยที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เธอทั้งหลายจงละส่วนสุดสองอย่างคือ

๑. ปฏิบัติเครียดเกินไป จนถึงขั้นทรมานตน คือเกิดความลำบาก

๒. ความอยากได้เกินไป จิตใจวุ่นวายเพราะความอยากได้ จนอารมณ์ไม่สงบ ถ้าเธอทั้งหลายติดอยู่ในส่วนสุดสองอย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลในการปฏิบัติคือมรรคผลจะไม่มีแก่เธอเลย ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์ปานกลางได้แก่อารมณ์พอสบาย

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะไว้อย่างนี้ ก็ยังมีบางท่านฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไปไม่พักผ่อนตามเวลาที่เคยพักผ่อน จึงเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายจนเป็นโรคประสาท ทำให้ พระพุทธศาสนาต้องถูกกล่าวหาว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานทำให้คนเป็นบ้า ฉะนั้น ขอท่านนักปฏิบัติทุกท่าน จงอย่าฝืนคำแนะนำของพระพุทธเจ้า จงรู้จักประมาณเวลาที่เคยพักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติแค่อารมณ์สบาย ถ้าเกินเวลาพักที่เคยพักก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายคุมไม่อยู่ก็ดีขอให้พักการปฏิบัติเพียงแค่นั้น พักให้สบาย พอใจผลที่ได้แล้วเพียงนั้น ปล่อยอารมณ์ใจให้รื่นเริงไปตามปกติ

นิมิตทำให้บ้า

มีเรื่องที่จะทำให้บ้าอีกเรื่องหนึ่งคือ นิมิต นิมิตคือภาพที่ปรากฏให้เห็นเพราะเมื่อกำลังสมาธิเข้าถึงระยะอุปจารสมาธินี้ จิตใจเริ่มสะอาดจากกิเลสเล็กน้อย เมื่อจิตเริ่มสะอาดจากกิเลสพอสมควรตามกำลังของ สมาธิที่กดกิเลสไว้ ยังไม่ใช่การตัดกิเลส อารมณ์ใจเริ่มเป็นทิพย์นิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่มีความเป็นทิพย์ทรงตัวพอที่จะเป็นทิพจักขุญาณได้ จิตที่สะอาดเล็กน้อยนั้นจะเริ่มเห็นภาพนิด ๆ หน่อย ๆ ชั่วแว้บเดียวคล้ายแสงฟ้าแลบคือ ผ่านไปแว้บหนึ่งก็หายไป ถ้าต้องการให้เกิดใหม่ก็ไม่เกิดเรียกร้องอ้อนวอนเท่าไรก็ไม่มาอีก ท่านนักปฏิบัติต้องเข้าใจตามนี้ว่าภาพอย่างนี้เป็นภาพที่ผ่านมาชั่วขณะจิตไม่สามารถบังคับภาพนั้นให้กลับมาอีกได้ หรือบังคับให้อยู่นานมาก ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน

ภาพที่ปรากฏนี้จะทรงตัวอยู่นานหรือไม่นานอยู่ที่สมาธิของท่าน เมื่อภาพปรากฏ ถ้ากำลังใจของท่านไม่ตกใจพลัดจากสมาธิ ภาพนั้นก็ทรงตัวอยู่นานเท่าที่สมาธิทรงตัวอยู่ ถ้าเมื่อภาพปรากฏท่านตกใจ สมาธิก็พลัดตกจากอารมณ์ ภาพนั้นก็จะหายไป ส่วนใหญ่จะลืมความจริงไปว่า เมื่อภาพจะปรากฏนั้นเป็นอารมณ์สงัดไม่มีความต้องการอะไรจิตสงัดจากกิเลสนิดหน่อยจึงเห็นภาพได้ ครั้นเมื่อภาพปรากฎแล้ว เกิดมีอารมณ์อยากเห็นต่อไปอีก อาการอยากเห็นนี้แหละเป็นอาการฟุ้งซ่านของจิต จิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จิตมีความสกปรกเพราะกิเลส อย่างนี้ต้องการเห็นเท่าไรก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นตามความต้องการก็เกิดความกลุ้ม ยิ่งกลุ้มความฟุ้งซ่านยิ่งเกิด เมื่อความปรารถนาไม่สมหวังในที่สุดก็เป็นโรคประสาท (บางรายบ้าไปเลย) ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่เชื่อตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแนะนำไว้ว่าจงอย่ามีอารมณ์อยากหรืออย่าให้ความอยากได้เข้าครอบงำบังคับบัญชาจิต

เมื่อนิมิตเกิดขึ้นควรทำอย่างไร

คำว่า นิมิต มี ๒ ประเภทคือ นิมิตที่เราสร้างขึ้น กับ นิมิตที่ลอยมาเอง

๑. นิมิตที่เราสร้างขึ้น
จะแนะนำในระยะต่อไป นิมิตประเภทนี้ต้องรักษาหรือควบคุมให้ทรงอยู่ เพราะเป็นนิมิตที่สร้างกำลังใจให้ทรงสมาธิได้นาน หรืออาจสร้างกำลังสมาธิให้ทรงอยู่นานตามที่เราต้องการ

๒. นิมิตลอยมาเอง สำหรับนิมิตประเภทนี้ในที่บางแห่งท่านแนะนำว่า ควรปล่อยไปเลยอย่าติดใจจำภาพนั้น หรือไม่สนใจเสียเลย เพราะเป็นนิมิตที่ไม่มีความแน่นอนถ้าขืนจำหรือจ้องต้องการภาพ ภาพนั้นจะหายไป กำลังใจจะเสีย แต่บางท่านแนะนำว่าเมื่อนิมิตเกิดขึ้นจะปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปในนิมิตนั้นก็ได้ เพราะใจจะได้เป็นสุข จะมีความชุ่มชื่นในนิมิตนั้น เป็นเหตุให้ทรงสมาธิได้ดี แต่จงอย่าหลงในนิมิตถ้านิมิตหายไปก็ปล่อยใจไปตามสบาย ไม่ติดใจในนิมิตนั้นคงภาวนาไปตามปกติ

ทั้งสองประการนี้ ขอให้ท่านนักปฏิบัติเลือกเอาตามแต่อารมณ์ใจจะเป็นสุข แต่ขอเตือนไว้นิดหนึ่งว่าเมื่อนิมิตปรากฏขึ้น ถ้าปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปกับนิมิต ท่านอย่าลืมว่าเมื่อนิมิตหายไปนั้นเพราะใจเราพลัดจากสมาธิ ให้เริ่มตั้งอารมณ์โดยจับลมหายใจและภาวนาไปใหม่ไม่สนใจกับภาพนิมิตที่หายไปจงอย่าลืมว่านิมิตเกิดขึ้นมาเพราะจิตมีสมาธิ และเราไม่อยากเห็นจึงเป็นได้ และ นิมิตนั้นไม่ใช่ทิพจักขุญาณ เมื่อหายไปก็เชิญหายไปเราไม่สนใจกับนิมิตอีกเราจะรักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขจากคำภาวนาและรู้ลมหายใจต่อไป ถ้าความกระวนกระวายเกิดขึ้นให้เลิกเสียทันที

สร้างนิมิตให้เกิดขึ้น

เรื่องสร้างนิมิตนี้ ในที่นี้ไม่มีการบังคับ ท่านต้องการสร้างก็สร้าง ท่านไม่ต้องการสร้างก็ไม่ต้องสร้าง สุดแล้วแต่ความต้องการ ขอแนะนำผู้ที่ต้องการสร้างไว้ดังนี้

การสร้างนิมิตมีหลายแบบ แต่ทว่าในหนังสือนี้แนะนำกรรมฐานหลัก คือ พุทธานุสสติกรรมฐาน จึงขอแนะนำเฉพาะกรรมฐานกองนี้ อันดับแรกขอให้ท่านหาพระพุทธรูปที่ท่านชอบใจสักองค์หนึ่ง ถ้าบังเอิญหาไม่ได้ก็ไม่ต้องหา ให้นึกถึงพระพุทธรูปที่วัดไหนก็ได้ที่ท่านชอบใจที่สุด ถ้านึกถึงพระพุทธรูปแล้วใจไม่จับในพระพุทธรูป จิตจดจ่อในรูปพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่ท่านชอบก็ได้ เมื่อนึกถึงภาพพระพุทธรูปก็ดี ภาพพระสงฆ์ก็ดี ให้จำภาพนั้นให้สนิทใจแล้วภาวนาว่า "พุทโธ" พร้อมกับจำภาพพระนั้น ๆ ไว้

ถ้าท่านมีพระพุทธรูปให้ท่านนั่งข้างหน้าพระพุทธรูป ลืมตามองดูพระพุทธรูปแล้วจดจำภาพพระพุทธรูปให้ดี รูปพระพุทธรูปนั้นเป็นกรรมฐานได้สองอย่างคือ เป็นพุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ และเป็นกสิณก็ได้ เมื่อท่านมีความรู้สึกว่า รูปที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเรานี้เป็นพระพุทธรูป ความรู้สึกอย่างนั้นของท่านเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้ามีความรู้สึกตามสีของพระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปสีเหลือง เป็น ปิตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปเป็นสีขาว เป็น โอทาตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปสีเขียว เป็น นีลกสิณ ทั้งสามสีนี้ สีใดสีหนึ่งก็ตามเป็นกสิณระงับโทสะเหมือนกัน

เมื่อท่านจะสร้างนิมิตให้ทำดังนี้ อันดับแรกให้ลืมตามองดูพระพุทธรูป จำภาพพระพุทธรูปพร้อมทั้งสีให้ครบถ้วน ในขณะนั้นเมื่อเราเห็นสีพระพุทธรูปไม่ต้องนึกว่าเป็นกสิณอะไรตั้งใจจำเฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้น เมื่อจำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพพระพุทธรูปนั้นภาวนาควบกับลมหายใจเข้าออกไปตามปกติ เมื่อภาวนาไปไม่นานนัก ภาพพระอาจจะเลือนจากใจ เรื่องภาพเลือนจากใจนี้เป็นของธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูภาพพระใหม่ทำอย่างนี้สลับกันไป เมื่อเวลาจะนอนให้จำภาพพระไว้ตั้งใจนึกถึงภาพพระ นอนภาวนาจนหลับไป ทั้ง ๆที่จำภาพพระไว้อย่างนั้น แต่ถ้าภาวนาไปเกิดมีอารมณ์วุ่นวายนอนไม่ยอมหลับ ต้องเลิกจับภาพพระและเลิกภาวนาปล่อยใจคิดไปตามสบายของใจมันจนกว่าจะหลับไป

อานิสงส์สร้างนิมิต

การสร้างนิมิตมีอานิสงส์อย่างนี้คือ ทำให้ใจเกาะนิมิตเป็นสมาธิได้ง่าย และทรงสมาธิได้นานตามสมควร สามารถสร้างจิตให้เข้าถึงระดับฌานได้รวดเร็ว

ขั้นตอนของนิมิต


นิมิตขั้นแรกเรียกว่า อุคหนินิมิต อุคหนิมิตนี้มีหลายขั้นตอน ในตอนแรกเมื่อจำภาพพระได้จนติดใจแล้ว (ไม่ใช่ติดตา) ต้องเรียกว่า ติดใจ เพราะใจนึกถึงภาพพระจะนั่ง นอน ยืน เดิน ไปทางไหน หรืออยู่ที่ใดก็ตาม ต้องการนึกถึงภาพพระ ใจนึกภาพได้ทันทีทันใดมีความรู้ในภาพพระนั้นครบถ้วนไม่เลือนลางอย่างนี้เรียกว่า "อุคหนิมิตขั้นต้น" เป็นเครื่องพิสูจน์อารมณ์สมาธิได้ดีกว่าการนับ ถ้าสมาธิยังทรงอยู่ ภาพนั้นจะยังทรงอยู่กับใจ ถ้าสมาธิสลายตัวไป ภาพนั้นจะหายไปจากใจถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ อานิสงส์ คือบุญบารมีที่ท่านจะได้

อุคหนิมิตขั้นที่สอง เมื่อสมาธิทรงตัวมากขึ้น ภาพพระจะชัดเจนมากขึ้นจะใสสะอาดผุดผ่องกว่าภาพจริงถ้าท่านนึกขอให้ภาพพระนั้นสูงขึ้นภาพนั้นจะสูงขึ้นตามที่ท่านต้องการต้องการให้อยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง เล็กลงหรือใหญ่ขึ้นจะเป็นไปตามนั้นทุกประการ อย่างนี้จัดเป็นอุคหนิมิตขั้นที่สองสมาธิจะทรงตัวได้ดีมาก จะสามารถทรงเวลาได้นานตามที่ต้องการ

อุคหนิมิตขั้นที่สาม เป็นขั้นสุดท้ายของอุคหนิมิต เมื่อภาพนิมิตคือภาพพระปรากฏให้ถือเอาสีเหลืองเป็นสำคัญ ความจริงสีอื่นก็มีสภาพเหมือนกันแต่จะอธิบายเฉพาะสีเหลืองเมื่อสมาธิทรงตัวเต็มอัตรา ภาพสีเหลืองหรือสีอื่นก็ตาม จะค่อย ๆ คลายตัวเป็นสีขาวออกมาทีละน้อย ๆ ในที่สุดจะเป็นสีขาวสะอาดและหนาทึบอย่างนี้ถือว่า เป็นอุคหนิมิตขั้นสุดท้ายถ้าประสงค์จะใช้เป็น ทิพจักขุญาณก็ใช้ในตอนนี้ได้ทันที แต่ต้องมีความฉลาดและอาจหาญพอ ถ้าไม่ฉลาดและอาจหาญไม่พอก็จะสร้างความเละเทะให้เกิดมากขึ้น วิชาทิพจักขุญาณเป็นหลักสูตรของวิชชาสาม ในที่นี้แนะนำในหลักสูตรสุกขวิปัสสโก จึงของดไม่อธิบายเพราะจะทำให้เฝือและวุ่นวายว่าไปตามทางของ สุกขวิปัสสโก ดีกว่า

อุคหนิมิตนี้เป็นนิมิตของ อุปจาสมาธิ จึงยังไม่อธิบายถึง อัปปนาสมาธิ

อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ


อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุขอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุขร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิสูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควรภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย

๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล

๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างบางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น

๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิคลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)

๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออกในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว

อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจเป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัวไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

อัปปนาสมาธิหรือฌาน

ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อนมาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรงท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมีความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไรอารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ

๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่นนอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่ มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่งอยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัดอาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง

๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไปบางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิตมีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความรู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌานที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริงไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง

๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไปทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอกที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมากเป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม


๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัวอธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า

เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึงฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลาหน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะกำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป

เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิตไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมีเสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก

เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายในกำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่าเสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียดเป็นอย่างนี้

ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌานเหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป

พลัดตกจากฌาน

เรื่องอาการพลัดตกจากฌานนี้มีผู้ประสบกันมามาก แม้ผู้เขียนเองอาการอย่างนี้ก็พบมาตั้งแต่อายุ ๗ ปี ตอนนั้นถ้ามีอารมณ์ชอบใจอะไรจิตจะเป็นสุข สักครู่ก็มีอาการเสียววาบคล้ายพลัดตกจากที่สูง ตอนนั้นเป็นเด็กไม่ได้ถามใครเพราะไม่รู้เรื่องของฌาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานเกือบหนึ่งปี เมื่อท่านแม่พาไปหา หลวงพ่อปาน หลวงพ่อท่านเห็นหน้า ท่านก็ถามท่านแม่ว่าเจ้าหนูคนนี้ชอบทำสมาธิหรือ ท่านถามทั้งๆ ที่เพิ่งเห็นหน้า ท่านแม่ยังไม่ได้บอกท่านเลยหลวงพ่อปานท่านก็พูดของท่านต่อไปว่า เอ..เจ้าหนูนี่มันม ทิพจักขุญาณ ใช้ได้แล้วนี่หว่าท่านหันมาถามผู้เขียนว่า เจ้าหนูเคยเห็นผีไหม" ก็กราบเรียนท่านว่า "ผีเคยมาคุยด้วยขอรับ แต่ทว่าเขาไม่ได้มาเป็นผี เขามาเป็นคนธรรมดาต่อเมื่อเขาจะลากลับเขาจึงบอกว่า เขาตายไปแล้วกี่ปี แล้วก็สั่งให้ช่วยบอกลูกบอกหลานเขาด้วย"

หลวงพ่อปานท่านก็พูดต่อไปว่า "อาการที่เสียวใจคล้ายหวิวเหมือนคนตกจากที่สูงนั้นเป็นอาการที่จิตพลัดตกจากฌาน คือ เมื่อจิตเข้าถึงฌานมีอารมณ์สบายแล้วประเดี๋ยวหนึ่งอาศัยที่ความเข็มแข็งยังน้อย ไม่สามารถทรงตัวได้ ก็พลัดตกลงมา" ท่านบอกว่า "ก่อนภาวนาให้หายใจยาวๆ แรงๆ สักสองสามครั้งหรือหลายครั้งก็ดี หายใจแรงยาวๆ ก่อน แล้วจึงภาวนา ระบายลมหยาบทิ้งไป เหลือแต่ลมละเอียดต่อไปอาการหวิวหรือเสียวจะไม่มีอีก" ถ้าทำครั้งเดียวไม่หายก็ทำเรื่อยๆ ไป เมื่อทำตามท่านก็หายจากอาการเสียว ใครมีอาการอย่างนี้ลองทำดูแล้วกัน หายหรือไม่หายก็สุดแล้วแต่เปอร์เซ็นต์ของคน คนเปอร์เซ็นต์มากบอกครั้งเดียวก็เข้าใจและทำได้แต่ท่านที่มีเปอร์เซ็นต์พิเศษไม่ทราบผลเหมือนกัน (ตามใจเถอะ)

เป็นอันว่าเรื่องสมาธิหมดเรื่องกันเสียที เรื่องปฏิภาคนิมิตก็ของดไม่อธิบายไม่รู้จะอธิบายไปทำไม เพราะพูดถึงฌานแล้วก็หมดเรื่องกัน อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิขั้นฌานก็คืออารมณ์ฌานนั่นเอง ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตของฌานมีรูปสวยเหมือนดาวประกายพรึกรู้เท่านี้ก็แล้วกัน

ความมุ่งหมายในการเจริญสมาธิ

การที่เจริญสมาธิมีความมุ่งหมายดังนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ถ้าจะเกิด ก็ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี มีรูปสวย เสียงไพเราะ มีโรคน้อย มีอายุยืนยาวนานถึงอายุขัยมีทรัพย์สมบัติมาก มีความสุขเพราะทรัพย์สิน และทรัพย์สินไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟ น้ำ ลมมีคนในปกครองดีไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง มีเสียงไพเราะผู้ที่ฟังเสียงไม่อิ่มไม่เบื่อในการฟัง พูดเป็นเงินเป็นทอง (รวยเพราะเสียง) ไม่มีโรคประสาท หรือโรคบ้ารบกวน มีหวังพระนิพพานเป็นที่ไปแน่นอน

หรือมิฉะนั้นเมื่อยังไปนิพพานไม่ได้ ไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดาก่อนแล้วต่อไปนิพพาน แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์มีพระพุทธประสงค์ให้ไปพระนิพพานโดยตรง

เกิดดีไม่มีอบายภูมิ

เมื่อยังต้องเกิดก็เกิดดีไม่มีการไปอบายภูมิ ท่านให้ปฏิบัติดังนี้ เราเป็นนักสมาธิ คือมีอารมณ์มั่นคง ถ้ามุ่งแต่สมาธิธรรมดาที่นั่งหลับตาปฏิบัติ ความดีไม่ทรงตัวได้นาน ต่อไปอาจจะสลายตัวได้ มีมากแล้วที่ทำได้แล้วก็เสื่อม และก็เสื่อมประเภทเอาตัวไม่รอด คือสมาธิหายไปเลย ในปัจจุบันนี้ที่ได้แล้วเสื่อมก็มีมาก เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมและเป็นผู้มีหวังในการเกิดที่ดีแน่นอน ท่านให้ทำดังนี้




**********************
ปล. วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ มีทั้งหมด 5 หน้าครับ
ที่มา เวปพลังจิต
ทำนองเพลง ลาวม่านแก้ว





Create Date : 17 กรกฎาคม 2552
Last Update : 17 กรกฎาคม 2552 19:55:36 น. 31 comments
Counter : 1305 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ พี่ไผ่

ก่อนนี้ก็ไม่ทราบว่า เวลาปฏิบัติแล้วเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เรียกกันว่าอะไร
ตอนนี้ทราบแล้วว่าอาการที่เป็นตอนปฏิบัตินั้น เรียกว่า ฌาน 4 น่ะเอง
จริงเลยค่ะ ไม่ได้ยินเสียง ไม่รู้สึกตัว
เหมือนตัวเราหายไปจากโลกใบนี้พักนึง
แต่ที่แน่ๆ เราไม่ได้หลับแน่นอน และก็รู้สึกเป็นสุขอย่างมาก
เข้าถึงความว่าง เป็นสุขแบบที่ไม่เคยรู้สึกเป็นสุขจากที่ไหนๆ ได้เท่าเลยค่ะ

ส่วนอาการตกฌาน ไม่แน่ใจว่าเคยเป็นมั้ย
แต่เคยได้ยินพระอาจารย์ท่านพูดคำว่า "จิตตกฐาน ฌานตกลง"
น่าจะเป็นกรณีเดียวกัน มั้งคะ

ขอโมทนากับพี่ไผ่ ในการเผยแพร่ด้วยค่ะ
จะติดตามตอนต่อๆ ไปค่ะ

ขอให้เจริญในธรรม และบุญรักษานะคะ



โดย: พ่อระนาด วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:57:44 น.  

 









มีความสุขวันสุดสัปดาห์ค่ะ คุณไผ่


โดย: นายกุหลาบ วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:59:37 น.  

 
ขอบคุณมากๆคะ
นี่ล่ะ ที่ต้องการศึกษาอย่างมาก
เนื้อหาดีมากๆเลยคะ


โดย: บุปผาลีลาวดี วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:38:07 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณไผ่

หายหน้าไปหลายวันค่ะ เพราะเจ้าลูกโน้ต (โน้ตบุ๊คที่ใช้น่ะค่ะ) มันเกิดความเสียหาย ก็เลยต้องส่งให้ถึงมือคุณหมอ (เพื่อนนั่นเอง)

กว่าลูกโน้ตจะกลับมาให้ได้นั่งจิ้มนี่ก็ วันล่วงมาแล้ว

ก็มาอ่านแล้วก็เก็บไปเช่นเคยค่ะ

ราตรีสวัสดิ์เช่นกันนะคะ


โดย: deawdai วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:16:09 น.  

 
สวัสดีค่ะ ขอสมัครเป็นเพื่อนบ้านอีกคนนะค่ะ ท่าทางจะได้เพื่อนที่พึ่งพิงหรือถามเวลาติขัดอะไร ฝากตัวด้วยความเคารพค่ะ


โดย: golo_me วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:10:45 น.  

 
ฝันดีนะคะ


โดย: อาลีอา วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:44:14 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

หมิงหมิงยังไม่ตื่นเลยครับ
ตอนนี้ผมก็เล่นบล้อกรอไปเรื่อยๆครับ หุหุหุ
เด๊่ยวเค้าตื่น
ก็เล่นกับเค้าแล้วครับ














โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:15:50 น.  

 
สวัสดีค่ะ...คุณไผ่ (ขออนุญาติเรียกตามเพื่อนๆนะคะ)

ธัญเคยแวะมาครั้งนึงแล้วค่ะ..
รู้สึกจะเป็นบล็อกกรวดน้ำมั้งคะ
วันนี้เลยแวะมาทักทายอีกครั้ง
ถ้าไม่รบกวนจนเกินไปนะคะ
พอดีธัญไปบ้านคุณเลิฟเห็นข้าวเหนียว
เลยตามมาค่ะ... ( ไม่ได้เห็นแก่ข้าวเหนียวนะคะ )
อยากทำความรู้จักเท่านั้นเองค่ะ

วันนี้คุณไผ่พักผ่อนอย่างมีความสุขกับวันเวลาดีๆนะคะ




โดย: tanjira วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:45:40 น.  

 
title=

สวัสดีวันเสาร์ค่ะ พี่ไผ่
ขอให้มีความสุข สดใสค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้าวเหนียวปิ้งด้วยค่ะ ชอบๆๆๆ


โดย: พ่อระนาด วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:35:19 น.  

 
ตามพ่อระนาดไม่ทัน สวัสดีตอนสายค่ะพี่ไผ่...วันนี้แพทนอนตื่นสายมาก ขอบอกแบบว่าทำงานดึกมาหลายคืน มีความสุขกับวันหยุดนะคะพี่ไผ่..


โดย: ตัวp_box วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:44:35 น.  

 
วันหยุดตั้งใจมาอ่านฝึกกรรมฐานต่อค่ะ ช่วงนี้ต้องใช้สติสมาธิเยอะด้วยค่ะดีจังรู้สึกดีค่ะเที่ยงแล้วมีอาหารมาเสริฟให้ยั่วน้ำลายค่ะ555 มีความสุขกับวันหยุดนะค่ะ



โดย: นุ๋ดีค่ะ (kun_isara ) วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:36:31 น.  

 
การฝึกสมาธิช่วงแรกๆคงต้องมีอาจารย์ช่วยนะครับ ผมยังไม่ค่อยเชื่อเรื่องที่คนนั่งสมาธิแล้วทำให้บ้านะครับ ยกเว้นคนนั้นจะสติแตกเอง


โดย: JohnV วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:53:44 น.  

 


พูมาส่งเข้านอนค่ะ
ฝันดีนะคะ



โดย: พธู วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:46:27 น.  

 
มาทักทายก่อนไปนอนคะ ฝันดีนะคะ


โดย: sawkitty วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:02:40 น.  

 
ตามมาดูคนยิ้มแรง ๆ แบบสุดขีด... ..ยิ้มขำ ๆ..

เรื่องการทำสมาธิมีหลายวิธีเนอะคะ
แต่เป้าหมายเดียวกัน ..ยิ้มสงบ..

ฝันดีค่ะ


โดย: ปลิวตามลม วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:28:03 น.  

 
ทักทาย - Hi5 กราฟฟิคสำหรับคอมเมนต์
จะเอามาฝึกที่เมืองไทยค่ะ


โดย: หนูดำจำมัย วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:48:08 น.  

 
มาอนุโมทนา ค่ะคุณไผ่


หลับฝันดีนะคะ และสุขสันต์สุดสัปดาห์ค่ะ


โดย: นายกุหลาบ วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:33:33 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่















โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:08:53 น.  

 
title=

อรุณสวัสดิ์ค่ะ พี่ไผ่
ตื่นยังน๊าา
วันนี้ไปปฏิบัติธรรมค่ะ
แล้วจะเอาบุญมาฝากนะค๊า


โดย: พ่อระนาด วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:20:54 น.  

 
สวัสดีค่ะ...คุณไผ่ขา

ขอบคุณนะคะที่ส่งธัญเข้านอน
ธัญฝันดีเพราะคุณไผ่มาส่งเข้านอนนี่เอง

วันนี้ธัญมีความคิดถึงมาเติมให้เต็มค่ะ
คุณไผ่มีความสุขและสดชื่นกับวันและเวลาดีๆนะคะ

ปล. ยินดีเสมอค่ะ..คุณไผ่เปิดดูได้ตามสบายเลยค่ะ
ธัญขอแอดคุณไผ่ไว้ด้วยนะคะ..ธัญจะมาป่วนค่ะ






โดย: tanjira วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:23:07 น.  

 
พี่ไผ่ขา ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ

คือบ้านหนูมีศาลพระภูมิอยู่หนะค่ะ พอรื้อบ้านจะปลูกบ้านใหม่ถ้ายังมีศาลอยู่จะไม่สามารถปรับพื้นที่ได้หนะค่ะ เลยต้องทำการถอนศาล ก็คือว่าเอาเชิญท่านออก และเอาสาลออกจากพื้นที่หนะค่ะ ปลูกบ้านเสร็จถึงจะทำศาลให้ท่านใหม่หนะค่ะ



โดย: tukta (tukta510 ) วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:30:35 น.  

 






โดย: พี่นู๋ดีค่ะ (kun_isara ) วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:13:07 น.  

 
แวะมาดูว่าอยู่บ้านปะ วันหยุดคงพักผ่อนอยู่ ไม่กวนนะค่ะ


โดย: golo_me วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:52:37 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีเช้าวันจันทร์
ทำงานอย่างมีความสุขนะค่ะคุณไผ่


โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:6:40:44 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่















โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:19:56 น.  

 
สวัสดีวันจันทร์วันทำงานค่ะมีความสุขมากๆนะค่ะธรรมะสวัสดีค่ะ



โดย: นู๋ดีค่ะ (kun_isara ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:22:42 น.  

 
สวัสดีตอนสายค่ะพี่ไผ่มีความสุขมากๆนะคะ.วันหยุดไปเที่ยวไหนบ้างเปล่าเอ่ย...



โดย: ตัวp_box วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:27:04 น.  

 
สวัสดีค่ะ

กลับมาแล้วค่ะ วันนี้ลงไว้รูปเดียวก่อน
ยังเพลียไม่หาย ไว้จะมาลงรูปเพิ่มค่ะ

รูปแรกในบล็อกนี้เด็กน้อยนั่งสมาธิ หน้าตาจิ้มลิ้มมากๆ



โดย: HastaLaVista วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:04:42 น.  

 
สวัสดีค่ะ..คุณไผ่

คุณไผ่สบายดีนะคะ
วันหยุดไปไหนมาคะ
ธัญไม่อยากไปไหนเลยค่ะ
กลัว 2009 จัง อิอิ
ไม่อยากอินเทรน์แบบพี่นู๋ดีค่ะ

จริงด้วยนะคะ..ไม่มีความเร็วของเน็ต
ธัญบอกก็ได้ตรงนี้เลย 3 mb ค่ะ 555
แต่สู้ของ ture 2 mb ไม่ได้ค่ะ
อ้าวว..มาบ่นซะงั้น...

วันนี้คุณไผ่มีความสุขกับวันและเวลาดีๆนะคะ



โดย: tanjira วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:07:59 น.  

 
มารออ่าน ตอนที่ 4 จ้า
สบายดีไหมคะ
งานยุ่งหรือเปล่า
หรือว่าทำไรอยู่จ๊ะ
หายไปหลายวัน
ห่วงใย ห่วงใยนะจ๊ะ


โดย: บุปผาลีลาวดี วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:50:00 น.  

 
สวัสดีค่า คุณไผ่

555 ครูเดียว ตามมาเช็คชื่อ ยังสงสัยอยู่ว่า ป่วยด้วยไข้หวัด 2009 แบบ อินเทรนก็เขารึเปล่า

แต่ยังไม่ทันได้แซว ก็ โผล่ไปให้ขานชื่อถึงที่บล้อก 555 คนเราเนาะ นั่งจนรู้แจ้งว่าคนเค้าคิดถึง 555

วันนี้ก็เป็นอีกจันทร์ที่มีความสุขกับการสอน และสอบ ค่ะ

นักเรียนสอบ ทำไม่ได้ก็นั่งหัวเราะ ครูก็หัวเราะ เออ มาย้อนดูก็ตลกดี ขนาดได้คะแนนน้อย ยังมีความสุขได้

คะแนนเต็ม 5 บางคนก็พยายามแล้วพยายามเล่าจนได้เต็ม พอเต็มก็กระโดดตัวลอย กับอีกคนที่แค่ผ่านก็ยิ้มแล้ว พอใจแค่เนี้ย จนครูเดียวต้องถามว่า "พอแล้วเหรอ อีกสักรอบดีมั้ยเผื่อได้เยอะขึ้น" แต่ก็ยังยิ้มแล้วบอกว่า "ผ่านก็พอครับ"

พอมานั่งย้อนดูเด็กคนหลัง เค้าก็สบายๆ ไม่ขวนขวาย ไม่อะไรกับใคร แต่ก็มีอะไรฮาๆ ขำๆ หลุดให้เราได้หัวเราะตลอดเลย

ว่าแต่ คุณไผ่ มาสอบอ่านทำนองเสนาะกับครูเดียวแล้วหรือยังล่ะคะ ^^


โดย: deawdai วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:08:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.