Group Blog
 
 
ธันวาคม 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 
ไผ่ การปลูก และข้อกฎหมาย

  การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อปลูกไผ่ใช้สอยของส่วนราชการ
ส่วนราชการตระหนักถึงความสำคัญของไผ่ โดยกำหนดให้ไผ่เป็นไม้ชนิดหนึ่งของโครงการพัฒนาป่าชุมชน สำหรับการจัดการป่าไม้ในระบบวนเกษตร กล่าวคือไผ่นั้นเหมาะสมต่อการนำไปส่งเสริม เพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น  ชนิดพันธุ์ไผ่ที่ส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีการใช้ประโยชน์กว้างขวางและสามารถขยายพันธุ์สู่เกษตรกรได้ คือ ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง เป็นต้น  กรมพัฒนาที่ดินได้จัดไผ่ไว้ในโครงการปรับปรุงดิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีแนวทางสนับสนุนการปลูกไผ่ของราษฎร เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่โรงงานกระดาษ เป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรพร้อมทั้งเป็นไม้ใช้สอยในครัวเรือนควบคู่กันไปด้วย ในส่วนของกรมป่าไม้ได้มีการค้นคว้าศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับไผ่ จัดตั้งศูนย์รวบรวมพันธุ์ไผ่ จัดหาแหล่งพันธุ์ไผ่และเก็บรวบรวมไว้สำหรับแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานกรมป่าไม้ เช่น ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศ เพื่อนำไปเพาะแจกจ่ายแก่ราษฎร นอกจากนี้ยังได้แจกจ่ายเมล็ดและกล้าไผ่ให้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆ และเอกชนที่สนใจด้วย

การเก็บหาไผ่ในป่า
พวกไผ่ หน่อไผ่ เห็ด กลอย และมัน หากจะตัดหรือเก็บหาเพื่อใช้สอยในครัวเรือนในป่าที่มิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไผ่ หน่อไผ่ เห็ด กลอย และมัน มิใช่ไม้หรือของป่าหวงห้าม แต่ถ้าเป็นการตัดหรือเก็บหาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต้องตรวจสอบประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ก่อน ว่ามีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศอนุญาตให้ทำหรือเก็บหาได้หรือไม่ ถ้ามี ก็มีสิทธิทำหรือเก็บหาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก

ไผ่กับกฎหมายป่าไม้
ไผ่ทุกชนิดถือเป็น ”ไม้” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ตามมาตรา 4(2) และตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ตามมาตรา 4
ไผ่เป็นทั้งไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามและของป่าไม่หวงห้าม แต่เดิมมีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2520 ได้กำหนดไผ่ 12 ชนิด ในท้องที่ อ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไผ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 และพระราชฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2530 ไม่ได้กำหนดให้ไผ่เป็นไม้หวงห้ามหรือของป่าหวงห้ามแต่อย่างใด แต่กฎหมายว่าด้วยป่าไม้กำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมไผ่ไว้ดังนี้ คือ
1. การทำไผ่
การทำไผ่ซึ่งเป็นไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามในป่าๆ ทั่วไป ไม่ต้องขอรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 ไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงตามมาตรา 9 และ 14 และไม่ต้องชำระค่าบำรุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าตามมาตรา 58 ทวิ
2. การนำไผ่เคลื่อนที่
การทำไผ่ออกจากป่าผ่านด่านป่าไม้ด่านแรกผู้นำเคลื่อนที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสองของราคาในท้องที่ โดยเฉลี่ยจากราคาของไผ่นั้นตามมาตรา 25 และ 26 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมนำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขตด่านป่าไม้ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2518 เว้นแต่นำไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขตท้องที่ที่จังหวัดที่ทำไผ่นั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด และในกรณีต้องนำไผ่เข้าเขตด่านหลายด่านให้เสียค่าธรรมเนียมด่านแรกด่านเดียว
การนำไผ่เคลื่อนที่จากด่านป่าไม้ด่านแรกไปเพื่อการค้าหรือออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่นำไผ่นั้นต้องมีใบเบิกทางกำกับด้วยทุกครั้งตามมาตรา 38(2) และ 39 และต้องแจ้งเข้าเขตด่านป่าไม้หรือแจ้งผ่านด่านป่าไม้ ตามที่ระบุไว้ในใบเบิกทางด้วยตามมาตรา 40 และ 41
3. การแปรรูปไผ่
การแปรรูปไผ่ไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50(4) ซึ่งเป็นบทยกเว้นมาตรา 48 แต่ถ้าการแปรรูปนั้นเข้าลักษณะของโรงงานแปรรูปไม้ ดังนี้ต้องขอรับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้จากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48 ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 49 และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วต้องปฏิบัติตามมาตรา 49 ทวิ, 51, 52 และ 53 ตลอดจนกฎกระทรวงและข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ด้วย
สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไผ่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ จึงไม่ต้องขอรับใบอนุญาตค้าหรือมีไว้ครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามมาตรา 53 ตรี แต่อย่างใด
4. การค้าไผ่ 
ไผ่ที่ยังมิได้แปรรูปสามารถค้าได้โดยเสรี ส่วนไผ่แปรรูปสามารถค้าได้โดยไม่ต้องขอรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ถ้าการค้านั้นเข้าลักษณะโรงค้าไม้แปรรูปต้องขอรับอนุญาตตั้งโรงค้าไม้แปรรูปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48
สำหรับไผ่ที่ขึ้นอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การทำออกจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2529 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1. การยื่นคำขอให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งอำเภอท้องที่หรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ตามแบบกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,106 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ว่าด้วยการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
2. ภายในเดือนมกราคมของทุกปี จังหวัดจะประกาศให้ประชาชนทราบว่าจะมีการเปิดให้มีการทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าใดบ้าง หากผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำไผ่ในป่าใด ไผ่ชนิดใด จำนวนเท่าใด ให้ยื่นคำขอตามแบบฟอร์มดังกล่าวภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี ให้เมื่อจังหวัดได้รับคำขอจากอำเภอหรือกิ่งอำเภอแล้ว จะต้องทำความเห็นประกอบและส่งเรื่องให้ป่าไม้เขต ท้องที่ภายใน 30 พฤษภาคม เพื่อให้ป่าไม้เขตทำการสำรวจหากำลังผลิตให้แล้วเสร็จและแจ้งปริมาณไผ่ให้จังหวัดภายในวันที่ 30 กันยายน เพื่อพิจารณาอนุญาตต่อไป
3. การอนุญาตให้ดำเนินการได้ไม่เกินปริมาณไม้ไผ่ที่สำรวจได้ ดังนี้
-ให้อนุญาตเพื่อการใช้สอยส่วนตัวและการกุศลสาธารณประโยชน์เป็นอันดับแรก โดยนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ อนุญาตได้ตามความจำเป็น แต่รวมทุกชนิดแล้วต้องไม่เกินรายละปีละ 500 ลำ ถ้าเกินจำนวนนี้ให้เสนอขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะอนุญาตได้รวมทุกชนิดต้องไม่เกินรายละปีละ 1,000 ลำ
-ไผ่ที่เหลือจากการอนุญาตเพื่อการใช้สอยส่วนตัวหรือเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ให้อนุญาตเพื่อการค้าได้โดยนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่อนุญาตได้รวมทุกชนิดไม่เกินรายละปีละ 1,000 ลำ ถ้าเกินจำนวนนี้ให้เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ซึ่งจะอนุญาตได้ไม่เกินรายละปีละ 5,000 ลำ
-หากมีการอนุญาตเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นจะเสนอให้กรมป่าไม้พิจารณาสั่งการเป็นราย ๆ ไป
-การชำระเงินค่าภาคหลวงและค่าบำรุง ผู้รับอนุญาตต้องชำระตามอัตราที่กำหนดไว้ในฎกระทรวง ฉบับที่ 1,221 (พ.ศ.2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งกำหนดอัตราร้อยละสิบของราคาตลาดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ประกาศกำหนดและต้องชำระค่าบำรุงป่าอีกสองเท่าค่าภาคหลวงด้วย การทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อใช้สอยในครัวเรือนแห่งตนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,106 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศขออนุญาตไว้เป็นคราวๆ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ สำหรับไผ่ที่ขึ้นอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตอุทยานแห่งชาติไม่มีการอนุญาตให้ทำออก




Create Date : 27 ธันวาคม 2558
Last Update : 27 ธันวาคม 2558 10:43:22 น. 0 comments
Counter : 5574 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.